การตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี
การตั้งเมืองสุโขทัยเป็นราชธานี
เมื่อประมาณ พุทธศตวรรษที่ 17 นั้น (พ.ศ.1601 1699)
บริเวณแถบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน แม่น้ำปิง และแม่น้ำสาขา ที่อยู่ตอนบน (ภาคเหนือ)
ของสุวรรณภูมินั้น ได้มีการสร้างเมืองสุโขทัย เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)
ขึ้นเป็นเมืองขนาดใหญ่ เมืองเหล่านี้มีการปกครองและจัดระบบของสังคม (จัดเมือง)
ขึ้นเพื่อแสดงความเป็นศูนย์กลางของอำนาจ โดยเฉพาะการเป็นเมืองที่มีกษัตริย์ปกครอง
กล่าวคือ เมืองเชลียงและเมืองสุโขทัยนั้น มีพ่อขุนหรือกษัตริย์ที่มีความรู้
ความสามารถในด้านเศรษฐกิจ (การค้าสร้างรายได้) และการปกครอง (ดูแลราษฎร)
ตลอดจนรู้จักการผสมผสานสร้างสรรค์รูปแบบศิลปวัฒนธรรมที่มาจากภายนอก
ให้มีลักษณะทางวัฒนธรรมของตนเอง และสร้างความเชื่อถือและศรัทธายกย่องว่า
เป็นผู้สร้างบ้าน แบ่งเมือง ให้มีความมั่นคงและงดงาม
จนยอมอ่อนน้อมยอมตนอยู่ในการปกครองและพร้อมใจทำตามผู้นำ
ศิลปวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลจากภายนอกนั้น คือ
การรับเอาวัฒนธรรมจากอินเดีย พุกาม ลังกา ขอม ที่เข้ามาสร้างสัมพันธไมตรี
ประกาศศาสนาความเชื่อของตน
และศิลปวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นภายในจากอาณาจักรที่มีความเจริญรุ่งเรืองในดินแดนสุวรรณภูมิ
ได้แก่ อาณาจักรทวาวราวดี (เมืองนครชัยศรี นครปฐม (เมืองลพบุรี เมืองอโยธายา)
อาณาจักรสุวรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) อาณาจักรตามพลิงค์ (เมืองนครศรีธรรมราช)
และอาณาจักรล้านนา (เมืองเชียงใหม่ ) เป็นต้น
ด้วยเหตุนี้ กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุโขทัย เมืองเชลียง
(เมืองศรีสัชนาลัย) จึงได้สร้างศูนย์กลางเพื่อแสดงอำนาจ
ทางการเมืองและสร้างรูปแบบวัฒนธรรมของตนขึ้นจากคติ ความเชื่อจากขนบธรรมเนียมประเพณี
และศิลปกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อศาสนานั้น
ทำให้เกิดวัฒนธรรมที่คล้ายคลึงกันและอยู่ร่วมกันได้ในที่สุด
ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างราชวงศ์กษัตริย์ของขุนศรีนาวนำถุม
ที่มีต่อ ขุนผาเมืองพระโอรส ซึ่งเป็นเจ้าเมืองราด และขุนบางกลางหาว บุตรเขย
ซึ่งเป็นเจ้าเมืองบางยาง
จึงมีความเกี่ยวพันกันเป็นเครือญาติและสร้างระบบการเมืองที่เรียกว่า ระบบเมืองคู่
หรือ นครสองอันขึ้นกล่าวคือ การครองเมืองศรีสัชนาลัยคู่กับเมืองสุโขทัย
ขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์ผู้ครองเมืองเชลียงนั้น
มีอาณาเขตสัมพันธ์กับเมืองตาก เมืองลำพูน เมืองพะเยา
ถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง มีพระโอรส คือ ขุนผาเวียง ครองเมืองราด
ซึ่งเป็นเมืองที่มีทำเลคุมเส้นทางติดต่อแม่น้ำน่าน แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำโขง
ภายหลังขุนศรีนาวนำถุม ได้ขยายอำนาจไปครองเมืองสุโขทัยด้วย และเมื่อสวรคต
ขอมสบาดโขลญลำพง ซึ่งอยู่ที่เมืองสุโขทัยเข้ายดเมืองสุโขทัย
ดังนั้น ประมาณ ค.ศ.1783 จึงมีเหตุการณ์เรื่องขุนผาเมือง
เจ้าเมืองราด ผู้เป็นพระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์ครองเมืองเชลียง
เข้าร่วมกับขุนบางกลางหาว (ซึ่งให้เรียนในชื่อ ขุนบางกลางหาว มานาน)
เจ้าเมืองบางยาง ทำการรวบรวมกำลังชนชาติไทย เข้าขับไล่ขอมชื่อ สบาดโขลญลำพง
ขุนนางขอมออกจากกรุงสุโขทัยได้สำเร็จ แล้วจึงสถาปนา
กรุงสุโขทัยเป็นราชธานีของอาณาจักรของชาวสยามขึ้น
เนื่องจากขุนผาเมืองนั้นมีฐานะเป็นราชบุตรเขตของกษัตริย์ ขอม
คือได้รับพระราชทานนางสิขรมหาเทวี
เป็นมเหสีเมื่อราว พ.ศ.1762 ดังนั้น พ่อขุนผาเมืองจึงได้นำนาม
ขุนศรีอินทรบดินทราทิตย์ และพระขรรค์ชัยศรี
มอบให้พ่อขุนบางกลางหาวและสถาปนาเป็นกษัตริย์ในนาม พ่อขุนศรีอินทราทิตย์
เพื่อให้กษัตริย์ขอมได้เข้าใจว่า ขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ขึ้นครองเมืองนี้
เพื่อลดความเป็นศัตรูจากอาณาจักรขอมอีกด้านหนึ่ง
ภายหลังนั้นขุนผาเมืองได้กลับไปครองเมืองราดตามเดิม
สุดท้ายนั้นขุนผาเมืองได้ทิ้งเมืองราด ออกเดินทางหายไป
เข้าใจว่าขุนผู้นี้น่าจะออกบวช หรือหนีนางสิขรมหาเทวี
มเหสีผู้เป็นพระธิดากษัตริย์ขอม
โดยนางนั้นได้เผาเมืองออกติดตามมหาขุนผาเมืองและสูญหายไปเช่นกัน
|