สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรลพบุร
สังคมและวัฒนธรรมของอาณาจักรลพบุรี และอีสาน
ในพุทธศตวรรษที่ 7 นั้น บริเวณภาคเหนือของอาณาจักรฟูนัน
คือบริเวณที่เป็นเมืองเว้ เมืองกวังนัมเมืองถัวเถียน เมืองผันรัง และเมืองญาตรัง
(ของเวียดตาม) นั้น มีชุมชนพวกจามอาศัยอยู่ แต่เนื่องจากเป็นพื้นที่ทุรกันดาร
และป่าเถื่อน ที่อยู่ห่างไกลจากจีน
จึงทำให้อาณาจกรจีนไม่สามารถปราบปรามและครอบครองชุมชนนี้ได้ ชนชาติขอม
กลุ่มนี้สืบเชื้อสายมาจากชนชาติ หลินยี่ (Lin
- yi) ซึ่งพวกจามที่เป็นชาวทะเล จึงมีความสามารถในการเดินเรือ
ต่อมาราว พ.ศ.989 จีนได้ยกทัพเข้ามาทำสงครามได้เผาทำลายบ้านเมืองของพวกจาม
ม้าตวนลิน (Ma
Tuan-lin) ชาวจีนได้บันทึกถึงชาวจามกลุ่มนี้ เมื่อพุทธศตวรรษที่ 10
ไว้ว่า
ชาวเมืองสร้างผนังบ้านด้วยอิฐดินเผาแล้วฉาบปูน
หญิงและชายมีผ้าฝ้ายผืน
เดียวห่อหุ้มร่างกาย ชอบเจาะหูเพื่อห้อยห่วงเล็ก ๆ
ผู้ดีสวมรองเท้าหนัง พวกไพร่
เดินเท้าเปล่า พระราชาทรงสวมพระมาลาทรงสูง ทรงช้าง
ล้อมรอบด้วยบริพาร ถือธงและกลดกั้น
พวกจามนั้นเดินนับถือพุทธศาสนา
ต่อมาเมื่อมีพวกมลายูข้ามทะเลเข้าไปเผยแพร่
ศาสนาอิสลามพวกจามจำนวนมากจึงหันไปนับถือศาสนาอิสลาม ทำให้มีเรียกพวกจามว่า
แขกจามในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2
ได้รวบรวมเจนละเข้าด้วยกันแล้วสร้างอาณาจักรเป็นอิสระจากอำนาจของชวา
และในพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น พวกจามได้มีอำนาจเข้ายึดเมือง
พระนครหลวงของอาณาจักรขอมอยู่ 4 ปีแต่ก็ถูกพระเจ้าชัยวรมันที่ 7
สามารถชิงอำนาจคืนมาได้ใน พ.ศ.1724
ต่อมาอาณาจักรขอมได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองจนขยายอำนาจไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย
ภายหลัง พ.ศ.1856 พ่อขุนรามคำแหง แห่งกรุงสุโขทัย
ได้ให้กองทัพสยามยกทัพเข้าโจมตี พวกจามครั้งหลังสุดใน พ.ศ.2014
อาณาจักรจามปาถูกกษัตริย์ราชวงศ์เล
ของเวียดนามยกองทัพเข้าตียึดเมืองวิชัย(เมืองบิญดิ่ญ) เมืองหลวงของพวกจามได้
และทำให้พวกจามเสียชีวิต 60,000 คน และถูกจับเป็นเชลย อีก30,000 คน
ทำให้อาณาจักรจามปาสิ้นสูญความเป็นชาติไปและถูกพวกญวน (เวียดนาม) ครอบครองในที่สุด
เนื่องจากอาณาจักรขอมขยายอำนาจไปถึงบริเวณแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาหลายยุคสมัย
เมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 12-18 และตั้งเมืองละโว้ปุระ (เมืองละโว้)
เป็นราชธานีของอาณาจักรขอมแคว้นรอบนอก
ซึ่งมีกษัตริย์หรือผู้ครองเมืองรับมอบอำนาจจากอาณาจักรขอมมาปกครองดูบรรดาเมืองแถบนี้
ดังนั้น การเผยแพร่วัฒนธรรมความเชื่อจึงทำให้
มีการเปลี่ยนแปลงสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนโบราณ ขึ้นมากมาย
โดเฉพาะการนับถือศาสนาที่ทำให้มีการสร้างรูปเคารพของศาสนานั้น
มีการนำระบบชลประทานมาพัฒนาแหล่งน้ำ และการทำอาชีพของผู้คนในชุมชน เป็นต้น
|