พระมหาธรรมราชาที่ 1
พระมหาธรรมราชาที่ 1 (พระยาลิไทย)
พระมหาธรรมราชาที่ 1 หรือพระยาลิไทย เป็นพระโอรสของพระยาเลอไทย
ในจารึกปรากฏพระนามว่า
พระธรรมราชา แต่ในศิลาจารึกภาษาขอม (ศิลาจารึกหลักที่ 4) มีนามว่า พระบาทกมรเดง
(กมรเตง) อัญศรีสุริยพงษราม มหาธรรมราชาธิราช (หมายถึง พญาลิไทย มหาธรรมราชา)
มีความว่า เมื่อปีกุน พ.ศ.1870 (จ.ศ.709)พระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ (พระยาเลอไทย)
ได้แต่งตั้งให้พญาลิไทย อันได้รับพระนามบัญญัติว่า พระสรีธรรมราช เป็นมหาอุปราช
ไปครองเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) ต่อจากนั้นมา 3 ปี คือ พ.ศ.1893 (จ.ศ.712)
ปีขาล
พระเจ้าอู่ทองจึงได้สร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรสยามขึ้นทางน้ำลุ่มเจ้าพระยา
พระศรีธรรมราช หรือ พระมหาธรรมราชา พระองค์นี้เป็นพระมหาอุปราช
ครองเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) อยู่ 7 ปี จนถึงปีมะเมียจุลศักราช 816
(พ.ศ.1897) พระยาเลอไทย หรือพระเจ้าหฤทัยชัยเชษฐฯ พระบิดาทรงประชวรหนัก
ในขณะนั้นเจ้าเมืองต่าง ๆ เช่น เมืองเชียงทอง เมืองบ่างพราน เมืองบางขลัง เมืองคณฑี
เมืองพระบางที่อยู่บริเวณลุ่มน้ำปิงนั้น
ต่างแก่งแย่งกันชิงอำนาจกันเพื่อที่จะครองเมืองสุโขทัย
พระองค์จึงยกพหุหเสนาลงมาจากเมืองศรีสัชนาลัย ถึงเมืองสุโขทัย เมื่อวันแรม 1 ค่ำ
เดือน 8 พ.ศ.1897
เหตุการณ์ตอนนี้มีความเล่าในศิลาจารึก วัดป่ามะม่วง (ภาษาขอม
พงศ.1904)
ว่าพระองค์เสด็จพระราชดำเนินทัพเข้าประตูเมืองทิศพายัพปราบศัตรูหมู่ปัจจามิตร
ประหารผู้คิดมิชอบ เสร็จแล้วก็เสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระบิดาที่สวรรคต
พระองค์ทรงราชาภิเษกเป็นพระบาท กมรเดงอัญศรีสุริยพงศ์ราม มหาธรรมมิกราชาธิราช
ในหนังสืออื่นเรียก พระยาลิไทยบ้าง พระมหาธรรมราชาลิไทย บ้าง
เป็นพระนามพระองค์เดียวกัน
ส่วนศักราชการครองราชย์นั้น น่าจะอยู่ระหว่าง พ.ศ.1890 1912 (22
ปี) โดยนับรวมเวลาที่พระยาลิไทย ครองราชย์ในเมืองเชลียง (เมืองศรีสัชนาลัย) ตั้งแต่
พงศ.1890 1897 (7 ปี) ด้วย
ดังนั้นกรณีที่พระยางั่วนำถมได้ครองเมืองสุโขทัยก็น่าที่จะเป็นช่วงเวลาที่
พระยาเลอไทยทรงประชวรอยู่ หรือพระยาลิไทยยังทรงพระเยาว์อยู่
โดยเป็นพระมหาอุปราชครองอยู่ เมืองศรีสัชนาลัย ดังนั้น
การที่พระยาลิไทยยกกองทัพเข้าเมืองสุโขทัย
จึงน่าจะเกิดในช่วงเวลาที่พระยางั่วนำถมสิ้นพระชนม์ลง มากกว่า
การครองราชย์ของพระมหาธรรมราชาลิไทย
นั้นพระองค์ทรงพยายามรวบรวมหัวเมืองสร้างอาณาจักรสุโขทัยให้มั่นคง
เพื่อแสดงพระราชอำนาจโดยชอบธรรมตามการสืบราชสันตติวงศ์ ต่อจากพระบิดา
ด้วยขณะนั้นบริเวณรอบอาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ได้มีการ ตั้งอาณาจักรขนาดใหญ่
ได้แก่ อาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรอยุธยา และอาณาจักรหงสาวดี
ขณะนั้น
อาณาจักรล้านนาและอาณาจักรของกรุงศรีอยุธยาได้ทำการคุกคามเมืองในอาณาเขตของเมืองสุโขทัย
ทำให้อาณาจักรสุโขทัยพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการทำสงครามขยายอาณาเขต
ที่จะทำให้เกิดการกระทบต่อกันระหว่างอาณาจักรและพยายามที่จะให้อยู่ร่มเย็น เป็นสุข
เท่ากับแผ่นดินในสมัยพ่อขุนรามคำแหง จนถึงกับพระมหาธรรมราชาลิไทย
ต้องเสด็จไปยังเมืองต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่พุทธศาสนาและบำเพ็ญกิจ
เพื่อสร้างศรัทธาในตัวพระองค์
โดยทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาด้วยการสถาปนาพระบรมธาตุที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900
และประดิษฐานรอยพระพุทธบาทที่เมืองสำคัญ นอกจากนี้พระองค์ยังได้แสดงแสนยานุภาพ
ของการเป็นธรรมราชาไปยังเมืองต่าง ๆ เช่น ในปี พงศ.1902 นั้น
พระองค์ได้เสด็จไปประทับอยู่ที่เมืองแพร่นานถึง 7 เดือน ในระหว่างปี พ.ศ.1906-1912
นั้น พระองค์ได้เสด็จย้ายมาประทับที่เมืองพิษณุโลก นานถึง 7 ปี
เพื่อทำการควบคุมเส้นทางแม่น้ำน่าน และแม่น้ำป่าสัก ทางตอนเหนือไว้
พระมหาธรรมราชาลิไทยนั้นทรงมีพระปรีชาสามารถในเรื่องพระปรีชาสามารถในเรื่องพระไตรปิฏกแตกฉานมากชนิด
รู้บุญรู้ธรรม มีปรีชาแก่คม บ่มิกล่าวถี่เลย จึงได้มีพระราชนิพนธ์สำคัญคือ
ไตรภูมิกถาหรือ
ไตรภูมิพระร่วง มาตั้งแต่เมื่อศักราช 23 ปี (พ.ศ.1888 ในขณะที่ยังเป็นพระมหาอุปราช
ครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่)เมื่อพระองค์ครองเมืองสุโขทัยจึงได้นำไตรภูมิกถามาใช้
สั่งสอนอาณาประชาราษฎร เหมือนกันได้ทรงมีพระราชดำริไว้ก่อนครองราชย์
ดังนั้นพระองค์จึงมุ่งที่จะทำการส่งเสริมพุทธศาสนาจนทำให้เมืองสุโขทัยนั้นเป็นศูนย์กลางพุทธศาสนา
นอกจากนี้พระมหาธรรมราชาลิไทย ยังทรงมีความชำนาญด้านโหราศาสตร์
ดังนั้น การเกิดข้อความถึง
พระร่วงลบศักราช นั้นจึงน่าจะเกิดขึ้นในรัชกาลนี้
พระองค์ทรงชำนาญทางไสยศาสตร์มีบัญญัติศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียม (เหมือนแบบพิธี 12
เดือน)
พระองค์โปรดให้สร้างมหาปราสาทราชมนเทียร ก่ออิฐถือปูนดังปรากฏใน
หนังสือนางนพมาศว่า
เมืองสุโขทัยนั้นมีพระที่นั่งอินทราภิเษก พระที่นั่งอดิเรกภิรมย์
พระที่นั่งอุดมราชศักดิ์ พระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งชลพิมาน
พระที่นั่งไพศาลเสาวรส พระที่นั่งปรัศรัตนารี และพระที่นั่งปรัศศรีอัปสร เป็นต้น
ในรัชกาลของพระมหาธรรมราชาลิไทย
นั้นทรงโปรดให้ราชบุรุษไปอัญเชิญพระบรมธาตุมาจากลังกาทวีปได้มาบรรจุไว้ที่นครชุมและสร้างพระมหาธาตุขึ้นไว้ในวันศุกร์
ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปี ระกา จ.ศ.719 (พ.ศ.1900)
พ.ศ. 1902 พระมหาธรรมราชาลิไทย
นั้นทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ได้ทำนุบำรุงพุทธศาสนาจนรุ่งเรืองมาก
พระองค์ทรงสร้างพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ หลายองค์ เช่น พระศรีศากยมุนี
(เดิมเป็นพระประธานอยู่ในวิหารหลวงวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย
ปัจจุบันได้อัญเชิญลงมาพระประโนในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ เทพวราราม กรุงเทพฯ)
ต่อมา ในปีพ.ศ.1904 พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงให้ราชบัณฑิต ไปอาราธนา
พระมหาสวามีสังฆราชมาจากเมืองลังกา โดยให้จำพรรษาอยู่ที่วัดป่ามะม่วง
(วัดอัมพวนาราม) ที่พระองค์ทรงสร้างให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาพุทธศาสนา
เมื่อออกพรรษาในปีนั้น ได้มีงานฉลองพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ขนาดเท่าพระองค์
ที่สร้างประดิษฐานไว้กลางเมืองสุโขทัยด้านทิศตะวันออกของพระมหาธาตุ (คือ
วัดศรีศากยมุนี วัดสุทัศน์เทพวราราม) และพระองค์ทรงพระราชศรัทธาสมาทานศีล เป็นดาบส
แล้วรับพระไตรสรณคมน์ต่อพระมหาสวามีสังฆราช ทรงผนวชเป็นสามเณรในราชมณเฑียร
แล้วเสด็จพระราชดำเนินไปกับคณะสงฆ์ ไปรับอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดป่ามะม่วง
เมื่อพ.ศ.1904 มีกล่าวในศิลาจารึกนั้นว่า
ขณะเมื่อพระมหาธรรมราชาทรงผนวชนั้น บังเกิดแผ่นดินไหวเป็นโกลาหล
และอัศจรรย์ต่าง ๆ นานา
พระมหาธรรมราชา
ทรงประกาศพระองค์มุ่งเป็นพระโพธิสัตว์ในพุทธศาสนาในอนาคต ทรงเป็นเจ้าไทย
ที่จะนำพาหมู่เวไนยสัตว์สู่พระนิพพาน ด้วยเหตุที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์
นั้นได้ตั้งมั่นอยู่ในเมืองสุโขทัย
ดังนั้นในการที่พระองค์ทรงผนวชเป็นพระภิกษุศึกษาธรรมเช่นนี้
จึงเป็นคุณสมบัติของกษัตริย์
ต่อพระศาสนาที่ออกจาริกบำเพ็ญพระราชกุศลตามศาสนาสถานและเสด็จออกผนวชในรัชกาลสืบต่อมา
ต่อมานั้น เสนาข้าราชการทั้งหลายได้กราบทูลวิงวอนอัญเชิญ
พระภิกษุพระมหาธรรมราชาลิไทย ได้ลาผนวชออกมาราชาภิเษก เป็นกษัตริย์
ครองเมืองสุโขทัยใหม่ โดยถวายพระนามว่า พระเจ้าศรีมหาธรรมิกราชาธิราช
แล้วพระมหาสวามีสังฆราช
ได้ถวายพระนามเพิ่มให้อีกเป็นพระเจ้าศรีตรีภพธรณีซตสุริยโชติมหาธรรมิกราชาธิราช
พระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมือง โดยการให้ทำการขุดคลอง
และทำถนนจากเมืองสุโขทัย ไปจนถึงเมืองศรีสัชนาลัย และเมืองน้อยใหญ่
เป็นการถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระราชบิดา ถนนี้เรียกว่า พระร่วง
มีความยาวจากเมืองกำแพงเพชรไปเมืองสุโขทัยต่อไปจนถึงเมืองศรีสัชนาลัย
(เมืองสวรรคโลก)
พระองค์ได้สร้างสัมพันธ์ไมตรีอันดีกับเมืองต่าง ๆ ในอาณาจักร
ดังเห็นได้จาก ในพ.ศ.1902 นั้น พระองค์เสด็จไปประทับที่เมืองแพร่นานถึง 7 เดือน
รวมทั้งเมืองพลัว (เมืองโบราณใน อ.ปัว จ.น่าน )
และเมืองน่านด้วยทำให้พระองค์มีความสัมพันธ์กับราชวงศ์เมืองน่านเป็นอย่างดีในฐานะเป็นพระญาติ
ที่มีคนในราชวงศ์สุโขทัยมาจากการอภิเษกกับพระธิดาของราชวงศ์เมืองน่าน
(ภายหลังเมืองทั้งสองนี้ได้ร่วมกับป้องกันอาณาจักรของเมืองสุโขทัยพบว่า
มีศิลาจารึกคำสาบาน
กล่าวถึงการที่กองทัพเมืองน่านยกมาช่วยเมืองสุโขทัยสู้รบกับกองทัพกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้ง
ปี พงศ.1919)
ส่วนอาณาจักรอยุธยาที่ตั้งขึ้นทางตอนใต้นั้น
ไม่มีหลักฐานว่าอาณาจักรสุโขทัยได้มีสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรอยุธยามาก่อน
ภายหลังนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 หรือขุนหลวงพระงั่ว
กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาได้ยกทัพมาทางเมืองชัยนาท
แล้วตีเมืองชายแดนของอาณาจักรสุโขทัยเสมอ และยึดได้เมืองนครพังคา เมืองแสงรา
เมืองชากังราวได้
ดังนั้น ในปลายปี พ.ศ.1906 พระมหาธรรมราชาลิไทย
จึงต้องย้ายเมืองหลวงไปอยู่ที่เมืองพิษณุโลก
เพื่อดูแลหัวเมืองทางด้านใต้ เช่น เมืองนครสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น
เหตุให้พระมหาธรรมราชาลิไทย เสด็จมาประทับที่เมืองพิษณุโลกตลอดมาจนสิ้นพระชนม์
(ประมาณ พ.ศ.1906 1912 รวม 7 ปี ครั้งนั้นได้มีการสร้างพระราชวังจันทร์ขึ้นด้วย
ด้วยเหตุที่พระองค์สนพระทัยในพุทธศาสนา
พระองค์จึงเผยแพร่ไตรภูมิพระร่วงและทำนุบำรุงพุทธศาสนาสถานหลายแห่ง ดังเช่น ใน
พ.ศ.1905 นั้น
พระองค์ทรงโปรดให้จำลองรอยพระพุทธบาทจากลังกามาสร้างสำหรับประดิษฐานตามสถานที่ต่าง
ๆ หลายแห่งในเมืองสุโขทัย เมืองศรีสัชนาลัย เมืองพิษณุโลก
เมืองกำแพงเพชรและเมืองพระบาท (เมืองนครสวรรค์)
อาณาจักรสุโขทัยนั้น จึงมีความเจริญทางด้านพุทธศาสนา จนทำให้ใน
พ.ศ.1913 พระยากือนา (พ.ศ.1889-1928) กษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านนา ได้มีพระราบสาส์น
ขอให้พระองค์ได้ส่งพระสงฆ์ไปช่วยปรับพุทธศาสนา
พระองค์ทรงมีพระราชานุญาตให้พระสุมนเถระ พระสังฆราชเมืองสุโขทัย
เดินทางไปปรับปรุงคณะสงฆ์ในอาณาจักรล้านนา
ทำให้สองอาณาจักรนั้นมีสัมพันธไมตรีที่ดีสืบต่อกันมา
อาณาจักรสุโขทัยนั้น มีความเจริญสุขสำราญร่มเย็นถ้วนหน้า
ไม่มีทาสในเมืองสุโขทัย และไม่มีข้าศึกศัตรูเข้ามารุกรานหรือเบียดเบียน
ด้วยพระมหาธรรมราชาลิไทย ทรงครองแผ่นดินด้วยธรรมานุภาพเช่นเดียวกับ
พ่อขุนรามคำแหง
พระมหาธรรมราชาลิไทย สวรรคตปีใดไม่ปรากฏหลักฐาน
สันนิษฐานว่าพระองค์สวรรคตประมาณ พ.ศ.1912 (บ้างว่าประมาณ พงศ.1911 1917
ด้วยมีข้อความระบุว่า ในปี พ.ศ.1917 นั้น พระมหาธรรมราชาลิไทย
ได้สวรรคตไปแล้วบางแห่งว่า พระองค์อยู่ในราชสมบัติ 22 ปี คือ ประมาณ พ.ศ.1897
1919) พระมหาธรรมราชาลิไทย นั้นทรงประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลก จนสิ้นพระชนม์
และช่วงเวลานั้นเมืองพิษณุโลกจึงเป็นเมืองที่มีบุคคลในเชื้พระวงศ์ของกษัตริย์สุโขทัยพากันมาประทับอยู่จำนวนมาก
พบว่า มีการสร้างพระราชวังที่ประทับ (พระราชวังจันทร์) และสร้างพระพุทธชินราช
สำหรับประดิษฐานในวัดประจำพระราชวังแห่งนี้
จากข้อความในศิลาจารึกนั้น พบว่า พระมหาธรรมราชาลิไทย
ทรงมีพระโอรสหลายพระองค์ และประสูติต่างพระมารดากัน กล่าวคือ พระยาลือไทย
ประสูติแต่พระมหาเทวี พระธรรมราชา และพระอโศก ประสูติแต่พระศรีจุฬาลักษณ์
พระยาลือไทย โอรสของพระองค์นั้น ได้อภิเษกกับพระธิดาของพระยาคำตัน
เจ้าครองเมืองน่าน ต่อมามี
พระโอรสพระนามว่า พระยาไสลือไทย ส่วนพระอโศก พระโอรสอีกองค์หนึ่งนั้น
ได้ออกบวชบำเพ็ญธรรม
|