ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3

พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3

 

 ครองราชย์ พ.ศ.1603 – 1623 พระองค์เป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 ในรัชกาลนี้เกิดเหตุการณ์สงครามกับอาณาจักรจามปา จนเป็นเหตุให้เสียดินแดนแคว้นรอบนอกทางทิศตะวันออก (คือ เวียดนาม) ไป ต่อมาพระองค์สิ้นพระชนม์ในขณะที่บ้านเมืองยังวุ่นวายอยู่พระเจ้าชัยวรมันที่ 6 พ.ศ. 1623 – 1640 พระองค์มีเชื้อสายสืบจากราชวงศ์กษัตริย์ เมืองมหิธรปุระ(ตั้งอยู่บริเวณลุ่มแม่น้ำมูลในอีสานใต้) ดังนั้น จารึกและเทวบรรพตที่สร้างโดยเชื้อพระองค์ มหิธรปุระ จึงมีอยู่ในบริเวณนี้หลายแห่ง ได้แก่ ในจังหวัดนครราชสีมา มีปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมวัน  จังหวดบุรีรัมย์ มีปราสาทหินพนมร้อง ดังนั้น พระองค์จึงไม่มีหลักฐานที่เกี่ยวกับเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) เลยพระองค์ครองราชย์อยู่  27 ปี จึง สิ้นพระชนม์

 

                                                                พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 1

 

 ครองราชย์ พ.ศ.1650 – 1656 พระองค์ทรงเป็นพระเชษฐา ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 6พ.ศ. 1651 ได้มีการสร้างปราสาทหินพิมาย ขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนา ลัทธิมาหายาน ศิลปะแบบปาปวน (สร้างลักษณะเดียวกับปราสาทหินนครวัด) แต่มีการสลักเรื่องราวที่เป็นพุทธศาสนานิกายมหายานไว้ด้วย นับเป็นปราสาทหินที่มีขนาดใหญ่โตมาก

 

                พ.ศ. 1655 (บางแห่งว่า สมัยพระเจ้ายโสวรมันที่ 2) ได้มีการขยายอาณาเขตไปทางตะวันตกถึงดินแดนอาณาจักรมอญทวราราวดี ดินแดนสุวรรณภูมิ ในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และทำการต่อสู้กับพวกจาม

 

                มีจารึกกล่าวว่า พระเจ้า ธรณินทรวรมันที่ 1 นั้นไม่ประสงค์ในราชสมบัติ แต่พระองค์ก็ครองราชย์

ได้ 5 ปี จึงถูกพระราชนัดดาของพระองค์ทำการแย่งราชสมบัติ

 

                พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ.1656 – 1693 พระองค์ทรงเป็นพระราชนัดดาของพระเจ้า

ธรณินนทรวรมันที่ 1 พระองค์เป็นกษัตริย์ที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้อาณาจักรขอม คือ สมัยนี้พระองค์ทรงส่งราชทูตไปเจริญไมตรีกับจักรพรรดิจีน ต่อมาพระองค์ได้ทำการขยายอาณาเขตด้วยการทำสงครามสู้รบและมีชัยชนะมาตลอด จึงทำให้พระองค์ได้รับการยกย่องว่าเป็นกษัตริย์นักรบ และผู้สร้างวัฒนธรรมให้กับอาณาจักรขอม

 

                พ.ศ.1623 พระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ทรงโปรดให้ทำการสร้างเทวบรรพต (ปราสาทนครวัด) ขนาดใหญ่

ไว้ประจำราชธานี โดยมีรูปแบบสถาปัตยกรรมบนพื้นที่ราบ ที่ยกชั้นเป็นเขาพระสุเมรุ โดยมีปราสาทขนาดใหญ่ และสวยงามที่สุดในศิลปะขอม จนได้รับการยกย่องให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก

 

                เนื่องจากพระองค์นับถือศาสนาพราหมณ์ไวษณพนิกายที่แตกต่างจากอดีตกษัตริย์ขอม ที่นับถือ

ศาสนาพราหมณ์ไศวนิกาย ดังนั้นเทวบรรพต (ปราสาทนครวัด) ที่พระองค์สร้างขึ้นนั้น ปราสาท องค์ประธาน

น่าจะสร้างสำหรับประดิษฐานรูปเคารพของพระวิษณุ ดังนั้น ภายในปราสาทแห่งนี้ จึงประกอบด้วยภาพสลักเกี่ยวกับพระวิษณุ

 

                ในสมัยนั้น พระองค์ทำสงครามมีชัยชนะอาณาจักรจามปาได้ จึงทำให้สามารถขยายอิทธิพลมาทาง

บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย (อีสาน)

 

                พระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 ครองราชย์  พ.ศ.1693-1703 พระองค์เป็นพระญาติของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 เสด็จครองราชย์ได้ไม่น่านก็เกิดการชิงอำนาจเปลี่ยนแผ่นดินใหม่

 

                พระเจ้ายโศวรมันที่ 2 ครองราชย์ พ.ศ.1703-1708  น่าจะชิงอำนาจมาจากพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2

แต่เนื่องจากไม่มีความมั่นคง ขุนนางคนหนึ่งได้คิดกบฏจึงลอบปลงพระชนม์ในที่สุด

 

                พ.ศ.1655 สมัยพระเจ้ายะโสวรมันที่ 2 นั้นได้มีการขยายอาณาเขตไปทางตะวันตก ถึงดินแดน

อาณาจักรมอญทวราราวดี ดินแดนสุวรรณภูมิในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และทำการต่อสู้รุกรานพวกจาม

ที่เป็นเพื่อนบ้าน

 

                พระเจ้าตรีภูวนาทิตยวรมัน  ครองราชย์ราว พ.ศ.1708-1720 เดิมเป็นขุนนางขอม ได้ทำการกบฏชิงอำนาจและลอบปลงพระชนม์กษัตริย์ได้สำเร็จ ครองราชย์ได้ 12 ปี กองทัพของอาณาจักรจามได้เข้าโจมตี      เมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) พระองค์ได้ทำการต่อสู้และสิ้นพระชนม์ในสงครามครั้งนี้

 

                ต่อมา พ.ศ.1720 อาณาจักรขอมเกิดอ่อนแอลงจึงทำให้พวกจามปาเจ้ายึดและทำลายเมืองยโศธรปุระ

ราชธานีของอาณาจักรขอม ทำให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทวราชาผู้คุ้มครองราชย์ธานี (ในเทวสถาน) ถูกทำลาย อาณาจักรขอมจึงตกอยู่ในอำนาจของพวกจาม 4 ปี ในที่สุดเจ้าชายชัยวรมันพระโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2

ได้ยกกำลังเข้าสู่รบจนมีชัยชนะพวกจาม และได้สู้รบกับพวกดายเวียด จนขับไล่พวกจามออกไปจาก

แผ่นดินขอม ได้สำเร็จ

 

                พระเจ้าวรมันที่ 7 ครองราชย์ พ.ศ.1724 – 1763 พระองค์ทรงเป็นพระโอรสของพระเจ้าธรณินทรวรมันที่ 2 เมื่อพระองค์ได้ทำการขับไล่พวกจามออกไปจากเมืองยโศธรปุระ (เมืองพระนคร) แล้วนั้น ได้ยกกองทัพไปตีได้อาณาจักรจามไว้ในอำนาจ เมื่องพระองค์ขึ้นครองราชย์แล้ว ได้ทำการขยายอาณาเขตออกไปกว้างไกลคือ

ทิศเหนือนั้นไปถึงเมืองซายฟอง (ใกล้เวียงจันทร์ของลาว) ทิศตะวันตกถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลางของไทย นับเป็นสมัยที่อาณาจักรเขมร มีความเจริญรุ่งเรืองกลับคืนมา

 

                เนื่องจากเมืองยโสธรปุระเดิม (บริเวณเมืองพระนคร) นั้น พวกจามได้ทำลายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครอง

ราชธานี (เทวสถาน) จึงทำให้พระองค์ต้องสร้างเทวสถานขนาดใหญ่ขึ้นใหม่หลายแห่ง ได้แก่ ปราสาทบันทายกเดีย (บันทายกุฎี) ปราสาทตาพรหม อุทิศถวายแต่พระราชบิดา ตรงบริเวณที่พระองค์ทำสงครามกับพวกจามและสร้างปราสาทพระขรรค์ ขึ้นตรงที่พระองค์มีชัยชนะพวกจาม สร้างปราสาทนาคพันขึ้นตรงกลางสระชัยตฏากะ

เป็นต้น

 

                สำหรับภายในเมืองยโศธรปุระเดิมนั้น พระองค์ได้ทำการสร้างเมืองพระนครหลวงขึ้นเป็นราชธานี

แห่งใหม่ และสร้างเทวบรรพตขนาดใหญ่ (ปราสาทบายน) ประจำราชธานีตามราชประเพณี จึงทำให้เมือง

ยโศธรปุระเดิมนั้น ถูกเรียกชื่อใหม่เป็น เมืองพระนครหลวงหรือเมืองพระนครตั้งแต่นั้นมา

 

                ภายในเมืองพระนครหลวงนั้น พระองค์ทรงโปรดให้ปรับปรุงระบบการชลประทานที่มีอยู่เดิมนั้น

ขึ้นใหม่ โดยการขุดลอกสระน้ำใหญ่ (เรียกว่าสระสรง) แล้วสร้างอ่างเก็บน้ำ ชัยตฏากะ ขึ้น พร้อมกับให้ทำการขุดคูคลองขนาดใหญ่ล้อมรอบเทวสถานและล้อมรอบเมืองพระนครแล้ว ราชธานี โดยให้คูคลองรอบเมืองพระนครหลวงเป็นส่วนหนึ่งของระบบการชลประทาน ที่จัดให้น้ำนั้นสามารถเก็บและให้ไหลเข้าออกได้ตามต้องการ

 

                ส่วนแหล่งน้ำในแม่น้ำที่ไหลอยู่แคว้นรอบนอกนั้นได้ให้สร้างสะพานศิลาสำหรับข้ามแม่น้ำขึ้นหลายแห่ง สะพานศิลาเหล่านี้แข็งแรงและใช้เป็นเขื่อนกั้นน้ำได้ด้วย และให้ขุดคลองส่งน้ำขึ้นหลายสาย โดยตัดตรงจากแม่น้ำนั้นไปยังที่พื้นที่ทำนาหรือบริเวณที่ทำการเพาะปลูก

                ส่วนบริเวณรอบนอกของเมืองพระนครหลวง ตลอดจนบริเวณแคว้นรอบนอกที่อาณาจักรขอมมี

อำนาจดูแลนั้น พระองค์ได้โปรดให้ทำการสร้างเทวสถานขึ้นหลายแห่งเทวสถานที่สำคัญนั้น ได้แก่

 

                ปราสาทพระขรรค์กำพงสวาย ใน พ.ศ.1734 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงสร้างปราสาทพระขรรค์ขึ้น

ทางทิศเหนือของเมองพระนครหลวง ครั้งนั้นพระองค์ได้สร้างจารึกสำคัญไว้ที่ปราสาทนี้ด้วย คือ จารึกปราสาทพระขรรค์ มีข้อความกล่าวถึง พระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (สร้างจากเครื่องฉลองพระองค์)  จำนวน 23 องค์ แล้วทรงส่งพระราชทานพระพุทธรูปนี้ไปประดิษฐานตามเมืองต่าง ๆ โดยระบุนามของสถานที่ประดิษฐานไว้ด้วย เชื่อว่าส่วนใหญ่เป็นสถานที่ในบริเวณภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาของไทย ได้แก่ ลโวทยปุระ (ลพบุรี) สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) ศรีวิทยาปุระ (นครชัยศรี ชัยราชปุระ

(ราชบุรี) ศรีชัยวัชรปุระ (เพชรบุรี) ศัมพูกกะปัฏกะ (ยังไม่ทราบที่สระโกสินารายณ์ที่ราชบุรี) ศรีชัยสิงหปุระ

(บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี) เป็นต้น

 

                จารึกนี้กล่าวถึง การสร้างวหนิคฤหะ (บ้านมีไฟ) 17 แห่งบนเส้นทางที่ตัดมาจากเมืองพระนครหลวง

ราชธานีมายังเมืองพิมาย (ในบุรีรัมย์พบบ้านมีไฟอยู่ 5 แห่ง) และยังระบุถึงที่พักคนเดินทาง (ผู้จาริกแสวงบุญ)

อีก 121 แห่ง ตั้งอยู่ห่างกันประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางเดินที่มีอยู่ในอาณาจักรขอม (คล้ายที่พักของม้าใช้ส่งหนังสือของจีน) 57 แห่งคืออยู่บนถนนจากเมืองพระนครหลวงไปราชธานีของราชอาณาจักรจามปา 17 แห่ง

อยู่บนถนนจากยโสธรปุระ ไปปราสาทหินพิมาย (ค้นพบแล้ว 8 แห่ง) และอีก 45 แห่งบนเส้นทางเดินไปตามเมืองต่าง ๆ ซึ่งบางแห่งยังหาไม่พบว่าอยู่ที่แห่งใด

 

                นอกจากนี้ จารึกปราสาทพระขรรค์ ยังระบุด้วยว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงให้สร้างสถานีพยาบาล

102 แห่ง (อโรคยาศาล) ทั่วราชอาณาจักรขอม (ปัจจุบันค้นพบอโรคยาศาลดังกล่าวแล้ว ราว 30 แห่ง)

สถานีพยาบาลดังกล่าว อยู่ใต้ความดูแลของพระไภษัชคุรุไพฑูรย์ประภา และ ปราสาทวัดนคร ปราสาท

ตาพรหมบาตี ปราสาทบันทายฉมาร์ เป็นต้น

 

                เมื่อพระองค์สร้างเทวสถานขึ้นแล้ว พระองค์ได้โปรดให้สร้างถนนตัดออกไปจากเมืองพระนครหลวง

ออกไปยังแคว้นรอบนอก ที่ทรงสร้างปราสาทเหล่านั้นหลายสาย และตามเส้นทางถนนสายต่าง ๆ เหล่านั้น

ได้โปรดให้สร้าง บ้านมีไฟ (วหนิคฤหะกระโจมไฟ สำหรับเป็นที่พักคนเดินทาง) 17 แห่ง และที่พักคนเดินทาง จำนวน 121 แห่ง

 

                นอกจากนี้ พระองค์ยังสนพระทัยในการดูแลโรคภัยไข้เจ็บของราษฎร จึงโปรดให้สร้างอโรคยาศาลา

(โรงพยาบาล) จำนวน 120 แห่งในราชธานีแลแคว้นต่าง ๆ เพื่อทำการรักษาราษฎรที่เจ็บป่วย ดังนั้น อโรคยาศาลาของพระองค์ จึงสร้างไว้ในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยจำนวนมาก ในจารึกปราสาทตาพรหม ได้กล่าวว่าพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้นสร้างอโรคยาศาลา จำนวน 102 แห่งขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วอาณาจักร

สำหรับอโรคยาศาลที่ค้นพบแล้ว ในประเทศไทยตามจังหวัดต่าง ๆ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิพบปราค์ภู่

จังหวัดนครราชสีมาพบปราสาทเมืองเก่า (ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน) และปรางค์ครบุรี (ตำบลครบุรี)

จังหวัดสุรินทร์ พบปราสาทตาเมืองตู๊จ (อำเภอกาบเชิง )เป็นต้น

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเป็นกษัตริย์ที่นับถือพุทธศาสนานิกายมหายาน ดังนั้น สิ่งก่อสร้างในสมัยพระองค์จึงเป็นพุทธสถาน และสามารถสร้างอาณาจักรขอม ให้เจริญรุ่งเรืองจนได้รับการยกย่องว่า

พระองค์ทรงเป็นวีรกษัตริย์ของเมืองพระนครหลวง

 

                อาณาจักรขอม ได้มีอำนาจบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น ได้ทำการให้มีการสร้างเมืองพระประแดง (บาแดง-คนเดินหมายหรือคนนำข่าว) ให้เป็นเมืองหน้าด่านทางทะเลที่ปากน้ำเจ้าพระยาที่ตั้งมานานนับ

1000 ปี

 

                ในพุทธศตวรรษที่ 18-19 สมัยพระเจ้าชัยวรามันที่ 7 นั้น พระพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ได้ถูกอิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้ามาแทนที่

 

                หลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สิ้นพระชนม์แล้ว อำนาจของอาณาจักรขอมที่เคยมีอยู่ในแคว้นรอบนอกนั้นได้เสื่อมอำนาจลงทันที

 

                พระเจ้าอินทรวรมันที่ 7 ครองราชย์ หลัง พ.ศ.1763 – 1786 พระองค์เป็นพระโอรสของพระเจ้า

ชัยวรมันที่ 7 ไม่ปรากฏหลักฐานถึงเหตุการณ์และพบเรื่องที่เกี่ยวข้องกับรัชกาลของพระองค์น้อยมาก

 

                พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ครองราชย์ พ.ศ.1786 – 2837 พระองค์ทรงนับถือศาสนาพราหมณ์ จึงโปรดทำการสร้างเทวสถาน (ปราสาทมังคลารถ) ในเมืองพระนครหลวงและเชื่อว่า พระองค์นั้นได้ให้มีทำลายรูปเคารพในพุทธสถานของรัชกาลพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เสียสิ้น พบว่า ในพุทธสถานนั้นรูปสลักพระพุทธรูปที่อยู่ตามหน้าบัน

ทับหลังเสานางเรียง ถูกกะเทาะทำลายออกจนหมด

 

                ในขณะนั้น พุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้เริ่มเผยแพร่เข้ามาในอาณาจักรขอม โดยพระโอรสของ

พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ซึ่งเคยเสด็จไปประทับอยู่ในลังกาวงศ์

 

                หลังจากที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ครองราชย์ อยู่นานประมาณ 50 ปี พระองค์ได้สละราชสมบัติให้ราชบุตรเขยขึ้นครองราชย์ต่อมา

 

                พระเจ้าศรีนทรวรมัน  ครองราชย์ พ.ศ. 1838-1850 พระองค์เป็นราชบุตรเขยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 ได้ครองราชย์ต่อเมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 8 สละราชสมบัติ เมื่อขึ้นครองราชย์นั้น จักรพรรดิจีนได้ส่ง จิวตากวน และ

คณะทูตจากจีน เดินทางมาทวงเครื่องราชบรรณาการ หลังจากคณะทูตจีนเดินทางกลับแล้ว จิวตากวน ได้บันทึกถึงเรื่องราวที่พบเห็นในอาณาจักรแห่งนี้ ซึ่งบันทึกนี้เป็นหลักฐานสำคัญของประวัติศาสตร์อาณาจักรขอม

พระเจ้าศรีนทรวรมันนั้น ครองราชย์ ได้ 12 ปี ก็ทรงสละราชสมบัติ

 

                พระเจ้าศรีนทรชัยวรมัน ครองราชย์ พ.ศ.1850 – 1870 เป็นพระญาติของพระเจ้าศรีนทรวรมัน

ได้ครองราชย์สืบต่อมา รัชกาลนี้เป็นระยะที่พุทธศาสนานิการเถรวาท ได้เผยแพร่เข้ามาในอาณาจักรขอมและมีบทบาทสำคัญมากขึ้น มีจารึกภาษาบาลีขึ้นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.1852 ก่อนนั้นอาณาจักรขอมมีแต่จารึกภาษาสันสกฤตและภาษาขอมโบราณ พระองค์ครองราชย์อยู่ประมาณ 20 ปี ก็มีเหตุการร์เปลี่ยนแผ่นดิน

 

                พระเจ้าชัยวรมาทิปรเมศวร ครองราชย์ พ.ศ.1870 พระองค์ครองราชย์สืบต่อมา ไม่ปรากฏเรื่องราวของพระองค์มากนัก ในรัชกาลนี้พบร่องรอยศาสนาพราหมณ์ ไศวนิกาย นั้น ยังเป็นศาสนาประจำอาณาจักรขอมต่อมา แต่เมื่อสิ้นรัชกาล ไม่พบหลักฐานจารึกภาษาสันสกฤต หรืออื่นใดที่เกิดหลังจากนี้ จึงไม่มีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับเมืองพระนครหลวง

 

                ในพงศาวดารเขมรนั้น กล่าวว่า พ.ศ.1885 นั้น เมืองพระนครหลวง ยังมีพระเจ้านิรวาทบทครองราชย์อยู่ และมีกษัตริย์ครองสืบต่อมาถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 20 เมืองพระนครหลวง จึงถูกทิ้งร้าง ภายหลังแม้ว่าจะมีเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ขอมอยู่และพยายามที่จะฟื้นฟูอาณาจักรขึ้นใหม่ ก็ไม่ได้คิดที่จะฟื้นฟูเมืองพระนครหลวงแห่งนี้กลับคืน

 

                การสร้างอาณาจักรขอมของชนชาตินี้ในสมัยต่อมา ปรากฏว่าได้มีการย้ายลงตั้งบ้านเมืองที่เมืองศรีสะนธอร์ เมืองอุดงคมีชัย และใน พ.ศ.2408 นั้น ชนชาติเขมรหือกัมพูชา ได้สร้างเมืองพนมเปญ เป็นเมืองหลวงขึ้น ตรงบริเวณที่เป็นศูนย์รวมของแม่น้ำโขง และทะเลสาบใหญ่และผู้นำของกัมพูชา ได้เปลี่ยนมานับถือพุทธศาสนานิกาย เถรวาท เป็นศาสนาประจำชนชาตินี้ และทิ้งเรื่องราวในอดีตของอาณาจักรขอมให้ศึกษากันต่อไป

 

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม พระเจ้าหรรษวรมันที่ 3

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์