การกำหนดเขตการปกครอง
การกำหนดเขตการปกครอง
อาณาจักรของเมืองสุโขทัย จึงมีการกำหนดเขตการปกครองของตน
ตามความเชื่อของศาสนาพราหมณ์คัมภีร์ราชศาสตร์ คือ
อาณาจักรต้องมีราชธานีอยู่ตรงกลางและล้อมด้วยเมืองลูกหลวง อยู่ 4 ทิศ กล่าวคือ
เมืองราชธานี หรือเมืองใหญ่ ของอาณาจักร คือ เมืองสุโขทัย
นั้นเป็นเมืองที่ประทับของพระราชาหรือกษัตริย์ ผู้เป็นศูนย์กลางการปกครองหรืออำนาจ
เมืองราชธานีแห่งนี้มีกำแพงเมือง 3 ชั้น มีพระราชวัง
มีเทวสถานหรือพระมหาธาตุอยู่ในกำแพงและนอกกำแพง เป็นศูนย์กลาง ศาสนา
ศิลปวัฒธนธรรมของเมือง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองขนาดใหญ่ กว่าเมืองอื่น
มีความสำคัญรองจากเมืองราชธานี ตั้งห่างจากเมืองราชธานีประมาณ
50
กิโลเมตร ใช้ทำหน้าที่เหมือเมืองหน้าด่าน ประจำ 4 ทิศ ได้แก่
เมืองศรีสัชนาลัย ประจำอยู่ทางทิศเหนือ
เมือสระหลวง (เมืองพิจิตรเก่า อยู่ริมแม่น้ำน่าน)
ประจำอยู่ทางทิศใต้
เมืองสองแคว (เมืองพิษณุโลก) ประจำอยู่ทางทิศตะวันออก
และเมืองนครชุม (อยู่ด้านตะวันตกของเมืองกำแพงเพชร)
ประจำอยู่ทางทิศตะวันตก
แต่ละเมือง นั้นมักจะสร้างพระมหาธาตุอยู่ภายใต้ตัวเมืองทุกเมือง
ผู้ครองเมืองนั้นส่วนมากเป็นพระญาติวงศ์หรือเชื้อพระวงศ์ที่ส่งไปครองเมืองเพื่อช่วยเหลือในการปกครองและป้องกันราชธานี
แต่เชื้อพระวงศ์นั้นก็มักรวบรวมไพร่พลชิงความเป็นใหญ่เมื่อมีโอกาสชิงอำนาจจากราชธานี
นอกจากเมืองลูกหลวง ประจำ 4 ทิศดังกล่าวแล้ว ยังมีเลือกเล็ก ๆ
ปรากฏในจารึกอีกหลายเมืองที่อยู่กับอาณาจักรของเมืองสุโขทัย เช่น เมืองบางพาน
เมืองปากยม เมืองสุพรรณกาว เป็นต้น
ส่วนจะเป็นเมืองขึ้นตรงกับเมืองลูกหลวงหรือเมืองราชธานีนั้น
ไม่มีความปรากฏ เชื่อว่าผู้ครองเมืองนั้นน่าจะเลือกขึ้นกับเมืองใด
หรือเป็นอิสระอยู่ก็ได้ ถือว่าเป็น อาณาเขตหัวเมืองชั้นใน
ส่วนหัวเมืองชั้นนอกนั้นมี เมืองท้าวพระยามหานคร
เป็นเมืองชั้นนอกที่อยู่ห่างจากการดูแลของเมืองราชธานีออกไป
เมืองนี้เจ้าเมืองในราชวงศ์เดิมมีอำนาจอยู่เหมือนเดิม
แต่ยอมขึ้นอยู่กับเมืองสุโขทัย ซึ่งต่างก็มีเมืองอยู่ในปกครองของตนตามเดิม
บางแห่งพ่อขุนเมืองสุโขทัย ได้แต่งตั้งผู้ที่มีความสามารถไปเป็นเจ้าเมือง (เป็นขุน)
แทนก็มี เช่น เมืองคณฑี เมืองพระบางเชียงทอง ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง
เมืองขึ้นหรือเมืองเอก
เป็นเมืองที่ยอมอ่อนน้อมต่ออำนาจของเมืองสุโขทัย
โดยยังคงใช้เจ้าเมืองหรือราชวงศ์เจ้าเมืองเดิมปกครองกันเอง
เป็นเมืองที่มีความผูกพันเป็นไมตรีกับเมืองสุโขทัย
โดยการส่งเครื่องบรรณาการถวายประจำหรือยกกองทัพช่วยเหลือในยามที่เมืองสุโขทัยมีข้าศึกรุกรานหรือช่วยส่งไพร่พลเป็นกำลังของเมืองสุโขทัย
ไปช่วยเมืองอื่นที่ถูกรุกรานในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้นปรากฏชื่อในจารึกหลายเมือง
เช่น เมืองแพร่ เมืองน่าน เมืองพลัว เมือชะวา (เมืองเช่าหรือเมืองหลวงพระบาง)
เมืองเวียงจันทร์ เมืองหงสาวดี เมืองสุพรรณภูมิ เป็นต้น
นอกจากเมืองที่อยู่ในอาณาจักรของเมืองสุโขทัยแล้ว
ยังปรากฏว่ามีชื่อตำบลในจารึก (จารึกที่ 9 ก.วัดสรศักดิ์) อยู่ จึงเชื่อว่า
น่าจะมีชุมชนในลักษณะตำบล หมู่บ้านเกิดขึ้นบ้างแล้ว เช่น ตำบลดาวขอน
เป็นตำบลที่น้าของพญากษัตริย์อาศัยอยู่ (คือน้าของพระมหาธรรมราชาลิไท ชื่อ
พระมหาเถรธรรมไตรโลกคุณวาจารย์ ญาณทัสสี จากจารึก( พ.ศ.1955) บ้านไผ่ล้อม บ้านหวด
บ้านป่าขามเมือง เป็นต้น
|