ประเพณีการทำศพ
ประเพณีการทำศพ
การทำศพบุคคลธรรมดานั้น มีการนำศพมาอาบน้ำ แต่งตัว
และทาเครื่องหอมต่าง ๆ เช่น กระแจะจันทร์
น้ำมันหอม แล้วนุ่งห่มผ้า นำไปวางไว้ในที่โล่งแจ้งให้นกกิน (อย่างอินเดียหรือธิเบต)
ส่วนพระบรมศพของกษัตริย์นั้น จะนำพระบรมศพชโลมด้วยกระแจะจันทร์
แล้วเอาผ้าขาวเนื้อละเอียด
มามัดพระบรมศพ โดยเอาสำลีและผ้าขาวมาพันรอบพระบรมศพ แล้วสรงน้ำพระสุคนธ์ (น้ำหอม)
เสร็จแล้วอัญเชิญขึ้นประดิษฐานในพระบรมโกศทำการถวายพระเพลิง
เมื่อเผาไหม้แล้วก็เชิญพระบรมอิฐิไปบรรจุไว้ใพระเจดีย์ที่ก่อไว้กลางเมือง
สรุปสาระความรู้
ดินแดนสุวรรณภูมินั้น อาณาจักรขอม
ได้แผ่อิทธิพลเข้ามาถึงบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และได้หมดอำนาจลงในตอนปลาย
ศตวรรษที่ 18 ทำให้ชุมชนชาติไทยอาศัยอยู่ในบริเวณต่าง ๆ
พากันตั้งอาณาจักรของตนขึ้นหลายแห่ง เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองสุโขทัย
และเมืองอยุธยา
ขุนศรีนาวนำถุม แห่งราชวงศ์ศรีนาวนำถุม ซึ่งครองเมืองเชลียงนั้น
ต่อมาได้ขยายอาณาเขตการครองเมืองเข้ามายังเมืองสุโขทัยรวมเรียก นครสองอัน
ครั้นเมื่อขุนศรีนาวนำถุม สิ้นพระชนม์ลง ขอมสบาดโขลญบำพง ในเมืองสุโขทัยนั้น
ได้เข้าชิงเอาเมืองสุโขทัย จนเป็นเหตุให้ขุนผาเมือง เจ้าเมืองราด
พระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม ได้ร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง
ทำการสู้รบเข้าขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ออกจากเมืองสุโขทัย
แล้วขุนผาเมืองนั้นกลับไปครองเมืองราดตามเดิม พร้อมกับให้ขุนบางกลางหาว
นั้นครองเมืองสุโขทัย เป็นปฐมกษัตริย์ทรงพระนามว่า ขุนศรีอินทราทิตย์
และทำการสถาปนาราชวงศ์พระร่วงขึ้น ครองเมืองสุโขทัย
อาณาจักรอิสระชนชาติสยามหรือชาวไทยแห่งนี้
มีพ่อขุนแห่งราชวงศ์พระร่วงเป็นกษัตริย์ ครองแคว้นสุโขทัยสืบต่อมาตามลำดับ
ครั้นเมื่อแคว้นสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง
พ่อขุนของราชวงศ์นี้ก็ย้ายมาครองเมืองพิษณุโลก (เป็นราชธานีอีกแห่งหนึ่ง)
โดยการสร้างพระราชวังขึ้น (พระราชวังจันทน์) สำหรับราชวงศ์นี้ ได้มีบทบาท
สำคัญในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาและมีอำนาจเป็นกษัตริย์ในสมัยหนึ่ง เมื่อ พ.ศ.1981
กรุงศรีอยุธยามีอำนาจมากขึ้น จึงได้ยึดเมืองสุโขทัยไปเป็นประเทศราช
และรวมเป็นอาณาจกรสยาม ที่มีกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีในที่สุดและเมืองพิษณุโลกนั้น
ได้ยกฐานะเป็นเมืองลูกหลวง ที่มีพระมหาอุปราชขึ้นมาครอง แทน
เมืองลพบุรีที่เคยเป็นเมืองลูกหลวง ในสมัยอยุธยาตอนต้น
ลำดับกษัตริย์ครองแคล้วนสุโขทัย และจารึกพ่อขุนรามคำแหง
ตั้งแต่ พ.ศ.1600 นั้น ชนชาติไทยหรือสยาม มีราชวงศ์กษัตริย์
ปกครองอาณาจักรอยู่ทางเหนือ คือ ราชวงศ์เชียงแสน (ราชวงศ์เชียงราย)
ซึ่งถือเป็นต้นราชวงศ์กษัตริย์ไทยที่มีกษัตริย์สืบเชื้อสายครองเมืองต่อมาจนเกิดการตั้งอาณาจักรของเมืองสุโขทัยขึ้นทางตอนใต้
ประมาณ พ.ศ.1800 ซึ่งสามารถลำดับได้ดังนี้
เมืองเชลียง ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม
ขุนศรีนาวนำถุม
เป็นกษัตริย์ราชวงศ์ศรีนาวนำถุม สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์เชียงแสน
ได้ครองเมืองเชลียง ต่อมาได้ทำการขยายอาณาเขตไปมีอำนาจในเมืองสุโขทัย จึงเรียกว่า
นครสองอัน หมายถึงเมืองสุโขทัยและเมืองเชลียง (ต่อมาเรียนเมืองศรีสัชนาลัย)
ขุนผาเมือง พระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม
ครองเมืองราดอภิเษกกับนางสิขรเทวี พระธิดาของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 7
แห่งเมืองพระนคร (นครธม) ได้รับพระแสงขรรค์ชัยศรีและพระนามว่า
ขุนศราอินทรบดินทราทิตย์ ต่อมาได้ร่วมกับขุนบางกลางหาว เจ้าครองบางยาง
ขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพง ออกจากเมืองสุโขทัยได้
แล้วกับไปครองเมืองราดตามเดิมนางเสือง พระธิดาของขุนศรีนาวนำถุม
ได้สมรสกับขุนบางกลางหาว เจ้าเมืองบางยาง
พระยาคำแหงพระราม พระโอรสของขุนศรีนาวนำถุม
พระยาคำแหงพระรามผู้นี้มีพระโอรสองค์หนึ่งชื่อ ขุนศรีสัทธา
ขุนศรีศัทธา ซึ่งเป็นพระนันดาของขุนศรีนาวนำถุม ผู้นี้
ได้มีพระโอรสองค์หนึ่งสิ้นพระชนม์แต่ยังเยาว์
จึงทำให้ขุนศรีสัทธาออกบวชบำเพ็ญธรรมจนได้เป็น พระศรีสัทธาราช จุใมณีรัตนลังกาทวีป
พระสังฆราชอยู่ที่เมืองสุโขทัย
|