ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  วัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา

 

วัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา

 

                สำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ต่างพากันนับถือศาสนาพราหมณ์ พุทธศาสนา และนับถือผี โดยเฉพาะ พระขะพุงผี นั้นเป็นผีที่ประชาชนพากันนับถือมาก ดังปรากฏในจารึกหลักที่ 1 ว่า

“เบื้องหัวนอนเมืองสุโขทัยนั้นมีกุฏิพิหาร ปู่ครูอยู่ สรีดภงส์ มีพระขะพุงผี เทพยดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้ ขุนผู้ใดถือเมืองสุโขทัยนี้แล้ว ไหว้ดีพลีถูก เมืองนี้เทียงเมืองนี้ดี ผิไหว้บ่ดีพลีบ่ถูก ผีในเขา อันบ่คุ้มบ่เกรงเมืองนี้หาย “ ด้วยเหตุนี้ชาวสุโขทัยจึงพากันนับถือพระขะพุงผี เทพยดาในเขา ทำการสักการบูชาไม่ได้ขาด และยังมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำหรับ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระหลักเมือง และศาลพระกาฬให้สักการะนับถืออีกและทำให้มีการนิยมสร้างสถานศักดิ์สิทธิ์เหล่านี้ขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ตามอย่างด้วย

 

                สำรับการบนบานสานกล่าวขอขมาผีนั้น ชาวสุโขทัยมีความเชื่อเรื่องการเจ็บป่วยที่ถูกผีทำ จึงแก้ด้วยการสร้างตุ๊กตาเสียบบาล โดยนำตุ๊กตาเสียกบาลนั้นมาเชิญผีเข้าแทน แล้งหักคอตุ๊กตา เพื่อแสดงว่าคนป่วยที่ถูกผีเข้านั้นตายแล้ว ผีที่ออกจากร่างผู้ป่วยนั้น เมื่อออกแล้วก็รีบ นำตุ๊กตาเสียบกาลนั้นไปวางที่ทางสามแพร่ง เพื่อหลอกไม่ให้ผีหาทางกลับไม่ถูก ซึ่งพบว่ามีการสร้างตุ๊กตาเสียบาลสังคโลกจำนวนมาก

 

                ชาวสุโขทัยนั้นมีประเพณีที่นิยมนอนหันศีรษะไปทางทิศใต้ ซึ่งเรียกว่าทิศนี้ว่า เบื้องหัวนอน และเรียกทิศเหนือว่า เบื้องตีนนอน อันเป็นความเชื่อของชาวสุโขทัย ที่หันศีรษะนอนตามแบบพระพุทธเจ้าที่หันพระเศียรไปทางทิศใต้

 

                ครั้นเมื่อพระพุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ ได้เดินทางเข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักร จึงทำให้มีการนับถือพุทธศาสนาอย่างแพร่หลาย ในครั้งนั้น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เมืองสุโขทัย ได้เป็นไมตรีกับพระเจ้าอินทรภานุ

แห่งนครศิริธรรม (เมืองนครศรีธรรมราช) จึงทำให้มีการส่งทูตลังกาและคณะทูตของเมืองนครสิริธรรม เดินทางไปอัญเชิญพระสีหลปฏิมา คือ พระพุทธสิหิงส์ มาประดิษฐานไว้สักการะที่เมืองสุโขทัย และเมืองนครสิริธรรม

 

                ต่อมาในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์นั้น ได้รับความนับถือ เลื่อมใสกันอย่างแพร่หลาย จึงมีการนิมนต์พระสงฆ์จากเมืองนครศิริธรรมขึ้นไปทำการสั่งสอน ชาวเมืองสุโขทัย และโปรดให้มีการสร้างวัดและพระอารามต่าง ๆ ขึ้น พร้อมกับมีการปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ทำให้พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์มีความเจริญสูงสุดในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย และทำให้พระมหาธรรมราชาลิไทย มีความศรัทธาถึงกับได้ลาผนวช แล้วยังได้พระราชนิพนธ์ไตรภูมิถถา เพื่อใช้สั่งสอนอาณาประชาราษฎรต่อไป

 

                การที่เมืองสุโขทัย เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ นั้น ได้ทำให้รูปแบบศิลปกรรมต่างๆ ที่เป็นศิลปะสุโขทัย กล่าวคือ มีรูปแบบของเจดีย์ทรงลังกาที่เรียกว่า พุ่มข้าวบิณฑ์ การสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ที่เรียกว่า พระอัฏฐารส และพุทธลักษณะของพระพุทธรูปศิลปะ สุโขทัย ทำให้ชุมชนต่าง ๆ นิยมเอารูปแบบศิลปกรรมและรับเอาประเพณีที่เกี่ยวกับพุทธศาสนา ไปใช้ในท้องถิ่นของตนอย่างแพร่หลายเช่น ประเพณีทอดกฐิน การเทศน์มหาชาติ ประเพณีการบวช เป็นต้น

 

                การสร้างศาสนาเทวสถานตามความเชื่อนั้น เมื่อพุทธศาสนาได้แพร่หลายอย่างกว้างขวางไปทั่วอาณาจักรพ่อขุนผู้ครองเมืองนั้น ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลและทรงเทศนาสั่งสอน หลักธรรมแก่ข้าราชการไพร่ฟ้าหน้าใสอยู่เนืองนิตย์ จึงทำให้การสร้างวัดในพุทธศาสนาได้เกิดขึ้น เป็นจำนวนมาก โดยพ่อขุนผู้เป็นกษัตริย์นั้นทรงสถาปนาพระบรมธาตุ พระพุทธบาทและพระอารามหลวงของกษัตริย์ ขึ้นในเมืองสุโขทัย เช่น วัดมหาธาตุ วัดสระศรี เป็นต้นเช่นเดียวกัน เชื้อพระวงศ์ เศรษฐี และราษฎร ต่างก็ศรัทธาพากันสร้างวัดขึ้นในเมืองสำคัญและชุมชนของตน

 

                การปกครองคณะสงฆ์ในเมืองสุโขทัยนั้น ได้มี พระเถระผู้ใหญ่ เป็นผู้ปกครอง ปรากฏชื่อพระสังฆราชมหาคณิศร  เป็นอธิบดีสงฆ์ และมีการแบ่งคณะสงฆ์เป็นฝ่ายคันถธุระและฝ่ายวิปัสสนาธุระ ดังนั้นเมื่อบุตรมีอายุสมควรจะบวชก็จะพากันบวช เป็นพระภิกษุสงฆ์ ในพระพุทธศาสนา ชั่วระยะการเข้าพรรษา ตามประเพณีนิยม เช่นเดียวกัน พ่อขุนผู้ศรัทธาในพุทธศาสนาก็จะทรงผนวชเช่นกันในวัดที่เป็นพุทธาวาส (คือไม่มีพระภิกษุจำพรรษา)ที่สร้างประจำพระราชวังสำหรับการพระศาสนาของกษัตริย์เมืองสุโขทัย แต่จำพรรษาอีกวันหนึ่ง

 

                สำหรับศาสนสถานใดความเชื่อของศาสนาพราหมณ์นั้น ได้มีการสร้างเทวสถานเป็นองค์พระปรางค์สำหรับประดิษฐาน พระผู้เป็นเจ้าของพราหมณ์ทั้งหลาย รวมเรียกว่า พระไสยศาสตร์ อันได้แก่ เทวรูปของ พระปรเมศวร (พระอิศวร) พระพิฆเณศวร  พรวิษณุจักร (พระนารายณ์) พระอุมา พระลักษณ์ พระมเหสวรี พระเทวกรรม พระสัทธาสิทะ พระอิษีสิงห์ พระไพศรพ พระพลเทพ ซึ่งหล่อเป็นเทวรูปโลหะ สำหรับสักการะบูชา ในวัดศรีสวาย(ต่อมาถูกดัดแปลงเป็นวัดในพุทธศาสนาแทน)

 

                ในพิธีมงคลทั้งพุทธศาสนาและศาสนาพราหมณ์ ได้มีการผสมผสานใช้ในเมืองสุโขทัย กล่าวคือมีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดพระปริตร และเชิญพราหมณ์มาอ่านพระเวทวสักการะ พระผู้เป็นเจ้าตามที่มีเทวรูปเคารพ ได้แก่ พระอิษวร (พระศิวะ) พระวิษณุ (พระนารายณ์) พระอุมา (ศักติของพระอิศวร) พระหริหระ (เทวรูปที่รวมพระศิวะกับพระวิษณุไว้ในองค์เดียวกัน) จึงทำให้การทำบุญบำเพ็ญการกุศลที่เป็นมงคลนั้น มีทั้งพิธีพระสงฆ์และพิธีพราหมณ์ ผสมผสานกันสืบมาจนทุกวันนี้

 

                ชาวสุโขทัยมีชีวิตความเป็นอยู่กับความนิยมการกินหมาก เพื่อให้ความฝาดของหมากนั้น ช่วยรักษาฟันให้ทนและไม่ผุง่าย และมีการปลูกป่าหมากในเมืองมากมาย ดังนั้น ในการทอดกฐินจึงนิยมที่จะนำหมากถวายด้วย เรียกว่า พนมหมาก เรื่องกินหมากนี้ นิโกลาวส์ แซร์เวส์ ได้กล่าวไว้ในเรื่องประวัติศาสตร์ธรรมชาติ และการเมืองแห่งราชอาณาจักรสยาม เกี่ยวกับค่านิยมการกินหมาก ของชาวอยุธยาไว้ว่า “สิ่งที่ผู้หญิงสยามไม่อาจทนดูพวกเราได้ก็คือตรงที่พวกเรามีฟันขาว เพราะพวกนางเชื่อว่า พวกภูตผีปีศาจเท่านั้น ที่จะมีฟันขาว และเป็นเรื่องที่น่าอับอายที่มนุษย์เรามีฟันขาว เหมือนอย่างสัตว์เดียรัจฉาน ฉะนั้นพอหญิงชายมีอายุได้สัก 14 – 15 ปี ก็จะเริ่มทำให้ฟันดำและเป็นเงา” ความเชื่อเช่นนี้ก็น่าจะสืบมาจากความเชื่อที่ชาวสุโขทัยได้มีมาแต่เดิม

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม วัฒนธรรมความเชื่อและศาสนา

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์