ข้อมูลโบราณคดี ใต้น้ำในอ่าวไทย
ข้อมูลโบราณคดี
ใต้น้ำในอ่าวไทย
การสำรวจทางโบราณคดีใต้น้ำในอ่าวไทยนั้น
ได้พบหลักฐานจากเครื่องปั้นดินเผา สมัยพุทธศตวรรษที่ 20 ที่มีจำนวนมาก
ล้วนถูกบรรทุกอยู่ในเรือที่จมทะเล ในบริเวณที่เรียกชื่อว่า
อ่าวไทย
1 หรือ เรือกลางอ่าว
(Klang-Ao)
เรือบรรทุกสินค้านั้นเป็นเรือสำเภาโบราณที่ต่อด้วยไม้ มีความยาวประมาณ 40 เมตร
กว้าง 12 เมตรจมอยู่ใต้ทะเลกลางอ่าวไทย
มาหลายร้อยปี
เครื่องปั้นดินเผาที่พบจำนวนมากนั้น
กองทัพเรือไทยและกรมศิลปากรได้ยึดคืนจากเรือชื่อ
ออสเตรเลียไทด์
ที่เข้ามาลักลอบมาดำน้ำค้นหา
สมบัติใต้น้ำที่บริเวณกลางอ่าวไทยฝั่งตะวันออกใกล้สัตหีบ เมื่อเดือน กุมภาพันธ์
พ.ศ.2535
เมื่อตรวจสอบแล้วพบว่ามีเครื่องปั้นดินเผา จากเตาแม่น้ำน้อย จำนวน
3,425 ใบ ส่วนมากเป็นไหสี่หูเคลือบสีน้ำตาล มีเครื่องเคลือบสังคโลกสีขาว
และเขียวจากเตาบ้านเกาะน้อย
ป่ายาง อำเภอศรีสัชนาลัย อีก 6,525 ใบ
เครื่องถ้วยจีน 4 ใบ ซึ่งน่าจะเป็นของใช้กระจำเรือ ตลับเวียดนาม 244 ใบ
ตุ๊กตารูปกระต่าย 85 ตัว เตาเชิงกราน 2 เตา หม้อดิน 10 ใบ และตะเกียงดินเผาแขวน 1
อัน (ปัจจุบันเครื่องปั้นดินเผาจากเรือ อ่าวไทย
1 อัน ได้เก็บรักษาไวที่พิพิธภัณฑ์โบราณคดีใต้น้ำ
ของกรมศิลปากร ที่ค่ายเนินวง ตำบลบางกะจะ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
เรือสินค้าแบบราณที่จมอยู่ใต้ทะเลและสำรวจพบในอ่าวไทยนั้น
พบว่ามีหลายลำ ได้แก่
เรือที่เรียกกันว่า
เรือรางเกวียน
หรือ เรืองาช้าง หรือ เรือเหรียญจีน
ยาว 25 เมตร จมอยู่ลึก 21 เมตร
ทางตะวันตกของหมู่บ้านบางสเหร่ จังหวัดชลบุรี พบงาช้าง 20
30 ชิ้น เป็ดสำริดและฉมวกสำริด ช้อนกะลามะพร้าว ข้าวเปลือก เปลือกไข่ ชันซาเรือ
ฆ้องสำริด เครื่องเคลือบเชลีง เครื่องเคลือบดินเผาเตาบ้านเกาะน้อย
ไม้แกะสลักประดับเรือลายจีน และเหรียญอินแปะจีนจำนวนมาก อายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 19
เรือ
เกาะคราม หรือ เรือ
สัตหีบ
มีเครื่องสังคโลกจากศรีสัชนาลัย และเตาแม่น้ำน้อย จำนวนมาก
และงาช้างอายุราวพุทธศตวรรษที่ 20 จมน้ำอยู่ลึก 38 เมตร
เรือสำเภา
พัทยา
จมน้ำอยู่ลึก 26 เมตร ระหว่างพัทยากับ เกาะล้าน พบ เครื่องสังคโลกศรีสัชนาลัย
อายุราวพุทธ ศตวรรษที่ 20 และแท่งตะกั่วจำนวนมาก
เรือ
สีชัง 1-2-3
พบอ่าง ครก ปลาร้าน้ำจืดเต็มไห หมากและเต้าปูน สำริด ตัวหมากรุกไทยทำด้วยงาช้าง
เครื่องลายครามจีนคุณภาพเยี่ยม และเครื่องเคลือบดินเผา เตาแม่น้ำน้อย
อายุราวพุทธศตวรรษที่ 22
เรือ
สมุย
จมอยู่ที่บริเวณทะเลจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบฉาบสำริด เครื่องสังคโลก ศรีสัชนาลัย
อายุราว พุทธศตวรรษที่ 22
และเรือ
เกาะกระดาษ
จมอยู่ที่จังหวัดตราด มีเครื่องดินเผาสังคโลกศรีสัชนาลัย สมัยพุทธศตวรรษที่ 22
เป็นต้น
เรือสำเภาโบราณที่เดินทางทะเลไปเมืองจีนและญี่ปุ่น
จะออกเดินทากจากอยุธยา ประมาณเดือนมิถุนายน หรือกรกฎาคม
และเดินทางกลับมาอยุธยาประมาณเดือน มกราคม หรือกุมภาพันธ์
ส่วนเรือสำเภาที่เดินทางจากเมืองมะริด (เป็นเมืองท่าของไทยมาก่อน)
ไปอินเดียนั้นจะใช้ช่วงเวลาออกเรือประมาณ เดือนกุมภาพันธ์ ถึง มีนาคม
และเดินทางกลับมาประมาณเดือนสิงหาคม หรือกันยายน
สินค้าส่วนใหญ่นั้นจะขนขึ้นบรรทุกเกวียนเดินทางบก มาที่กุยบุรี
แล้วลำเลียงต่อไปยังกรุงศรีอยุธยาโดยเรือเล็กชายฝั่ง
ดังนั้น เครื่องเคลือบดินเผาที่ผลิตจากเตาริมฝั่งแม่น้ำน้อย
และเตาเผาที่เมืองศรีสัชนาลัยนั้น
จึงเป็นสินค้าสำคัญของอาณาจักรสยามที่มีการส่งออกไปขายยังต่างประเทศ
นับเป็นเส้นทางเครื่องเคลือบสังคโลกไทยที่ใช้เดินทางมาแต่โบราณ สมัยสุวรรณภูมิ
สุโขทัย อยุธยา
|