ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาจักรสุโขทัย

 

 

อาณาจักรสุโขทัย

 

                ชนชาติไทย หรือสยามในระยะแรกแม้ไม่ปรากฏเรื่องราวมากนัก แต่เชื่อว่าชนชานิชั้นยศ ในการยกย่องฐานะของผู้นำหรือครูผู้ครองเมืองนั้นว่า ขุน หรือ พ่อขุนเจ้าหรือพระเจ้า ในตำนานจีนนั้น ปรากฏว่า มีเจ้าตระกูลเมืองครองน่านเจ้า ในตำนานฝ่ายไทย – ลาย นั้น มีผู้นำเป็นท้าว (เช่น ท้าวฮุ่ง) เป็นขุน (ขุนเจือ ขุนบลม) เป็นพระยา(พระยาแถน) ส่วนชนชาติไทยนั้น ปรากฏมีผู้นำปกครองชุมชน คือ ชุนศรีนาวนำถุมครองเมืองเชลียง

 

                การที่ชนชาติไทยหรือชนชาติสยามได้รวบรวมเมืองตั้งเป็นแคว้นหรืออาณาจักรของตนนั้น ต้องศึกษาจากตำนานต่าง ๆ ทางภาคเหนือนั้น ซึ่งมีชื่ออาณาจักรน่านเจ้า อาณาจักรล้านนาไทย อาณาจักรล้านช้าง และอื่น ๆ ที่มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพงศ์ศาวดาร และตำนานท้องถิ่น

 

                อาณาจักรโยนกหรืออาณาจักรเชียงแสน ถือเป็นอาณาจักรที่เป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์ ของชนชาติไทย ซึ่งมีบุคคลสำคัญที่มีบทบาทในการตั้งอาณาจักรสุโขทัย และอาณาจักรอยุธยาต่อมา เรื่องราวนั้นมีข้อศึกษาที่น่าสนใจทั้งตามหลักฐานเดิมและข้อมูลใหม่ที่มีการศึกษาเพิ่มเติมในภายหลัง กล่าวคือ

 

                เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 18 นั้น ปรากฏว่าเหตุการณ์นั้น ชนชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ นั้นได้พากันสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นแล้วหลายแห่ง เช่น เมืองสุพรรณภูมิ เมืองอโยธยา เมืองละโว้ เมืองเชียงใหม่ และเมืองพะเยา เป็นต้น ครั้งนั้นได้มีคนไทยกลุ่มหนึ่ง ภายใต้การนำของชุนศรีนาวนำถุน (เชื้อสายราชวงศ์ศรีนาวนำถุม) ได้เข้ามาสถาปนาอำนาจขึ้นที่เมืองเชลียง (คือเมืองศรีสัชนาลัย) ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำยม

 

                พื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนล่าง หรือภาคกลางตอนบนแห่งนี้ เป็นที่ราบลุ่มขนาดใหญ่ ของภาคกลาง เกิดจากตะกอนทับถมของลำน้ำปิง ยม และ น่าน พื้นที่ราบนี้มีลักษณะลูกฟูก สลับกับที่สูง โดยมีเทือกเขาอยู่ทางด้านตะวันตกและตะวันออกเมื่อประมาณ  พุทธศตวรรษที่ 18 นั้น บริเวณนี้ปรากฏว่ามีร่องรอยของชุมชนโบราณ ซึ่งต่อมาได้พัฒนาขึ้นเป็นเมืองที่มีศาสนา เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์

 

                ดังนั้น ในพุธศตวรรษที่ 18 ศูนย์กลางอำนาจของชุมชนโบราณดังกล่าว จึงตั้งอยู่ที่เมืองเชลีง (เมืองศรีสัชนาลัย) เมืองสุโขทัย ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม และตั้งอยู่ที่เมืองสระหลวง เมืองสองแคว ในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน

จากการสำรวจทางโบราณคดีพบว่า บริเวณลุ่มแม่น้ำทั้งสองนั้น มีชุมชนโบราณ ประมาณ 46 แห่งอยู่กระจัดกระจายอยู่ตามลำน้ำยมและลำน้ำน่าน และยังได้ขยายบริเวณออกไปทางด้านตะวันตกถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ทางด้านตะวันออกไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำป่าสักด้วย

 

                ต่อมา ขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำเมืองเชลียง ได้ทำการขยายอำนาจของเมืองเชลียงเข้าไปในเมืองสุโขทัย โดยมีการรวมเมืองสองเมือง ปรากฏชื่อในจารึกว่า นครสองอัน หมายถึง เมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)

เมืองสำคัญของชนชาติไทยสองแห่งนี้ จึงมีภูมิสถานที่เอื้ออำนวยต่อการเป็นศูนย์กลางชุมชนคนชาติไทยในบริเวณนั้น ทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีเมืองสำคัญ ดังนี้

 

                เมืองเชลียง

 

                (เมืองสวรรคโลกหรือเมืองศรีสัชนาลัยเดิม ปัจจุบันคืออำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำยมตรงพื้นที่เป็นแม่น้ำคดเป็นไส้ไก่ ทำให้เกิดลำน้ำอ้อมล้อมบริเวณเมืองสามด้าน บริเวณที่ตั้งเมืองนั้น พบว่าวัดเจ้าจันทร์เป็นโบราณสถานที่มีศิลปกรรมแบบลวปุระ (ศิลปะลพบุรี) อยู่ น่าจะเป็นศาสนาสถานหลักของเมืองเชลีงเดิม เมื่อพุทธศตวรรษที่ 18-19 ภายหลังได้มีการขยายเมืองเชลียงมาทางตะวันตก โดยใช้แม่น้ำยมเป็นคูเมืองด้านตะวันออกเพียงด้านเดียว โดยขุดคูเมืองขึ้น 3 ด้าน และทำกำแพง 3 ชั้น ล้อมตัวเมือง (เรียกว่า ตรีบูร) บริเวณที่ตั้งของเมืองเชลียงแห่งนี้ จึงตั้งเป็นศูนย์กลางเส้นทางคมนาคมทางน้ำ (แม่น้ำยม) ที่สามารถติดต่อไปยังชุมชนโบราณทางตอนเหนือ คือ เมืองแพร่ เมืองงงาว ไปจนถึงเมืองพะเยา เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน ส่วนทางด้านตะวันออกนั้นสามารถติดต่อไปถึงเมืองทุ่งยั้ง และชุมชนโบราณในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน ในเมืองอุตรดิตถ์ สามารถติดต่อไปยังบริเวณเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำน่านตอนบน ออกไปยังบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง สามารถติดต่อไปถึงเมืองหลวงพระบางในอาณาจักรล้านช้างได้

 

                ดังนั้น เมื่องเชลียง เดิมที่ตั้งอยู่ด้านตะวันออกตรงบริเวณวัดเจ้าจันทร์ วัดชมชื่นนั้น ได้มีการสร้างโบราณสถานสำคัญคือ วัดพระปรางค์ หรือวัดศรีรัตนมหาธาตุ ส่วนเมืองเชลียง ที่ย้ายไปสร้างขึ้นใหม่ทางด้านตะวันตกบริเวณเขาสวุรรณคีรีและเขาพนมเพลิงนั้น ได้สร้างเป็นเมืองขนาดใหญ่ มีกำแพง 3 ชั้น คูเมือง 3 ด้าน (ตรีบูร) โดยให้แม่น้ำยมเป็นคูเมืองด้านหนึ่งนั้น ได้มีกาสร้างโบราณสถานสำคัญขึ้นบนเขาในเมืองคือ วัดเขาสุวรรณคีรี วัดเขาพนมเพลิง และวัดเขาใหญ่ที่อยู่นอกเมือง สำหรับด้านทิศใต้นั้น เป็นบริเวณที่ราบนั้นสร้างวัดช้างล้อม วัดเจดีย์เจ็ดแถว วัดสวนแก้วอุทยานน้อย วัดสวนแก้วอุทยานกลาง วัดสวนแก้วอุทยานใหญ่ วัดนางพญา วัดอุดมป่าสัก เป็นต้น ด้านเหนือของตัวเมือง เป็นแหล่งเตาทุเรียง ด้านตะวันออกและด้านใต้ เป็นป่าไผ่ ด้านตะวันออกเป็นแม่น้ำยมที่มีแก่งหลวง (เขื่อนกั้นน้ำโบราณ ) เมืองเชลียง แห่งใหม่นี้จึงเป็นศูนย์กลางของการปกครอง และเรียกเป็น เมืองศรีสัชนาลัย (อาณาจักรเชลียง)

 

                สำหรับเมืองสุโขทัยนั้น อยู่ทางทิศใต้ถัดลงมา จากเมืองศรีสัชนาลัยลงไป ไม่ได้ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำยม แต่อยู่บริเวณที่ลาดเชิงเขาห่างจากฝั่งแม่น้ำยมไปทางทิศตะวันตก บริเวณเมืองสุโขทัยเดิมนั้นตั้งอยู่ที่วัดพระพายหลวง มีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีคูน้ำล้อมรอบ สร้างศาสนาสถานในพุทธศาสนานิกายมหายานขึ้น เป็นพระปรางที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปลวปุระ (ศิลปะลพบุรี) โดยก่อสร้างตามสถาปัตยกรรมแบบเดียวกับพระปรางค์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองละโว้ (เมืองลพบุรี ) กล่าวคือ ก่อสร้างรูปแบบและประดับลวดลายปูนปั้นองค์พระปรางในลักษณะเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่าบริเวณวัดพระพายหลวง แห่งนี้ได้เคยเป็นชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่ก่อนการสร้างเมืองสุโขทัย กล่าวคือ ทางด้านทิศใต้นั้นมีศาสนสถานสำคัญอยู่ 2 แห่งคือ วัดศรีสวาย และศาลาผาแดง ดังนั้นในพุทธศตวรรษที่ 17-18 นั้น น่าจะมีการสร้างเมืองสุโขทัยขั้นที่บริเวณแห่งนี้ และมีความสัมพันธ์กับเมืองละโว้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรขอมแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จนได้รับเอาวัฒนธรรมและการเมืองจากเมืองละโว้ และเมืองพระนคร (ยโสธรปุระ หรือ นครธม) เข้ามาใช้ในเมืองสุโขทัยโบราณ ต่อมานั้นได้มีการย้ายมาสร้างเมืองสุโขทัยใหม่ โดยขุดคูเมือง และสร้างกำแพง 3 ชั้น ดังมีจารึกว่า “รอบเมืองสุโขทัยนี้ ตรีบูรได้สามพันสี่ร้อยวา” มีโบราณสถานสำคัญมากมาย เช่น พระราชวัง วัดมหาธาตุ และวัดศรีชุม อยู่นอกกำแพงเมือง เป็นต้น

 

                ภายหลังนั้น ขุนศรีนาวนำถุมได้ขยายอำนาจ จากเมืองเชลียงเข้ามายังเมืองสุโขทัย จึงทำให้เมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย เป็นนครหรือเมืองขนาดใหญ่ ที่อยู่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยม ปรากฏเรียกในจารึกว่า นครสองอัน จึงหมายถึง เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย นั่นเอง

 

                ส่วนบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน นั้นปรากฏชื่อเมืองสระหลวง อยู่ทางด้านเหนือของแม่น้ำน่าน บางแห่งเรียกว่า โอฆบุรี (เมืองพิจิตรโบราณ) บ้างสันนาฐานว่า เป็นเมืองทุ่งยั้ง จังหวัดอุตรดิตถ์

(ได้มีการศึกษาแล้วว่า น่าจะเป็นเมืองราดของขุนผาเมือง) ซึ่งต่างก็มีเส้นทางน้ำที่สามารถติดต่อกับแม่น้ำน่าน

ซึ่งเป็นพื้นที่มีเส้นทางคมนาคม ติดต่อกับชุมชนอื่น ๆ ได้สะดวก โดยมีเส้นทางติดต่อระหว่างเมืองเชลียง เมืองน่าน เมืองหลวงพระบางและมีเส้นทางแยกไปยังเมืองราด (เมืองนครไทย) ซึ่งสามารถติดต่อไปถึงเมืองเวียงจันทร์ เมืองเวียงคำ (สองเมืองนี้มีอายุสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยลงมา)  ที่อยู่ในอาณาจักรล้านช้างได้

                บริเวณตะวันออกของแม่น้ำน่าน นั้น เป็นที่ตั้งของเมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) โดยตัวเมืองเดิมนั้นมีภูมิสถานตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำ สองสายคือ แม่น้ำน่าน ด้านทิศตะวันตกและลำน้ำเก่า (แควน้อย) ด้านทิศตะวันออก ทำให้เป็นศูนย์กลางคมนาคมติดต่อกับชุมชนที่ตั้งในบริเวณนั้นได้เป็นอย่างดี พบว่ามีชุมชนโบราณตั้งอยู่ตามลำน้ำแห่งนี้ ได้แก่ เมืองสองแควโบราณ (อยู่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดพิษณุโลก) สำหรับโบราณสถานที่สร้างขึ้น ในสมัยเมืองสุโขทัยนั้นคือ วัดพระศรีมหาธาตุ และวัดเจดีย์ยอดทอง และร่อยรอยโบราณสถานของวังจันทร์ที่สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย

 

                ส่วนบริเวณต้นลำน้ำแควน้อยนั้น เป็นที่ตั้งของเมืองราด เดิมนั้นสันนิษฐานไว้ว่า คือเมืองนครไทย

(อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก) ด้วยเหตุที่เมืองแห่งนี้มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ) และมีเส้นทางที่สามารถติดต่อกับเมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) ได้จากการศึกษาภายหลังพบว่า มีชุมชนโบราณตั้งอยู่และมีอายุอยู่ในสมัยทวาราวดี ตอนปลายและสืบทอดมาถึงสมัยลพบุรี และสมัยสุโขทัย โดยชุมชนเหล่านี้มีการสร้างวัดเป็นศูนย์กลาง ตั้งอยู่เป็นระยะตามเส้นทางดังกล่าว ภูมิสถานของเมืองนครไทยนี้ จึงมีทำเลเหมาะสมในการเป็นศูนย์กลางที่ติดต่อกับชุมชนอื่นได้สะดวก โดยใช้แม่น้ำน่าน และแม่น้ำโขง เป็นจุดรวมกำลังสำคัญที่สามารถจัดตั้งกำลังไพร่พล และเป็นศูนย์รวมอำนาจการสู้รบในแถบนี้ได้ ภายหลังได้มีการศึกษาใหม่ จึงมีข้อสรุปว่า เมืองราดนั้นน่าจะตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำน่าน ในจังหวัดอุตรดิตถ์คือ ชุมชนโบราณในอำเภอทุ่งยั้ง ซึ่งอยู่กลุ่มเดียวกับ เมืองสะค้า เมืองลุมบาจาย

 

                ดังนั้น เมืองบางยาง ของขุนนางกลางหาว นั้น จึงน่าจะเป็นเมืองนครไทย ตามที่มีการสันนิษฐานไว้แต่เดิม

                บริเวณลุ่มแม่น้ำปิงนั้น ในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย ได้สถาปนาพระบรมธาตุขึ้นที่เมืองนครชุม (อำเภอนครชุม) จังหวัดกำแพงเพชร) ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง จากเมืองนครชุมแห่งนี้มีเส้นทางตามแนวถนนพระร่วงไปยังเมืองสุโขทัยได้ ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามลำแม่น้ำปิงนั้น เป็นที่ตั้งของเมืองตาก ที่สามารถใช้เส้นทางนี้ข้ามไปยังอาณาเขตของมอญ ส่วนทางด้านทิศตะวันออกนั้นติดต่อไปยังเมืองพิจิตร และทางด้านทิศใต้ติดต่อไปยังเมืองพระบาง คือ เมืองโบราณในจังหวัดนครสวรรค์

 

                ส่วนบริเวณฝั่งแม่น้ำปิง ด้านตะวันออกตรงข้ามกับเมืองนครชุมนั้น เป็นที่ตั้งของเมืองกำแพงเพชร ที่สร้างขึ้นช่วงปลายของอาณาจักรเมืองสุโขทัย ในจารึกวัดอโศการาม ได้กล่าวว่า พระราชเทวีศรีจุฬาลักษณ์โปรดให้นิมนต์พระเถระผู้ใหญ่จากเมืองนี้ไปปกครองวัดอโสการาม ที่เมืองสุโขทัย

 

                ดังนั้น ศูนย์กลางชุมชนของชนชาติไทย ในระยะแรกนั้น น่าจะมีการตั้งบ้านเมืองอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ในบริเวณลุ่มแม่น้ำยมแลแม่น้ำน่าน ซึ่งพอประมาณขอบเขตทางภูมิศาสตร์ได้ว่า ศูนย์กลางชุมชนคนชาติไทยสมัยขุนศรีนาวนำถุมนั้น

 

                ด้านเหนือนั้นจดเมืองแพร่ ด้านใต้จดเมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) ด้านตะวันตกจดเมืองฉอด (อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) และด้านตะวันออกจดเมืองสะค้า (เมืองหนึ่งในเขตอีสาน เหนือใกล้กับแม่น้ำโขง)

 

                ด้วยเหตุนี้ เมืองเชลียง (เมืองศรีสีชนาลัย) เมืองสุโขทัย เมืองสระหลวง และเมืองสองแคว ซึ่งเป็นเมืองขนาดใหญ่นั้น จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชนคนชาติไทย ที่สามารถติดต่อกับชุมชน อื่นในลุ่มแม่น้ำโขง หรือดินแดนของชาติมอญ พม่า จนกลายเป็นศูนย์กลางอำนาจของชุมชนขนาดใหญ่ในสมัยนั้น

 

                ขณะนั้น บริเวณตอนล่างแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีการสร้างเมืองละโว้ขึ้น จึงมีความต้องการวัตถุดิบที่มาจากเมืองต่าง ๆทางตอนเหนือมากมายโดยเฉพาะสินค้าที่เป็นของป่า ทำให้ชุมชนทางตอนเหนือนั้น มีการติดต่อสัมพันธ์กับชุมชนต่างของอาณาจักรเมืองละโว้ ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของอาณาจักรขอมในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้นได้ส่งพระโอรสเจ้าชายละโว้ทเยศ มาครองเมืองละโว้ (เมืองลพบุรี)

ขณะนั้นเมืองอโยธยา เป็นเมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้ ทำให้กลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจที่มีเรือสินค้าโบราณจากเมืองอื่น (จีนโบราณ และอินเดียโบราณ ) พากันมาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าโดยเดินทางเรือมายังอ่าวไทย โดยใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นทางคมนาคมเข้ามายังบริเวณเมืองอโยธยาแห่งนี้ (และพบหลักฐานว่า เรือสินค้าโบราณนั้นสามารถจะเดินทางถึงบริเวณปากน้ำโพ กล่าวคือพบว่าบริเวณปากน้ำโพนั้นเคยเป็นอ่าวของทะเลมาก่อนในสมัยดึกดำบรรพ์)

 

                เมืองอโยธยานั้นมีกษัตริย์ครองเมืองต่อมาจนมีความมั่นคั่ง จนเป็นที่มาของพระนาม “อู่ทอง” จนมีตำนานเรื่อง พระเจ้าอู่ทอง เดินทางเรือมาจากเมืองจีน ตั้งบ้านเมืองที่บริเวณนี้

                ด้วยเหตุที่เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย นั้นเป็นแหล่งสินค้าสำคัญจากทางเหนือ จึงทำให้มีความเจริญทางเศรษฐกิจจนสามารถดำเนินการค้ากับชาวจน อินเดีย ลังกา พุกาม ขอม และมีความมั่นคง จนสามารถแผ่ขยายอำนาจของตนขึ้นมาได้

 

                การครองเมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัยของขุนศรีนาวนำถุม นั้นไม่ปรากฏข้อมูลให้ได้ศึกษามากนัก และเชื่อว่าขุนผู้นี้ครองเมืองอยู่ได้ไม่นานนัก เมื่อขุนศรีนาวนำถุนสิ้นพระชนม์ลง ก็ทำให้อำนาจของอาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้นถูกแย่งชิงจนเสียเมือง (บริเวณลุ่มแม่น้ำยมและลุ่มแม่น้ำน่าน ) ให้กับอำนาจของอาณาจักรขอม

 

                กล่าวคือ เมืองสุโขทัย นั้นน่าจะได้มีกษัตริย์ครองเมืองนี้มาก่อน จนเมื่อขุนศรีนาวนำถุม ได้เข้ามามีอำนาจในเมืองสุโขทัย และรวมเอาเมืองเชลียงปกครองเป็นระบบเมืองคู่ เรียกเมืองนครสองอัน นั้น เป็นช่วงสมัยเดียวกับ พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (จารึกว่า ผีฟ้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ) ได้ครองอาณาจักรขอม เมื่อประมาณ พ.ศ.1742-1763 ได้ปรากฏชื่อ ขุนศรีนาวนำถุม ได้ครองเมือง นครสองอัน ดังกล่าวอยู่ก่อนที่ขอมจะเข้ามามีอำนาจ แต่ไม่มีหลักฐานใดที่ทำให้รู้เรื่องราวของขุนผู้นี้มากนัก

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาจักรสุโขทัย

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์