ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ปราสาทหินของขอม

 

ปราสาทหินของขอม

 

                บริเวณภาคตะวันตก ภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทยนั้น ปรากฏว่ามีปราสาทหินจากวัฒนธรรมขอม สร้างไว้มากมาย หลายขนาด เช่น

 

·        ปราสาทภูมิโปน (พูมโพน) ศิลปสัมยสมโบร์ไพรกุก อาณาจกรเจนละ พุทธศตวรรษที่ 11-12 อยู่ที่บ้านภูมิโปน ตำบลดม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

·        ปราสาทตาเมือน อยู่ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

·        ปราสาทตาเมือนธม อยู่ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์

·        ปราสาทสังข์ศิลปะชัย  อยู่ที่ ต.บ้านจารย์ อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

·        ปราสาทเขาน้อย ศิลปะสมัยไพรกะเม็ง อาณาจักรเจนละ สร้างเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 12-13 อยู่ที่ตำบลคลองนำใส อำเภออรัญญประเทศ จังหวัดสระแก้ว

·        ปราสาทเขาพระวิหาร สร้างเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 15 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 อยู่ใกล้จังหวัดศรีษะเกษ

·        ปราสาทกำแพงใหญ่ อยู่ที่อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีษะเกษ

·        ปราสาทหินพรมรุ้ง อยู่ที่อำเภอพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์

·        ปราสาทเมืองต่ำ สร้างพุทธศตวรรษที่ 15-16 อยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

·        ปราสาทหินพิมาย ศิลปะปาปวน พุทธศตวรรษที่ 16 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 อยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา มีภาพสลักเกี่ยวกับพุทธศาสนา นิกายมหายาน พุทธประวัติตอมารวิชัย พระโพธิสัตว์ไตรโลกยวิชัย ในศิลปะขอม

·        ปราสาทเมืองแขก อยู่ที่อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา

·        ปราสาทพนมรุ้ง สร้างในพุทธศตวรรษที่ 17 สมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 อยู่ที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ์ จังหวัดบุรีรัมย์

·        ปราสาทเมืองสิงห์ สร้างในพุทธศตวรรษที่ 18 อยู่ที่อำเภอไทยโยค จังหวัดกาญจนบุรี

·        พระปรางสามยอด อยู่ที่อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

·        โบราณสถานที่เมืองศรีเทพ จ.เพชรบูรณ์

·        โบราณสถานของเมืองศรีวัตสะปุระ ที่อำเภอศรีมหาโพธิ์ จังหวัดปราจีนบี เป็นต้น

 

ปราสาทหินและประติมากรรมจากวัฒนธรรมขอมนี้ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการขยายอาณาเขตของ

อาณาจักรขอม ที่เคยครอบครองดินแดนแถบภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกของไทยมาก่อน

และมีอาณาจักรลพบุรี เป็นศูนย์กลางอำนาจขอมในดินแดนสุวรรณภูมิแห่งนี้

 

                เนื่องจากเมืองละไว้ เป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรขอมในบริเวณภาคกลาง จึงพบว่าชุมชนโบราณในสมัยลพบุรีนั้น ได้รับระบบสังคมและวัฒนธรรมมาจากศูนย์อำนาจฯ ดังจะเห็นว่า ในการตั้งชุมชนหมู่บ้านหรือเมืองนั้นมักจะตั้งอยู่ไม่ห่างจากลำน้ำธรรมชาติ เพื่อที่จะนำแหล่งน้ำนั้นมาใช้ โดยนำการจัดการแหล่งน้ำในระบบชลประทาน ที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมขอมมาใช้และมีการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในการเพาะปลูก และมีการสร้างทำนบน้ำและคูคลอง เพื่อจ่ายน้ำออกไปสู่พื้นที่กสิกรรมเช่นเดียวกัน

 

                การวางผังเมืองในชุมชนโบราณ สมัยนี้ ได้มีการนำเอาการจัดเมืองมาสร้างภูมิสถานเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า (สมัยทวาราวดีสร้างเมืองเป็นวงกลม และวงรี) โดยหันทิศทางไปตามแนวแกนทิศหลักสี่ทิศ โดยสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และศาสนสถานขึ้นภายในเมืองตลอดจนมีการขุดสระน้ำในเมือง หรือสร้างอ่างเก็บน้ำ (บาราย) อยู่นอกเมือง เมืองแบบนี้ได้แก่ เมืองพิมาย

 

                แม้ว่าชุมชนโบราณนั้น จะมีผู้คนมาอาศัยมาตั้งแต่สมัยทวาราวดี และมีคูน้ำ-  คันดินล้อมรอบบริเวณชุมชนอยู่แล้วก็ตาม เมื่อมีการสร้างเมืองอยู่อาศัยร่วมสมัยเช่นนี้ ก็มีการจัดผังชุมชนต่อเนื่องโดยการขยายพื้นที่เมืองออกไป และสร้างคู่น้ำ คันดิน เพิ่มขึ้น เช่น เมืองพลับพลา อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา และมีการสร้างเทวสถานเพิ่มเติมขึ้นภายในตัวเมืองด้วย เช่น เมืองเสมา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา และเมืองศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์

 

                ชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขานั้น บนยอดเขาจะมีการสร้างโบราณสถาน และสร้างอ่างเก็บน้ำไว้ด้วย และสร้างสระน้ำที่เชิงเขาสำหรับใช้ในชุมชนด้วย เช่น ปราสาทหินพนมรุ้ง สำหรับชุมชนที่ตั้งบนที่ราบ นั้น ได้มีการสร้างโบราณสถานขึ้นเป็นศูนย์กลางของชุมชน สร้างสระน้ำขนาดใหญ่ (บาราย) ในบริเวณใกล้เคียง เช่น ปราสาทหินพนมวัน จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นเทวสถานที่อยู่พื้นราบ

 

                สรุปแล้วการสร้างชุมชนโบราณตามแบบวัฒนธรรม ก็คือ การสร้างตามความเชื่อให้มีโบราณสถาน (ปราสาท) เป็นศูนย์กลางเมืองหรือชุมชน มีคูนำ คันดิน ล้อมรอบทั้งสี่ด้าน พร้อมกับสร้างอ่างเก็บน้ำสำหรับใช้การเพาะปลูก ซึ่งเป็นรูปแบบที่ชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี ได้รับเอารูปแบบนี้มาจากาอินเดียก่อนแล้ว และมีการพัฒนาสร้างเมืองตามรูปแบบวัฒนธรรมขอม (เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) ตามรูปผังการสร้างปราสาทหินให้เป็นศูนย์กลางเมืองหรือจักรวาล ก็มีการเปลี่ยนรูปแบบไปจากชุมชนโบราณสมัยทวาราวดี

 

                การเพาะปลูกนั้น เป็นอาชีพหลักของชุมชนโบราณที่อยู่อาศัยกันมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ และสมัยทวาราวดี โดยรู้จักปลูกพืชประเภทต้องถากถางพรวนดินเลี้ยงควายไว้ทำนาข้าว ซึ่งรู้วิธีการปลูกข้าวทำนามาก่อน ในวัฒนธรรมขอมโบราณนั้น การทำนาปลูกข้าว ใช้วิธีทำนาแบบนาดำที่มีน้ำเข้าไปช่วยให้ต้นข้าวเติบโต จึงจำเป็นต้องใช้น้ำเป็นเพาะปลูกและมีการจัดระบบชลประทานใช้มาก่อน ดังนั้น การนำระบบน้ำเข้าไปช่วยในการทำนาตามแบบวัฒนธรรมขอม จึงทำให้ชุมชนโบราณเหล่านี้ ให้ความสำคัญกับแหล่งน้ำและมีการสร้างสระน้ำขนาดใหญ่ขึ้น

 

                ในจารึกของขอมมีข้อความกล่าวถึงการอุทิศผลผลิตจากการทำนาปลูกข้าว เช่น ข้าวเปลือก ข้าวสาร หรืออาหารจากข้าว ให้เทวสถานด้วย

                การทำเครื่องปั้นดินเผาก็เป็นอาชีพที่ชุมชนรู้จักทำกันมาเดิม โดยมีรูปแบบง่ายผลิตใช้กันในชุมชน ภายหลังได้รู้จักการผลิตที่มีกรรมวิธีมากขึ้นตามอย่างวัฒนธรรมขอม ทำให้พัฒนาเครื่องปั้นดินเผาให้ทันสมัยขึ้นและสามารถส่งค้าขายได้ มีเครื่องปั้นดินเผาที่เป็นรูปแบบของขอมขึ้นจำนวนมากและนิยมใช้กันในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น เครื่องปั้นดินเผาบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์

 

                ภาคตะวันออกเฉียงของไทยนั้น ได้รับศาสนาพราหมณ์ไสวนิกาย และไวษณพนิกาย และพุทธศาสนานิกายมหายาน เผยแพร่เข้ามาอย่างมากมาย จึงมีรูปเคารพในศาสนาดังกล่าว และมีปราสาทหินเป็นเทวสถานประจำชุมชนนั้นมากมาย โดยเฉพาะการรบเอาเทวราช-กมรเตง ชคฺต ราช – เทวราชา มาเป็นพิธีบูชาขอให้ พระผู้เป็นเจ้า – ศิวลึงค์ คุ้มครองป้องกันภัย ซึ่งต่อมาได้มีบทบาทสำคัญในการปกครองของกษัตริย์หรือผู้นำชุมชนโบราณ

                ชุมชนโบราณหรือเมืองต่าง ๆ ในบริเวณภาคตะวันออกและภาคกลางแถบลุ่มแม่น้ำ เจ้าพระยาของไทยนั้น เมื่ออาณาจักรขอมมีอำนาจขยาบริเวณมาครอบครองในดินแดนดังกล่าว ผู้ครองเมือง (กษัตริย์) นั้นก็มีโอกาสที่จะเป็นอิสระได้ทุกเมื่อ หากอาณาจักรขอมเกิดอ่อนแอลง

 

                การที่พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จากจารึกปราสาทพระขรรค์) สร้างพระชัยพุทธมหานาถ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปฉลองพระองค์ ของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 จำนวน 23 องค์ ส่งพระราชทานพระพุทธรูปนี้ไปประดิษฐานตามเมือง

ต่าง ๆ ได้แก่ ลโวทยปุระ (ลพบุรี) สุวรรณปุระ (สุพรรณบุรี) ศรีวิทยาปุระ (นครชัยศรี) ชัยราชปุระ (ราชบุรี)

ศรีชัยวัชรปุระ (เพชรบุรี) ศัมพูกกะปัฏกะ (ยังไม่ทราบที่- สระโกสินารายณ์ที่ราชบุรี) ศรีชัยสิงหปุระ (บริเวณปราสาทเมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี) เป็นต้น

 

                ทำให้เชื่อว่า เมืองเหล่านั้นตกอยู่ในอำนาจของขอม หรือจะยอมรับแต่วัฒนธรรมทางศาสนา โดยไม่ใหมีอำนาจเข้าไปปกครองในบ้านเมืองของตน ก็เป็นได้ทั้งสิ้น

 

                แต่ยกย่องกษัตริย์เป็นเทวราชตามอย่างกษัตริย์ขอม คือ พระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (พ.ศ.1333- 1389) นั้น

น่าจะได้เผยแพร่ความเชื่อและนำพิธี ราชาภิเษก เพื่อสถาปนาเทวราชา (การเป็นเทวะผู้เป็นราชา คือ กมรเตง ชคฺต ราช) ไปใช้ในการจัดการปกครองของตนในดินแดนดังกล่าว ในจารึกพบว่า มีชื่อกษัตริย์และแคว้นที่ไม่ปรากฏชื่อในจารึกของขอมอยู่  จึงเชื่อว่า เป็นกษัตริย์ที่ปกครองเมืองเป็นอิสระอยู่ไม่ได้ขึ้นกับอาณาจักรขอม

 

สรุปสาระความรู้

 

                ในพุทธศตวรรษที่ 16-18 นั้นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรขอม ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)

ของไทย อยู่ที่เมืองพิมาย และศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรในภาคกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ที่

เมืองละโว้ ซึ่งถือว่า เป็นแหล่งเผยแพร่และนำวัฒนธรรมขอมมาสู่ดินแดนดังกล่าว

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ปราสาทหินของขอม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์