พระมหาธรรมราชาที่ 4
พระมหาธรรมราชาที่ 4 (พระยาปาลราช)
พระมหาธรรมราชาที่ 4 หรือพระยาปาลราช หรือ พระบรมปาล
เป็นโอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 3
ได้ครองราชย์ อยู่ที่เมืองสองแคว หรือเมืองพิษณุโลก ประมาณ พงศ.1962 1981 รวม 19
ปี
เมื่อครั้งพระมหาธรรมราชาที่ 3 หรือพระยาไสลือไทย สวรรคตนั้น
ได้มีเหตุการณ์ชิงราชสมบัติครองอาณาจักรสุโขทัยระหว่าง พระยาบาล กับพระยาราม
โอรสของพระองค์ จนสมเด็จพระอินทราชา
กษัตริย์อยุธยาได้ถือโอกาสยกกองทัพขึ้นมาชิงอำนาจ และจัดการให้อาณาจักรสุโขทัย
ที่ยอมอ่อนน้อมอยู่ในอำนาจนั้นยอมให้จัดการบ้านเมือง
โดยแบ่งเอาเมืองในอาณาจักรสุโขทัย ให้พระยาทั้งหลายคาอง คือ พระยาบาล
นั้นแต่งตั้งให้เป็นพระมหาธรรมราชาที่ 4 มีพระนามว่า พระเจ้าสุริยวงศ์บรมปาล
มหาธรรมราชาธิราช ครองอยู่เมืองพิษณุโลก พระยารามครองเมืองสุโขทัย พระยาเชลียง
ครองเมืองเชลียงหรือเมืองศรีสัชนาลัย และแสนสอยดาว ครองเมืองกำแพงเพชร
การแบ่งเมืองให้พระยาครองเช่นนี้
เป็นกุศโลบายที่อาณาจักรอยุธยาต้องการที่จะลดทอน อำนาจของอาณาจักรสุโขทัย
ที่มีอยู่เดิมลงเป็นเมืองธรรมดา แม้ว่าจะยังคงให้มีพระมหาธรรมราชาที่ 4
ครองเมืองพิษณุโลกอยู่ก็ไม่ได้ ยกให้เป็นราชธานีสำรองเช่นเดิม แล้วเมืองทั้ง 4
นี้ก็ให้ขึ้นตรงกับอาณาจักรอยุธยาด้วย
ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามีการเปลี่ยนแปลงแผ่นดิน
โดยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
ขึ้นครองเป็นกษัตริย์อยุธยา ใน พ.ศ.1967 ฐานะอาณาจักรของเมืองสุโขทัย
ก็ยังไม่สามารถที่จะฟื้นสถานภาพเป็นอาณาจักรอย่างเดิมได้อีก จวบจนพระมหาธรรมราชาที่
4 สิ้นพระชนม์ลงเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.1981
ความเป็นอาณาจักรสุโขทัยจึงสิ้นสุดราชวงศ์กษัตริย์ครองอาณาจักรนี้ต่อไป
แม้ในเมืองพิษณุโลก และเมืองสุโขทัย
จะยังมีเชื้อสายกษัตริย์สุโขทัยอยู่ก็มีฐานะเป็น เพียงเจ้าครองเมือง
ดังนั้น
พระยายุทธิษเฐียร โอรสของพระมหาธรรมราชาที่ 4 จึงได้เป็นผู้ครองเมืองพิษณุโลกต่อมา
แม้ว่าพระยายุทธิษเฐียรนั้น
จะเป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระราเมศวรคือมีพระมารดาเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยเช่นเดียวกัน
ในแผ่นดินของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา) นั้น ได้โปรดให้พระราเมศวร
พระราชโอรสขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลก
ต่อมาเมื่อพระราเมศวรขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อยุธยา ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เมื่อ
พ.ศ.1991 นั้น พระยายุทธิษเฐียร
ซึ่งตั้งความหวังแต่เดิมไว้ว่ากษัตริย์อยุธยาพระองค์นี้
จะคืนความเป็นอาณาจักรสุโขทัยกลับคืน โดยไม่แบ่งเมืองออกเป็น 4 เมือง ดังกล่าว
ในฐานะที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย
และเป็นพระราชชนนีของพระราเมศวร)
ครั้นเมื่อ พระยายุทธิษเฐียร ไม่ได้รับการสนับสนุนตามที่คาดหวังไว้
จึงทำให้เกิดน้อยใจและผิดหวัง
จึงพาไพร่พลไปสวามิภักดิ์กับพรเจ้าติโลกราช
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ของอาณาจักรล้านนา
จนเป็นเหตุให้เกิดสงครามยืดเยื้อกันระหว่างอาณาจักรล้านนากับอาณาจักรอยุธยา ใน
พ.ศ.1995
ส่วนเมืองพิษณุโลกนั้น ภายหลังพระราชชนนีของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ได้ขึ้นครองเมืองพิษณุโลก ต่อมา จนพระนางสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ.2006
หลังจากนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จึงโปรดที่จะเสด็จขึ้นมาประทับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกเป็นเวลานาน
ด้วยเหตุนี้ บุคคลผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย
จึงต่างพากันมาอาศัยหรือพำนักในเมืองพิษณุโลก มากขึ้น
ครั้นเมื่อมีการรวมอาณาจักรสุโขทัยกับอาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรเดียวกันแล้ว
บุคคลจากราชวงศ์สุโขทัยในเมืองพิษณุโลก
จึงพากันได้ลงไปรับราชการและติดต่อไปมาหาสู่กับกรุงศรีอยุธยา
ราชธานีของอาณาจักรสยามที่ตั้งใหม่ทางตอนใต้มากขึ้น
โดยเฉพาะพระธิดาหรือหญิงสาวจากเชื้อพระวงศ์นี้
ได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของกษัตริย์อยุธยาและมีพระโอรสเป็นเชื้อสายกษัตริย์อยุธยา
ครั้นเมื่อพระโอรส
ผู้มีพระมารดาเป็นบุคคลราชวงศ์กษัตริย์สุโขทัยนั้น ได้รับการสถาปนา
เป็นกษัตริย์ครองราชย์ในอาณาจักรอยุธยา ได้แก่ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราเมศวร)
สมเด็จพระราชาธิราช
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (ขุนพิเรนทรเทพ)
พระราชบิดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสมเด็จพระเอกาทศรถ
ผู้สืบเชื้อสายกษัตริย์ราชวงศ์สุโขทัย เป็นต้น
สรุปแล้ว เชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยนั้น
ได้กลับมีอำนาจเป็นกษัตริย์ของอาณาจักรสยามตอนใต้ และมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
อยู่ช่วงสมัยหนึ่ง
หมายเหตุ ศักราชการครองราชย์ของกษัตริย์เมืองสุโขทัยนั้น มีความแตกต่างกัน
จึงสรุปชัดเจนไม่ได้
|