อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(1)
บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ ตอนกลางนั้น
มีแม่น้ำเจ้าพระเยาเป็นแม่น้ำสายหลัก ประกอบด้วยแม่น้ำป่าสักแม่น้ำลพบุรี
และลำคลองหลายสายไหลมารวมกันในยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้น
มนุษย์ได้จับกลุ่มตั้งชุมชนของตนอยู่ตามริมแม่น้ำ หรือเชิงเขาใกล้แม่น้ำ
และมีการพัฒนาวิถีชีวิตและพื้นที่อย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 เช่น
เชิงเขาคริมแควตากแดด ริมบึงทับแต้ บ้านหลุมข้าว (อุทัยธานี) เป็นต้น
จนในสมัยทวาราวดี
ได้มีการตั้งชุมชนเมืองขึ้นหลายแห่งตามพื้นที่ภาคกลางของชุมชนแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น
ชุมชนเมืองอู่ตะเภา ชุมชนเมืองบน ชุมชนเมืองบึงดอกช้าง ชุมชนเมืองจันเสน
ชุมชนเมืองแม่นางเมือง เป็นต้น
ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 18 นั้น
พื้นที่ตรงบริเวณที่แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำลพบุรี ไหลลงมาพบกันนั้น
ได้กลายเป็นทำเลที่เหมาะสมต่อการใช้เป็นเส้นทางน้ำไปมาติดต่อได้สะดวก
ทำให้บริเวณที่ราบของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างถูกปรับสภาพให้เป็นชุมชนขนาดใหญ่
และมีการสร้างชุมชนเมืองขึ้น คือตั้งแคว้นสุพรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) เป็นศูนย์
กลางของดินแดนด้านตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีแม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี
เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายกับตอนเหนือและภาคอีสาน
การสร้างกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาพุทธศตวรรษที่ 19 พระเจ้าอู่ทอง
ผู้สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ไชยปราการ เชียงแสน
ซึ่งอภิเษกกับพระธิดาของกษัตริย์แคว้นสุพรรณภูมินั้น ได้อพยพสร้างกรุงศรีอยุธยา ณ
บริเวณเสาสนคร ใกล้เมืองอโยธยาเดิมของแคว้นละโว้ ซึ่งตั้งอยู่ที่ ปละท่าคูจาม
(ประทาคูจาม)
ศุภมัสดุ พุทธศักราช 1893 (ศักราช 712) ปีขาล โทศก ขึ้น 6 ค่ำ
เดือน 5 เพลา 1 นาฬิกา 9 บาท วันศุกร์นั้น พระเจ้าอู่ทอง จึงให้สมณชี พราหมณ์ฤาษี
ได้ทำพิธีสถาปนาพระนครขึ้นตามฤกษ์ เหล่าสมณชีพราหมณ์ฤาษี
ได้ร่วมกันตั้งพิธีกลบบาท และเมื่อขุดดินที่ใต้ต้นหมันก็พบสังข์ ทักษิณาวรรต
เป็นนิมิตมงคล
ดังนั้น การสร้างเมืองนี้ จึงสร้างตามลักษณะของสังข์
โดยให้ส่วนยอดสังข์เป็นตำแหน่ง ที่ตั้งของพระนคร
ปลายสังข์เป็นทางน้ำที่รินออกจากสังข์ทักษิณาวรรตเป็นมงคล ภูมิประเทศนั้น
ได้กำหนดให้มีเส้นทางน้ำไหลออกจากเมืองสู่แม่น้ำใหญ่
และให้สร้างพระตำหนักขึ้นทางตัวสังข์ ซึ่งอยู่ด้านตะวันตก
เหล่ามหาอำมาตย์ มูลนายและไพร่พลเห็นประจักษ์เช่นนั้น
จึงทำการสร้างพระนครขึ้น ในบริเวณด้านตะวันตกของบึงหนองโสน ใช้ลำแม่น้ำที่ไหลผ่าน
นั้นเป็นเส้นทางติดต่อขึ้นไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำลพบุรี พระนครแห่งนี้
มีชื่อว่า
กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา
มหาดิลกภพนพรัตน์ ราชธานีบุรีรมย์
ภายในตัวพระนครนั้นได้สร้างพระตำหนักขนาดใหญ่ ให้มีรูปแบบยอดปราสาท
เป็นพระที่นั่งไพฑูรย์ มหาปราสาท พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาท
และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท
เมื่อสร้างพระที่นั่งสามองค์เสร็จแล้ว บรรดาสมณชีพราหมณ์
มหาอำมาตย์ ราชมนตรี และไพร่พล จึงพร้อมกับอัญเชิญให้พระเจ้าอู่ทอง พระชนมายุ 36
พรรษา ขึ้นครองเมืองเป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระรามาธิบดี
ศรีสุนทราบรมบพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา
มหาดิลกภพนพรัตนราชานีบุรีรมย์
ดำรงอิสริยศักดิ์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาแห่งนี้
ในภาพเขียนกรุงศรีอยุธยา หรือ
AYODIA เมืองราชธานีแห่งอาณาจักรสยาม
ที่ชาวต่างชาติเขียนไว้นั้นได้แสดงให้เห็นภูมิสถานอันเป็นที่ตั้งของพระราชวังหลวง
วัดและถนนหนทาง คูคลองในเมืองตลอดจนชุมชนใหญ่
อยู่ภายใต้กำแพงเมืองที่สร้างล้อมรอบตัวเกาะใหญ่
พระราชวังของกรุงศรีอยุธยานั้น มีแนวกำแพงพระราชฐานสูง 10
ศอกทอดยาวไปข้างหน้า แล้วหักมุมเป็นสี่เหลี่ยมขนาดใหญ่ วัดได้ยาวถึง 95 เส้น
ภายในกำแพงสี่เหลี่ยม
มีพระมหาปราสาทราชมณเฑียรตั้งอยู่ภายใต้เห็นยอดแหลมเสียฟ้าเหลืองอร่าม
บนกำแพงนั้นหนาถึง 4 ศอก
ใช้เป็นชานให้ทหารรักษาวังยืนดูแลความสงบภายในเขตพระราชฐานทั้งหมด
ด้านตะวันตกนั้นเป็นอาณาเขตของวังหน้าที่อยู่ติดกับเขตพระราชวังหลวง
ประตูพระราชวังทั้ง 16 แห่ง มีทหารเฝ้าดูแลเป็นอย่างดี
เช่นเดียวกับป้อมสำคัญรอบเขตพระราชวังที่มีป้อมท้ายสนม ป้อมท่าคั่น อยู่ด้านเหนือ
ป้อมศาลาสารบาญชี ป้อมศาลาพระวิหารบพิตร ป้อมมุมวัดพระศรีสรรเพชญ์ และป้อมสวนองุ่น
อยู่ด้านใต้
ป้อมท่าคั่นอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
ใกล้วัดธรรมิกราชแนวกำแพงพระนครด้านนี้มีประตูใหญ่ 3 แห่ง คือ ประตูเสาธงไชย
ประตูท่าปราบ ประตูช้างเผือก สำหรับใช้เข้าออกระหว่างกำแพง
พระนครกับพระราชวังที่มีท้องสนามหลวงอยู่ด้านตะวันออกศาลลูกขุน
ตั้งอยู่ตรงมุมป้อมท่าคั่น สุดท้ายสนามหลวงมีหอแปลพระราชสาสน์ตั้งอยู่ตรงกลาง
แนวกำแพงพระราชวังด้านตะวันออกมีประตูจักรมหิมา ประตูศรีไชยศักดิ์
ประตูสวรรค์พิจิตร ประตูสมณพิศาล ประตูศิลาภิรมย์ ประตูอาคเนย์ และป้อมศาลาสารบาญชี
อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ แต่ประตูที่นำเข้าไปสู่พระที่นั่งนั้นเป็นประตูฉนวนชื่อ
ประตูมหาไตรภพรสทวารอุทก (ประตูมหาไชยพยนต์ทวารอุทก)
ป้อมท้ายสนอมอยู่ตรงมุมพระราชวังด้านทิศตะวันตกตรงคลองปากท่อ
แนวกำแพงมีประตูทายสนม (ประตูดิน) อยู่ทางกำแพงด้านเหนือ
ภายในเป็นเขตของพระที่นั่งบรรยงค์รัตนาสน์เป็นเขตพระราชวังด้านตะวันตก
ซึ่งมีอ่างแก้วและพระที่นั่งทรงปืนอยู่ทางด้านเหนือ
ถัดมาด้านตะวันตกนั้นมีสระน้ำขนาดใหญ่ตรงกลางเป็นพระที่นั่งบรรยงรัตนาสน์
อยู่กลางสระพระที่นั่งองค์นี้สูง 20 วา ส่วนยอดสร้างเป็นรูปพรหมพักตร์มีเครื่องยอด
9 ชั้น ประดับฉัตร และมีหลังคากระเบื้องดีบุกสีเงิน
เช่นเดียวกับพระที่นั่งศรีสรรเพชญ์ปราสาท ถัดไปด้านใต้มีพระตำหนักขนาดเล็ก ตั้งอยู่
2-3 หลังอยู่แนวกำแพงที่แบ่งเป็นเขตพระราชฐานฝ่ายใน
เขตพระราชวัง ด้านตะวันออกนั้น พระที่นั่งศรีสรรเพชญ์
ปราสาทตั้งตระหง่านอยู่ท่ามกลาง พระที่นั่งทั้งหมด
ยอดปราสาทเป็นรูปพรหมพักตร์สูงเด่นประดับช่อฉัตร 5 ชั้น
สีทอง่วนยอดปราสาทยามต้องแสงอาทิตย์ในยามเช้านั้น
กลับส่องประกายตัดกับหลังคาดีบุกสีเงิน ซึ่งทอดยาวเป็นเชิงชั้น พระที่นั่งนี้สูง
25ว่า
ถัดจากพระที่นั่งองค์นี้ไปทางด้านหลังนั้นเป็นพระวิหารสมเด็จที่มีมุขยายไปทางด้านตะวันออกและตะวันตกขนานไปกับแนวของพระที่นั่ง
พระศรีสรรเพชญ์ปราสาท ด้านตะวันออกนั้นมีโรงช้างเผือกอยู่ 2 หลัง
ส่วนแนวกำแพงด้านใต้ มีประตูออกปู่เขตพระราชฐานฝ่ายใน
เขตพระราชฐานฝ่ายในของพระราชวังหลวง
อยู่ถัดมาทางทิศใต้มีบริเวณยาวตามแนวกำแพงทั้งหมดภายในมีพระที่นั่งจักรพรรดิตั้งอยู่ทางด้านตะวันออก
ส่วนด้านตะวันตกตรงกลาง นั้นเป็นสระแก้วขนาดใหญ่
ที่มีพระประตูชลชาติทวารษาครอยู่ตรงป้อมสวนองุ่นลำเลียงน้ำเข้าสู่สระนั้น
และกำแพงใกล้ป้อมสวนองุ่นด้านตะวันออก
มีประตูบรรเจษฎานีให้เข้าออกของนางสนมกำนัลฝ่ายใน ส่วนป้อมตรงมุมสระแก้ว นั้น
มีประตูเข้าปู่วัดพระศรีสรรเพชญ์ประจำพระราชวัง
พระพุทธรูปทององค์ขนาดใหญ่เป็นประธาน แนวกำแพงของวัดพระศรีสรรเพชรญ์ ด้านใต้นั้น
มีประตูเข้าออกหลายแห่ง ได้แก่ ประตูบวรนิมิต ประตูฤทธิ์ไพศาล ประตูมงคลพิศาล
ประตูวิจิตรพิมาลย์ หากออกไปนอกกำแพงแล้ว
ก็เป็นบริเวณของวัดมงคลบพิตรที่มีพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่สำหรับชาวเมืองสักการบูชา
|