การประดิษฐ์ลายสือไท
การประดิษฐ์ลายสือไท
ในพุทธศตวรรษที่ 3-4 นั้น อักษรพราห์มี สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช
เป็นตัวอักษรที่ถูกนำมาใช้เผยแพร่และเป็นต้นกำเนิดของอักษรสันสกฤต (อักษรคฤนถ์)
ในสมัยราชวงศ์ปัลลวะ ที่ใช้กันเมื่อ พุทธศตวรรษที่ 9-13 จนมีการนำอักษรสันสกฤต
สมัยราชวงศ์ปัลละ มาใช้ ในดินแดนสุวรรณภูมิ
ต่อมาอักษรสันสกฤตนี้ได้เป็นต้นกำเนิดของอักษรขอม อักษรของไทย
ที่คนไทยใช้คัดลอกคัมภีร์ พุทธศาสนาและตำราวิทยาการที่มาจากอินเดียโบราณ
ต่อมา พ.ศ. 1826 พ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงคิดค้นประดิษฐ์ลายสือไท
หรืออักษรไทยขึ้น จากอักษรโบราณ ดังกล่าว
แล้วโปรดให้ทำการจารึกไว้ในแท่งศิลาหินชนวนสี่เหลี่ยมสูง 111 เซนติเมตร ในปี
พงศ.1835 มีข้อความปรากฏในตอนหนึ่งว่า
ใส่ลายสือไทนี้ ลายสือไทนี้ จึงมีเมื่อพ่อขุนผู้นั้นใสไว้
แปลเป็นความได้ว่า แต่ก่อนี้อักษรภาษาไทยยังไม่มี เมื่อ พ.ศ.1826
พ่อขุนรามคำแหงได้มีความสนใจ ประดิษฐ์อักษรภาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น
ประดิษฐ์อักษรภาษาไทย อักษรภาษาไทยจึงเกิดขึ้น แล้วพ่อขุนรามคำแหง
ทรงให้จัดทำอักษรไทย) ใส่ไว้ในศิลาจารึกนี้
(ปัจจุบันศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ 1 นี้ เก็บรักษาไว้ที่ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ
พระนคร กรุงเทพฯ)
นอกจากนี้ ศิลาจารึก ของพ่อขุนรามคำแหงนั้น
ยังมีข้อความที่กล่าวถึง คนไทกลุ่มอื่นที่มีความสัมพันธ์กับเมืองสุโขทัย คือ ชาวอู
ชาวของ ซึ่งหมายถึง ชนชาติที่อยู่ลุ่มแม่น้ำอู แม่น้ำโขง นอกจากนี้ยังกล่าวถึง
บ่อน้ำในตระพังโพย กลางกรุงสุโขทัย ว่า มี สีใสกินดีเหมือน้ำโขงเมื่อแล้ง
แสดงว่าชาวสุโขทัยสมัยนั้นได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนแถบลุ่มแม่น้ำอู แม่น้ำโขง
นอกจากนี้ยังกล่าวถึง บ่อน้ำในตระพังโพย กล่าวกรุงสุโขทัย ว่า
สีใสกินดีเหมือนน้ำโขงเมื่อแล้ว
แสดงว่าชาวสุโขทัยสมัยนั้นได้มีความสัมพันธ์กับชุมชนลุ่มแม่น้ำอูและแม่น้ำโขงอย่างใกล้ชนิด
ในสมัยขุนผู้นี้มีมอญชื่อว่า มะกะโท
ได้เดินทางเข้ามาทำราชการอยู่ในเมืองสุโขทัย โดยเป็นตะพุ่นหญ้าให้ช้าง
ต่อมาได้พาพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหงออกไปตั้งตัวเป็นใหญ่ในเมืองรามัญ
ด้วยการสนับสนุนของพ่อขุนรามคำแหง เมืองสุโขทัยโดยพระราชทานพระนามว่า
พระเจ้าฟ้ารั่ว และมีความว่าใน พ.ศ.1825 นั้น มะกะโทสามารถเอาชนะอลิมาง
ตีได้เมืองเมาะตะมะ ซึ่งอยู่ในอำนาจของเมืองสุโขทัย
ทำให้เชื่อว่าพ่อขุนรามคำแหงนั้นเป็นกษัตริย์ ครองเมืองสุโขทัยมาก่อน พ.ศ.1824 แล้ว
คือ ประมาณ พ.ศ.1822 ในศิลาจารึกนั้นยังกล่าวอีกว่า เมืองหงสาวดีนั้นเป็น
เมืองขึ้นสุโขทัยมาตั้งแต่ครั้งพ่อขุนรามคำแหงแล้ว
สมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ทำการขยายอาณาจักรสุโขทัยอย่างกว้างขวาง
ดังปรากฏในศิลาจารึกว่า
·
ทิศเหนือ ได้เมืองแพร่ เมืองน่านตลอดจนเมืองชวา (คือเมืองหลวงพระบาง)
ไว้ในพระราชอาณาจักร
·
ทิศตะวันออก ได้เมือง สระหลวง (โอฆบุรี-เมืองพิษณุโลก ฝั่งตะวันตก)
เมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลกฝั่งตะวันออก) เมืองลม (เมืองหล่มเก่า)
เมืองบาจาย ในลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา
(น่าจะเป็นเมืองบาจาย
ในกลุ่มน้ำป่าสัก) เมืองสระคา (น่าจะเป็นเมืองหนองหาน สกลนคร)
รวมไปถึงฝั่งแม่น้ำโขง ถึงเมืองเวียงจันทร์ เมืองเวียงคำ (อยู่ใต้เมืองเวียงจันทร์
ยังไม่รู้ว่าที่ใด)
·
ทิศใต้
ได้เมือง คณที (เข้าใจว่าเมืองพิจิตร) เมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์)
เมืองแพรก (เมืองสุรรคบุรี) เมืองสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง) เมืองราชบุรี
เมืองเพชรบุรี เมืองนครศรีธรรมราช จนถึงทะเลหน้านอกเป็นอาณาเขต
·
ทิศตะวันตก ได้เมืองฉอด และเมือง.... (ศิลาจารึกกลบแต่คาดว่าเป็นเมืองตะนาวศรี
เมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ เมืองตองอู) เมืองหงสาวดีจนถึงเมืองสุมทรห้า คือ
อ่าวเบงกอล เป็นอาณาเขต
เมืองขึ้นของเมืองสุโขทัยนั้น มีประเทศราชอยู่หลายเมือง ที่รู้แน่ชัดมีอยู่ 7 เมือง
คือ เมืองชวา(หลวงพระบาง) เมืองน่าน เมืองอู่ทอง เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเมาะตะมะ
เมืองหงสาวดี เมืองตองอู เมืองเหล่านี้
ล้วนมีเจ้าครองเมืองและเกี่ยวดองกับราชวงศ์สุโขทัย
นับว่าสมัยของขุนรามคำแหงนั้นเป็นสมัยที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาลมาก
พ่อขุนรามคำแหงนั้น ทรงขยายอาณาเขตเข้าไปครอบครองเมืองต่าง ๆ
โดยรอบและสร้างความสัมพันธ์กับเมืองขนาดใหญ่ ได้แก่ เมืองนครศรีธรรมราช
เมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
และพระองค์ยังได้รวบรวมกำลังผู้คนและจัดตั้งเมืองบริวารให้อยู่ดูแลรอบอาณาเขต
ดังจารึกว่า
ขุนรามคำแหงไปตีหนังวังช้าง และไปที่บ้านที่เมือง ได้ช้าง ได้ลวง
ได้ปั่ว ได้นาง ได้เงือน ได้ทอง ก็ทรงนำมาถวายแด่พระบิดา ทำให้มีชนชาติไท-ลาว
เข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่ในเมืองสุโขทัย เป็นอันมาก
|