ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ตำนานเมืองโยนกเชียงแสน

 

ตำนานเมืองโยนกเชียงแสน

                ตำนานฝ่ายลาว ได้เล่าไว้ว่า ท้าวฮุ่งนั้น เป็นลูกของขุนจอมธรรม แห่งเมืองสวนตาล (เมืองนาคอง)

ตำนานเมืองพระเยา (พงศาวดรเมืองเงินยางเชียงแสน) ฝ่ายไทยว่า ขุนเจือง คือเป็นลูกขุนจอมธรรม เกิดที่เมืองพะเยา ต่อมาได้ครองเมืองพะเยา

 

                สรุปแล้ว ท้าวฮุ่งหรือขุนเจียงนี้น่าจะเป็นคนเดียวกัน เป็นลูกของขุนจอมธรรม ประเด็นสำคัญอยู่ตรง บริเวณเมืองสวนตาลหรือเมืองนาคอง นั้นเป็นบริเวณเดียวกับเมืองพะเยา หรือไม่ เรื่องของท้าวฮุ่งหรือขุนเจืองนั้นในตำนานว่ามีถิ่นฐานตั้งแต่เมืองเงินยาง เชียงแสน ถึงเมืองพะเยา คือบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำกกของเชียงราย – พะเยา ซึ่งเรียกกันว่า โยนก โดยมีลำน้ำแม่กกเชื่อมต่อกับแม่น้ำโขง และมีบริเวณต่อเนื่องไปในดินแดนบางส่วนของเมียนม่าร์และลาว

 

                บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง ของเชียงใหม่ – ลำพูน นั้นมีพื้นที่เก่าแก่คือเมืองหริภุญชัย (ลำพูน) ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 13 (หลัง พ.ศ.1200) แคว้นละโว้ได้ขยายอิทธิพลขึ้นมาถึงบริเวณนี้ทำให้มีการพัฒนาบ้านเมืองขึ้นก่อนดินแดนของโยนก

                ในตำนานสิงหนวัติ นั้น กล่าวว่าดินแดนของโยนกนั้นเดิมเป็นดินแดนของสุวรรณโคมดำ แต่ทิ้งร้างไป

ต่อเมื่อสิงหนวัติกุมารนำไพร่พลจากนครไทยเทศมาสร้างเมืองใหม่ ขึ้นตรงที่แห่งนี้ แล้ว จึงให้ชื่อว่า นาคพันธ์สิงหนวัตินคร ภายหลังเมืองนี้ได้เปลี่ยนเป็น โยกนนครไชยบุรี ราชธานีศรี ช้างแล่น  (เป็นเมื่อเอกหลวงของอาณาจักรช้างร้อง) ในที่สุดมีการเปลี่ยนชื่ออีกเป็น เชียงแสน ส่วนพลเมืองที่อยู่เมืองนี้เรียกตนเองว่า ยวนหรือ

ชาวยวน

                คำว่า ยวน นั้นจึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกคนไทยมาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว และพม่าก็เรียกว่า ดินแดนตะวันออกของแม่น้ำสาละวิน ว่า ยวน เช่นเดียวกัน แต่เรียกชาวเชียงใหม่ว่า ยูน ซึ่งคนไทย เข้าใจว่าเพี้ยนมาจาก ไตยนหรือ

ไท-ยวน (ยูนในภาษาพม่าแปลว่า ข้าหรือทาสว่า ยูน และเรียกตัวเองให้สุภาพว่า ยูนโนก แปลว่า ทาสผู้ต่ำต้อย

และเรียกผู้ที่พูดด้วยว่า ขิ่นพญาแปลว่า ท่านนาย... (จากเรื่องความเป็นมาของคำสยามฯ ของจิตร  ภูมิศักดิ์)

 

                ดังนั้น ดินแดนของโยนกในสมัยโบราณจึงเป็นถิ่นฐานของพวกยวน คืออยู่บริเวณที่ราบลุ่มจังหวัด เมืองเชียงรายกับจังหวัดพะเยา และบริเวณโดยรอบ ซึ่งมีภูเขาขนาบตามแนวทิศเหนือ – ใต้ จึงเป็นแหล่งกำเนิดของลำน้ำที่ไหลมาจากภูเขา (ดอย) ซึ่งไหลมาจากทิศตะวันตกลงแม่น้ำโขง ที่อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณนี้มีแม่น้ำสำคัญ คือ แม่น้ำกก แม่น้ำแม่ลาว แม่น้ำแม่อิง ทำให้เกิดที่ราบลุ่มสำคัญที่ตั้งถิ่นฐานของโยนกโบราณ ซึ่งมีเมือง (เวียง) อยู่ตามที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าวมากมาย ถือว่าเป็นกลุ่มคนที่น่าจะสืบเนื่องมาจากตำนานเรื่องท้าวฮุง (ขุนเจือง) ดังกล่าว ที่ราบลุ่มแม่น้ำนั้นมีดังนี้

 

                ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่จัน เป็นบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ ที่สุดในเขตเชียงราย เนื่องจากมี ลำน้ำแม่จัน

ลำน้ำแม่คำ ลำน้ำแม่สาย ลำน้ำรวก ซึ่งไหลลงแม่น้ำโขง ที่ราบกลุ่มนี้มีเมืองเชียงแสน เป็นเมืองสำคัญ โดยมีเมืองเล็ก (เวียง) หลายแห่ง เช่น เวียงหนองล่ม เวียงมโยรา เวียงแก้ว เวียงสีทวง และเวียงพาน

               

                ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กก เป็นบริเวณที่มีแม่น้ำแม่กกไหลมาจากภูเขาที่อยู่ในรัฐฉานของเมียนม่าร์และภูเขาในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยไหลผ่านช่องเขาแคบ ๆ ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ผ่านเขตจังหวัดเชียงราย ไปลงแม่น้ำโขงที่ สบ-กก (อยู่ใต้เชียงแสน) โดยมีเมืองเชียงรายเป็นเมืองสำคัญ และมีเมือง (เวียง) ไม่ต่ำกว่า

11 แห่ง

                ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่ลาว  เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ระหว่างเขาดอยเวียงผา ด้านตะวันตกติดกับภูเขาดอยหลวงทางทิศตะวันออก (อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง) เป็นที่ราบที่อยู่ในหุบเขาแคบ ๆ โดยมีแม่น้ำแม่ลาว ซึ่งเกิดจากภูเขาไหลจากทิศใต้ขึ้นไปทางทิศเหนือ ผ่านเวียงป่าเป้า (อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย) ผ่านช่องเขาสูง (อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย) แล้วไหลไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือผ่านที่ราบในจังหวัดเชียงราย ไหลลงไปรวมกับแม่น้ำกกลงแม่น้ำโขง บริเวณนี้มีเมือง (เวียง) ตั้งอยู่มากมาย เช่น เวียงกาหลง เวียงป่าเปา เวียงแม่สาย เวียงไชย

เป็น ต้น โดยเฉพาะเวียงกาหลงนั้น พบว่าเป็นแหล่งเครื่องปั้นดินเผา ที่เกิดจากเตาเวียงกาหลงด้วย

 

                ที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่อิง เป็นบริเวณที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงราย อยู่รอบดอยหลักล้านกับดอยอีอ้วน ระหว่างดอยหลวงด้านทิศตะวันตกและดอยด้วนทางทิศตะวันออก โดยแม่น้ำแม่อิงไหลผ่านจากต้นน้ำบนภูเขาในเขตอำเภอพาน จังหวัดเชียงราย ไหลลงมาทางทิศใต้ ผ่านที่ราบลุ่มที่อุดมสมบูรณ์ มีลำนำ (ลำเหมือง)

อยู่หลายสายไหลลงมายังแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ บริเวณทางทิศเหนือกับทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ของกว๊าน พะเยานั้น เป็นที่เนินสูงลาดลงมาจากที่สูงลงมาจากภูเขาทำให้น้ำท่วมไม่ถึง เหมะสำหรับการตั้งถิ่นฐานบ้านเมือง มีชัยภูมิดี จึงทำให้พบเมือง (เวียง) หลายแห่ง เช่น เวียงพะเยา เวียงต๋อม เวียงปู่ล่าม และเวียงแก้ว ส่วนด้านตะวันออกของกว๊านนั้นเป็นที่ราบลุ่มต่ำระหว่างดอยทางด้านตะวันตกกับดอยแม่ะ และดอยกิ่งแก้วด้านตะวันออก แม่น้ำแม่อิง ช่วงนี้เรียกแม่น้ำสายตา ซึ่งไหลออกจากกว๊านพะเยาผ่านขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผ่านกลางคูน้ำ คันดิน ของเมืองโบราณ ชื่อ “เวียงลอ” (อำเภอจุน จังหวัดพะเยา) แล้วไหลขึ้นทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอเทิง

จังหวัดเชียงราย มี “เวียงเทิง) เป็นศูนย์กลางซึ่งมีดอยพระธาตุจอมจอ อยู่ริมแม่น้ำแม่อิง และด้านทิศตะวันตกนั้นก็มีพระธาตุเก่าแก่คือ พระธาตุจอมซิ่น จากอำเภอเทิงนั้น แม่น้ำไหลได้ขึ้นทางทิศเหนือถึงอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมี เวียงเชียงของเป็นศูนย์กลาง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ใกล้ปากแม่น้ำอิง พบว่ามีเมืองโบราณอยู่ 2 แห่ง

 

                ที่ราบลุ่มแม่น้ำงาว (อำเภองาว จังหวัดลำปาง) อยู่ตามหุบเขารอบนอกที่มีความสัมพันธ์หรือเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นโยนกมาก่อน ลำน้ำงาวนี้เปนลำน้ำที่ไหลมาจากภูเขาที่อยู่โดยรอบ โดยไหลผ่านมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ลงไปสมทบกับลำน้ำยม ไหลผ่านอำเภอสอง จังหวัดแพร่ ลงไปเมืองแพร่ และลงไปทางอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย

 

                ดังนั้นบริเวณ อำเภองาว จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ จึงพบเมืองโบราณที่มีความสัมพันธ์กับเมืองต่าง ๆ ที่อยู่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่จัน แม่น้ำแม่กก แม่น้ำแม่ลาว แม่น้ำแม่อิง ดังกล่าว

 

สรุปสาระความรู้

 

                บริเวณดินแดนทางเหนือหรือแคว้นโยนกนั้น ได้มีชุมชนสำคัญที่ตั้งถิ่นฐานมาก่อนถือเป็นกลุ่มของชนชาติไทยที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก คือ เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย และเมืองพะเยา และเมืองต่าง ๆ ที่เรียกกันว่า เวียง จะถือเอาว่า ชนชาติไทยยุคแรกนั้น ได้ตั้งชุมชนของตนเป็นเวียง (เมือง) อยู่ในดินแดนตอนเหนือนั้นเอง

นอกจากบริเวณดังกล่าวแล้วนี้ ยังพบเวียงโบราณ (เมืองเก่า) อีกหลายแห่ง เช่น เวียงท่า กาน เวียงกุกาม ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ตำนานเมืองโยนกเชียงแสน

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์