สืบค้นเรื่องราวของขุนศรีนาวนำถุม
สืบค้นเรื่องราวของขุนศรีนาวนำถุม
เมื่อกลางพุทธศตวรรษที่ 17 นั้น
อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณได้มีอำนาจครอบครองดินแดนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ไว้ได้ทั้งหมด มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองละโว้หรือลวรัฐ ต่อมา
ในปลายรัชกาลของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 นั้นอำนาจของอาณาจักรขอมได้เริ่มอ่อนแอลง
ขุนศรีนาวนำถุม ถือว่า
เป็นผู้นำเชื้อสายชาวสยามหรือคนไทยที่ปรากฏชื่อในจารึก
เชื่อกันว่าน่าจะเป็นบุคคลสำคัญหรือไม่ก็บุคคลจากเชื้อสายกษัตริย์ทางราชวงศ์เชียงแสน
ต่อมาได้มีอำนาจเป็นผู้ครองเมืองเชลียงและเมืองสุโขทัย
ขุนศรีนาวนำถุมนั้น มีพระโอรสชื่อ ขุนผาเมือง เป็นเจ้าเมืองราด
และมีข้อสันนิษฐานว่า พ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้นี้มีธิดา คือ นางเสือง
ต่อมานางได้เป็นมเหสีของขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง
ขุนบางกลางหาว นั้นหากไม่เป็นบุตรเขยของพ่อขุนศรีนาวนำถุมดังกล่าว
ก็ต้องเป็นพระญาติสนิท
จึงทำให้สามารถคบหาอยู่กีบขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด ผู้ได้ธิดาของพระเจ้า
ชัยวรมันที่ 7 เป็นมเหสี
ขุนบางกลางหาวนั้นน่าจะเป็นนักรบที่มุ่งหาหนทางก่อตั้งรัฐอิสระ
และไม่ยอมที่จะขึ้นต่ออำนาจการปกครองของพวกขอม
ซึ่งขณะนั้นขอมได้แผ่อำนาจเข้ามายังดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
และตั้งศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่เมืองละโว้
(เมืองลพบุรี)
ส่วนทางตอนเหนือนั้นอาณาจักรขอมได้พยายามสร้างไมตรีและขยายอำนาจไปยังเมืองต่าง ๆ
โดยเฉพาะ เมืองราด เมืองสุโขทัย
ข้อความจาก หลักฐานศิลาจารึก หลักที่ 2 (วัดศรีชุม)
นั้นมีได้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ว่า
แคว้น สุโขทัยมีพ่อขุนศรีนาวนำถุมปกครอง พ่อขุนศรีนาวนำถุม
มีโอรสองค์หนึ่ง คือพ่อขุนผาเมือง
ต่อมาได้อภิเษกกับ นางสิขรมหาเทวี ธิดาของกษัตริย์ขอม จึงมีฐานะเป็นราชบุตรเขย
กษัตริย์ขอม ได้รับพระราชทานนามว่า ศรีอินทรบดินทราบทิตย์ พร้อมกับ
พระขรรค์ชัยศรี ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีนาวนำถุมสิ้นพระชนม์ ขุนนางขอมชื่อ
สบาดโขลญลำพง ได้เข้ายึดกรุงสุโขทัย
หลักฐานสำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ศิลาจารึกที่จากรึกเมื่อประมาณ
พงศ.1884-1910 เรียกชื่อต่อมาว่า
ศิลาจารึกวัดสรีชุม เนื่องจากพบที่อุโมงค์วัดศรีชุม เมืองสุโขทัยโดยพลโทหลวง
สโมสรพลการ (ทัด สิริสัมพันธ์) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ.2430
ได้ส่งมาไว้ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
ศิลาจารึกหลักนี้
มีความสำคัญมาเพราะจารึกเรื่องราวของพ่อขุนศรีนาวนำถุม ผู้เป็นบิดา ของขุนผาเมือง
เจ้าเมืองราด เรื่องผีว้าเจ้าเมืองศรีโสธรปุระ ที่ยกลูกสาวชื่อ นางสิขรมหาเทวี
ให้เป็นชายา พ่อขุนผาเมือง และเรื่องรของพ่อขุนบางกลางหาวรบ กับขอมสบาดโขลญลำพง
เรื่องกราสถาปนาขุนบางกลางหาว ขึ้นเป็น ศรีอินทรบดินทราทิตย์ เรื่อง
เมืองสุโขทัยและเมืองศรีสัชนาลัย และจารึกคำสรรเสริญ
สมเด็จพระมหาเถรศรีศรัทธาราชจุฬามุนี ศรีรัตนลงกาทีปมหาสามีเป็นเจ้า
ซึ่งเป็นหลานปู่ของพระยาศรีนาวนำถุม
พระมหาเถรฯ รูปนี้ เกิดในนครสรวงสองแคว
เคยเดินทางไปยังเขาสุมนกูฎในลงกาทวีป แล้วนำกิ่งพระสรีมหาโพธิ์จากนครสิหลมา
ปลูกไว้ในศรีรามเทพนคร (คือเมืองอโยธยา) เบื้องใต้กรุงสุโขทัย พระมหาเถรฯ
เคยเดินทางไปยังเมืองซึ่งขอมเรียกว่า พระธม อยู่ใกล้นครพระกริส
(น่าจะเป็นนครไชยศรีหรือนครปฐม) ครั้งนั้นพระมหาเถรฯ
ได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปหินขนาดใหญ่หักพัง
บางชิ้นต้องใช้สี่คนหามหรือใช้ล้อเกวียนชักลาก บางชิ้นได้แต่มือบางชิ้นได้แต่เท้า
และพบพระเจดีย์โบราณขนาดใหญ่กลางป่า จึงทำการซ่อมแซมโดยใช้โป่งปูนในบริเวณใกล้เคียง
นำชิ้นส่วนพระพุทธรูปที่พบมาต่อมือต่อตีนเข้าด้วยกัน
แล้วนำพระพุทธรูปไปไว้บริเวณพระเจดีย์ธาตุหลวงเก่าองค์ใหญ่
สูงร้อยสองวาที่พระมหาเถรฯ ดำเนินการซ่อมแซมในคราวเดียวกัน
(เข้าใจว่าจะเป็นองค์พระปฐมเจดีย์)
ข้อความในจารึกนี้นับว่าเป็นหลักฐานสำคัญที่กล่าวถึงขุนศรีนาวนำถุม
ผู้ครองเมืองสุโขทัยมาก่อน มีการสถาปนาอาณาจักรสุโขทัยของชนชาติไทย
สามารถลำดับเชื้อสายได้ดังนี้
1.
ขุนศรีนามนำถุม มีพระโอรสพระธิดา คือ ขุนผาเมือง นางเสือง พระยารามคำแหง
2.
ขุนผาเมือง ครองเมืองราด อภิเษกกับ นางสิขราเทีย พระธิดากษัตริย์ขอม
3.
นางเสือง เป็นมเหสีของ ขุนบางกลางหาว ครองเมืองบางยาง
4.
พระยาคำแหงพระราม มีพระโอรส องค์หนึ่ง ชื่อ ขุนศรีลัทธา
(ขุนศรีลัทธานั้นมีพระโอรส องค์หนึ่งสิ้นพระชนม์ แต่ยังเยาว์ จึงออกบวชและได้เป็น
พระสรีลัทธาราช จุฬามณีรัตนลังกาทวีป พระสังฆราชอยู่ที่เมืองสุโขทัย)
ด้วยเหตุนี้ เชื้อพระวงศ์ ของขุนศรีนาวรำถุมจึงหมดสิ้นลง
ต่อมาเมื่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ายึดอำนาจร่วมกับขุนผาเมือง แล้วได้รับการสถาปนา
เป็นกษัตริย์ พระนามว่าศรีอินทราทิตย์ ครองเมืองสุโขทัยนั้น
พระองค์จึงได้สถาปนาพระราชวงศ์พระร่วงขึ้นใหม่และมีเชื้อสายครองเมืองสืบต่อมา
|