ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย

 

อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย

 

                อาณาเขตของแคว้นสุโขทัยในสมัยขุนรามคำแหงนั้น ได้ปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่ามีเมืองสำคัญ คือ

เมืองสุโขทัย กับเมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) ดินแดนทิศเหนือถึงเมืองแพร่ อำเภอปัว จังหวัดน่าน (เมืองพลัว)

ข้ามฝั่งแม่น้ำโขงไปถึงหลวงพระบาง (ชะวา) ดินแดนด้านทิศใต้ถึงคณที (บ้านโคน อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

 

พระบาท (นครสวรรค์) แพรก (อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท) สุพรรณภูมิ (สุพรรณบุรี) ราชบุรี เพชรบุรี ศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช) จรดฝั่งทะเล ดินแดนด้านทิสตะวันออก ถึงสรวลวง (พิจิตร) สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย (อำเภอหล่มเก่า ในเพชรบูรณ์) เวียงจันทร์ เวียงคำ ถึงฝั่งแม่น้ำโขง ดินแดน ด้านทิศตะวันตกถึงฉอด (อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก) หงสาวดี จด สมุทรห้าเป็นแดน (อ่าวเบงกอล)

 

                พ.ศ.1839 พ่อขุนรามคำแหง แห่งอาณาจักรสุโขทัย ได้ร่วมกับพ่อขุนเมืองราย แห่งอาณาจักรโยนกเชียงแสน และพ่อขุนงำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา  ซึ่งเป็นศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกัน คือ สุกทันตฤาษี จึงได้กระทำสัตย์สาบานจะเป็นพันธมิตรกัน ที่ริมฝั่งแม่น้ำอิง เมืองเชียงราย และใน พ.ศ.1839 พ่อขุนรามคำแหง คือ สุกทันตฤาษี

จึงได้เสด็จไปช่วยพ่อขุนเม็งรายสร้างเมืองเชียงใหม่ กล่าวคือ พ่อขุนเมืองราย สร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อวันพฤหัสบดี ขึ้น 8 ค่ำ เดือน วิสาขะ จุลศักราช 658 ปีวอก ตรงกับ วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.1839 เวลาประมาณ 4 นาฬิกา

 

ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ

 

                อาณาจักรสุโขทัยนั้น ได้มีความสัมพันธ์กับต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ลังกา มอญ จีน มลายู และ

อิหร่าน ในศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง ด้านที่ 3 กล่าวว่าเบื้องตีนนอน เมืองสุโขทัยนี้มีตลาดปสาน”

 

                ตลาดปสาน นี้ หมายถึง ตลาดขายของแห้ง เป็นห้องแถว เชื่อว่า ปสาน นี้น่าจะได้ศัพท์มาจากภาษาเปอร์เซีย ของอิหร่าน คือ คำว่า บอร์ซอร์ หรือ บารซาร์ แสดงว่าชาวเปอร์เซียได้เข้ามาทำมาค้าขายในเมืองไทย ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาแล้ว

 

                ใน พ.ศ.1829 สมัยพ่อขุนรามคำแหง พระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ได้เป็นกษัตริย์มอญนั้น และมีฐานะเป็นราชบุตรเขย ของพ่อขุนรามคำแหง โดยได้อภิเษกกับพระธิดาของพ่อขุนรามคำแหง ครั้งเมื่อเป็นมะกะโท เข้ามารับราชการเป็นตะพุ่นหญ้าช้าง จึงทำให้อาณาจักรสุโขทัยได้อาศัยเมืองเมาะตะมะ (Martaban) เป็นเมืองท่าสำหรับค้าขายกับพ่อค้าชาวอินเดีย เปอร์เซียและอาหรับ โดยใช้เส้นทางเดินบกผ่านเมืองกำแพงเพชรและเมืองตาก ทางด่านแม่ละเมา ที่เมืองฉอด (อำเภอแม่สอด)

 

                จดหมายเหตุจีน สมัยราชวงศ์หวน (พ.ศ.1823 – 1911) นั้น ได้กล่าวว่าอาณาจักรเมืองสุโขทัยนั้น ได้มีการติดต่อกันอย่างเป็นทางการ กล่าวคือ มีการส่งทูตไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีต่อกัน 8 ครั้ง ในระหว่าง พ.ศ.1825-1843 ครั้งนั้น ในระหว่าง พ.ศ.1825 – 1843  ครั้งนั้นราชวงศ์หยวนได้ส่งทูตมาเจริญสัมพันธ์ไมตรีและกษัตริย์ไทย ทรงมีพระราชสาส์นพร้อมกับส่งทองแท่ง งาช้าง นกแก้วห้าสี ขนนกกินปลา นอแรด และอำพัน ไปถวายพระเจ้ากรุงจีน

 

                        หลักฐานของจีนในราชวงศ์หงวน สมัยจักรพรรดิหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ (กุ๊ปไลข่าน) ได้ระบุว่า อาณาจักรเสียนหรือสุโขทัย (เสียมก๊ก) สมัยพ่อขุนรามคำแหง นั้นได้ส่งทูตไปติดต่อกับจีน รวม 10 ครั้ง ใน ปีพ.ศ.1838 , 1840 , 1841, 1842, 1843, 1857, 1861, และ 1865 ส่วนจีนนั้นได้ส่งทูตมา 3 ครั้ง ในปี พ.ศ.1836, 1837, 1838 (ทูตจีนนั้นส่งมาทั้งหมด 4 ครั้ง ในครั้งแรกในปี พ.ศ.1825 นั้น คณะทูตเดินทางมาไม่ถึง เพราะถูกพวกจามจับกุมประหารชีวิต

เสียก่อน

 

                ต่อมา ในสมัยราชวงศ์หมิง ถึงต้นราชวงศ์ชิง ระหว่าง พ.ศ.1911 – 2195 ราชสำนักไทย (กรุงศรีอยุธยา) และจีนได้มีความสัมพันธ์ติดต่อเป็นไมตรีกัน ถึง 63 ครั้ง ซึ่งเป็นการสานต่อความสัมพันธ์ที่สืบเนื่องมาจากราชวงศ์หยวน จึงมีการค้าขายต่อเนื่องกันมา

 

                นอกจากนี้ ยังมีปรากฏในรายงานว่า ในฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ เรือสำเภาจากจีนมาจอดที่สุราษฎร์ธานี ชุมพร นครศรีธรรมราช ปัตตานี และเมื่อถึงฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ เรือสำเภานั้นก็จะแล่นใบกลับไปยังเมืองจีน จักรพรรดิจีนที่ติดต่อในสมัยพระเจ้าเลอไทนั้น คือ จักรพรรดิหงสนแสงจงฮ่องเต้ เป็นพระโอรสของจักรพรรดิกุบไล่ข่าน

 

                สินค้าที่อาณาจักรสุโขทัยส่งออกไปค้าขายในจีนนั้น ได้แก่ ของป่า ไม้สัก ไม่ฝาง และข้าว ส่วนสินค้าเข้าจากจีน ได้แก่ ผ้าแพร ผ้าไหม และภาชนะเคลือบดินเผา

 

                ในบันทึกของสำนักพระราชวังของจีน สมัยจักรพรรดิกุบไล่ข่าน ได้กล่าวไว้ว่า

 

                “แผ่นดินจี่หงวน ปีที่ 28 ซินเป๊าจับหง้วย (ตรงกับเดือน 12 ปีเถาะ จุลศักราช 625 พ.ศ.1834)

หลอฮกก๊กอ๋องให้ราชทูตนำราชสาส์นอักษรเขียนด้วยทองกับเครื่องบรรณาการคือ ทองคำ งาช้าง นกกะเรียน

นกแก้วห้าสี ขนนมกระเต็น นอแรด อำพันทอง มาถวาย”

 

                (จากจดหมายเหตุเรื่องพระราชไมตรีในระหว่างกรุงสยามกับกรุงจีน พระเจนจีนอักษรแปล)

 

                ในปี พ.ศ.1836 จักพรรดิหงวนแสงจงฮ่องเต้ พระเจ้ากรุงจีน ส่งทูตจีนเชิญพระราชสาส์นมาขอให้อาณาจักรเสียนข่านมู่ตึง Hsien (เสียน หมายถึง สุโขทัยหรือสุพรรณบุรี) Kan Mu Ting (หมายถึง ชื่อกษัตริย์) อย่าได้รุกรานดินแดน หลอหู (คือละโว้) และดินแดนมลายู

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม อาณาเขตของแคว้นสุโขทัย

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์