ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลี
ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลียง(1)
ในจากรึกวัดศรีชุมนั้น มีชื่อข้อความกล่าวถึงของขุนศรีนาวนำถุม
เป็นขุนในเมืองเชลียงมีอาณาเขตสัมพันธ์กับเมืองตาก เมืองลำพูน เมืองเชียงแสน
เมืองพะเยา จนถึงลุ่มแม่น้ำโขง ต่อมาขุนผู้นี้ได้ขยายอำนาจในขอบเขตของเมืองคู่คือ
นครสองอันขึ้นดังนั้นการมีอำนาจทางการเมืองจึงใช้การรวมทรัพย์กรจากสองเมือง
(ระบบเมืองคู่) และผูกสัมพันธ์ทางเครือญาติ
สร้างการปกครองระบบเมืองคู่เช่นเดียวกับเมืองสระหลวง เมืองสองแคว เมืองราด เมืองลุม
แต่ก็ไม่สามารถสร้างความมั่นคงได้ตลอด เนื่องจากขุนศรีนาวนำถุมนั้นมีขุนผาเมือง
พระโอรสเป็นเจ้าเมืองราด(เมืองนครไทย ) แม้จะสัมพันธ์กันในฐานะเป็นพระบิดา
เป็นพระโอรสขุนผาเมืองก็ครองเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อเมืองเชลียง
นอกจากนี้ขุนผาเมืองยังกลับแสวงหาอำนาจจากรัฐอื่น คือ อาณาจักรขอม
โดยขุนผาเมือง ได้อภิเษกสมรสกับ นางสิขรมหาเทวี พระธิดาของผีฟ้าเมืองศรีโสธรปุระ
(พระเจ้าชัยวรมันที่ 7) เมื่อราว พ.ศ.1762
ครั้งนั้นอาณาจักรขอมได้หมายมั่นในการขยายอำนาจมายังดินแดนสุวรรณภูมิ
พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ถึงกับทรงมอบพระขรรค์ชัยศรีและพระนามแก่ กมรเต็งอัญผาเมือง
(ขุนผาเมือง) เพื่อให้มีตำแหน่งเป็น ศรีอินทราบดินทราทิตย์
อันเป็นสัญญาณแสดงพระราชอำนาจของกษัตริย์ขอม
อาณาจักรขอมสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้น
ได้เกิดเหตุการณ์สงครามกับอาณาจักรจัมปาอยู่หลายครั้ง
ทำให้พระองค์มีพระราชประสงค์ที่จะสร้างไมตรีต่อกัน
เพื่อให้มีไมตรีเกี่ยวพันกันยาวนาน ดังปรากฏความใน ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ว่า
สำหรับผู้ที่พระองค์พระราชทานความั่งคั่งบริบูรณ์แล้ว
ก็ได้พระราชทานพระธิดาด้วย
ขุนหรือบุคคลที่ได้รับพระธิดามาอภิเษกตามจารึกนี้ ก็มีขุนผาเมือง
พระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์นครสองอัน (เมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย)
ครั้นเมื่อขุนผาเมืองได้พระธิดาของกษัตริย์ขอม (พระเจ้าชัยวรมันที่
7 คือ นางสิขรมหาเทวี เป็นพระมเหสีแล้ว ขุนผาเมือง (ขอมเรียก กมรเดงอัญผาเมือง )
ยังได้รับพระราชทาน พระขรรค์ชัยศรี กับพระนาม ศรีอินทราบดินทราทิตย์
จากกษัตริย์ของอาณาจักรขอมเช่นนี้ จึงมีนัยของการสนับสนุนให้ขุนผาเมือง
ราชบุตรเขยผู้นี้ได้มีอำนาจปกครองอาณาจักรแห่งนี้ต่อไป คือดินแดนบริเวณลุ่มแม่น้ำยม
แม่น้ำน่าน และแม่น้ำป่าสัก
ขณะนั้นขุนศรีนาวนำถุม แม้จะมีอำนาจในการครองนครสองอันก็จริงอยู่
ขุนผู้นี้ก็ได้แต่ครองอำนาจอยู่แต่เมืองศรีสัชนาลัย ที่ยังไม่มั่นคงเท่าไรนัก
ด้วยเหตุนี้จึงไม่สามารถคุมเมืองสุโขทัย ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านใต้ได้
ดังนั้นเมื่องขุนศรีนาวนำถุม สิ้นพระชนม์ลง
จึงเป็นเหตุให้บุคคลชาติอื่นที่มีตำแหน่งเพียง โขลญลำพง คือ คนงานประจำ
เทวสถาน (ในเมืองสุโขทัย ) นั้น สามารถทำการรวบรวมกำลังพรรคพวกตนที่นับถือศาสนา
ได้แก่ พวกขอมสมาด (หรือ พวกเขมรดง) เข้าทำการยึดเมืองสุโขทัยไว้ได้
ส่วนขุนผาเมือง ผู้ครองเมืองราดนั้น
ถือว่าเป็นผู้ครองเมืองที่มีอำนาจมั่นคง ดีกว่านครสองอันของพระบิดา
ด้วยจากเมืองราดนั้นเป็นพื้นที่มีทำเลดี สามารถควบคุมเส้นทางคมนาคม
ในลุ่มแม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำโขง
โดยเฉพาะการค้าข้างที่มาจากบริเวณแม่น้ำโขงนั้น
ถือว่าเป็นเศรษฐกิจที่สร้างความมั่นคงหลักให้กับเมืองราดแห่งนี้
จึงนับว่าเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สามารถสถาปนาอำนาจของตนได้แห่งหนึ่ง
ดังความจารึกที่กล่าวถึงอำนาจของขุนผาเมืองผู้นี้ว่า
ลูกพ่อขุนศรีนาวนำถุมผู้หนึ่งชื่อ พระยาผาเมือง
เป็นขุนในเมืองราดเมืองลุม
คุมลุงแสนช้างมาฝากรอบบ้านเมือง ออกหลวงหลายแก่กม
การที่ขุนผาเมืองได้เข้าไปคุมเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)
เช่นนี้ นอกจากพ่อขุนจะเข้าคุ้มครองแลเชื้อพระวงศ์ของพระองค์แล้ว
ยังคุมเมืองไว้เพื่อสร้างสัมพันธ์ทางการเมือง ระหว่างเมืองราดกับเมืองเชลียง
ให้มีความสัมพันธ์ที่มั่นคงขึ้นยิ่งขึ้น
ขุนศรีนาวนำถุม ผู้นำของคนไทยผู้นี้
จึงนับเป็นปฐมกษัตริย์ครองเมืองนครสองอัน (เมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัย)
และมีขุนผาเมือง พระโอรสเป็นเจ้าครองเมืองราด
ด้วยเหตุที่ขุนผาเมืองได้มีสัมพันธไมตรีกันดีกับพระเจ้า ชัยวรมันที่ 7
จนยอมรับพระราชทานพระธิดามาเป็นมเหสีดังกล่าว น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้
ขุนผาเมือง ได้แยกครองเมืองราด เมืองลุม
เป็นอิสระหรืออาจจะยอมอยู่ในอำนาจหรือเป็นไมตรีกับอาณาจักรขอม
ดังนั้น ขุนศรีนาวนำถุม พระบิดาของขุนผาเมือง
สิ้นพระชนม์ลงและเกิดเหตุคนของอาณาจักรชอม คือ
ขอมสบาดโขลญลำพง เข้าชิงอำนาจในเมืองสุโขทัยเช่นนี้
น่าจะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ได้พารังเกียจขอม
จึงหันมาคบกันกับขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง ซึ่งเป็นพระสหายสนิทกัน
และเป็นพระญาติสนิทด้วย กล่าวคือ ขุนบางกลางหาวนั้นมี นางเสือง
เป็นพระธิดาของขุนศรีนาวนำถุม เป็นพระมเหสี
หรือขุนบางกลางหาวนั้นสืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน หรือเป็นชนชาติเดียวกันมา
|