สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุโขท
สังคมและวัฒนธรรมของชาวเมืองสุโขทัย
ภูมิสถานเมืองสุโขทัย(1)
จดหมายเหตุจีนของจิวต้ากวนนั้น ได้เล่าให้รู้ถึง เรื่องราวของเมืองสุโขทัยว่าราษฎร์
นิยมปลูกบ้านเรือนอยู่ตามริมน้ำ และปลูกเป็นเรือนที่มีใต้ถุนสูง
เนื่องจากแผ่นดินของเมืองนี้เป็นที่ลุ่ม ฤดูฝนตกจึงมักมีน้ำหลากท่วม
ดังนั้นการป้องกันไม่ให้น้ำท่วมบ้านเรือนได้ง่ายจึงนิยมทำใต้ถุนสูง
นอกจากนี้การมีใต้ถุนยังป้องกันอันตรายจากสัตว์ร้ายด้วย
ส่วนหลังคานั้นมุงด้วยแฝกหรือกระเบื้องตามฐานะ พื้นบ้านนั้นจะปูเสื่อ
แต่ถ้าเป็นพระราชวังของพระเจ้าแผ่นดินแล้ว
จะมีการก่อกำแพงอิฐถือปูนเป็นแนวล้อมรอบ อาคารพระที่นั่งกษัตริย์นั้นก่ออิฐถือปูน
มีภาพเขียนลงรักปิดทอง หลังคามุงกระเบื้อง
สำหรับเขตพระราชวังของเมืองสุโขทัยนั้น ในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
กล่าวว่า ภายในพระราชนิเวศน์นั้น มีกำแพงแก้วล้อมรอบ มีป้อมปราการ ประตูชั้นใน
และประตูชั้นนอก แวดล้อมด้วยอาคาร พระคลัง จวน ทิม ตึก ห้องเครื่องต่าง ๆ
พระที่นั่งในพระราชวัง เมืองสุโขทัยนั้นประกอบด้วย
พระที่นั่งอินทราภิเษก ซึ่งมีมณฑป ปรัตอาคมอยู่ด้านขวา และมณฑปอัศวรอาคมด้านซ้าย
ด้านหน้าพระที่นั่งนี้เป็นมุขปรางค์ ปราสาท ด้านขวามีมณเฑียรปฏิมามณฑป
และด้านซ้ายมีมณเฑียรเทพปิตะมณฑป ด้านหลังเป็นมุขปรางปราสาท
มีมุขกระสันติดกับพระที่นั่งอดิเรกภิรมย์ พระที่นั่งอุดมราชศักดิ์
และด้านขวาของพระที่นั่งมีหอพระนารายณ์ ด้านซ้ายมีหอพระเทวกรรม
ต่อจากหอพระเป็นเจ้านั้น มีพระปรัศว์ขวาชื่อ รัตนารีมณเฑียร พระปรัศว์ซ้าย ชื่อ
ศรีอัปสรมณเฑียร ล้อมรอบด้วยทิม จวน
ส่วนตรงปากสระแก้วนั้น มีพระที่นั่งพิศาลเสวราส
ซึ่งมีศาลาธารพระกำนับอยู่บริเวณนี้ 4
ศาลาสำหรับให้นางกำนัลฝ่ายในนั่งร้อยดอกไม้สำหรับบูชาพระและเทวรูป ในหอพระดังกล่าว
ถัดจากนั้นเป็นพระที่นั่งไชยชุมพล พระที่นั่งชลพิมาน เป็นต้น
พระที่นั่งเหล่านี้ตกแต่งลวดลายต่าง ๆ เป็นรูปวาด และประดับปูนปั้นลงรักปิดทอง
ติดตั้งเครื่องระย้าประดับดวงประทีป ชวาลา (โคมไฟ)
วัฒนธรรมการเมืองการปกครอง
เมืองในสมัยสุโขทัยนั้น มีรูปแบบการปกครองในลักษณะนครรัฐ
คือแต่ละเมืองนั้นมีการปกครองกันเอง ไม่ขึ้นต่อกัน
ด้วยเหตุที่เมืองสุโขทัยนั้นไม่ได้เป็นศูนย์กลางการปกครองแต่เพียงแห่งเดียว
เมืองอื่นก็เป็นศูนย์กลางมีอำนาจและปกครองเป็นอิสระในเขตแดนของตน
ดินแดนสุวรรณภูมินั้น จึงมีอาณาจักรล้านนาไทย เมืองพะเยา
เมืองอยุธยา เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองนครราชสีมา ต่างเป็นเมืองใหญ่
ที่ต่างจัดการปกครองกันเองตามลักษณะภูมิประเทศและประเพณีวัฒนธรรมของตน
ซึ่งอาจจะมีเมืองขึ้นและทำการขยายอาณาเขตให้แผ่กว้างตามอำนาจของตน
เมืองเหล่านั้น
จึงเป็นนครรัฐที่มีผู้ครองเมือง
ทำให้แต่ละเมืองหรือนครรัฐมีรูปแบบการปกครองที่แตกต่างกันคือ
การปกครองแบบพ่อปกครองลูก
ซึ่งเป็นการปกครองชุมชนสมัยเริ่มแรกแบบโบราณที่ให้ความนับถือผู้นำของตนโดยเชื่อถือกษัตริย์หรือพระเจ้าแผ่นดิน
เป็นพ่อของประชาชนทั้งปวง โดยนำเอาลักษณะการปกครองสมาชิกในตระกูล กล่าวคือ
ให้ความเชื่อถือว่าพ่อเป็นผู้ปกครองครัวเรือนหลายครัวเรือน ที่รวมกันเป็นหมู่บ้าน
พ่อผู้ปกครองหมู่บ้านนี้
จึงนับถือเป็นพ่อบ้านและครอบครัวที่ถูกปกครองนั้นเป็นลูกบ้านเมื่อมีหลายหมู่บ้าน
ก็รวมกันเป็นเมือง
โดยเมืองนั้นมีผู้ครองเมืองหรือนครรัฐซึ่งมีฐานะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พ่อขุน
เมืองในระยะแรกนี้มีอาณาเขต ไม่มากนัก
ประชาชนก็ตั้งครัวเรือนกันจำนวนน้อย สามารถไปมาหาสู่กันได้สะดวก
พ่อขุนนั้นทำหน้าที่ดูแลประชาชนอย่างใกล้ชิดได้ ไม่ถือพระองค์ ไม่ถืออำนาจ
ถือยศศักดิ์แต่อย่างไร จึงทำให้เหมือนพ่อที่คอยฟังความคิดเห็นของเจ้านายและขุนนาง
คอยแก้ไขปัญหาและขจัดความเดือดร้อน ตลอดจนให้ความเป็นธรรม รวมถึงการอบรมสั่งสอน
ข้าราชการบริพาร ประชาชน พ่อขุนผู้ครองเมืองจึงมีความเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าประชาชน
พ่อขุนผู้เป็นประมุขของเมืองหรือนครรัฐผู้นี้มีอำนาจสูงสุด
แต่ก็มีความใกล้ชิดสัมพันธ์กับประชาชน มีความรักใคร่ ความเมตตา
ความเอื้ออาทรเช่นเดียวกับพ่อที่มีต่อลูก
คอยทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน
ซึ่งต่างเชื่อฟังและปฏิบัติตามพ่อขุนของตนสอนสั่ง ในศิลาจารึกหลักที่ 1
นั้นว่ามิใช่วันสวดธรรม พ่อขุนรามคำแหงเจ้าเมืองศรีสัชนาลัยสุโขทัย
ขึ้นนั่งเหนือขดารหิน ให้ฝูงท่วน ถือบ้านถือเมืองกัน
ทำให้พ่อขุนนั้นสามารถควบคุมราษฎรในเมืองหลวง
และเมืองใกล้เคียงได้ดีกว่าเมืองที่อยู่ห่างไกล
แม้ในยามมีทุกข์ร้อนก็สามารถตัดสินความได้โดยง่าย โดยมีกระดิ่งแขวนให้ประชาราษฎร
ร้องทุกข์ที่กลางเมือง ดังความว่า
ในปากประตูมีกระดิ่งอันหนึ่งแขวนไว้หั่น ไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้าน
กลางเมือง มีถ้อยมีความเจ็บท้องข้องใจ มักจักกล่าวถึงเจ้าขุนบ่ไร้
ไปสั่นกระดิ่งอันท่วมแขวนให้พ่อขุนรามคำแหง
เมื่อได้ยินเสียงเรียกเมื่อถามสวนความแก่มันด้วยชื่อ
หมายถึงราษฎรทุกข์ร้อนเรื่องใดก็สั่นกระดิ่งให้พ่อขุนชำระความด้วยความซื่อตรง
ไพร่ฟ้าลูกเจ้าลูกขุน ผิแลผิดแผกแสกว้างกัน สวนดูแท้แล้
จึงแล่งความแก่ข้าด้วยซื่อบ่เข้าผู้ลักมักผู้ซ่อน
หมายถึง
ผู้ใดทำผิดไม่ว่าเป็นลูกเจ้าลูกนาย ก็มีการสอบสวนอย่างซื่อตรง ไม่เข้าข้างผู้ทำผิด
สำหรับ
เมืองที่อยู่ห่างไกลออกไปจากเมืองศรีสัชนาลัยเมืองสุโขทัย นั้น
พ่อขุนทรงนำพุทธศาสนามาสร้างรูปแบบการปกครองแบบธรรมราชา
โดยพระยาลิไททรงพระราชนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้นเพื่อให้ความหมายของผู้ปกครองที่ดี
กล่าวคือ ผู้ปกครองที่ประชาชนพอใจนั้น
ต้องมีคุณธรรมสูงสำหรับเป็นหลักธรรมปกครองเมือง และใช้ธรรมะแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
ทั้งปวง โดยเจริญรอยตามแนวทางพระพุทธเจ้า พระเจ้าอโศกมหาราช
อันเป็นค่านิยมของการเป็นพระราชาผู้เป็นเอก (จักรพรรดิ)
โดยสร้างความเชื่อว่าพระราชาที่ดีย่อมปกครองอาณาประชาราษฎรให้ร่มเย็นเป็นสุขนั้น
ต้องมีทศพิธราชธรรม
เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้ผู้ปกครองใช้อำนาจไปในทางที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อยู่ใต้ปกครอง
อันเป็นธรรมสำคัญในการครองแผ่นดิน
|