ภูมิสถานเมืองสุโขทัย
ภูมิสถานเมืองสุโขทัย(2)
โดยเฉพาะหลักธรรมของพระจักรพรรดิ คือ จักรวรรดิวัตร 12 ประการ คือ
1.
ควรอนุเคราะห์คนในราชสำนักและคนภายนอกราชสำนักให้มีความสุข ไม่ปล่อยปละละเลย
2.
ผูกไมตรีกับประเทศอื่น
3.
ควรอนุเคราะห์พระราชวงศ์นุวงศ์
4.
ควรเกื้อกูลพราหมณ์ คฤหัสถ์ และคหบดีชน
5.
ควรอนุเคราะห์ประชาชนในชนบท
6.
ควรอุปการะสมณพราหมณ์ ผู้มีศีล
7.
ควรจักรักษาฝูงเนื้อ นก และสัตว์ทั้งหลายมิให้สูญพันธุ์
8.
ควรห้ามชนทั้งหลายมิให้ประพฤติผิดธรรม และชักนำตัวอย่างให้อยู่ในกุศลจิต
9.
ควรเลี้ยงดูคนจนเพื่อมิให้ประกอบทุจริต เป็นภัยต่อสังคม
10.
ควรเข้าใจสมณพราหมณ์เพื่อการศึกษา บุญ บาป กุศล และอกุศล ให้ชัดแจ้ง
11.
ควรห้ามจิตมิให้ต้องการไปในที่ ๆ พระมหากษัตริย์ไม่ควรเสด็จ
12.
ควรดับความโลภ มิให้ปรารถนาลาภที่พระมหากษัตริย์มิควรจะได้
นอกจากนี้ พ่อขุนยังมี
ธรรมอันเนื่องจากพระมหาจักวรรดิวัตร
เป็นหลักธรรมปกครองโดยธรรมปรากฏอยู่ในไตรภูมิกถาอีก
ซึ่งพ่อขุนทรงนำมาสั่งสอนท้าวพระยามหากษัตริย์
ทั้งหลายได้นำไปใช้เป็นหลักในการปกครองดังนี้
1.
ให้นักประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองอย่างเสมอหน้ากัน
2.
ให้ผู้ปกครองคือท้าวพระยาทั้งหลายได้ยึดมั่นในธรรม มีหิริโอตัปปะ
3.
เรียกเก็บผลผลิตจากการเก็บเกี่ยวได้ 1 ใน 10
และถ้าเก็บเกี่ยวไม่ได้ผลก็ไม่ควรเรียกเก็บ
4.
เรียกเกณฑ์แรงงานแต่พอควร อย่าให้เกินกำลัง
ให้ยกเว้นการเกณฑ์แรงงานแก่คนชราและต้องแบ่งปันข้าวปลาอาหารแก่ไพร่ที่เกณฑ์มา
5.
ไม่ควรเก็บส่วยจากราษฎรเพิ่มขึ้น
6.
ผู้ปกครองควรสนับสนุนช่วยเหลือเกื้อกูลพ่อค้าประชาชนโดยไม่คิดผลประโยชน์ตอบแทน
มากไปกว่าที่ได้ช่วยเหลือ
7.
ผู้ปกครองควรชุบเลี้ยงข้าราชการสำนักให้สุขสบาย
8.
ผู้ปกครองตั้งอยู่ในความไม่ประสาท ไม่ลืมตน
9.
ผู้ปกครองควรเลี้ยงดูสมณชีพราหมณ์ นักปราชญ์ราชบัณฑิต
ผู้รู้ธรรมและปรึกษาผู้รู้อยู่เสมอ
10.
ผู้ปกครองควรให้สิ่งตอบแทนบำเหน็จรางวัล
แก่ผู้ทำความดีมากน้อยตามประโยชน์ที่เขานำมาให้
ดังนั้น พระยาลิไทย
จึงทรงเป็น พระมหาธรรมราชา
ที่นำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาครอบ้านเมืองทำให้มีทำนุบำรุงพระศาสนาและสร้างสิ่งก่อสร้างในพระพุทธศาสนาเผยแพร่เข้าไปยังเมืองต่าง
ๆ มากขึ้น
การปกครองของชนชาติไทยในสมัยของพ่อขุน
จึงมีความใกล้ชิดกับอาณาประชาราษฎร
และเป็นผู้นำที่ดำรงความเป็นพระมหาธรรมราชาครองแผ่นดิน
ทรงนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนาเผยแพร่
สร้างความศรัทธาและกำหนดคุณลักษณะความเป็นพระราชาให้ประชาชน เชื่อฟัง
และเคารพนับถือ จึงทำให้แผ่นดินแห่งนี้มีสิทธิเสรีภาพ และอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
ร่มเย็น ดังปรากฏความในศิลาจารึกหลักที่ 10 ว่า ใครจักใคร่ค้าช้างค้า
ใครจักใคร่ค้าม้าค้า ใครจักใคร่ค้าเงินค่าทองค้า เป็นหลักแห่งเสรีภาพในการค้าขาย
สร้างสังคมที่มีความพึงพอใจ ในการทำมาหากินตามความรู้ ความสามารถ
อันเป็นแนวทางการปกครองแบบประชาธิปไตย
ที่เกิดขึ้นในระยะแรกที่สร้างอาณาจักรขึ้นใหม่
โดยเฉพาะการสร้างสังคมที่เป็นเผ่าพันธุ์เดียวกัน และมีความใกล้ชิดรักใคร่ต่อกัน
โดยมีพ่อขุนเป็นหลักยึดเหนี่ยวในการบริหารบ้านเมืองที่มีไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินร่วมกันรับผิดชอบ
โดยพ่อขุนได้สร้าง พระแท่นมนังคศิลาอาสน์ ตั้งไว้กลางดงตาล
เพื่อพ่อขุนประทับเพื่อบริหารราชการบ้านเมืองทุกวัน
เว้นวันธรรมสวนะโดยให้โอกาสประชาชนได้มีส่วนร่วมในการดูแลบ้านเมืองของตน
การป้องกันอาณาเขต
หลังจากที่พ่อขุนทรงขับไล่อำนาจขอมออกไปจากเมืองสุโขทัยแล้ว
พ่อขุนนั้นทรงจัดกองทัพสำหรับไปรบกับข้าศึกด้วยพระองค์เอง ดังจะเห็นได้จาก 3
ปีต่อมานั้น ขุนสามขนเจ้าเมืองฉอด นำกองทัพเข้ามารุกรานอาณาเขตของเมืองสุโขทัย
พ่อขุนได้ยกทัพไปรบด้วยพระองค์เอง เป็นผู้นำกำลังแสดงความเข้มแข็งให้ปรากฏ ดังนั้น
ลูกเจ้า ลูกโท ทั่วบ้าน ทั่วเมือง และลูกขุนมนตรี หัวหมื่นหัวพัน
ที่ปรากฏในไตรภูมิกถา จึงเป็นรูปแบบการจัดกำลังกองทัพของสุโขทัย ที่มีตำแหน่ง
หัวหมื่น หัวพัน และลูกเจ้า ลูกไท ทำให้เกิดระบบการควบคุมตามลำดับชั้นอย่างใกล้ชิด
ดังนั้น การกระจายอำนาจการปกครองอาณาจักรจึงมีการแต่งตั้ง ลูกเจ้า
ลูกไท
ที่เป็นพระญาติหรือเชื้อพระวงศ์ออกไปครองเมืองดูแลไพร่ฟ้าแระชาราษฎรในลักษณะกินเมือง
โดยแบ่งอาณาจักรออกเป็นหัวเมืองชั้นใน
และหัวเมืองชั้นนอก โดยมีพ่อขุนคอยช่วยเหลือ เกื้อกูลสร้างบ้านเมือง
โดยมีหลักธรรมในพุทธศาสนา เป็นอุดมคติของการปกครอง
และกระจายอำนาจออกไปให้เกิดความสงบสุข
และเจริญรุ่งเรืองด้วยการค้าจุนจากพ่อขุนอย่างใกล้ชิด ส่วนข้อกำหนด (กฎหมาย)
ที่ใช้ควบคุมดูแลอาณาประชาราษฎร ในเมืองสุโขทัย
นั้นน่าจะได้รับเอาวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ดังนั้น ในพระธรรมศาสตร์
(เป็นคัมภีร์ที่ใช้เป็นกฎของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
แต่งโดย
พระมนู) นั้น จึงปรากฏเรื่องสิทธิในที่ดิน ทรัพย์มรดก สิทธิทางการค้า การลักพา
เป็นต้น
|