ตำนานพระเจ้าอู่ทอง
ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(7)
ครั้นรู้ตระหนักแล้วเจ้าก็ลาเพศออกจากสามเณร แล้วซ่อนกำบังกายเข้าไปในพระราชวัง
เข้ามิได้ เห็นต้นพิกุลต้นหนึ่งอยู่ใกล้กำแพงวัง เจ้าจึงเข้าไปได้
จึงให้นิทราไว้มิให้ผู้ใดรู้และเจ้าจึงเข้าไปหานางได้แล้ว
นางถามว่าท่านนี้เป็นบุตรผู้ใด จึงบอกว่าเรานี้เป็นบุตรของเจ้าเชียงใหม่
พี่หาภรรยาที่ชอบใจมิได้พี่จึงมาหาเจ้า จะใคร่ได้เจ้าไปเป็นนางอัครมเหสี
แต่เที่ยวไปหานางทุกวัน จนนางทรงครรภ์แก่แล้ว
สมเด็จพระเจ้าอู่ทองเห็นลูกดูหลากตา แต่มิออกปากกลัวลูกจะน้อยใจ
แล้วคิดว่าพระทวารบานประตูได้ร้อยชั้นยังเข้ามาได้ จะมาในที่ได้
ถ้าเว้นไว้แต่ท่อน้ำ ครั้นพระองค์เจ้า รำพึงแล้ว
จึงตรัสสั่งคนทั้งหลายให้ทำเป็นลอบเหล็กดักไว้ที่ท่อน้ำนั้น
ฝ่ายเจ้าไชยทัต
เคยประดาน้ำเข้าไปทุก ๆ วันนั้น ก็เข้าลอบเหล็กติดอยู่ช้านาน ก็ตายในที่นั้น
ต้องคำโบราณว่าทำมิชอบเข้าลอบตายเอง
พระเจ้าอู่ทอง
จึงให้คนไปดูก็เห็นคนตายอยู่ จึงเอารูปนั้นมาดูเห็นหลาก เป็นบัณฑิตรูปงาม
และพระองค์จึงเสียดาย พระองค์คิดว่าจะมาแต่ผู้เดียวหรือ ๆ ว่ามีเพื่อน
พระองค์จึงให้คนค้นหา จึงได้พบน้องชายอยู่อาราม ก็ให้คุมเอาตัวมาในพระราชวัง
จึงให้ถามดูรู้ว่าบุตรพระเจ้าเชียงใหม่
และราชเทวีอันทรงครรภ์แก่ก็ทรงพระกันแสงให้รักสามีว่ากูจะเป็นม่าย
และลูกจะหาพ่อมิได้ จะอายแก่ไพร่พลทั้งหลาย เขาจะทายประมาณครรภ์
เห็นหน้าพระเจ้าอาดุจดังเห็นหน้าผัวอันตาย พระเจ้าอู่ทอง
จึงให้เจ้าไชยเสนอันเป็นภิกษุนั้นลาพระผนวชแล้วจึงราชาภิเษกให้เป็นพระยาและสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง
ตรัสใช้คนทั้งหลาย
ให้ไปเอาคนปล้ำพนันเมืองทั้งคู่และรูปพระยาแกรกนั้นมาแต่เมืองอินปัตนครมาไว้ในเมืองศรีอยุธยา
พระเจ้าอู่ทองมีพระชนมายุได้ 100 ปีเศษ ก็ทิวงคน ณ วันศุกร์ เดือน 8 ขึ้นหกค่ำ
ปีฉลู ฉศก พุทธศักราช ได้ 1600 ปี
เจ้าไชยเสนได้เป็นพระยาในเมืองศรีอยุธยาราชธานี ทำบุญให้ทานรักษาศีลเมตตาภาวนา
ช้านานได้ 27 ปีพระราชกุมารจึงมีวัยอันเจริญใหญ่ และพระเจ้าไชยเสนผู้เป็นอา
จึงราชาภิเษกเจ้าสุวรรณกุมารเป็นพระยาแทนพระองค์แล้ว พระองค์เสด็จไปด้วยราชเทวี
และฝูงนางเป็นบริวาร ช้างม้าเป็นอันมาก ถึงเมืองพิชัย เชียงใหม่
และพระยาญาติก็ชื่นชมนักหนา และพระเจ้าสุคนธคีรี
จึงราชภิเษกเจ้าไชยเสนให้เป็นพระยาแทนพระองค์เจ้า
สมเด็จพระสุวรรณราชา
คิดถึงคุณพระบิดาอันมาแต่ไกล และเกิดพระองค์ ๆ
จึงให้ช่างทั้งหลายหล่อพระรูปสัมฤทธิ์รูปหนึ่งหน้าตัก 4 วา
แล้วพระองค์ทำบุญให้ทานแก่เจ้ากูโยควาจร ฉลองพระพุทธรูปอุทิศไปแก่พระบิดาแล้ว
พระองค์มีพระราชธิดาสองพระองค์ องค์หนึ่งชื่อเจ้ากัลยาเทวี
องค์หนึ่งชื่อเจ้าสุนันทาเทวี มีรูปอันงามดุจดังนาทเทพธิดา อันมีในสวรรค์นั้นแล
ในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ได้เล่าเรื่อง อู่ทอง ไว้เป็นตำนานของดินแดนตอนใต้ว่า
เมื่อศักราช 1196 ขวบนั้น ยังมีพญาองค์หนึ่งชื่อ พญาศรีไสยณรงค์
แต่ตะวันตกมาเสวยเมืองนครศรีธรรมราช ผู้เป็นอัครมเหสีชื่อ (ต้นฉบับชำรุด)
สำเร็จแล้ว
ท้าวอู่ทองยกพระหัตถ์เบื้องขวาขึ้นชี้ว่า แต่เทียมแท่นศิลาไป ฝ่ายทักษิณ
เป็นแดนพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชแต่เทียมแท่นศิลาไปฝ่ายอุดร เป็นแดนท้าวอู่ทอง
แลเดชโพธิสมภารของท้าวอู่ทองพญาศรีธรรมโศกราชไม้ทั้งปวงก็แหวกออกครานั้นแล
ท้าวอู่ทองพญาศรีธรรมโศกราชหลั่งน้ำทักษิโณทก อธิษฐานเป็นพระญาติพระวงศกันสืบไป
ถ้าสิ้นบุญพญาศรีธรรมโศกราชแล้ว เธอฝากพระนางพญาศรีธรรมโศกราช
แลทั้งพญาจันทรภาณุพญาพงศ์สุราหะผู้น้องทั้ง 2 ด้วย
แลพญาศรีธรรมโศกราชว่าขัดแต่เกลืออาณาประชาราษฎร์ไม่รู้ทำกิน
แลท้าวอู่ทองว่าจงให้สำเภาเข้ามาจะจัดให้ออกไป จะได้ทำบุญให้ทาน
แล้วพญาศรีธรรมโศกราช ท้าวอู่ทองปราไสกันแล้วก็เสด็จกลับมายังเมืองทั้ง 2 ฝ่าย
และครั้นมาถึงเมืองนครศรีธรรมราช พญาศรีธรรมโศกราชให้เร่งคนทั้งหลายให้ทำพระมหาธาตุ
ลงรักปิดทองสำเร็จแล้ว กะเกณฑ์ให้หัวเมือง 13 นักษัตรทำพระห้อง
แล้วพญาศรีธรรมโศกราชก็ให้ทำพระไพหารใหญ่ชื่อไพหารหลวง
แล้วส่งเครื่องบรรณาการมีพระราชสารบอกถวาย ให้ส่วนไปถึงท้าวอู่ทอง ๆ
ก็ให้ทองมาปิดพระมหาธาตุแลเกลือมาด้วย
อยู่มานานพญาศรีธรรมโศกราชก็ถึงแก่กรรม พระยาจันทรภาณุผู้น้องเป็นพญาแทน
แลบอกข่าวไปถึงท้าวอู่ทอง ๆ ก็ให้เครื่องไทยทานมาช่วยส่งการพระศพพญาศรีธรรมโศกราช
แลพญาจันทรภาณุเป็นพญาอยู่ได้ประมาณ 7 ขวบ เกิดไข้ยมบนลงทั้งเมืองคนตายวินาศประไลย
แลพญาจันทรภาณุ พญาพงศสุราหะตริกันด้วยมหาเถรสัจจานุเทพแล้ว
พาครอบครัวลงเรือหนีไข้ยมบน ไข้ก็ตามลงเรือพญา ๆ ลูกเมียก็ตายสิ้น
พรมหาเถรสัจจานุเทพก็ตาย เมืองนครก็ล้างเทอยู่เป็นป่ารังโรมอยู่หึงนาน
นอกจากนี้ยังมีเรื่อง
อู่ทอง เล่าอยู่ในตำนานพระธาตุเมืองศรีธรรมราชอีกว่า
ครั้งนั้น
ยังมีสำเภาลำหนึ่งชัดขึ้นปากน้ำพระญาน้อย ในสำเภานั้นมีแต่ศรีผึ้งกับกะแซง
เต็มลำสำเภาแต่คนไม่มี พระยาก็ให้เอากะแซงมามุงรอบพระมหาธาตุ
ศรีผึ้งนั้นก็ให้ฟั่นเทียนสิ้นแล้วมีตราไปถึงเมืองขึ้นทั้ง 12
นักษัตรมาทำบุญฉลองพระธาตุ จึงปรากฏไปถึงท้าวพิไชย เทพเชียงภวา ผู้เป็นบิดา
ท้าวอู่ทอง เจ้ากรุงศรีอยุธยาท้าวอู่ทองยกไพร่พลยี่สิบแสนเจ็ดพันสามร้อย
มาตั้งอยู่แม่น้ำแห่งหนึ่ง มีพระราชสารมาถึงพระญาศรีธรรมาโศกราช ๆ
ก็จัดเอาพลเมืองได้ยี่สิบแสนเจ็ดพันสามร้อยเท่ากับพลท้าวอยู่ทองยกไปตั้งทำกำไร
ท้าวอู่ทองยกไปตั้งบางตะภารทำเพหารอารามไปทุกแห่ง จนถึงบางตะภาร
แลทหารทัพหน้าทั้งสองฝ่ายรบกันไพร่พล ทั้งสองฝ่ายล้มตายเป็นอันมาก
พระญาศรีธรรมโศกราชดำริห์ในพระทัยว่า
ตัวเรานี้ได้สร้างพระเจดีย์วิหารแลก่อพระพุทธรุปปลูกไม้พระศรีมหาโพธิ
และได้ยกพระมาสิกะเจดีย์ที่เมืองอินทปัดแลทำประตู 2 ประตู จ้างคนทำวันพันตำลึงทอง
และพระบรรธมองค์หนึ่ง ทำด้วยสำมฤฐยาว 4 เส้น พระเจดีย์สูงสุดหมอก อิฐยาว 5 วา หนา 1
พระระเบียงสูง 15 วา ระเบียบสูงเส้นหนึ่ง หนาเสา 9 ศอก แปย่อมหิน
พระที่นั่งย่อมสำมฤฐ สูงละองค์ 15 วา ตะกั่วดาดท้องพระระเบียงหนา 6 นิ้ว
บนปรางกว้าง 2 เส้น เหลี่ยมเสาพระเจดีย์กว้างเหลี่ยมละ 2 เส้น กะไดฉัตรหิน 9 วา
แม่กระไดเหล็กใหญ่ กำ ลูก 3 กำ ขึ้นถึงปรางน หงส์ทอง 4 ตัว ย่อม ทองเนื้อแล้ว ๆ
มาทำพระมาลิกะเจดีย์ ปลูกพระศรีมหาโพธิ์และจำเริญ พระมหาธาตุ เมืองนครศรีธรรมราช
แล้วได้ไปนิมนต์พระเมืองลังกา เมืองหงษา
มาทำบุญฉลองพระธาตุได้จำแนกแจกทานเป็นอันมาก
แลทำศึกกันรี้พลล้มตายก็จะเป็นนาระเวรไปเป็นอันมาก
จะขอเป็นไมตรีนั่งอาสน์เดียวกันกับท้าวอู่ทอง
|