อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนต้น(2)
ตลาดในกรุงศรีอยุธยานั้นเป็นมีท่าเรือสินค้าสำคัญอยู่หน้าป้อมเพชร
ซึ่งมีแม่น้ำสามสายชุมนุมกันจนเป็นน่านน้ำใหญ่
เรือสินค้าชาวต่างประเทศและเรือสำเภาพ่อค้าคนจีน พากันจอดเรียงรายอยู่แน่นขนัด
สินค้าจากเรือที่จอดอยู่ได้ลำเลียงลงเรือพายที่มาขนถ่ายสินค้า
ไปยังตลาดใหญ่น้อยในกรุงที่มีกว่า30 แห่ง เช่น ตลาดหน้าวัดมหาธาตุหลังขนานยางหลวง
ตลาดท่าเรือจ้างหน้าวัดนางชี ตลาดหลังตึกวิลันดาแถววัดหนู
ตลาดวัดท่าลาดหน้าบ้านเจ้าสัว ซึ่งมีตึกแถวยาว 6 หองสองชั้น ตลาดหน้าบ้านโปรตุเกส
และตลาดบ้านเจียง ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ มีตึกกว้างและมีร้านของพ่อค้าคนจีน มากมาย
หน้าป้อมเพชรนั้นมีวัดพนัญเชิง (วัดของเมืองอโยธยา)
อยู่ตรงข้ามฝั่งแม่น้ำ เป็นวัดที่มีเรื่องราวของนางสร้อยดอกหมาก
พระธิดาของพระเจ้ากรุงจีน
ผู้กลั้นพระทัยสิ้นพระชนม์ด้วยความน้อยใจที่พระเจ้าสายน้ำผึ้ง
กษัตริย์แห่งอโยธยาไม่เสด็จมารับนางที่ท่าน้ำ จนเป็นตำนานเล่าขานประจำเมืองอโยธยา
เมืองท่าสำคัญของอาณาจักรละโว้ หรือลพบุรี
รอบกรุงศรีอยุธยานั้นมีแม่น้ำไหลผ่าน 3 สาย คือ แม่น้ำเจ้าพระยา
แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำลพบุรี
ต่อมาได้มีการขุดคูเมืองด้านเหนือเชื่อมแม่น้ำป่าสักกับแม่น้ำลพบุรี
ทำให้เกิดคูน้ำล้อมอบเป็นส่วนที่ใช้เป็นคูเมืองป้องกันพระนคร เรียกว่า คูขื่อหน้า
พื้นที่กรุงศรีอยุธยาจึงเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่มีเส้นทางน้ำและประตูน้ำเข้า
ออกอยู่โดยรอบ
เมื่อพระเจ้าอู่ทองสร้างพระนครใหม่ตรงบริเวณเกาะหน้าเมืองอโยธยาเดิม
บริเวณเมืองอโยธยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าหรือเมืองท่าขายของอาณาละโว้เดิมนั้น
ก็ยังคงสภาพตลาดสินค้าที่มีเรือสินค้าต่างชาติและเรือสินค้าจากหัวเมืองพากันจอดเรียงรายเป็นแถวไป
ตลาดแนวแม่น้ำ ตลาดและบ้านเรือนบนตัวเกาะนั้นมีมากขึ้น
จนเป็นเหตุให้พ่อค้าชาวเมืองจากแคว้นสุพรรณภูมิและผู้คนจากเมืองละโว้
รวมทั้งเมืองอโยธยา
ที่อยู่ฝั่งตรงข้ามได้พากันอพยพมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในกรุงศรีอยุธยา
ส่วนบรรดาเมืองที่เคยเป็นเมืองสำคัญ ในระบบรัฐอิสระต่าง ๆ นั้น
ได้ถูกปรับลดฐานะลงมาเป็นเพียงหัวเมืองของอาณาจักรแห่งใหม่
เมืองสำคัญของอาณาจักรแห่งนี้ได้แก่ เมืองสุโขทัย เมืองละโว้ (ลพบุรี)
เมืองสุพรรณบุรี เมืองราชบุรี เมืองเพชรบุรี เมืองตะนาวศรี เมืองทวาย เมืองละคร
เมืองนครศรีธรรมราช เมืองสงขลา
เมืองมะละกา เมืองจันทบูน (จันทบุรี) เป็นต้น
ครั้นเมื่อมีการสถาปานากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวง
และเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอาณาจักรขึ้น
ในไม่ช้าพระนครแห่งนี้ก็มีฐานะเป็นเมืองท่าสำคัญในภูมิภาคนี้แทนเมืองอโยธยาเดิม
การติดต่อกับพ่อค้าต่างประเทศที่พากันเดินทางเข้ามายังเมืองอโยธยาเดิมนั้น
จึงย้ายเปลี่ยน มาใช้ศูนย์กลางแห่งใหม่อย่างกว้างขวาง
เรือสินค้าจากต่างชาตินั้นนำเรือสินค้าเดินทางเข้ามาตามเส้นทางจากปากน้ำอ่าวไทย
เข้ามาตามแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (คลองบางหลวง และคลองบางกอกน้อย)
และติดต่อค้าขายกับอาณาจักรแห่งนี้ บริเวณริมแม่น้ำรอบกรุง
จึงมีเรือสินค้าจากหัวเมืองล่องลงมาจากแม่น้ำน้อย แม่น้ำเจ้าพระยา
ที่ไหลมาจากทางตอนเหนือและแม่น้ำน่าน ที่มาจากทางตะวันออกเฉียงเหนือด้วย
แม่น้ำบริเวณหน้าป้อมเพชร ใกล้ตลาดน้ำวน บางกะจะนั้น
ใช้เป็นสถานที่ท่าจอดเรือสำหรับใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้า จนกลายเป็นตลาดใหญ่
ทำให้กรุงศรีอยุธยาของอาณาจักรสยาม มีความเจริญรุ่งเรืองได้ในเวลาต่อมา
แต่อาณาจักรสยามแห่งนี้ ก็ยังนิยมเรียกชื่อ อโยธยา ตามเดิม
โดยชาวต่างชาติ คือ ชาวโปรตุเกส
ผู้เดินทางไปมาค้าขายและบอกเล่าถึงบ้านเมืองนี้ต่อไปอีกหลายเมือง ด้วยเหตุนี้
อโยธยา หรืออยุธยา
จึงทำให้ชาวต่างประเทศเข้าใจและรู้จักเมืองเหมือนเป็นเมืองแห่งเดียวกัน
ชื่อเสียงเมือง อโยธยา จึงรู้จักทั่วไป
ส่วนชื่อที่เรียกกันแตกต่างไปนั้นขึ้นอยู่กับชนต่างชาติที่ใช้ภาษาของตนเรียก เช่น
ชาวจีนนั้นเรียกอยุธยาว่า เสียนโหล หรือ เซียนโลว หรือ เซียนหลัว
(เสียมล้อ) เนื่องจากอาณาจักรสยามแห่งนี้มีผู้คนที่น่าเชื่อว่า
จะเป็นพื้นชาวสุวรรณภูมิหรือเมืองสุพรรณบุรี (คือ เสียน
Sian หรือ
เสียม) และชาวละโว้ เมืองลพบุรี (คือ โลว Lo ละโว้)
ชาวอาหรับ และเปอร์เวีย นั้นเรียก อยุธยาว่า ซาห์รินาว
Sarnau
หรือ Shar I naw แปลว่าเมืองเรือ(เรือแพ)
เนื่องจากเป็นเมืองที่มีคนอาศัยอยู่ในเรือเป็นจำนวนมาก
ชาวญี่ปุ่น เรียกอยุธยาว่า ซามโร
Shamro
ด้านชาวปอร์ตุเกส เรียก อยุธยาว่า ยุธยา Juthya
หรือ โอธียาOdia
และชาวพม่าเรียกอยุธยาว่า โยเดีย
สรุปแล้วชาวต่างเหล่านี้
ต่างพากันเดินเรือเข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา
และได้นำสินค้าจากอาณาจักรสยามไปค้าขายยังประเทศต่าง ๆ
มาก่อนมีการสร้างกรุงศรีอยุธยาขึ้น
|