ตำนานพระเจ้าอู่ทอง
ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(4)
เมื่อพระโอรส
ได้ทรงทราบข่าวการที่ต้องถูกเนรเทศเช่นนี้ก็ไม่แปลกใจนัก เจ้าชายจึงว่า
พวกขุนนางพิจารณาว่าพระองค์ประพฤติตนเลวมากถึงกับจะประหารชีวิตเรา
หรือพระบิดาเช่นนี้ การที่พระบิดาตัดสินแล้วว่า พระองค์ควรจะไปเสียให้พ้น
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วพระองค์ก็จะยอมรับพระราชโองการทุกประการ
พระเจ้าแผ่นดินได้พระราชทานเรือสำเภาหลายลำ พร้อมทั้งเสบียงอาหารมากมาย เช่น ข้าว
อาวุธยุทธภัณฑ์ และสิ่งของทุกสิ่งที่จำเป็นต่อการเดินทางไกล
พร้อมทั้งยังพระราชทานไพร่พลให้อีก 200,000 คน และสิ่งของมีค่าต่าง ๆ
ดังนั้นเจ้าอู่
พระโอรสจึงออกเดินทางจากเมืองจีน พร้อมด้วยทรัพย์สมบัติดังกล่าว
พระโอรสนี้ทรงตั้งพระทัยที่จะไปตั้งถิ่นฐานตามความประสงค์ของพระผู้เป็นเจ้า
และตามกระแสลมที่จะพัดพาขบวนเรือไปยังแห่งใด
พระเชษฐานั้นได้ติดตามพระอนุชาไปในเรือสำเภาด้วยเนื่องจากพระองค์ทรงรักเจ้าอู่
พระอนุชาองค์นี้มาก
กองเรือของเจ้าอู่
นั้นได้มาถึงปัตตานีโดยบังเอิญ
พระองค์จึงพร้อมด้วยข้าราชบริพารได้พากันขึ้นบกแต่เมื่อพระองค์ทรงพบว่า
เมืองปัตตานีนั้นเป็นเมืองที่มีประชาชนอยู่กันหนาแน่น
และพระองค์ไม่ต้องการที่จะตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ปัตตานีอีก
จึงเสด็จลงเรือนำไพร่พลเดินเลียบมาตามชายฝั่งเข้าไปในแผ่นดิน จนถึงอุลุปัตตานี (OULOU
VANPTANIJ)
บริเวณตอนเหนือของเมืองปัตตานี) พระองค์ได้สร้างเมืองลังกาสุกะ (LANGH
SCCA)
ขึ้นที่บริเวณนั้น หลังจากที่พระองค์ได้สร้างอาณาจักรลังกาสุกะมั่นคง เป็นปึกแผ่น
ประกอบกับประชาชน ทหาร ได้มีกำหมายและระเบียบปกครองเรียบร้อยดีแล้ว
พระองค์จึงเสด็จกลับเข้าไปในแผ่นดินต่อจนถึงบริเวณที่เรียกว่า ลีคร (LIJGOOR
LIGOR)
นครศรีธรรมราช) เนื่องจากบริเวณนั้นเป็นป่ารกร้าง
พระองค์จึงทรงฉวยโอกาสร้างเมืองขึ้นที่นั้น เรียกว่า เมืองลีคร
พระองค์ได้ปกครองเมืองลีคร และจัดการบ้านเมืองจนมีทุกสิ่งทุกอย่างแล้ว
พระองค์ก็เสด็จต่อไปจนถึงกุย (CUIJ)
แม้ว่าพระองค์ จะพบว่าบริเวณนั้นเป็นเพียงป่าก็ตาม พระองค์ก็ยังทรงสร้างเมืองใหม่
ขึ้นอกแห่งหนึ่งและประทับอยู่ที่เมืองนี้ตลอดมา
ในเวลานั้น
ได้มีเรือสำเภาจากพระเจ้าแผ่นดินจีนสองลำมาปรากฏที่เมืองกุย
และมีข่าวลือไปถึงเจ้าอู่ว่านายเรือ
ANNACHOAS
และพ่อค้าจีนนั้นยินดีที่จะรับไม้ฝาง
พระองค์จึงมีไมตรีให้ไม้ฝางแก่บุคคลดังกล่าวเป็นจำนวนมากเท่าที่เรือสำเภาจะบรรทุกไปได้
ทำให้พ่อค้าจีนกลัยไปเมืองจีนด้วยความยินดีปรีดานั้น
เมื่อถึงเมืองจีนแล้วพ่อค้าได้รายงานต่อพระจักรพรรดิได้ทราบถึงเรื่องราวที่ได้รับไม้ฝางมาเป็นของกำนัล
ทำให้พระจักรพรรดิมีความยินดีเป็นอย่างมากจึงยากพระธิดาพระนามว่า นางประคำทอง
NANMGH PACKAM
TONGH
ให้มาอภิเษกกับเจ้าอู่ โดยพระจักพรรดินั้นได้จัดพิธีส่งพระธิดาอย่างมโหฬาร
และพระราชทานนามเจ้าอู่ว่า ท้าวอู่ทอง เป็นรางวัลอีกด้วย
หลังจากที่เจ้าอู่นั้น
มีพระนามว่า ท้าวอู่ทองแล้ว ได้ครองเมืองกุยอยู่กับพระมเหสี
ซึ่งเป็นพระธิดาจักรพรรดิจีนชั่วระยะเวลาสั้น
ด้วยพระองค์นั้นได้ตัดสินพระทัยที่จะตั้งบ้านเมือในสยามประเทศให้ดีกว่านี้
ครั้นเมื่อทราบข่าวว่ามีโอกาสที่จะทำได้แล้ว พระองค์จึงออกเดินทางจากเมืองกุย
และสร้างเมืองต่าง ๆ ขึ้น เมืองแรก ได้แก่ เมืองพริบพรี (PLJPRIJ)
ขณะที่กำลังขุดดิน
(สร้างเมือง) อยู่นั้น คนงานได้ขุดพบรูปปั้นทองแดง 60 ฟุต นอนวางอยู่ใต้พื้นดิน
จึงสร้างความประหลาดใจให้แก่พระเจ้าอู่ทอง เป็นอย่างมาก
หลังจากที่พระองค์ได้สดับฟังคำอธิบายเกี่ยวกับรูปปั้นและความเชื่อจากรากฐานของศาสนาของชาวสยามแล้ว
พระองค์จึงเปลี่ยนใจจากการนับถือศาสนาของจีน มานับถือศาสนาของชาวสยามแทน
หลังจากนั้น
พระเจ้าอู่ทอง ได้สร้างเมืองคองขุดเทียม (CHONGH
COUT THIAM
และบางกอก (BANCKOCQ)ขณะนั้นพระองค์ได้ทรงทราบข่าวคราวเกี่ยวกับเกาะ
ซึ่ง (ต่อไป) จะเป็นที่ตั้งเมืองอยุธยา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากด้วย
เป็นทำเลภูมิสงเมืองอยุธยา พระองค์ทรงสนพระทัยเป็นอย่างมากด้วย
เป็นทำเลภูมิสถานที่สวยงามซึ่งไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หรือยังไม่มีใครไปสร้างเมืองขึ้น
ครั้งนั้น
พระองค์ได้พบพระฤาษีตนหนึ่ง ได้เข้ามาทูลของพระองค์ว่า
เมื่อก่อนนี้มีเมืองเมืองหนึ่งตั้งอยู่ชื่อว่าอยุธยา
แต่พระฤาษ๊นั้นไม่สามารถจะทูลให้ทราบว่า เมืองได้เสื่อมโทรมไปอย่างไร
ได้แต่เสริมว่า ยังไม่มีใครสร้างเมืองบนเกาะแห่งนั้นได้อีก
ด้วยเหตุที่มีสถานที่ชื่อว่า วัดตะแลงแกง (WHOO
TALENKENGH)
ซึ่งปัจจุบันนั้นอยู่ตรงใจกลางเมือง ซึ่งมีบ่อน้ำเป็นที่อาศัยของพญานาค (มังกร)
ดุร้ายตัวหนึ่ง ที่ชาวสยามเรียกว่า นาคราช (NACK
RHAIJ)
เมื่อใดก็ตามที่พญานาคนี้ถูกรบกวนก็จะพ่นน้ำลายพิษเหม็น ท้าวอู่ทอง
จึงตรัสถามพระฤาษีว่าจะฆ่าพญานาคนั้นแล้วถมสระเสียจะได้หรือไม่ พระฤาษีได้แจ้งว่า
ไม่มีวิธีที่จะแก้ไขได้ นอกจากต้องไปหาพระฤาษีที่เหมือนตนโยนไปให้พญานาค
ดังนั้น
ท้าวอู่ทองจึงมีพระราชโองการให้สืบหาพระฤาษีที่มีลักษณะเหมือนพระฤาษีตนนี้ทั่วประเทศ
พระฤาษีได้กล่าวต่อไปว่า เมื่อพระองค์ฆ่าพญานาคและถมสระแล้ว
หากท้าวอู่ทองต้องการที่จะตั้งบ้านเมืองอยู่ในบริเวณนั้นให้มีสุขภาพพลานามัยสมบูรณ์แล้ว
จะต้องปฏิบัติตามนี้ 3 ประการ
กล่าวคือให้พระองค์ยิงลูกธนูออกไปและต้องให้กลับมาเข้ากระบอกธนู ให้ชโลมร่างกาย
ทุกวันด้วยมูลโค
และเป่าเขาสัตว์ทุกวันเฉกเช่นพราหมณ์ปฏิบัติในเวลาลงโบสถ์หรือไปยังสถานที่สักการะ
ท้าวอู่ทอง ตรัสว่า
พระองค์นั้นสามารถปฏิบัติตามข้อดังกล่าวได้ พระองค์จึงได้เสด็จลงเรือเล็ก (เปราหุ)
มุ่งสู่ไปยังกึ่งกลางแม่น้ำ แล้วยิงธนูไปยังต้นน้ำและในขณะที่ลูกธนูไหลตามน้ำมานั้น
พระองค์ได้ใช้กระบอกใส่ลูกธนูนั้นดักลูกธนูไว้ได้
แทนที่พระองค์จะใช้มูลโคมาชโลมพระวรกาย พระองค์กลับใช้ข้าวผสมกับน้ำมันผง
(ซีเรียม)เล็กน้อย แล้วตรัสว่า ข้าวขึ้นไม่ได้ ถ้าไม่ใส่ปุ๋ยมูลโค
ทั้งนี้พระองค์ทรงหมายความว่า มูลโคนั้นเป็นส่วนหนึ่งของข้าว
ส่วนการเป่าเขาสัตว์นั้นพระองค์ได้มีพระราชโองการให้มวนพลู (SIRIJ
พระศรี)
และเสวยเป็นหมากพูล (PIJNANGH)เพื่อให้มีลักษณะเหมือนการเป่าเขาสัตว์
จากนั้น
พระฤาษีได้ทูลทำนายว่า
พระองค์นั้นทรงสามารถทำลูกธนูให้หวนกลับมาหาพระองค์ได้หมายความว่า
ประชาชนของพระองค์นั้นจะมีความสามัคคี ซึ่งกันและกัน สงครามภายในอาณาจักรจะไม่ปรากฏ
ประการที่สองนั้น
เนื่องจากพระองค์นั้นได้ใช้วิเทโสบายในการใช้มูลโค ดังนั้น
พระองค์และประชาชนของพระองค์จะได้รับความเดือดร้อน
เนื่องจากเกิดใช้ทรพิษบ้างเล็กน้อย
ประการที่สาม
ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายนั้น เนื่องจากพระองค์ใช้ใบพลูมวนให้เหมือนเขาสัตว์ เทพยดา
จะรักพระองค์มากมาย และจะนำโชคชัยมาสู่พระองค์ด้วย
ในระหว่างนั้นผู้ส่งข่าวที่ส่งออกไปสืบหาพระฤาษีนั้น
ได้กลับมาทูลว่าไม่สามารถที่จะหาพระฤาษีที่มีลักษณะเช่นเดียวกันนี้ได้
ท้าวอู่ทองจึงเก็บความไว้เป็นความลับ และได้เสด็จพร้อมกับพระฤาษีออกไปที่ปากสระ
ซึ่งเป็นที่อยู่ของพญานาคนั้น โดยที่ไม่ตรัสอะไรให้พระฤาษีรู้ตัว
พระองค์ทรงจับพระฤาษีเหวี่ยงลงไปในสระและถมสระนั้นเสีย
ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมาพญานาคก็ไม่ปรากฏตัวขึ้นมาอีก
และแผ่นดินก็หลุดพ้นจากโรคระบาด
|