ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลี
ขุนศรีนาวนำถุม พ่อขุนในเมืองเชลียง(2)
ประการสำคัญน่าจะเป็นด้วยเหตุที่ ขุนบางกลาวหาว เจ้าเมืองบางยางนั้น
เป็นผู้นำที่มีท่าทีเข้มแข็งและไม่ยอมเป็นไมตรีกับอาณาจักรขอมได้ง่ายเหมือนอย่างขุนผาเมือง
(ที่ยอมเป็นบุตรเขยของกษัตริย์ขอม)
หรืออาจจะผู้นำชนชาติไทยที่คอยทำการต่อต้านอำนาจของขอมมาตลอด
จึงทำให้พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ไม่ค่อยจะไว้วางใจเมืองแถบนี้นัก
ถึงแม้จะยกพระธิดาเป็นพระมเหสีของขุนผาเมืองแล้วก็ตาม จึงต้องส่ง ขอมสบาดโขลญลำพง
มาทำทีดูแลเทวสถานอยู่ที่เมืองสุโขทัย โดยทำเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์
พร้อมกับไพร่พลที่ดูแลศาสนา (คือข้าที่ผู้กัลปนาไว้แก่ศาสนา)
เมื่อพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ส่ง ขอมสบาด โขลญลำพง (ขอมสบาด
เป็นคำเดียวกับ ขอมสมาด หมายถึง
ขอมที่อยู่ในป่าในดง มีตำแหน่งเป็น โขลญลำพง ผู้ดูแลเทวสถานของศาสนาพราหมณ์
หรือเป็นพราหมณ์)
เข้ามาอยู่ดูแลเทวสถานสถานสำหรับเผยแพร่ศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรมที่เมืองสุโขทัย
ขณะนั้นเมืองสุโขทัย รวมเป็นนครสองอันกับเมืองเชลียง
ครั้นเมื่อเห็นว่าเมืองสุโขทัยนั้นขาดการดูแลที่เข้มแข็ง
คือปล่อยให้ราษฎรอยู่กันตามสบายเป็นปกติ ไม่มีศูนย์อำนาจเข้าไปดูแลอย่างเมืองเชลียง
(หรือเมือศรีสัชนาลัย )
ดังนั้น เมื่อขุนศรีนาวนำถุม สิ้นพระชนม์ลง ขอมสบาดโขลญลำพง
จึงถือโอกาสเข้ายึดเอาเมืองสุโขทัยไว้ก่อนขุนผาเมือง
จะเข้าไปมีอำนาจสืบต่อจากพระบิดา แต่บางคราวว่า ขอมสบาดโขลญลำพง
ผู้นี้น่าจะเป็นกบฏเข้าทำการยึดเมืองสุโขทัย
เสียเองหลังจากที่ขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์แล้ว
หาเป็นเช่นนี้ ขอมสบาดโขลญลำพง
จึงถือว่าเป็นคนของอาณาจักรขอมที่ส่งมาทำหน้าที่เป็นคนดูแลเทวสถานแล้ว
จึงน่าจะมีภารกิจหน้าที่สำคัญ คือ
ถูกใช้ให้คอยฟังข่าวความเคลื่อนไหวหรือคอยดูแลพระธิดา ที่มาเป็นพระมเหสีขุนผาเมือง
อยู่ทางนี้หรือทำหน้าที่ตัวแทนการค้าของกษัตริย์ขอมในการเชื่อมสัมพันธไมตรี
หรือดูแลประโยชน์ของพ่อค้าชาวขอมในเมืองสุโขทัย ดังนั้น ขอมสบาดโขลญลำพง
จึงสามารถระดมคนเป็นกำลังได้ในทันที จนสามารถเข้ายึดเอาเมืองนี้ไว้ได้
เมื่อนครสองอัน (หมายถึง เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัยคู่กัน)
ของขุนศรีนาวนำถม นั้น ได้ถูกขอมสบาดโขลย์ลำพง
คนของอาณาจักรขอมยึดเมืองสุโขทัยเสียเช่นนี้แล้ว เท่ากับ
แย่งสิทธิการครองเมืองสุโขทัยที่จะต้องตกแก่ขุนผาเมือง โดยชอบธรรมขึ้น
เรื่องนี้ขุนผาเมืองยังคาดการณ์ให้เข้าใจต่อไปข้างหน้าว่า ในไม่ช้านัก
ขอมสบาดโขลญลำพง ผู้นี้ก็คงยกทับเข้าตีเอาบ้านเมือง (เมืองศรีสัชนาลัย)
ของคนไทยที่ตั้งในบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน แม่น้ำยม
นั้นมาไว้ในอาจเช่นเดียวกัน ด้วยเหตุนี้ จึงเป็นต้นเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ขุนผาเมือง
ผู้มีพระธิดาของกษัตริย์ขอมเป็นมเหสี น่าจะอึดอัดในการทำการใด ๆ
จึงตัดสินใจที่จะคบคิดกับขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง
ผู้นำชนชาติไทยที่เข้มแข็งเข้าทำการกู้เมืองสุโขทัยคืน
หรือร่วมกันป้องกันเมืองราดของตนเองในฐานะเป็นชุมชนของชนชาวไทยด้วยกัน
โดยอาศัยความเป็นพระญาติกันดังกล่าว
ดังนั้น แผนการที่จะเข้าปราบปรามกบฏ ขอมสบาดโขลญลำพง
ในเมืองสุโขทัยเพื่อชิงอำนาจกลับคืนมาจึงเกิดขึ้น
และขุนทั้งสองได้เข้าทำการร่วมกันชิงอำนาจ
โดยรวบรวมกำลังไพร่พลคนไทยที่มีอยู่เป็นกำลังสู้รบขึ้น
แต่ด้วยเหตุที่ขุนผาเมือง มีมเหสีเป็นพระธิดาของกษัตริย์
ขอมดังกล่าว แม้จะทำการชิงอำนาจได้
ก็น่าจะเกรงข้อครหาว่าขุนผาเมืองนั้นชิงอำนาจนั้นกลับไปให้กษัตริย์ขอมหรือพระเจ้าชัยวรมันที่
7 มากกว่า จึงทำให้คนไทยไม่ยอมที่จะร่วมมือด้วยหรือยอมรับให้เป็นผู้นำของตน
ดังนั้นขุนผาเมืองไม่ยอมที่จะเป็นผู้นำการชิงอำนาจเสียเอง กลับยอมให้ขุนบางกลางหาว
เป็นหัวหน้าชนชาติไทย
อีกประการหนึ่ง ขุนบางกลางหาวนั้น
น่าจะมีกำลังเข้มแข็งและมีท่าทีที่ทำการต่อต้าน อำนาจของอาณาจักรขอมมาก่อนแล้ว
ซึ่งย่อมมีกำลังของคนไทยมาพร้อมใจกันสู้รบเพื่อก่อตั้งรัฐอิสระขึ้นเช่นเดียวกับเมืองอื่น
ๆ
จึงทำให้ขุนบางกลางหาว ต้องรับเป็นผู้นำการชิงอำนาจในครั้งนี้
ดังนั้น ใน พงศ.1781 (จุลศักราช 600 หรือ มหาศักราช 1160)
ขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง กับขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด
จึงพร้อมด้วยผู้กล้าหาญของชนชาติไทย จึงได้ร่วมกันวางแผนและทำการชิงอำนาจจากขอม
การชิงอำนาจในครั้งนั้น เริ่มต้นจากขุนบางกลางหาว
ได้ยกทัพจากเมืองบางยางมาตั้งกองทัพมาตั้งที่เมืองบางขลัง (เมืองบางขลัง
ตั้งอยู่ไม่ห่างจากเมืองศรีสัชนาลัย บางว่า ทั้งสองรวมกำลังที่เมืองบางขลัง
เข้าชิงเมืองสุโขทัย) พร้อมกับให้ทำการอพยพครอบครัว
ชาวเมืองบางขลังนั้นไปอยู่เสียที่เมืองราดและเมืองสากอได (ยังหาเมืองนี้ไม่พบ)
การอพยพผู้คนจากเมืองบางขลังนั้น
น่าจะเป็นการเกณฑ์ผู้คนไว้เป็นกำลังให้มากขึ้น
จากนั้นขุนผาเมืองได้ยกทัพไปรวมพลกับขุนบางกลางหาว ซึ่งตั้งทัพอยู่ที่เมืองเชลียง
เหมือนทำทีว่ารวมกำลังไว้ด้วยกัน
แล้วขุนผาเมืองก็ให้ถอยทัพกลับไปตั้งรออยู่ที่เมืองราด
เพื่อรอโอกาสเข้าตีเมืองสุโขทัย
ขอมสบาดโขลญลำพงนั้น
เมื่อรู้ข่าวความเคลื่อนไหวที่ขุนบางกลางหาวและขุนผาเมือง
ได้ยกทัพมาตั้งรวมกันอยู่ที่เมืองเชลียง เพื่อชิงอำนาจจากตนเช่นนั้น
จึงให้จัดทัพออกจากเมืองสุโขทัยไปเมืองเชลียงทันที
ครั้นเมื่อรู้ว่าขุนผาเมืองนั้นยกทัพกลับไปเมืองราดแล้ว
ก็เข้าใจว่าขุนผาเมืองไปเมืองเชลียงทันที
ครั้นเมื่อรู้ว่าขุนผาเมืองนั้นยกทัพกลับไปเมืองราดแล้ว
ก็เข้าใจว่าขุนผาเมืองนั้นคงจะถอนตัวเสียแล้ว (เข้าใจว่ายังเกรงอำนาจอยู่
เพราะเป็นราชบุตรเขย ของกษัตริย์ขอม)
จึงเห็นว่าได้ทีคิดจะทุ่มกำลังเข้าทำลายทัพขุนบางกลางหาว ที่เมืองเชลียง
ให้ย่อยยับและมองเห็นหนทางเอาชัยชนะข้าศึกได้ง่าย
จึงให้เกณฑ์กำลังออกจากเมืองสุโขทัย ไปให้มาก
โดยจัดกำลังอยู่ป้องกันเมืองสุโขทัยไว้จำนวนน้อย
การที่ขุนผาเมือง ตั้งทัพไปคอยทีอยู่ที่เมืองราดนั้น
ก็เพื่อจะลวงให้ขอมสบาดโขลญลำพง นั้นนำกำลังออกจากเมืองสุโขทัยไปให้มาก
เมื่อรู้ข่าวขอมสบาดโขลญลำพงนั้นยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย
ไปจนเหลือกำลังอยู่ไม่มากนัก ก็เร่งยกทัพจากเมืองราดตรงเข้ายึดเมืองสุโขทัยทันที
กำลังทั้งสองฝ่ายได้ทำการสู้รบกันเล็กน้อย
ในที่สุดขุนผาเมืองก็สามารถเข้ายึดเอาเมืองสุโขทัยไว้ได้โดยง่าย
แล้วขุนผาเมืองก็ให้กำลังออกตามหลังไปตีขนาบทัพขอมสบาดโขลญลำพงที่ยกไปเมืองเชลียงทันที
ขอมสบาดโขลญลำพง นั้น
เมื่อรู้ข่าวว่าขุนผาเมืองนำกำลังเข้าตีเอาเมืองสุโขทัยได้
และยึดเป็นที่มั่นคงเสียแล้ว
ครั้นจะถอยทัพกลับไปตีเอาเมืองสุโขทัยคืนก็ไม่สามารถแก้ไขได้ทัน
ด้วยขุนบางกลางหาวนั้นนำทัพออกมาจากเมืองเชลียงเข้าตีทางด้านหน้า และยังมีกองทัพของ
ขุนผาเมืองนำทัพเข้าตีต้อนอยู่ด้านหลังอีก จึงทำให้ทัพของขอมสบาดโขลญลำพง
ตกอยู่ในวงล้อมของกำลังชนชาติไทย
ในที่สุด กองทัพขอมจึงพ่ายแพ้หนีออกไป ขอมสบาดโขลญลำพงนั้น
ไม่มีหลักฐานว่าสิ้นชีวิตหรือหลบหนีไปแห่งใด แต่เชื่อว่า ขอมสบาดโขลญลำพง
และกำลังส่วนหนึ่ง นั้นน่าจะหลบหนีออกไปทางช่องเขาขาดตรงไปยังเมืองเถิน
ภายหลังเมื่อรวบรวมกำลังได้แล้ว จึงยกทัพไปสู้กับขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด
(คือเมืองแม่สอด)
และคงมีชัยชนะขุนสามชน ภายหลังเมื่อได้โอกาสก็ให้ขุนสามชนยกกำลังมาตีเอาเมืองตาก
และเมืองสุโขทัยต่อไป
เมื่อขุนนางกลางหาว และขุนผาเมือง
ได้ร่วมกันทำการขับไล่กองทัพขอมสบาดโขลญลำพงแล้ว
ก็เข้าไปจัดการเมืองสุโขทัยที่ได้กลับคืนมาจากอำนาจขอม
ขุนผาเมืองผู้นำกำลังเข้าตีเอาเมืองสุโขทัยได้นั้น
แม้ว่าจะมีสิทธิ์ในการจัดการบ้านเมืองในฐานะรัชทายาทของขุนศรีนาวนำถุม
ผู้ครองนครสองอัน คือเมืองสุโขทัยศรีสัชนาลัยเดิม
แต่ด้วยเหตุผลทางการเมืองและสถานภาพการเป็นผู้นำที่กำลังคนไทยไม่ยอมรับ
ทำให้ขุนผาเมืองนั้น
ได้ทำการสถาปนาให้ขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นกษัตริย์โดยให้ใช้นาม ศรีอินทราทิตย์
(ศรีอินทราบดินทรทิตย์) แทนพร้อมกับมอบพระขรรค์ชัยศรีเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่า
ขุนผาเมืองนั้นประสงค์จะให้อำนาจแก่ขุนบางกลางหาว ในฐานะผู้นำของคนไทย
การมอบพระนามและพระขรรค์ชัยศรีนั้น ก็เพื่อให้พระเข้าวรมันที่ 7
เข้าใจว่าขุนผาเมืองราชบุตรเขยของพระองค์ มีอำนาจครองบ้านเมืองแถบนี้แล้ว
เพื่อป้องกันอาณาจักรขอมจะได้ไม่ส่งกองทัพเข้าปราบปรามและยังแสดงให้เห็นว่า
เมืองสุโขทัยนั้นยังมีใจเป็นไมตรีกับอาณาจักรขอมอยู่
หลังจากนั้น ก็ไม่ปรากฏเรื่องราวของขุนผาเมือง ต่อมา
มีความกล่าวว่า ขุนผู้นี้ได้ปลีกตัวออกบวชจาริกธรรมหายไปทางตอนเหนือ
ส่วนนางสิขรมหาเทวีได้เผาบ้านเรือนออกติดตามและหายไปเช่นเดียวกัน
เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เข้าใจได้ว่า
ขุนผาเมืองนั้นหลังจากที่ร่วมชิงอำนาจจากขอมได้แล้ว
แม้จะกลับมาครองเมืองราดตามเดิมโดยไม่หวังทีจะมีอำนาจในเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย
ที่ยังมีพระญาติในราชวงศ์ของตนอยู่นั้น
ก็น่าจะมุ่งหวังในการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรขอมโดยอาศัยมเหสี คือ
นางสิขรมหาเทวี คอยรั้งอำนาจจากพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7
เพราะถ้าหากอาณาจักรขอมยกำลังมาชิงอำนาจคืนก็จะทำได้โดยง่าย
อีกทั้งการรวมชุมชนคนไทยให้เป็นปึกแผ่นเป็นอิสระนั้นก็จะต้องรอคอยโอกาสอีกต่อไป
เป็นการสนับสนุนให้ขุนบางกลางหาว มีโอกาสทำการขยายอาณาเขตไปยังเมืองต่าง ๆ
โดยเร็วในไม่ช้าความคงแตก
และมีความขัดแย้งกับนางสิขรมหาเทวีอย่างรุนแรงจนขุนผาเมืองตัดสินใจออกบวชและหนีหายไป
ดังนั้น ชนชาติไทยโดยการนำของขุนบางกลางหาว
จึงได้ทำการขยายอาณาจักรของเมืองสุโขทัยมีอาณาเขตกว้างขวาง ไปยังบริเวณลุ่มแม่น้ำยม
แม่น้ำน่าน และสามารถแผ่อำนาจเข้าไปยังเมืองต่าง ๆ
ที่อยู่ตามแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาด้วย
ผู้ครองเมืองสุโขทัย นั้นมีฐานะเป็นกษัตริย์ ในราชวงศ์พระร่วง คือ
พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ซึ่งมีพระนามยกย่องว่าเป็น พระร่วง ที่หมายถึง
ผู้นำความรุ่งเรืองหรือรุ่งโรจน์ ดังนั้น ผู้ที่ดำรงเป็นกษัตริย์
ปกครองบ้านเมืองในสมัยสุโขทัยสมัยแรก จึงเรียกชั้นยศเป็น พ่อขุน หรือ ขุน หรือ
พญา (พระยา) ส่วนเจ้านายชั้นสูงนั้นมีตำแหน่งเรียกเพียง พระ เท่านั้น
|