พุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
พุทธศาสนาสมัยพ่อขุนรามคำแหง
ในศิลาจารึก หลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้ระบุว่า
ปู่ครูมหาเถรสังฆราช ในเมืองสุโขทัยนั้นได้อาราธนามาจากเมืองนครศรีธรรมราช
ด้วยเหตุที่สืบพุทธศาสนามาจากลังกาทวีป
จึงมีการสร้างสถูปเจดีย์แบบลังกาไว้ในเมืองสุโขทัยด้วย
พ.ศ.1856 พ่อขุนรามคำแหง (ไม่น่าจะใช้พ่อขุนรามคำแหง)
ได้ทรงตั้งพระนาม พระเจ้ารวมประเดิด ประทานให้แก่มะกะตา ผู้เป็นอนุชา
ของพระเจ้าฟ้ารั่ว (มะกะโท) ซึ่งขึ้นครองราชย์ เป็นกษัตริย์มอญต่อมา และใน พงศ.1857
พระองค์ได้พระราชทานนาม พระเจ้าแสนเมืองมิ่ง ให้ผู้ขึ้นเป็นกษัตริย์มอญ และในปี
พงศ.1861 พระเจ้าแสนเมืองมิ่ง ก็คงได้ยกกองทัพตีเมืองทวาย เมืองตะนาวศรี
ของเมืองสุโขทัย
จากเหตุการณ์นี้ ทำให้เข้าใจว่า พ่อขุนรามคำแหงนั้น
น่าจะสวรรคตแล้ว ก่อน พ.ศ.1861 และบางแห่งว่า
สวรรคต
พ.ศ.1842 ไม่เช่นนั้น พระเจ้าแสนเมืองมิ่งจะไม่ยกทัพตีเอาเมืองของอาณาจักรสุโขทัย
สรุปในเบื้องต้นว่า พ่อขุนรามคำแหง ครองราชย์ประมาณ พงศ.1822
1842 (20 ปี ) ส่วนที่ระบุว่าสวรรคตประมาณ ปี พงศ.1860 นั้น
ได้ทำให้ระยะเวลาครองราชย์นานถึง 38 ปี
พระยาไสสงคราม (ปู่ไสสงคราม)
พระยาไสสงคราม หรือ ปู่ไสสงคราม
เป็นพระโอรสอีกองค์หนึ่งของพ่อขุนรามคำแหง มีข้อสันนิษฐานว่า ปู่ไสสงคราม
แม้จะได้ครองราชย์ก็ยังไม่ได้ราชาภิเษกครั้งเมื่อ พระยาเลอไทย
ซึ่งเป็นพระเชษฐานั้นกลับมาจากเสด็จเมืองจีน ใน พงศ.1842
จึงได้ถวายราชสมบัติคืนให้พระยาเลอไท ผู้เป็นรัชทายาท ที่มีสิทธิขึ้นครองราชย์ต่อมา
เมื่อครั้งที่ พ่อขุนรามคำแหงสิ้นพระชนม์ลงนั้น
ได้ทำให้บรรดาเมืองต่าง ๆ ที่มีพ่อขุนครองเมืองได้พากันแยกตัวเป็นอิสระ
ทั้งนี้อาจจะเนื่องจากการรวมเมืองต่าง ๆ เป็นอาณาจักร
นั้นได้รวมขึ้นด้วยความศรัทธาในความสามารถของพ่อขุนเองเดียวกัน
ครั้นเมื่อพ่อขุนสิ้นพระชนม์ลงเมืองต่าง ๆ จึงตั้งตนเป็นอิสระ
รวมถึงพระราชวงศ์กษัตริย์ที่จะครองเมืองสุโขทัยก็เกิดการขัดแย้งกัน
จึงเป็นเหตุให้พระยาไสสงคราม ได้มีโอกาสเข้ามาครองเมืองสุโขทัย
ส่วนจะครองราชย์ปีเดียวหรือเป็นเวลาเท่าใดนั้น ไม่ปรากฏข้อมูล
แต่มีข้อมูลระบุว่า พระยาเลอไท เสด็จกลับมาจากประเทศจีน ใน
พ.ศ.1842 ปู่ไสสงคราม จึงได้คืนเมืองให้ครองราชย์ต่อมา
พระยาไสสงครามนั้นสิ้นพระชนม์ภายหลังใน พ.ศ.1866 พระยาเลอไทย
โอรสพ่อขุนรามคำแหงจึงได้ครองราชย์ต่อมา
พระยาเลอไทย (พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐ์สุริวงศ์)
พระยาเลอไทย หรือ พระเจ้าหฤทัยชัยเชษญ์สุริวงศ์
(ในไตรภูมิพระร่วงว่า พญาเลลิไทย) เป็นโอรสของพ่อขุนรามคำแหง
และเป็นพระเชษฐาของพระยาไสสงคราม ในจารึกขอมเรียกว่า พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐสุริวงศ์
และในซินกาลมาลินีก็ว่า อุทกโชตถตราช (แปลว่า พระยาจมน้ำ) ครองราชย์ประมาณ พงศ.1842
(บางแห่งพ.ศ.1866)
เมื่อ พ.ศ. 1861 สมัยพระยาเลอไทยนั้น
กองทัพสุโขทัยอ่อนแอไม่เข้มแข็ง ทำให้
พวกมอญต่างแยกตัวเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอาณาจักรสุโขทัย และชาวสยามทางภาคกลาง
พวกเมืองละโว้และผู้คนทางเมืองสุพรรณบุรี
ภายใต้การนำของพระเจ้าอู่ทองได้อพยพมาตั้งอาณาจักรใหม่ บริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ที่กรุงศรีอยุธยา
สมัยพระยาเลอไทยนี้ มีแต่เรื่องเล่าว่า เมื่อ พงศ. 1873
เมืองรามัญเป็นกบฏหลังจากที่พระเจ้าแสนเมืองมิ่ง
สิ้นพระชนม์ พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐ์ฯ ได้ยกกองทัพไปปราบปรามไม่สำเร็จ
จึงเป็นเหตุให้เมืองรารัญแข็งเมืองตั้งแต่นั้นมา
แม้ว่าในพงศาวดารพม่าจะกล่าวถึงไทยตีได้เมืองทวาย
เมืองตะนาวศรีมาเป็นเมืองขึ้น
เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นเรื่องของกษัตริย์ในกรุงศรีอยุธยามากกว่า
ด้วยขณะนั้นอาณาจักรสยามด้านใต้ ได้สร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานีแล้ว
และต่อมาพม่านั้นได้ตั้งเมืองหลวงที่เมืองตองอู อยู่ริมแม่น้ำสะโตง เมื่อ พ.ศ.1890
พระยาเลอไทยหรือพระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ นี้ครองราชย์สมบัติสืบมา 36
ปี และสวรรคต ใน พงศ.1882
(บางแห่งว่า พ.ศ.1866 1884 รวม 18 ปี รวม 40 ปี
พระยางั่วนำถม
พระยางั่วนำถมหรือพญางั่วนำถุม เป็นอนุชาของพระยาเลอไทย
ได้ครองเมืองสุโขทัย ช่วงระหว่าง พ.ศ.
1882
1892 (10 ปี) บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ. 1884 1890 (6 ปี)
ไม่มีรายละเอียดว่าได้ครองเมืองสุโขทัยอย่างไร โดยเฉพาะกรณีพระยาลิไทย
โอรสของพระยาเลอไทย
ซึ่งมีตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองเชลียงอยู่นั้นไม่ได้ครองเมืองสุโขทัยต่อจากพระบิดาแต่กลับเป็นพระยางั่วนำถม
จึงมีการสันนิษฐานว่า พระยาลิไทยนั้นน่าจะยังมีพระชนมายุน้อยกว่า
หรือเป็นรัชทายาทที่ยังเยาว์วัยหรือครองอยู่เมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย)
ดังนั้น ในช่วงที่มีการเปลี่ยนแผ่นดินหรือ
พระยาเลอไทยทรงประชวรอยู่ จนอำนาจของเมืองสุโขทัย ซึ่งเป็นที่รวมศรัทธาเมืองต่าง ๆ
ในอาณาจักรนั้นได้อ่อนแอลง ทำให้เมืองต่าง ๆ พยายามแยกตัวเป็นอิสระ
ด้วยเหตุนี้การทำให้เมืองสุโขทัยยังสามารถรักษาฐานอำนาจให้เมืองอื่นมีความศรัทธานับถือได้
จึงทำให้พระยางั่วนำถม
พระอนุชาของพระยาเลอไทยขึ้นครองเมืองสุโขทัยแทน
ต่อมาเมื่อพระยางั่วนำถม สิ้นพระชนม์ลงเสียก่อน
พระยาเลอไทยน่าจะยังประชวรอยู่ ใน พ.ศ.1897
จึงทำให้เมืองสุโขทัยเกิดปัญหาในการครองเมืองสุโขทัยต่อไป
และเกิดการแย่งชิงอำนาจกันเองในกลุ่มเมืองบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง
เพื่อแย่งราชสมบัติครองเมืองสุโขทัย
จนพระยาลิไทยต้องเสด็จออกจากเมืองเชลียงเข้ามาทำการปราบดาภิเษก
ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย
ดังนั้น การปกครองอาณาจักรที่มีรูปแบบ พ่อขุน หรือ พระยา
จึงได้มีการปรับรูปแบบ เพื่อสร้างอาณาจักรสุโขทัยให้มั่นคงขึ้น
โดยมีการนำเอาพุทธศาสนาเข้ามาสร้างความเป็นปึกแผ่นจนอาณาจักรสุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองและเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา
กษัตริย์ผู้ครองเมืองสุโขทัย จึงมีรูปแบบของการเป็น พระธรรมราชา ดังนั้น
เมื่อพระยาลิไทยเสด็จออกมาจากเมืองเชลียง มาขึ้นครองเมืองสุโขทัย จึงมีพระนามเป็น
พระมหาธรรมราชาองค์แรก
|