ความสัมพันธ์ของราชวงศ์สุโขทัยกับ
ความสัมพันธ์ของราชวงศ์สุโขทัยกับกษัตริย์อยุธยา
ราชวงศ์กษัตริย์สุโขทัยกับกษัตริย์อยุธยานั้น
ได้มีความสัมพันธ์กันตลอดมา ดังจะเห็นได้จาก
เมื่อชนชาติสยามได้ตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นทางตอนใต้
และได้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ใน พ.ศ.1893 นั้น
ได้ทำให้อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์กลางอำนาจและมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับ
ส่วนอาณาจักรของชาวสยามที่ตั้งอยู่ทางเหนือ ซึ่งมีเมืองสุโขทัย
เป็นราชธานีนั้น ภายหลังได้ปรากฏว่าเริ่มอ่อนแอและเสื่อมอำนาจลง
ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) กษัตริย์อยุธยา ได้ยกกองทัพ
กองทัพเข้าตีเมืองซากังราว และยึดได้เมืองพิษณุโลก ไปจากอาณาจักรสุโขทัยนั้น
ได้ทำให้อาณาจักรสุโขทัยต้องยอมอ่อนน้อมต่อกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พงศ.1921
แต่ยังมีกษัตริย์ครองเมืองสุโขทัยสืบราชวงศ์ต่อมาในฐานะเมืองประเทศราช
จนเมื่อพระมหาธรรมราชาที่ 4 สิ้นพระชนม์ ใน พ.ศ.1981 (ค.ศ.1438)
จึงได้รวมอาณาจักรสุโขทัยไว้เป็นอาณาจักรเดียวกัน โดยมีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
อาณาจักรสยามทางตอนใต้นี้ ได้มีอำนาจดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ
ดังนั้นเมืองพิษณุโลก ที่เคยเป็นราชธานีสำรองต่อจากเมืองสุโขทัย
จึงถูกตั้งให้เป็นเมืองลูกหลวงสำหรับ
อาณาจักรสยามทางตอนใต้นี้ได้มีอำนาจดูแลหัวเมืองต่าง ๆ ทางเหนือ
ดังนั้นเมืองพิษณุโลก ที่เคยเป็นราชธานีสำรองต่อจากเมืองสุโขทัย
จึงถูกตั้งให้เป็นเมืองลูกหลวง สำหรับพระมหาอุปราช
เพื่อคอยกำกับดูแลหัวเมืองตอนเหนือ และมีธรรมเนียมให้ตำแหน่งพระยุพราช
หรือพระมหาอุปราชขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลกแห่งนี้ แทนเมืองลพบุรี ซึ่งก่อนนั้น
กรุงศรีอยุธยา ได้ให้พระราเมศวร (คือสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
พระโอรสของพระเจ้าอู่ท่อง)ไปครองเมืองลพบุรี ต่อมาภายหลังนั้น
ได้แต่งตั้งพระราเมศวร (คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
มีพระมารดาเป็นสืบเชื้อสายจากราชวงศ์กษัตริย์สุโขทัย
นับว่าเป็นพระธิดากษัตริย์ภายหลังพระนางได้ครองเมืองพิษณุโลก
ต่อจากพระยายุทธิษเฐียร) ไปครองเมืองพิษณุโลก แทน ดังนั้น พระราเมศวร
จึงเป็นตำแหน่งของพระมหาอุปราชของรัชทายาทของกษัตริย์อยุธยา
พระราเมศวร ครองเมืองพิษณุโลกเป็นเวลา 10 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 1981
ภายหลังพระราเมศวร ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ อยุธยา คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ต่อมาในรัชกาลของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา) นั้นได้มีการสถาปนา
ขุนพิเรนทรเทพ ให้มีพระนามว่า พระมหาธรรมราชา ตามพระนามกษัตริย์สุโขทัย
เนื่องจากเป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย จึงเป็นตำแหน่งพระมหาอุปราช พระนามใหม่แทน
พระราเมศวร และครองเมืองพิษณุโลก กำกับดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ 7 หัวเมือง
เพื่อมิให้อำนาจปกครองนั้นขึ้นอยู่กับราชวงศ์กษัตริย์
ฝ่ายเหนือที่มีอำนาจครองอาณาจักรล้านนา
และราชวงศ์สุโขทัยที่ยังเหลืออยู่ในเมืองพิษณุโลก โดยมีตำแหน่ง พระราเมศวรอยู่
คือพระโอรสของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ แต่เป็นแม่ทัพคนสำคัญและถูกขอตัวไปเมืองหงสาวดี
เมื่อคราวทำศึกสงครามกับพม่า และมีการเจรจาสงบศึกใน พ.ศ.2106
ครั้นเมื่อพระมหาธรรมราชา ได้ครองราชย์
เป็นกษัตริย์อยุธยาทรงพระนามว่า สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชแล้ว
ก็ยังคงถือธรรมเนียมเดิม คือ แต่งตั้ง พระมหาอุปราช ครองเมืองพิษณุโลก โดยให้
พระนเรศวร
พระโอรส
เป็นพระมหาอุปราช ตามพระนามเดิม ขึ้นมาครองเมืองพิษณุโลกเช่นเดียวกัน
ด้วยเหตุที่บุคคลผู้เป็นเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัย ได้เป็นกษัตริย์
อยุธยา จึงทำให้บุคคลในราชวงศ์สุโขทัยเดิมที่อยู่เมืองพิษณุโลก
ต่างพากันมารับราชการในกรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก
ทำให้เมืองพิษณุโลกนั้นมีความสัมพันธ์กับกรุงศรีอยุธยาต่อมาในฐานะเมืองลูกหลวง
และมีพระธิดาจากเชื้อสายกษัตริย์ฝ่ายเหนือเข้ามาเป็นพระมเหสีของกษัตริย์อยุธยา เช่น
พระมารดาของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมารดาของสมเด็จพระชัยราชาธิราช
พระสุริโยทัยพระมหาเทวี ในสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเฑียรราชา)
พระมารดาของสมเด็จพระมหาธรรมราชา (ขุนพิเรนทรเทพ) เป็นต้น
ดังนั้น
ขนบธรรมเนียมฝ่ายในของราชสำนักกรุงศรีอยุธยา
จึงไม่น่าจะแตกต่างกับราชสำนักเมืองสุโขทัย
หรือราชสำนักในเมืองพิษณุโลก
|