ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  จารึกเรื่องราวของขอม

 

จารึกเรื่องราวของขอม

 

                หลักฐานสำคัญจากวัฒนธรรมขอม โดยเฉพาะจารึกเรื่องราวของอาณาจักรขอม เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอมโบราณ บนแท่งศิลาจารึกและบนวัตถุสำริด ที่ทำเป็นเครื่องใช้ พบเป็นจำนวนมาก จึงทำให้เชื่อมโยงเรื่องราวระหว่างกษัตริย์ขอมกับความเป็นมาของเทวสถานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ได้แก่

 

·        จารึกภาษาสันสกฤต ที่บ้านวังไผ่ อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นจารึกที่ปรากฏพระนามของ พระเจ้าภววรมันที่ 1)

·        จารึกของพระเจ้ามเหนทรวรมัน พบ 9 หลัก พบที่จังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก ได้แก่ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ สุรินทร์ ขอนแก่น และสระแก้ว จารึกนี้มีเรื่องราวคล้ายกัน เกี่ยวกับ พระราชประวัติ การสร้างรูปเคารพศิวลึงค์ และโคนนทิ ไว้ในดินแดนที่มีชัยชนะ

·        จารึกภาษาสันสกฤตของพระเจ้าอิสานวรมันที่ 1 ในจังหวัดจันทบุรี เป็นจารึกที่ปรากฏพระนาม พระเจ้าอิสานปุระ ที่ 1

·        จารึกโนนสัง เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่บ้านบึกแก จังหวัดยโสธร เป็นจารึกที่ปรากฏพระนาม พระเจ้าอินทรวรมันที่ 1

·        จารึกปราสาทหินพนมวัน 1 เป็นภาษาขอม พบที่ปราสาทหินพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา จารึกนี้ปรากฏพระนามของพระเจ้ายโศวรมันที่ 1 และ ศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1233

·        จารึกปราสาทหินพนมวัน 2 เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่ปราสาทหินพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา จารึกนี้ ปรากฏพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 และศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1598

·        จารึกปราสาทหินพิมาย 2 เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จารึกนี้ปรากฏพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1589

·        จารึกปราสาทหินพิมาย 1 เป็นภาษาขอม พบที่ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา จารึกนี้ปรากฏพระนามของ พระเจ้าธรนินทรวรมันที่ 1 และศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1655

·        จารึกเพนียด เป็นจารึกภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่เมืองเพนียด ตำบลคลองนารายณ์ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี เป็นจารึกที่ปรากฏพระนาม พระเจ้ายโศวรมันที่ 1

·        จารึกภาษาสันสกฤต พบที่บ้านพุทธา จังหวัดนครราชสีมา เป็นจารึกที่ปรากฏพระนาม รุทรโลก คือ พระเจ้าหรรษาวรมันที่ 1

·        จารึกอัญชัยวรมัน เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่จังหวัดลพบุรี เป็นยจารึกที่ปรากฏพระนาม พระเจ้าชัยวรมันที่ 4

·        จารึกปราสาทหินพนมรุ้ง เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจารึกที่ปรากฏพระนามของพระเจ้าราเชนทรวรมัน และพระเจ้าชัยวรมันที่ 5

·        จารึกเมืองเสมา เป็นภาสันสกฤตพบที่เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา เป็นจารึกที่ปรากฏพระนามของพระเจ้าเชนทรวรมัน

·        จารึกปราสาทภูมิโพน เป็นภาษาขอม พบที่ปราสาทภูมิโพน จังหวัด สุรินทร์ เป็นจารึกที่ปรากฏพระนามของพระเจ้าชัยวรมันที่ 5

·        จารึกภาษาสันสกฤต พบที่ศาลานางขาว อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม เป็นจารึกที่ปรากฏพระนาม พระเจ้าชัยวรมันที่ 5

·        จารึกภาษาสันสกฤต พบที่จังหวัดปราจีนบุรี เป็นจารึกของพระเจ้า สุริยวรมันที่ 1

·        จารึกภาษาขอม ที่วังสวนผักกาด ปรากฏพระนาม พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และบอกศักราชตรงกับ พ.ศ.1559

·        จารึกภาษาขอม พบที่ศาลาสูง (ศาลเจ้าพ่อพระกาฬ) จังหวัดลพบุรี ปรากฏพระนาม พระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 และบอกศักราชตรงกับ พ.ศ.1568

·        จารึกสดกก๊อกธม เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่ปราสาทเมืองพร้าว อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จารึกนี้ปรากฏพระนาม ของพระเจ้าอุทัยทิตยวรมันที่ 2 และบอกศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1595

·        จารึกสร้างเทวรูป เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม ไม่ปรากฏที่มา จารึกนี้ปรากฏพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 และบอกศักราชที่ตรงกับ พ.ศ.1682

·        จารึกปราสาททัพเสียม 2 เป็นภาษาสันสกฤต พบที่ปราสาททัพเสียม อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว จารึกนี้ปรากฏพระนามของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2

·        จารึกของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นภาษาสันสกฤต พบหลายหลัก เช่น จังหวัดสุรินทร์ มีจารึกกู่แก้ว จารึกตาเมือนโต๊จ จังหวัดชัยภูมิ มีจารึกกู่ บ้านหนองบัว จังหวัดนครราชสีมา มีจารึกพิมาย จังหวัดบุรีรัมย์ มีจารึกด่านประคำ เป็นต้น จารึกนี้กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สร้างอโรคยาศาลา ใช้รักษาคนเจ็บป่วย พร้อมกับบริจาคยา หมอและเจ้าหน้าที่ประจำให้ด้วย นอกจากนี้ยังมีจารึกพบที่จังหวัดปราจีนบี คือ จารึกบนฐานคันฉ่องสำริด กล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงพระราชทานอโรคยา ให้มีอวัธยปุระ จารึกบนฐานเชิงเทียน และขอบขันสำริดกล่าวถึงพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงพระราชทานอโรคยาศาลาให้ที่สังโวก

·        จารึกหินขอน เป็นภาษาสันสกฤตและภาษาขอม พบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา จารึกที่กล่าวสดุดีพระราชา นฤเปนทรปติววรมัน ซึ่งเป็นราชภิกษุ ที่อาจจะครองราชย์ที่สโรพรา และการกล่าวพระนามของกษัตริย์ เช่น โสรยวรมัน และเมืองหลวง มฤและตํรง

·        จารึกภูเขียว เป็นภาษาสันสกฤตพบที่จังหวัดชัยภูมิ ปรากฏพระนาม กษัตริย์ชื่อ ชัยสิงหวรมัน ไม่ระบุชื่อเมืองที่ครอง

·        จารึกดอนเมืองเตย เป็นภาษาสันสกฤต พบที่บ้านสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสโร ปรากฏพระนามกษัตริย์ ปวรเสนะ มีพระโอรส พระนามว่า โกรญจพาหุ เป็นพระนัดดานามว่า ธรรมเสนะ และกล่าวถึง ชื่อเมืองศังขปุระ

·        จารึกปราสาทหินพิมาย เป็นภาษาสันสกฤต พบที่เมืองพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปรากฏพระนาม กษัตริย์ศรีเศารยวรมัน พระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะและ กล่าวถึง มุนีราทัศมะ ผู้มีศรัทธาที่มั่นคง

·        จารึกศรีจนาศะ เป็นภาษาสันสกฤตและขอม เดิมนั้นพบที่เมืองเสมา จังหวัดนครราชสีมา มีความว่า พ.ศ.1480 มีอาณาจักรศรีจนาศะ มีกษัตริย์ปกครองหลายพระองค์ คือ พระเจ้าภคมทัตต์ พระเตจต้าสุนทร ปรากรม พระเจ้าสุนทรวรมัน พระเจ้านรปติหิงห์วรมัน พระเจ้ามงคลวรมัน เป็นพระนามกษัตริย์ที่ไม่มีในจารึกของอาณาจักรขอม เป็นต้น

 

ต่อมา อาณาจักรขอมได้ขยายอำนาจเข้าไปทางเหนือดินแดนพายัพ (ของไทย) ซึ่งเป็น หัวเมืองฝ่ายเหนือ

ที่ชนชาติอ้ายลาวได้อาศัยอยู่มาก่อน ครั้งนั้นเจ้าผู้ครองนครเมืองละโว้ ได้ส่งพระนางจามเทวีพระธิดาขึ้นไปครองเมืองหริภุญชัย (เมืองลำพูน) และเมืองนี้ได้เป็นเมืองลูกหลงของเมืองละโว้ โดยมีนางจามเทวีมีอำนาจปกครองพวกลาวทั้งปวง ในที่สุด ต่อมาจึงตั้งเมืองนครเขลางค์ (เมืองลำปาง) ขึ้นและให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือร่วมกัน

 

                ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12-17 เมื่ออาณาจักรขอมได้ขยายอำนาจไปถึงบริเวณใดก็รับเอาวัฒนธรรมของขอมและความเชื่อในศาสนา จึงทำให้มีการสร้างเทวบรรพต (ปราสาทหินบนภูเขา) และเทวสถาน (ปราสาทหินบนที่ราบ) ขึ้นมากมายเพื่อขยายอาณาจักร

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม จารึกเรื่องราวของขอม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์