ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  วิทยาการและงานศิลปกรรม

 

วิทยาการและงานศิลปกรรม

 

                ด้วยเหตุที่อาณาจักรของเมืองสุโขทัยนั้น ได้รับเอาพุทธศาสนามาเป็นรากฐานในการดำรงชีวิตและสร้างวัฒนธรรมในการสร้างชาติของตนเอง ดังนั้น พุทธศาสนาที่มาจากลังกาทวีป และวิทยาการจากอารยธรรมอินเดีย

โบราณที่เผยแพร่เข้ามานั้น ได้มีอิทธิพลต่อความประดิษฐ์สร้างมาจากภูมิปัญญาของผู้รู้ของเมืองสุโขทัย ผสมผสานกับสิ่งที่ดีงามของเดิมจนทำให้เกิดศิลปวัฒนธรรมที่มีลักษณะเฉพาะของเมืองสุโขทัยขึ้น ดังจะเห็นได้จากงานศิลปกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และการสร้างพระพุทธรูป ที่ผ่านการบูรณาการมาเป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้จากการพัฒนาบ้านเมือง ดังนี้

 

                การสร้างเมือง

 

                ได้นำเอารูปแบบการวางผังเมืองมาจากอารยธรรมขอม กล่าวคือ มีการวางผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง  1,600 เมตร ยาว 1,800 เมตร มีการสร้างกำแพง เมือง ถนน ศาสนสถาน สระน้ำ และเส้นทางน้ำอย่างมีระเบียบ กำแพงเมืองนั้นสร้างเป็น 3 ชั้น เรียก ตรีบูร และมีการสร้างสระน้ำ ซึ่งใช้ประโยชน์ในการระบายน้ำสำหรับเมืองที่ตั้งอยู่บนที่ลาดเชิงเขา เมืองสุโขทัย แห่งนี้สร้างตรีบูร จึงมีคู่น้ำถึง 2 ชั้น สำหรับรับน้ำจากเขามาไว้ในคูเมือง แล้วระบายลงไปในสระหรือตระพังต่าง ๆ ที่อยู่ภายในเมือง และใช้เป็นแนวป้องกันข้าศึก โดยมีกำแพงและคูน้ำ เป็นแนวป้องกันข้าศึกอยู่โดยรอบ

 

                การสร้างระบบชลประทาน

 

                เนื่องจากเมืองสุโขทัยนั้น ตั้งอยู่บนที่ราบสูง และลาดลงมา จากเชิงเขาทางด้านใต้และด้านตะวันตก ทางด้านเหนือและตะวันออกนั้น เป็นที่ราบสูง มีลำล้ำแม่ลำพันไหลผ่านเลี้ยงเมืองสุโขทัย บริเวณพื้นดินนั้นเป็นดินปนทรายไม่อมน้ำ อีกทั้งไม่มีแหล่งน้ำใต้ดิน จึงทำให้เมืองสุโขทัยขัดสนน้ำอุปโภคบริโภค

 

                ดังนั้น จึงมีการสร้างระบบการเก็บกักน้ำไว้บนผิวดิน โดยชักน้ำจากที่สูงมาเก็บไว้ในคูเมืองและตระพัง โดยมีการสร้างบ่อน้ำรูปกลมกรุด้วยอิฐและสระน้ำขนาดเล็ก อยู่ในเมือง เพื่อเก็บน้ำที่ซึมมาจากตระพังไว้ และมีการสร้างคันชลประทานคือ สรีดภงส์ พบว่า มีเขื่อนกั้นน้ำอยู่ทางด้านตะวันตก ของสุโขทัย มีร่องรอย คันดิน และทางน้ำที่ซับซ้อน เพื่อทำการระบายน้ำในระยะเวลาที่ฝนตกซุกในฤดูฝน เมื่อน้ำมีปริมาณมากขึ้นก็จะไหลไปตามทิศทางที่กำหนดไว้และควบคุมน้ำไม่ให้ไหลท่วมบริเวณอื่น โดยเฉพาะบริเวณที่ตั้งของวัดในเมือง

 

 

 

                นอกจากนี้ ยังมีถนนพระร่วงยาว 123 กิโลเมตร เชื่อมระหว่างเมืองศรีสัชนาลัย เมืองสุโขทัย และเมืองกำแพงเพชร ที่ยังใช้เป็นคันดินกั้นน้ำได้อีกด้วย

 

                การสร้างงานศิลปกรรม

 

                ในสมัยอาณาจักรสุโขทัยนั้น สำรวจพบว่า มีงานจิตกรรมที่เป็นรูปเขียนที่ใช้สีเขียน ในลักษณะสีเอกรงค์ เป็นรูปเขียนอยู่ในคูหาพระเจดีย์ของวัดเจดีย์เจ็ดแถว ที่เมืองศรีสัชนาลัย เป็นรูปแนวขนานเขียนเป็นรูปพระพุทธรูปประทับนั่งโดยมีรูปเทวดา ฤาษี และกษัตริย์ นั่งฟังธรรม โดยเขียนรูปขนานกันเป็นชิ้น มีเส้นคั่นระหว่างชั้นให้เห็นภาพแยกเป็นสัดส่วน

 

                ประติมากรรมที่สำคัญของสมัยสุโขทัยนั้น คือ การหล่อพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ด้วยโลหะ และมีวิชาการชั้นสูงถึงกับมีพระหล่อพระพุทธรูปด้วยทองคำ เป็นพระพุทธรูปที่มีความสมงามมาก ลักษณะเด่นนั้น ได้แก่ มีพระพักตร์วงกลมรูปไข่ พระโอษฐ์ลักษณะอมยิ้ม พระเนตรโค้งงอน มีสายตาแห่งความเมตตา พระวารหายสร้างให้กรมกลึงไม่เหมือนร่างกายมนุษย์ หากมีท่าทางก็จะแสดงความอ่อนโยนและใช้ลักษณะเส้นโค้งสร้างสัดส่วนให้สมงาม พระพุทธรูปสมัยนี้นิยมสร้างพระสี่อิริยาบถ คือ ปางประทับนั่ง ปางประทับยืน ปางลีลาหรือเดิน และปางไสยาสน์หรือพระนอน ในสมัยสุโขทัยนั้น มีพระพุทธรูปสำคัญที่สมงามและรู้จักกันดีคือ

 

                พระพุทธชินราช พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย

 

                หน้าตักกว้าง 5.60 เมตร สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เป็นพระพุทธรูปที่มีความสมงามที่สุด ด้วยเป็นพระพุทธรูปที่มีซุ้มเรือนแก้ว เป็นพญานาค และสร้างท้าวเวสสุวรรณรักษาพระองค์พระ พระพุทธรูปองค์นี้ ประดิษฐานในพระวิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดหลวงประจำพระราชวัง (ภายหลังเรียก วังจันทน์) ที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย และพระมหาธรรมราชาลิไทย ประทับอยู่จนสิ้นพระชนม์ที่วังนี้

 

                พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย

 

                เป็นพระพุทธรูปหล่อ ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด หน้าตักกว้าง 6.50 เมตร สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไทย เดิมประดิษฐานเป็นพระพุทธรูปประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ในพระราชวังเมืองสุโขทัยเก่า ปัจจุบันได้อัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงรัตนโกสินทร์

 

                พระพุทธชินสีห์ พระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย

 

                สร้างในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไท พร้อมกับพระพุทธชินราช เดิมประดิษฐานเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ปัจจุบันได้อัญเชิญประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารวัดบวรนิเวศวรวิหาร กรุงรัตนโกสินทร์

 

                พระศาสดา เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งสมาธิ ปางมารวิชัย

 

                สร้างในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย พร้อมกับพระพุทธชิโนราช เดิมประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหาร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลก ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงรัตนโกสินทร์

 

 

                พระพุทธรูปทองคำ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่ง  ปางมารวิชัย

 

                สร้างด้วยทองคำ เดิมถูกพอกปูนและภายหลังได้กะเทาะออก ปัจจุบันประดิษฐานอยู่วัดไตรมิตร กรุงเทพฯพระพุทธรูปลีลา เป็นพระพุทธรูปประทับเดินปางลีลา สูง 1.66 ม. ปัจจุบันอัญเชิญมาประดิษฐานอยู่ในระเบียงพระอุโบสถ์วัดเบญจมบพิตร กรุงรัตนโกสินทร์

 

                ประติมากรรมการหล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่นั้น จึงถือเป็นงานช่างโบราณที่มีการหล่อมาแต่ครั้งสุโขทัยโดยการอุปถัมภ์ของพ่อขุน กษัตริย์เมืองสุโขทัย ทำให้นิยมที่จะสร้างพระพุทธรูปขนาดใหญ่ไว้จำนวนมาก ดังปรากฏว่ามีพระพุทธรุปอยู่ในวัดสำคัญของเมืองสุโขทัยและหัวเมืองในอาณาจักรแห่งนี้ นอกจากนี้ยังมีการหล่อเทวรูปในศาสนาพราหมณ์ขึ้นด้วย ได้แก่ เทวรูปพระอิศวร พระนารายณ์ ซึ่งศาสนาพราหมณ์นั้นได้มีอิทธิพลเข้ามาในอาณาจักนสุโขทัย พร้อมกับพุทธศานาด้วย

 

                ประติมากรรมที่นิยมสร้างกันทั่วไปโดยศรัทธาของประชาชนหรือเจ้านายชั้นสูงก็คือ ประติมากรรมปูนปั้นโดยมีวิธีการใช้ปูนทรายละเอียดตำผสมกับน้ำอ้อย ขึ้นรูปเป็นภาพประติมากรรมนูนสูงและสร้างพระพุทธรูปลอยตัวด้วยโครงสร้างของการก่ออิฐหรือหินอยู่ภายใน งานปูนปั้นที่สำคัญ ได้แก่ ภาพปูนปั้นรูปพระพุทธประวัติปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ อยู่ที่ผนังด้านนอกของมณฑป วัดตระพังทอง เมืองสุโขทัยเท่า รูปปูนปั้นพระพุทธรูปปางลีลา อยู่ในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองศรีสัชนาลัย พระพุทธรูปปูนปั้นองค์ใหญ่ที่เรียกว่า พระอจนะ เป็นพระพุทธรูปประทับนั่งอยู่ในมณฑปวัดศรีชุม อยู่นอกเมืองสุโขทัยเก่า พระพุทธรูปปูนปั้นประทับยืนที่วัดสะพานหิน เมืองสุโขทัยเก่าที่มีขนาดสูงมาก เป็นต้น

 

                สถาปัตยกรรมนั้นถือว่ามีงานก่อสร้างที่มีรูปแบบเฉพาะ ได้แก่ มณฑปวัดศรีชุม พระที่นั่งในพระราชวังสุโขทัย วัดและเจดีย์ ที่ใช้วัสดุก่อสร้างด้วยอิฐ หินและศิลาแลง ประกอบงานปูนปั้น ซึ่งยังมีซากโบราณให้เห็นลักษณะการก่อสร้าง เช่น

 

                พระอุโบสถ พระวิหาร นิยมสร้างยกฐานสูง เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังนั้นก่ออิฐโบกปูนทับและทำประตู ส่วนหน้าต่างนั้นใช้วิธีเจาะออกเป็นช่องเล็ก ๆ เป็นแนวตั้งหลายช่องเพื่อให้แสงเข้า หลังคานั้นสร้างเป็นรูปหน้าจั่ว ลดชั้นตามลำดับ ภายนอกนั้นมีการประดับตกแต่งแตกต่างกัน บางแห่งทำเป็นเครื่องเคลือบสังคโลก ทำช่อฟ้าประดับ เช่น วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยเก่า วัดนางพญา เมืองศรีสัชนาลัย เป็นต้น

 

                มณฑปนั้น สร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีลักษณะแตกต่างกัน มณฑปวัดศรีชุมสร้างเป็นอาคารขนาดใหญ่โดยสร้างผนังมณฑปสองชั้นให้มีช่องสามารถลอดเข้าไปได้ มณฑปบางแห่งสร้างเป็นอาคารสี่เหลี่ยมขนาดเล็กสำหรับพระพุทธรูปปางประทับยืนหรือปางลีลา

 

                เจดีย์ศิลปะสมัยสุโขทัยนั้น ได้รับอิทธิพลจากลังกา จึงสร้างเจดีย์เป็นทรงลอมฟางหรือทรงชามโอคว่ำ(เจดีย์มอญ) และมีปลีปล้องไฉนยอดแหลม ตั้งอยู่บนฐานสีเหลี่ยมที่มีผนังกั้น สร้างซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปฐานชั้นล่างนั้นนิยมล้อมด้วยสัตว์ เช่น ช้าง อันเป็นลักษณะเฉพาะของเจดีย์สมัยนี้ ได้แก่ เจดีย์วัดช้างล้อม เมืองศรีสัชนาลัย เจดีย์วัดสระศรี เมืองสุโขทัยเท่า เจดีย์ช้างล้อม เมืองกำแพงเพชร เป็นต้น

 

                เจดีย์ทรงดอกบัว หรือที่เรียกว่า เจดีย์พุ่มข้าวบิณฑ์ นั้นสร้างบนฐานสี่เหลี่ยมเช่นเดียวกัน แต่ตรงกลางนั้นสร้างเป็นแท่งโดยทำยอดเป็นดอกบัวตูม ในลักษณะก้านชู ดอกบัวตูมขนาดใหญ่ แทนที่เจดีย์ ทรงลอมฟาง ซึ่งเป็นการพัฒนาการศิลปกรรมที่สร้างขึ้น ใหม่ในสมัยสุโขทัยคือหมายเอาดอกบัวเป็นพุทธบูชา ได้แก่ เจดีย์ประธานของวัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัยเก่า เจดีย์ประธานวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย เจดีย์วัดพระธาตุ (เจดีย์ยุทธหัตถี)

เมืองตาก เป็นต้น

 

                ศิลปกรรมของเมืองสุโขทัยนี้ ได้มีอิทธิพลแพร่หลายไปยังเมืองต่าง ๆ โดยเฉพาะเมืองที่เคยอยู่ในอาณาจักรแห่งนี้ เช่น เมืองนครสวรรค์ เมืองกำแพงเพชร เมืองน่าน ศิลปกรรมสุโขทัยนั้น ได้ถูกนำรูปแบบไปสร้างไว้ในวัดหลายแห่ง แม้กระทั่ง เมืองอโยธยา และกรุงศรีอยุธยา เช่น เจดีย์ที่วัดมเหยงค์ เจดีย์ที่วัดธรรมิการาช ซึ่งสร้างช้างรอบเจดีย์ตามแบบเจดีย์ช้างล้อมเมืองสุโขทัย เป็นต้น

 

                งานทางด้านอักษรศาสตร์

 

                ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงนั้น ได้คิดประดิษฐ์ลายสือไทย สำหรับใช้ในอาณาจักรของเมืองสุโขทัยขึ้น

ใน พ.ศ.1826 โดยจารึกไว้บนแท่งศิลา เป็นหลักฐานให้เห็นถึงการพัฒนาที่มีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาสื่อความหมาย โดยเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับเมืองสุโขทัย

 

                ลายสือไทย นั้นเป็นการนำเสนอรูปแบอักษรไทย ที่มีแบบแผนการเขียนพยัญชนะและสระอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และเป็นต้นแบบให้มีการพัฒนาการรูปแบบอักษรไทย ขึ้นจากตัวในลายสือไท แต่วางสระอยู่ต่างหาก

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม วิทยาการและงานศิลปกรรม

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์