ตำนานพระเจ้าอู่ทอง
ตำนานพระเจ้าอู่ทอง(8)
เมื่อท้าวอู่ทองกับท้าวศรีธรรมาโศกราชจะเป็นไมตรีกันนั้น ท้าวอู่ทองขึ้นบนแท่นแล้ว
พระญาศรีธรรมาโศกราชจะขึ้นไปมิได้ ท้าวอู่ทองก็จูงพระกรขึ้น
มงกุฎของพระเจ้าศรีธรรมาโศกตกจากพระเศียร แล้วท้าวศรีธรรมาโศกราชสัญญาว่า
เมื่อตัวพระองค์กับอนุชาของพระองค์ยังอยู่ ให้เป็นทองแผ่นเดียวกัน
ถ้าท้าวอู่ทองต้องประสงค์สิ่งใดจะจัดแจงให้ นานไปเบื้องหน้าให้มาขึ้นกรุงศรีอยุธยา
ฝ่ายท้าวอู่ทอง
ก็รับเป็นไมตรีแก่กัน
แลท้าวอู่ทองว่าถ้าท้าวศรีธรรมาโศกราชต้องการสิ่งใดท้าวอู่ทองจะจัดให้มา
เจรจาความกันแล้ว ต่างองค์ต่างยกไพร่พลคืนเมือง
เรื่องของพระเจ้าอู่ทองหรือท้าวอู่ทองนั้น เมื่อมีตำนานเล่ากันมากมายเช่นนี้
จึงทำให้เหมือนว่าเป็นนิทานพื้นบ้านทั่วไป แต่ความนัยหมายบอกนั้นพอจับทางได้ 2
นัยว่า เป็นพระเจ้าอู่ทองมาจากทางเหนือโดยทางบก
และท้าวอู่ทองที่มาจากเมืองจีนทางทะเล
และเป็นพระเจ้าอู่ทองคนเดียวที่เมืองหลายเมือง โดยเฉพาะกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสอบกับศักราชว่า
สมเด็จพระรามาธิบดี พระองค์ผู้สร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ.1893- 4
ท้าวอู่ทองที่เมืองนครศรีธรรมราช นั้นครองราชย์ประมาณ พ.ศ.1820 แล้ว
เชื่อว่าเป็นท้าวอู่ทองคนละองค์
ในศิลาจารึกหลักที่ 24
มีความปรากฏว่า พระรามาธิบดี (ท้าวอู่ทอง) ผู้เป็นใหญ่ แห่งตามพรลิงค์
(เมืองนครศรีธรรมราช) นั้นทรงพระนามว่า จันทรภาณุ ทรงเป็นกษัตริย์แห่งปัทมวงศ์
และในจารึกหลักที่ 35 ได้กล่าวถึง พระเจ้ากรุงศรีธรรมาโศกโปรดให้เสนาบดี
ถือรับสั่งไปยังพระเจ้าสุนัต ผู้ครองเมืองธานยปุระ
ให้สร้างพระสถูปบรรจุพระอิฐิของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชองค์ที่สวรรคตไปแล้ว กล่าวคือ
พระเจ้าศรีธรรมาโศกนั้นเป็นกษัตริย์
ครองเมืองนครศรีธรรมราบก่อนมีการสร้างกรุงศรีอยุธยา ในพุทธศตวรรษที่ 18
และภายหลังนั้นได้ปรากฏเรื่องราวของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
ที่ทรงฝากฝังพระมเหสีและพระญาติไว้กับพระเจ้าอู่ทองนั้น
จึงพอจับเค้าข้อมูลที่แสดงให้เห็นว่า
เมืองนครศรีธรรมราชนั้นน่าจะอยู่ในฐานะเป็นเมืองประเทศราชหรือเมืองที่ขึ้นต่ออำนาจของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 (พระเจ้าอู่ทอง) แล้ว
ความเรื่องพระเจ้าอู่ทองในพงศาวดารโยกนั้น พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค)
น่าจะได้นำความจากจดหมายเหตุของบาทหลวงตาชาต มาเรียบเรียง ดังนี้
พระปฐมสุริยเทพ
หรือไทยบรมบพิตร์ เสวยราชสมบัติ ณ ไชยบุรีมหานคร (ไชยบุรีนี้เป็นนามเมืองเชียงแสน)
เมื่อพระพุทธศาสนากาลล่างแล้ว 1300 พรรษา จุลศักราชได้ 118 ปี
(ศักราชนี้ใกล้เคียงกับศักราชในตำนานไทยใหญ่ และพงศาวดารจีน
ว่าด้วยตั้งแว่นแคว้นยวนชาน) สืบพระวงศ์มาได้ 10 ชั่วกษัตริย์พระองค์ที่ 10
ทรงพระนามอิโปยาหรือทิพย์สุนทรเทพมหาเทวราช ย้ายพระนครตั้งใหม่ที่ใกล้ธาตุหลวง
(ในข้อนี้เกือบจะตรงกับเรื่องพระยาลาวเคียง กษัตริย์ที่ 9 แห่งวงศ์ลาวจักราช
ย้ายจาไชยบุรีเชียงราว มาตั้งเมืองหิรัญนครเงินยาง ณ ที่ใกล้พระธาตุดอยตุง เรียกว่า
โยนกนครหลวง เพราะคำว่า นครหลวงมีทั้งลาวและเขมร
แต่นครหลวงเขมรนั้นเป็นคำไทยแปลมาจากคำเขมรว่า แองเกอทม กำแพงทม) สืบพระวงศ์ต่อ ๆ
มาอีก 12 ราชวงศ์ จนถึง พระนมศิริไชย ยกลงมาตั้งเมืองนครไทย
เมื่อพระพุทธศาสนากาลล่วงได้ 1730 พรรษา จุลศักราช ได้ 559
(นครไทยหรือนครชุมเป็นนามเมืองกำแพงเพชร และสุโขทัยหรือแว่นแคว้นเฉลียง
น่าจะตรงกับพระเจ้าไชยศิริลงมาตั้ง ณ เมืองกำแพงเพชร) สืบพระวงศ์มาได้อีก 4
ชั่วกษัตริย์ ตรงกันกับความในต้นพระราชพงศาวดาร จึงถึงพระเจ้ารามาธิบดีอู่ทอง
ได้ลงไปครองเมืองพริบพรีก่อน แล้วจึงมาสร้างกรุงเทพมหานครบวร
ทวาราวดีศรีอยุธยาที่ตำบลหนองโสน เมื่อพุทธศาสนากาลล่วงแล้วได้ 1893 จุลศักราช 721
สืบกษัตริย์ขัตติยวงศ์ต่อ มาถึงสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้าเป็นลำดับที่ 25
นับแต่พระเจ้ารามาธิบดีอู่ทองมา และเป็นลำดับที่ 52
นับแต่ปฐมสุริยเทพหรือไทยสุวรรณบพิตร เป็นต้นมา
เช่นเดียวกับในจดหมายเหตุของลาลูแบร์ นั้น มีความเล่าทำนองเดียวกันว่า
|