ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ตำนานพระเจ้าอู่ทอง

ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(1)

 

                พระเจ้าอู่ทอง เป็นพระนามของกษัตริย์ที่คนไทยรู้จักกันดีว่า คือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้สร้างอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อ พ.ศ.1893

 

                แต่ความเป็นมาของพระเจ้าอู่ทอง นั้นสรุปไม่ได้ชัดเจนว่า พระองค์มาจากที่แห่งใด ด้วยปรากฏว่า มีตำนานท้องถิ่นกล่าวถึง ท้าวอู่ทอง หรือพระเจ้าอู่ทอง ไว้มากมาย ดังนี้

 

                ชาวอยุธยา (เชื้อสายจีน) ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ประมาณ พ.ศ.2132 – 2199) นั้น เชื่อกันว่าพระเจ้าอู่ทองนั้นถูกเนรเทศมาจากเมืองจีนมาขึ้นบกที่เมืองปัตตานี แล้วสร้างบ้านเมืองขึ้นในดินแดนทางใต้ของสุวรรณภูมิ ขึ้นมาจนถึงกรุงศรีอยุธยา (จากพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับวันวลิต พงศ.2182)

 

                ชาวอยุธยา (เชื้อสายลาว) ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ (ราว พ.ศ.2199 – 2231) เชื่อว่า พระเจ้าอู่ทองนั้นสืบเชื้อสายมาจากบ้านเมืองทางเหนือ  แล้วลงไปครองอยู่เมืองเพชรบุรี ก่อนที่จะขึ้นไปสร้างกรุงศรีอยุธยา (จาก จดหมายเหตุฝรั่งเศสของบาทหลวงตาชาต, จดหมายเหตุฝรั่งเศสของลาลูแบร์ และคำให้การชาวกรุงเก่า)

 

                ต่อมา พ.ศ.2350 สมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ในรัชกาลที่ 1 ได้มีรับสั่งให้พระวิเชียรปรีชา (น้อย) เจ้ากรมราชบัณฑิตชวา ทำการรวบรวมเรียบเรียงเรื่องเก่าขึ้น เป็นพงศาวดารเหนือ มีความตั้งแต่ บาธรรมราชสร้างเมืองสัชนาลัย เมืองสวรรคโลก แล้วเสวย ราชสมบัติทรงพระนามว่า พระเจ้าธรรมราชาธิราช เป็นลำดับมาจนถึง พระเจ้าอู่ทอง สร้างกรุงศรีอยุธยา

 

                และในรัชกาลที่ 2 นั้น พระองค์ได้ทรงเรียบเรียงพระราชพงศาวดารสยาม ขึ้นอีก ความหนึ่งโดยมีความตอนต้นเช่นเดียวกับพงศาวดารเหนือตอนต้น โดยเฉพาะเรื่องพระเจ้าอู่ทองนั้นมีความพิสดารออกไปว่า เป็นบุตรโชดึก เศรษฐี ต่อมาได้เป็นกษัตริย์ครองกัมพุชประเทศแล้วเกิดโรคห่าระบาดจึงพากันอพยพหนีมาสร้างกรุงศรีอยุธยา

 

                ดังนั้น ความเป็นมาของ พระเจ้าอู่ทอง ที่ปรากฏต่อมาในพระราชพงศาวดารสยามนั้น จึงได้มีการศึกษาและเรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องเล่าไว้ว่า

 

                “เบื้องว่ากัมพุประเทศนั้น พระเจ้าแผ่นดินทิวงคต หาพระวงศ์มิได้ ชนทั้งปวงจึงยกเจ้าอู่ทอง อันเป็นบุตรโชฎึกเศรษฐี มาราชาภิเษก ผ่านถวัลยราช

 

                ครั้งนั้น บังเกิดไข้ทรพิษหนัก ราษฎรทั้งปวง ล้มตายเป็นอันมาก พระองค์จึ่งยังเสนาและอพยพราษฎรออกจากเมือง แต่เพลาราตรีกาลไปโดยทักษิณทิศเพื่อจะหนีห่าและพระเชษฐา ท่านั้น เข้าพักพลปรกติอยู่ในประเทศเมืองสุพรรณบุรี

 

                พระเจ้าอู่ทอง นั้น ยาตราพลรอนแรมไปหลายราตรี จึงพบแม่น้ำใหญ่ แล้วเห็นเกาะหนึ่งเป็นบริมณฑล

ประดิษฐานอยู่ท่ามกลางภูมิภาคนั้น ราบรื่นดูสะอาด

 

                พระองค์จึ่งให้ข้าพลพยุหเข้าตั้งถึงเกาะดงโสน แล้วพบพระดาบสองค์หนึ่ง จึงกระทำความคารวะประพฤติปราศรัยว่า

 

                “พระนักสิทธิ์มาสำนักอยู่ในประเทศนี้แต่ครั้งใด”

 

                พระฤาษีจึ่งแจ้งอนุสนธ์ว่า “อาตมาสร้างพรตพิธีอยู่ที่นี้แต่ครั้งองค์พระพิชิตมารมลี โลกเจ้ายังทรมานอยู่

และอาจารย์เราสองคน คนหนึ่งไปตายที่เขาสัพลึงค์ คนหนึ่งไปตายในพนมภูผาหลวง และครั้งหนึ่งเมื่อพระสรรเพชญ์พุทธองค์เสด็จมาในที่นี้ เราได้ถวายผลมะขามป้อม และสมอ อาราธนาให้พระองค์นั่งฉันเหนือประเทศตอตะเคียน อันลอยขวางอยู่ที่นั้น

 

                พระองค์จึ่งมีพุทธบัณฑูรตรัสทำนายว่า อรัญประเทศนี้ ไปเบื้องหน้าจะปรากฏเป็นราชธานีหนึ่ง ชื่อว่า

พระนครทวาราวดีศรีอยุธยา”

 

                แล้วพระดาบสจึงเขียนรูปเมืองด้วยถ่านเพลิงแล้วทิ้งขึ้นไปในอากาศตกลงมาเป็นผ้าสาฎก ประจักษ์หนทางสามแพร่ง ให้เห็นว่าชนเกิดในประเทศนี้ จะเจรจามุสาวาท ความจริงน้อย

 

                แล้วพระมหาโยธีจึ่งว่ ปางนี้บรมขัตติยาธิบดี เสด็จมาถึงแล้ว พระองค์อยู่ในประเทศนี้ สำราญราชหฤทัยเถิด อาตมาจะลาไปรักษาพระบทวลัญชรลักษณ์ในขุนเขาคีรีโน้นเบื้องว่ พระดาบสว่าดังนั้นแล้ว ก็เหาะไปสำนักเจริญพรตพรหมวิหารเท่าถึงอาศัยภาพในภูเขาสุมภูนั้น

 

                ศุภมัสดุ ศักราช 711 ปีขาลโทศก ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 เพลา 3 นาฬิกา 9 บาท สถาปนากรุงพระนครศรีอยุธยา

 

ชีพระพราหมณ์ให้ฤาษี ตั้งพิธีกลบบาท ได้สังข์ทักขิณาวัฏใต้ต้นหมันใบหนึ่ง แล้วสร้างพระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท องค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท องค์หนึ่ง สร้างพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาทองค์หนึ่ง

แล้วพระเจ้าอู่ทองเสด็จเข้ามาเสวยราชสมบัติ

 

                ชีพ่อพราหมณ์ถวายพระนามชื่อ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสุนทรบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตนราชธานีบุรีรมย์

 

                จึ่งให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอพระนาม พระราเมศวรขึ้นไปครองราชย์สมบัติในเมืองลพบุรี”

 

                ต่อมา สมเด็จพระสมณเจ้าฯ กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงพระนิพนธ์ พระราชพงศาวดารสังเขป ขึ้นใหม่ โดยเล่าเรื่อง พระเจ้าอู่ทอง นั้นให้มีความพิสดารต่อไปอีกว่า

 

                เมื่อกษัตริย์เมืองเชียงรายนั้นพ่ายศึกสงคราม ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ที่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองริมแม่น้ำปิงที่ถูกทิ้งร้าง (เมืองเก่านี้อยู่ตรงกับจังหวัดกำแพงเพชร)

 

                เมืองร้างนี้ภายหลังได้ตั้งใหม่ชื่อ เมืองไตรตรึงษ์ ต่อมาเจ้าเมืองนี้มีลูกเขยเป็นสามัญชน คนยากจนชื่อนายแสนปม ต่อมานั้นได้เป็นกษัตริย์ครองเมืองเทพนคร ทรงพระนามว่า พระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อ

เจ้าอู่ทอง คือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา

 

                ส่วนเรื่องราว ของนายแสนปมหรือท้าวแสนปม นี้ ก็มีเรื่องเล่าขยายความละเอียดออกไปอีก ดังปรากฏความในพระราชพงศาวดารสังเขป ดังนี้

 

                “เดิมพระเจ้าแผ่นดินพระองค์หนึ่ง ครองราชย์สมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงราย ในโยกประเทศ เป็นพระนครใหญ่

 

                มีพระเจ้ามหาราชพระองค์หนึ่งครองสมบัติอยู่ ณ เมืองสตอม ยกกองทัพมาตี เมืองเชียงราย ได้ทำสงครามแก่กัน พระเจ้าเชียงรายพ่ายแพ้เมืองแก่พระยาสตอม จึงกวาดครอบครัวอพยพชาวเมืองเชียงราย หนีข้าศึกมายังแว่นแคว้นสยามประเทศนี้ ข้ามแม่น้ำโพมาถึงเมืองแปบ เป็นเมืองร้าง อยู่คนละฟากฝั่งกับเมืองกำแพงเพชร

 

                ด้วยบุญญานุภาพของพระองค์ เป็นมหัศจรรย์ บันดาลให้ร้อนถึงสมเด็จอมรินทราธิราช นิมิตพระกายเป็นดาบส เสด็จลงมาประดิษฐานอยู่ตรงหน้าช้างพระที่นั่ง แล้วตรัสบอกว่าให้ตั้งพระนครในที่นี้เป็นที่ชัยมงคลพ้นภัยปัจจามิตร แล้วก็อันตรธานหายไปเฉพาะพระเนตร

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(1)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์