ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  การสร้างอาณาจักรของราชวงศ์อู่ทอง

 

 

การสร้างอาณาจักรของราชวงศ์อู่ทอง

 

                เนื่องจากดินแดนประเทศไทยปัจจุบันนั้นเป็นดินแดนที่อยู่ในอิทธิพลของชนชาติอื่นมาก่อน ดังนั้น

การที่ชนชาติไทย จะมีโอกาสสร้างอำนาจและรวมชาติเป็นอาณาจักรขึ้นได้นั้น จึงต้องใช้เวลาในการสร้างบทบาทของตนขึ้นท่ามกลางสังคมและความเชื่อของชนชาติมอญ และขอม กล่าวคือ ในพุทธศตวรรษที่ 11-16 นั้น อาณาจักรทวาราวดี นับเป็นอาณาจักรแรกที่เกิดขึ้นในดินแดนสุวรรณภูมิ พบว่าบริเวณภาคกลาง ภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงเหนือ นั้นมีวัฒนธรรมเดียวกัน มีการนับถือศาสนาเดียวกัน และมีการสร้างพระพุทธรูปลักษณะเดียวกัน

                การปกครองของอาณาจักรทวาราวดีนั้น มีรูปแบบของรัฐอิสระที่ไม่มีศูนย์อำนาจที่เข้มแข็ง เป็นระบบเมืองที่ต่างสร้างฐานะของตนขึ้นตามวัฒนธรรมที่ได้รับ คือ ถือเอาความเชื่อถือและวัฒนาธรรมมาใช้ในชุมชนเท่านั้น โดยไม่ต้องยอมตกอยู่ในอำนาจทางการเมือง เมื่อชุมชนเข้มแข็ง ก็สามารถตั้งตนเป็นอิสระได้หรือยอมรับเอาวัฒนธรรมที่ผ่านเข้ามา จึงเป็นเหตุให้เกิดชุมชนต่าง ๆ ขึ้นมากมายและอยู่กันกระจัดกระจายทั่วไป

 

                ชุมชนที่เกิด ในวัฒนธรรมสมัยทวาราวดีนั้นทำให้ความเชื่อดั้งเดิม ที่นับถือผีนางไม้ และมีความเป็นวิญญาณนิยมนั้น ได้ปรับเปลี่ยนเมื่อมีอิทธิพลและวัฒนธรรมภายนอกเข้ามา โดยปรับเปลี่ยนนับถือพุทธศาสนา มีการใช้การปกครองเทวราชา มีพราหมณ์สำหรับพิธีกรรม เป็นต้น ชุมชนที่รับวัฒนธรรมของอินเดียโดยตรงนั้นจึงมีความเจริญรุ่งเรือง และเป็นเมืองอิสระ ขนาดใหญ่ที่สุด เช่น เมืองอู่ทอง เมืองสุพรรณบุรี เมืองลพบุรี เมืองหิริภุญชัย เมืองจันเสน เป็นต้น เมืองโบราณเหล่านี้จึงกลายเป็นศูนย์กลางของพื้นที่นั้นไป

 

                ในพุทธศตวรรษที่ 16 อาณาจักรขอมได้เข้ามามีอิทธิพลในดินแดนภาคกลาง และมีการสร้างศูนย์อำนาจทางการเมืองขึ้นที่เมืองลพบุรี แต่อาณาจักรขอมนั้นมีอำนาจตามยุคสมัย โดยมีอำนาจบ้าง หมดอำนาจไปบ้าง จึงทำให้ชุมชนหรือเมืองในดินแดนดังกล่าวมีความเป็นอิสระทางการเมืองอยู่เสมอและรับเอาแต่วัฒนธรรมไปใช้ในชุมชน

 

                สำหรับข้อมูลของชนชาติไทยนั้น  ไม่มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากไปกว่าเรื่องเล่าตามตำนาน

ที่พูดถึงการกำเนิดมนุษย์ และชนชาติไทยที่อยู่ทางตอนเหนือ ซึ่งมีสังคมของตนเองจนเกิดเป็นอาณาจักรล้านนาไทย ในภายหลัง การปรากฏตัวของชนชาติไทย ครั้งนี้เป็นสังคมของการเมืองเล็ก ๆ ที่ต่างมีอิสระก่อนการตั้งเมืองสุโขทัย 200- 300 ปี คือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงแสน และเมืองแสนหวี เป็นต้น แล้วจึงขยายการตั้งเมืองเล็กเข้ามาแย่งพื้นที่ในเขตอิทธิพลของชนชาติมอญและชนชาติขอม

 

                ในพุทธ ศตวรรษที่ 16-18 ดินแดนตอนกลางบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยานั้น อาณาจักรขอมได้เข้ามามีอำนาจ โดยมีเมืองพระนครหลวง (เมืองยโศธรปุระ) เป็นศูนย์กลางทางการเมือง ซึ่งเป็นสังคมทาสน จึงสร้างเมืองด้วยการใช้แรงงานของทาส โดยเฉพาะการสร้างเทวสถาน (ปราสาทหิน) ที่จะเป็นศูนย์กลางของสังคมหรือชุมชนเมือง สร้างบาราย (สระน้ำ) เพื่อใช้ในการเกษตรกรรมทำให้ปลูกข้าวและสร้างความอุดมสมบูรณ์ ทำให้อาณาจักรขอมมีอำนาจเติบโตขยายพื้นที่และอยู่ได้เกือบ 400 ปี การขยายพื้นที่ของอาณาจักรขอมไปบริเวณต่าง ๆ นั้น

ได้มีการสร้างอำนาจทางการเมือง เข้าไปในเมืองลพบุรี และใช้เป็นศูนย์กลางดูแลเมืองต่าง ๆ

 

                ในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 (พ.ศ.1545-1593) พระองค์ทางใช้เมืองลพบุรี เป็นศูนย์กลางการแผ่อำนาจของพระองค์ออกไปยังเมืองแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนสิ้นรัชกาล โดยมีการแต่งตั้งกษัตริย์ขอม สำหรับครองเมืองลพบุรี ภายหลังเมืองลพบุรี ก็กลับมาเป็นอิสระ (พ.ศ.1658 – 1698) เนื่องจากอาณาจักรขอมนั้น ไม่ได้มีอำนาจเข้ามายังบริเวณภาคกลาง ซึ่งมีสังคมและวัฒนธรรมอินเดียอยู่ก่อนแล้ว ส่วนดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) นั้น อาณาจักรขอมได้มีอิทธิพลเข้ามาและมีการใช้เมืองพิมาย เป็นศูนย์กลางการแผ่อำนาจของขอม ทำให้มีการสร้างเทวบรรพตและเทวสถานขึ้นมากมาย และกษัตริย์หลายพระองค์ ของขอมก็มีบทบาทสำคัญในพื้นที่ดังกล่าวมากกว่าที่มีอำนาจมาถึงบริเวณอาณาจักรทวาราวดี

 

                ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น พระองค์ได้ขยายอำนาจเข้ามาถึงบริเวณลุ่มน้ำ เจ้าพระยาอีก และใน พ.ศ.1738 นั้น มีจารึกว่ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้ส่งโอรสเข้ามาเป็น อุปราช ครองเมืองลพบุรี เป็นองค์สุดท้าย เมื่อสิ้นรัชกาลอาณาจักรขอม ก็อ่อนอำนาจลงเนื่องจากมีเหตุการณ์การสู้รบกับกลุ่มชนชาติที่เข้าชิงอำนาจในเมืองสุโขทัย พวกจาม และชาติอื่น ๆ (สุมาตราและชวา) เป็นต้น และมีการใช้แรงงานทำการก่อสร้างเทวสถานมากมาย โดยเฉพาะการสร้างเมืองพระนครหลวง (นครธม) การสร้างนครวัด เพื่อแสดงอำนาจบุญญาบารมีของกษัตริย์นั้นได้ทำให้สิ้นเปลืองทรัพย์สินจำนวนมาก และเกิดการเปลี่ยนแปลงทางที่เป็นสังคมทาสในอาณาจักรขอม ทำให้ทาสเป็นไพร่และพลเมืองต่างมีอิสระมากขึ้น ในที่สุดได้ทำให้อำนาจของกษัตริย์เขรมรเสื่อมลง เปิดโอกาสให้ชนชาติอื่นโดยเฉพาะชนชาติไทยมีอำนาจมากขึ้น

 

                ชุมชนโบราณและอาณาจักรที่ตั้งอยู่บริเวณภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จึงได้รับอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู พุทธศาสนานิกายมหายาน เป็นหลักในการสร้างอำนาจทางการเมือง (รับมาจากวัฒนธรรมขอม) มาแต่แรกนั้น เมื่อมีพุทธศาสนานิกายหินยานจากลังกาเผยแพร่เข้ามา ได้ทำให้ความเชื่อของชุมชนแถบนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะดินแดนของชนชาติมอญ (อาณาจักทวาราวดี) ทำให้มีการแพร่กระจายพุทธศาสนานี้เข้าไปในเมืองโบราณต่าง ๆ ในขณะที่ศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ไปตามเกาะต่าง ๆ ทางตอนใต้ และชนชาติจีนได้เดินเรือเข้ามามีอิทธิพลยังแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จนได้มีความสัมพันธ์กับชนชาติไทยและเมืองมะละกา จึงเป็นโอกรสที่ทำให้ชนชาติไทยรวบรวมกำลังเข้ายึดอำนาจขอมและตั้งอาณาจักรของตนเองในที่สุด

 

                การที่ชนชาติไทย (ชาวสยาม) สามารถตั้งเป็นอาณาจักรได้นั้น สืบเนื่องมาจากอาณาจักรทวาราวดีมีการปกครองแบบนครรัฐที่ต่างเมืองต่างเป็นอิสระ จนเป็นเหตุให้อาณาจักรแห่งนี้ ต่างมีศูนย์กลาง (เมืองใหญ่) เกิดขึ้น (อย่างอิสระ) หลายแห่ง เช่น เมืองนครชัยศรี เมืองศรีเทพ เมืองพงตึกและเมืองอู่ทอง เป็นต้น ซึ่งต่างเป็นเมืองที่รับเอาวัฒนธรรมอินเดียโบราณโดยตรง ดังนั้น หลังจากที่อาณาจักรทวาราวดีและอิทธิพลของอาณาจักรขอมเสื่อมอำนาจลงในเวลาต่อมา ชนชาติไทย ชาวสยาม จึงเข้ามาตั้งถิ่นบานเป็นชุมชนเมืองในพื้นที่ดังกล่าวแทน

 

                กล่าวคือ ตั้งแต่สมัยพุทธศตวรรษที่ 11 กลุ่มชนชาวไทยได้รวมตัวกันตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณอาณาจักรล้านนาไทยและบริเวณเมืองแถนหรือเดียนเบียนฟู ในประเทศเวียดนามปัจจุบัน ได้เกิดเมืองสำคัญคือ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย และเมืองพะเยาขึ้น

                ชนชาติไทย (สยาม) นั้นได้รวมกำลังกันเข้ายึดอำนาจจากขอมที่เมืองสุโขทัย จนตุ้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 17 แล้วสามารถขยายอาณาเขตครอบคลุมไปทางใต้ ของแหลมทอง ถึงเมืองนครศรีธรรมราช

 

                ชนชาวไทย (สยาม) ได้เริ่มปรากฏความสำคัญในประวัติศาสตร์เมื่อพุทธศตวรรษที่ 16 กล่าวคือ ในจารึกของชาวจาม ที่ปราสาทโพนคร เมืองญาตรัง ประเทศเวียดนาม ได้กล่าวถึง ทาสหรือเชลยศึกชาวสยาม ร่วมกับชาวจีน ญวน ขอมและพม่า ในเหตุการณ์สงครามของชาวจาม ต่อมาในพุธศตวรรษที่ 17 ได้ปรากฏในภาพสลักที่ระเบียงผนังทิศใต้ของปาสารทนครวัด เป็นกลุ่มภาพนักรบที่แต่งตัวแปลกประหลาดกว่าทหารขอม มีแม่ทัพนั่งบนหลังช้างและมีจารึกสั้น ๆ ว่า “สยฺม กุก” หมายความว่า นักรบแห่งสยาม (สันนิษฐานไว้ว่า เป็นชาวสยามจากลุ่มแม่น้ำกกใกล้เมืองเชียงแสนหรือจากสุพรรณบุรี)

 

                คำว่า “สยาม” นั้นน่าจะมาจากคำภาษาจีนที่เรียกแคว้นสุวรรณภูมิว่า “เสียน SIAN” หรือ เสียม SIAM”

เชื่อว่ากลุ่มชนชาตินี้มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองสุวรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) โดยผู้ครองเมืองนั้นเป็นบุคคลที่สืบเชื้อสายจากษัตริย์ทางเหนือ จีน เรียกกลุ่มชนที่ตั้งอยู่บริเวณนี้ว่า “เสียมก๊ก” และเรียกเจ้าผู้ครองแผ่นดินนั้นว่า “เสียนข่านหมู่ตึง” นอกจากนั้นยังเรียกแคว้นละโว้ว่า “หลอหู”

 

                ครั้นเมื่อแคว้นละโว้ (พระเจ้าอู่ทอง) และเมืองสุวรรณภูมิได้มีความสัมพันธไมตรีกัน (คือพระเจ้าอู่ทองแต่งงานกับธิดาของเมืองสุวรรณภูมิ) ในพุทธศตวรรษที่ 19 นั้น พระเจ้าอู่ทองจึงได้สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นแล้ว สถาปนาเป็นราชธานีของอาณาจักรขึ้นใหม่

 

                ในเอกสารจีน เรียกอาณาจักรทั้งสองที่รวมกัน (อาณาจักรสุวรรณภูมิและกรุงศรีอยุธยา) นี้ว่า “เสียนหลอหู” สมัยต่อมาได้มีการเรียกชื่ออาณาจักรนี้เป็น ภาษาสำเนียงจีนกลางว่า “เสียนโหล” และสำเนียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า “เสียมล้อ”

 

                เรื่องราวของอาณาจักรสยามในเอกสาร ราชการจีนนั้น ขุดเจนจีนอักษร (สุดใจ) ได้แปลเป็นภาษาไทย

(ประชุมพงศาวดารเล่ม 4 ) และในหนังสือหวงเฉียวบุ๋นเหนียนทงเค้า เล่มที่ 34 หน้า 40 – 41 เป็นหนังสือหลวงเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์ไต้เซงเมื่อครั้งแผ่นดินเขียนหลงปีที่ 42 เตงอีว (ตรงกับปีระกา จ.ศ.1139- พ.ศ.2320) สมัยกรุงธนบุรี นั้นได้สรุปไว้ว่า

 

                “เสียมหลอก๊ก (กรุงศรีอยุธยา) อยู่ฝ่ายทิศตะวันออกเมืองก้วงหลำ เฉียงหัวนอน (เฉียงใต้) เมืองกั้งพู้จ้าย(กัมพูชา) ครั้งโบราณมีสองก๊ก เสี้ยม (สยามคือสุโขทัย) ก๊กหนึ่งหลอฮก (ละโว้) ก๊กหนึ่ง อาณาเขตพันลี้เศษ

(360 ก้าวเท้า เรียกว่า ลี้) ปลายแดนมีภูเขาล้อมตลอด  แผ่นดินเปียกแฉะ ชาวชนต้องอยู่เรือนหอสูง หลังคามุงด้วยไม้หมากาเอาหวายผูกที่มุงด้วยกระเบื้องก็มี ประชาชนนับถือเซกก่า (พุทธศาสนา) หากชาวชนถึงแก่ความตายก็เอาน้ำปรอทกรอกปากแล้วจึงเอาไปฝังศพ ถ้าเป็นคนจนเอาศพไปทิ้งไว้ที่ฝั่งทะเล ในทันใดก็มีกาหมู่หนึ่งมาจิกกิน

สิ่งของที่มีในประเทศ คือ อำพันทองที่หอม ไม้หอมสีทอง ไม้หอสีเงิน ไม้ฝาง ไม้แก่นดำ งาช้าง หอกระดาน กระวาน พริกไทย ผลไม้ ทองคำ และหินสีต่าง ๆ ตะกั่ว แรด ช้าง นกยูง นกแก้วห้าสี เต่าหกขา ไม้ไผ่ ทับทิม

แตง ฟัก”

 

 

                สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงมีความเห็นในเรื่องนี้อีกว่า

 

                “อันดินแดนสยามประเทศนี้ เดิมเปนภูมิลำเนาของพวกชาวละว้า หรือลัวะ อาณาเขตด้านทิศตะวันออกติดต่อกับประเทศเขมรและทิศตะวันตก จรตรามัญประเทศ ด้วยเหตุที่ชาวละว้าไม่มีความเจริญและสามารถเท่าใดนัก จึงตกเป็นประเทศราชของขอมและชาติอื่นเป็นครั้วคราว”

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม การสร้างอาณาจักรของราชวงศ์อู่ทอง

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์