การทำมาหากินและเศรษฐกิจ
การทำมาหากินและเศรษฐกิจ
อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น
เป็นนครรัฐที่มีการจัดการเรื่องการทำมาหากินและเศรษฐกิจของบ้านเมือง เป็นอย่างดี
จนทำให้มีความมั่นคง จนเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมและการเกษตรกรรม ดังจะเห็นได้จาก
ชาวเมืองสุโขทัยนั้นมีอาชีพทำนา ทำไร่
ที่ทุกคนสามารถเข้าไปหักร้างถางพงเพื่อทำนาทำไร่ได้ตามความพอใจและเป็นเจ้าของที่นา
ที่ไร่ เหล่านั้น ดังนั้นน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยในการทำนาเพราะปลูกพืชไร่
จึงมีความสำคัญมาก
การจัดการเรื่องน้ำ สำหรับการเกษตรกรรมนั้น จารึกหลักที่ 1 ว่า
เบื้องหัวนอน เมืองสุโขทัยมีกุฎีวิหารปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ ป่าพร้าว ป่าลาง
เมืองสุโขทัยทางทิศใต้นั้น พ่อขุนได้สร้างการชลประทานโดยสร้างทำนบเรียกว่า
สรีดภงส (ทำนบ) สำหรับบังคับน้ำจากคลองเสาหอให้ไหลไปตามท่อดินเผา ขนาดต่าง ๆ
ผ่านเข้าไปในกำแพงเมือง โดยให้น้ำนั้นไหลลงไปขังในตระพังขนาดใหญ่
ที่อยู่ในกำแพงเมืองสุโขทัย ดังจารึก (จารึกหลักที่ 13) ว่า อนึ่ง
ท่อปู่พระญาร่วงทำเอาน้ำเข้าไปเถิง บางพานนั้น ก็ถมหายสิ้น และเขาย่อมทำนาทางฟ้า
และหาท่อนั้นพบ กระทำท่อเอาน้ำเข้าไปเลี้ยงนาให้เป็นนาเหมืองนาฝาย
มิได้เป็นทางฟ้า... หมายถึง
ชาวนาสุโขทัยนั้นใช้น้ำที่มาจากท่อของพระยาร่วงสำหรับทำนาเหมืองและนาฝาย
ไม่ต้องอาศัยน้ำฝน
การรู้จักทำท่อดินเผาส่งน้ำ ไปยังตระพังและพื้นที่เกษตรกรรมนั้น
ถือว่าเป็นวิทยาการมีทำให้อำนาจของพ่อขุนนั้นได้รับความเชื่อถือจากไพร่ฟ้าหน้าใสเป็นอย่างมาก
ด้วยทำให้สามารถทำนาเพราะปลูกข้าวและพืชสวนพืชไร่
มีผลิตผลเพียงพอและเป็นสินค้าแลกเปลี่ยนสร้างรายได้มั่นคงได้
สินค้าทางการเกษตรนั้นมีข้าว หมากพร้าว หมากม่วง หมากกลาง หมากขม
หมากพูล และผลไม้อื่น ๆ มากมาย
เป็นผลมาจากการชลประทานที่ดีของพ่อขุนเมืองสุโขทัยทั้งสิ้น
นอกจากนี้
เมืองสุโขทัยยังมีความสัมพันธ์ไมตรีกับจีนจนได้มีการส่งช่างจีนมาสร้างเตาผลิตเครื่องปั้นดินเผา
โดยเฉพาะการเคลือบดินเผาที่รู้จักกันในชื่อ เครื่องสังคโลก
ทำให้เกิดแหล่งผลิตขึ้นมากมายหลายแห่ง เช่น แม่โจนในเมืองสุโขทัย ป่ายาง
ตำบลเกาะน้อย นอกเมืองศรีสัชนาลัย บ้านเตาไหในเมืองพิษณุโลก
บ้านแก่งเมืองอุตรดิตถ์ เป็นต้น
ทำให้การผลิตเครื่องปั้นดินเผานั้นได้มีการเผากันทั้งวันทั้งคืน เพื่อส่งออกไปขาย
เครื่องเคลือบดินเผาจึงเป็นสินค้าสำคัญของเมืองสุโขทัย
ที่ถูกนำขึ้นเรือสินค้าเดินทางไปขายยังเมือต่างๆ
จนเครื่องสังคโลกนั้นเป็นที่รู้จักกันของนานาประเทศ
เนื่องจากจีนนั้นเกิดสงครามกลางเมือง เปลี่ยนราชวงศ์ข้องมาเป็นรางวงศ์มองโกล
และเปลี่ยนเป็นราชวงศ์เหมิง จึงมีสงครามการสู้รบยาวนาน
จนทำให้มีปัญหาในการขนส่งเครื่องปั้นดินเผา ออกไปค้าขาย ยังต่างประเทศ ดังนั้น
จึงทำให้เมืองสุโขทัยสามารถแย่งตลาดเครื่องปั้นดินจากจีนได้และส่งออกทางทะเลไปค้ายังประเทศต่าง
ๆ แทน ซึ่งพบซากเรือโบราณบรรทุกเครื่องสังคโลก จมอยู่บริเวณใกล้เกาะคราม เกาะสีชัง
และเกาะกระดาษ แถวพัทยาและสัตหีบ จำนวนมาก
นอกจากนี้ยังพบว่ามีเครื่องเคลือบสังคโลกอยู่ในประเทศต่าง ๆ เช่น ญุ่น ฟิลปปินส์
จีน อินโดนีเซีย หมู่เกมาะบอร์เนียว อินเดียตอนใต้ แหลมซีนายในอียิปต์ เป็นต้น
เมืองสุโขทัยมีแหล่งแร่อยู่หลายแห่ง ได้แก่
แหล่งแร่เหล็กที่เขาหลวง แหล่งแร่เหล็กหัวเขาแก้ว (อำเภอพรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร)
แหล่งเหล็กกล้าที่ตรอน (อำเภอตรอน จ.อุตรดิตถ์) แหล่งตะกั่วและสังกะสีที่บ่อห้วยถ้ำ
(อ.รอง จ.แพร่) จึงทำให้มีการผลิตอาวุธ และเครื่องใช้ต่าง ๆ ขึ้น
รวมถึงพระพิมพ์เนื้อตะกั่วด้วย และพบว่าเมืองสุโขทัยใช้เกลือในชีวิตประจำวัน
แต่ไม่มีแหล่งผลิต ดังนั้น จึงมีการสั่งเกลือมาจากเมืองเมาะตะมะของอาณาจักรมอญ
หรือเมืองอโยธยา (อยุธยา) แม้จะมีแหล่งเกลือสินเธาว์ที่ตำบลบ่อเกลือ ในเมืองน่าน
ก็ตาม
การค้าขายในเมืองสุโขทัยนั้น พ่อขุนเมืองสุโขทัย
ได้สนับสนุนการค้าขายในเขตเมืองกับราษฎร(ไพร่ในลู่ทาง)
ให้ทำการค้าโดยยกเว้นภาษีอากร
เป็นการเปิดการค้าอย่างเสรีให้กับราษฎรทุกคนที่ทำการค้า โดยไม่จำกัดชนิดสินค้า
ทำให้มีการค้าขายมากขึ้น ดังจารึกหลักที่ 1 ว่า เจ้าเมืองบ่เอาจังกอบในไพร่ลู่ทาง
เพื่อจูงวัวไปค้า ขี่ม้าไปขาย ใครจักใคร่ค้าช้างค้า ใครจักใคร่ค้าม้าค้า
ใครจักใคร่ค้าเงินค้าทองค้า ส่วนพ่อค้าที่มาจากต่างเมืองไม่ใช่ไพร่ในลู่ทางนั้น
ก็สามารถซื้อขายสินค้าจากชาวบ้านได้สะดวก
ทำให้มีสินค้าจากต่างชาติเข้ามาใช้ในเมืองสุโขทัยด้วย
ดังนั้น ราษฎรที่เป็นพ่อค้าต่างถิ่น
จึงพาเข้ามาทำการค้าขายจนทำให้เมืองสุโขทัยเป็นแหล่งค้าขายที่สำคัญโดยมีเส้นทางการค้าติดต่อทางบก
คือ ถนนพระร่วงจากเมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย
ไปถึงเมืองศรีสัชนาลัยและมีเส้นทางติดต่อออกไปถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำน่าน
สำหรับเมืองต่าง ๆ ที่ติดต่อกันและอยู่ใกล้เคียงนั้น มีถนนติดต่อเมืองเชียงแสน
เมืองเชียงใหม่ เมืองหลวงพระบาง เมืองเมาะตะมะ ส่วนเส้นทางน้ำนั้น
อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้นมีลำแม่น้ำสายต่าง ๆ เช่น แม่น้ำปิง แม่น้ำยม
แม่น้ำน่าน และแม่น้ำป่าสัก
ได้ใช้เป็นเส้นทางเดินของเรือสินค้าจากเมืองที่อยู่ทางตอนบน
โดยล่องมารวมกันที่ปากน้ำโพ เมืองนครสวรรค์
และล่องผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามเมืองต่าง ๆ ที่อยู่ทางตอนล่าง
ส่วนสินค้าที่ส่งออกไปยังดินแดนของเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ทางตอนล่าง
ส่วนสินค้าที่ส่งออกไปยังดินแดนของเมืองอื่น ๆ เช่น แหลมมลายู หมู่เกาะอินโดนีเซีย
หมู่เกาะฟิลิปปินส์ และเกาะญี่ปุ่น นั้นสำรวจพบว่า
จากแม่น้ำเจ้าพระยาหรือปากอ่าวไทยนั้น มีเส้นทางเดินเรือ 3 เส้นทาง ได้แก่
เส้นทางที่ 1
จากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาไปตามชายฝั่งทะเลตะวันออกของอ่าวไทย ไปทางเมืองตราด
ต่อไปยังเมืองเขมร ไปยังจีน ญี่ปุ่นได้
เส้นทางที่ 2 จากปากน้ำเจ้าพระยา ผ่านเมืองสัตหีบ
ไปยังเมืองนครศรีธรรมราช โดยเลาะชายทะเลฝั่งตะวันตกของอ่าวไทย ผ่านเมืองพัทลุง
เมืองสงขลา เมืองปัตตานี ลงไปยงคาบสมุทรมลายู
เส้นทางที่ 3 จากปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ไปทางฝั่งทะเลตะวันตกของอ่าวไทย ผ่านเมืองประจวบคีรีขัน เมืองชุมพร
แล้วไปทับกับเส้นทางที่ 2 ไปเมืองนครศรีธรรมราช ตามลำดับ ไปอินโดนีเชีย ฟิลิปปินส์
ได้
ดังนั้น
สินค้าจากเมืองสุโขทัยจึงน่าจะถูกขนถ่ายลงเรือสินค้าของชาวต่างชาติ
ที่พากันเดินทางเข้ามายัง
อ่าวไทย
หรือเข้ามาถึงเมืองอโยธยา ถึงเมืองนครสวรรค์
แล้วเดินทางตามแม่น้ำเจ้าพระยาออกไปตามเส้นทางดังกล่าว
สินค้าที่เมืองสุโขทัยส่งไปขายยังเมืองต่าง ๆ นั้น มีเครื่องสังคโลก ฝ้าย
ผ้าสีเขียว (ผ้าย้อมคราม ) ไม้กฤษณา ไม้ฝาง ไม้หอมศรีทอง ไม้หอมสีเงิน ไม่แก่นดำ
งาช้าง หรดาน กระวาน กานพลู พริกไทย ทองคำ เกร็ดดีบุกหินสีต่าง ๆ ปรอท ตะกั่วแข็ง
เหล็ก ทองเหลือง สัตว์สี่เท้า สัตว์สองเท้า สัตว์ที่เกล็ดในประเทศ แรด ช้าง นกยูง
นกแก้วห้าสี นกกระเรียน ไม้ไผ่ใหญ่ ไม่ไผ่สีสุก ไม้ไผ่เลี้ยง ทับทิม แดง และผัก
เป็นต้น
.ดังนั้น เมืองสุโขทัย
จึงสามารถติดต่อค้าขายและรับส่งสินค้ากับเมืองต่าง ๆ
ทั้งเมืองที่อยู่ตอนบนและเมืองที่อยู่ทางตอนล่าง โดยอาศัยแม่น้ำสายต่าง ๆ
และสร้างถนนติดต่อถึงกัน
นอกจากนี้ เมืองสุโขทัย ยังได้ติดต่อเป็นไมตรีกับต่างประเทศ
มีการแลกเปลี่ยนราชทูตกัน เช่น ส่งราชทูตไปเมืองจีน
และได้ส่งช้างมาทำเครื่องเคลือบดินเผาสังคโลก ส่งสินค้าออก
ติดต่อค้าขายกับเขมาและมลายู ติดต่อซื้อเกลือ จากเมืองเมาะตะมะของมอญ
และติดต่อค้าขายกับลาว และมีการส่งสมณทูตนำพระพุทธศาสานาลัทธิลังกาวงศ์
จากลังกามาประดิษฐานในเมืองสุโขทัย เป็นต้น
เงินตราสมัยสุโขทัย
ด้วยเหตุนี้การกำหนดมาตรฐานในการซื้อขายสินค้ากันนั้น
น่าจะมีเงินตราหรือมาตราแทนค่าของการซื้อขายขึ้นแล้ว
ในเมืองสุโขทัยนั้นมีการใช้เงินพดด้วง ที่ทำด้วยโลหะผสม มีขนาดน้ำหนัก 4 บาท 1 บาท
และประทับตราของแผ่นดิน คือ ตราช้าง ตราชาสีห์ และตราราชวัตร
ในจดหมาย เหตุจีน กล่าวว่า ขุนนางและราษฎร
ที่มีเงินจะใช้จ่ายแต่ลำพังไม่ได้
ต้องเอาเงินส่งไปเมืองหลวงให้เจ้าพนักงานหล่อเป็นเม็ด เอาตราเหล็กตีอักษรอยู่ข้างบน
แล้วจึงใช้จ่าย ได้เงินร้อยตำลึง ต้องเสียภาษีให้หลวงหกสลึก การทำเงินตรา
มีกฎหมายในสมัยสุโขทัย ลงโทษว่า ถ้าใครทำเงินตราปลอม
ถ้าจับได้ครั้งแรกจะต้องถูกตัดนิ้วมือขวา ถ้าถูกจับครั้งที่สอง
ต้องถูกตัดนิ้วมือซ้ายนี้ ถ้าถูกจังได้อีกครั้งที่สามจะถูกโทษประหารชีวิต
ส่วนมาตราเงินในสมัยสุโขทัยนั้น น่าจะใช้ 1 ชั่งเป็น 40 ตำลึง 1
ตำลึงเป็น 4 บาท 1 บาทเป็น 4 สลึงและ 1 สลึง เป็น 1 เฟื้อง
ส่วนหน่วยย่อยลงไปนั้นเป็นเบี้ย ในจารึกกล่าวถึงการใช้เบี้ย
(เดิมใช้เบี้ยจากแม่น้ำโขง
ต่อมาเป็นหอยจากทะเล) ซึ่งเป็นของหายาก
จารึก (จารึกหลักที่ 4 วัดป่ามะม่วง) ว่า
พระองค์ทรงฟังธรรมเทศนาทุก ๆ วัน ตั้งแต่ค่ำหนึ่งกับ 15
ค่ำคิดพระราชทรัพย์ที่พระราชทาน คือ ทองหมื่นหนึ่ง เงินหมื่นหนึ่ง เบี้ย 10 ล้าน
เงินตราของสุโขทัย จึงมีลักษณะเป็นเงินพดด้วง และเบี้ย กล่าวคือ
เงินพดด้วง นั้นเป็นเงินที่นำมาทุบให้มีลักษณะขดเหมือนตัวด้วง
และประทับตราของแผ่นดิน ในสมัยสุโขทัยนั้นมีตราที่ใช้หลายตรา เช่น ตราช้าง
ตราราชสีห์ ตราราชวัตร ตราสังข์ เป็นต้น ตรานี้ประทับส่วนบน(รอยงอ) ทั้งสองชนกัน
และพื้นที่อื่น ๆ (กรณีประทับหลายตรา) ด้านนอกจะมีรอยบากเป็นเส้นลึกทั้งสองข้าง
เรียกว่า เงินพดด้วง ขาบาก เงินพดด้วงนั้นมีหลายขนาด ตั้งแต่ขนาดใหญ่ ถึงขนาดเล็ก
เป็นเม็ดกลมมีตราตรงกลาง โลหะที่ใช้ทำนั้นมีเนื้อเงินแท้ และเนื้อซิน
(เงินผสมดีบุก) โดยนำไปหล่อเป็นแท่งยาว ในแม่พิมพ์ (กลางหนาปลายมนเท่ากัน)
ตามน้ำหนัก แล้วบากแบ่งตรงกลาง งอปลายเข้าหากัน
ทำให้มีลักษณะเป็นก้อนเงินที่มีปลายชนกันคล้ายตัวด้วง นิยมเรียกกับว่าเงินคุป
หรือเงินคุด (น่าจะมาจากคด) เมื่อรวมลักษณะคดและตัวด้วง จึงเรียกรวมเป็น พดด้วง
การประทับตรานั้นนำเงินพดด้วงวางบนกระดูกช้าง ที่เจาะร่องพอดีกับขนาดของก้อนเงิน
แล้วนำตราตีประทับตามต้องการ ก้องเงินกลมขนาดใหญ่นั้นมีตราประทับจำนวนมาก ถึง 9 ตรา
เรียก เงิน 9 ตรา (ปัจจุบันนิยมใช้เป็นเครื่องรางของขลัง)
สำหรับเบี้ยนั้น เป็นหอยทะเลที่หายากในหมู่เกาะมัลดีฟ
เป็นหอยทะเลกาบเดี่ยวเรียกว่า
Cowrie Shell
มีลักษณะตัวเล็ก สีเหลืองนวล ส่วนประกอบอยู่ด้านล่างเป็นชองยาวตลอดตัว
หอยขอบปากมีร่องขวางเรียงกันตลอดแนว มีขนาดยาว 1 ซม. ถึง 3 ซม.
นำเข้ามาโดยพ่อค้าต่างชาติ นำมาขาย และถูกนำใช้แทนค่าของเงินต่ำสุด 3 หรือ5 เบี้ย
สำหรับซื้อขายเล็ก ๆ น้อย ๆ
|