ราชวงศ์อู่ทอง
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามาธิบดีที่
1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ครองราชย์ พ.ศ.1893
1912(2)
เมืองใหม่นี้คือ กรุงศรีอยุธยา
โดยพระเจ้าอู่ทองนั้นคงประสงค์ที่จะสร้างอาณาจักรใหม่
ขึ้นและให้มีอิสระไม่ขึ้นกับกรุงสุโขทัย (เมืองอโยธยานั้น
ภายหลังกรุงสุโขทัยได้ตั้งเป็นแคว้น อโยธยา
เป็นเมืองพระยามหานครขึ้นกับแคว้นสุโขทัย เนื่องจากได้ยึดอำนาจจากขอมได้
สำเร็จและตั้งแคว้นสุโขทัยขึ้น)
จึงมีข้อศึกษาว่าการที่พระเจ้าอู่ทองตัดสินพระทัยประกาศตั้งพระนครใหม่เป็นอิสระนั้น
นอกจากได้สิทธิในการดูแลแคว้นสุพรรณภูมิ แคว้นอโยธยา และแคว้นศิริธรรมราชแล้ว
ทรงเห็นว่า สังคมของชาวไทยทางตอนใต้ ซึ่งอาศัยอยู่หรือสร้างเมืองขึ้น
ตั้งแต่เมืองพระบาง (เมืองนครสวรรค์) ลงมาจนถึงเมืองศิริธรรมราชนั้น
ต่างคุ้นเคยอยู่กับการที่ขอมได้เข้ามามีอำนาจดูแลในแถบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
และตั้งเมืองละโว้ปกครองนั้น ได้ให้อิสรภาพในการครองเมืองของตนอย่างอิสระ
จนทำให้เกิดความสัมพันธ์เครือญาติต่อกัน ด้วยเหตุนี้เมืองต่าง ๆ
จึงมีขนบธรรมเนียมประเพณี ที่ติดข้างฝ่ายขอมมากขึ้น
ส่วนสังคมของชาวไทยที่อยู่ทางตอนเหนือ ตั้งแต่มีเมืองพระบางขึ้นไป นั้น
ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของตนอยู่ ในระยะนั้น พ่อขุนรามคำแหง
กษัตริย์ครองแคว้นสุโขทัย มีอานุภาพมาก สามารถรวบรวมคนไทยไว้ในอำนาจได้เกือบทั้งหมด
จึงทำให้หัวเมืองของคนไทยที่อยู่ทางตอนใต้ที่เคยมีอิสระในการดูแลเมืองของตนนั้นไม่พอใจ
ครั้นเมื่อพ่อขุนรามคำแหงสวรรคตแล้ว
จึงต่างมีความต้องการที่จะเป็นอิสระเหมือนเดิม ประกอบกับแคว้นอโยธยา
แคว้นสุพรรณภูมิ และแคว้นศิริธรรมราช เป็นเมืองสำคัญที่คนไทยอาศัยอยู่ทางตอนใต้
อยู่ใกล้ทะเลที่มีแม่น้ำเป็นเส้นทางเดินเรือขายของพ่อค้าชาวต่างชาติ
จึงทำให้เมืองที่อยู่ในแถบนี้ สามารถรับสินค้าและมีการติดต่อกับชาวจีน ชาวต่างชาติ
จนสามารถสร้างความมั่งคั่งได้สะดวกกว่าแคว้นสุโขทัย
ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวกับการได้ ทรัพย์และสินค้าต่าง ๆ นั้น ทำให้เมืองต่าง ๆ
ทางตอนใต้มีความเจริญรุ่งเรืองกว่าแคว้นสุโขทัย และหัวเมืองทางตอนเหนือ
ดังนั้น เมื่อแคว้นสุโขทัย เริ่มเสื่อมอำนาจลงในสมัยพญาเลอไทยนั้น
พระเจ้าอู่ทองจึงได้ถือโอกาสรวบรวมแคว้นสุพรรณภูมิ แคว้นอโยธยา และแคว้นศิริธรรมราช
และสร้างราชธานี กรุงศรีอยุธยา
ขึ้น เพื่อสร้างอาณาจักรของคนไทยขึ้น
ในบริเวณดินแดนที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง
ครั้งนั้น พระเจ้าอู่ทอง
ได้ติดต่อผูกสัมพันธ์ไมตรีกับกษัตริย์ของอาณาจักรขอม และพระเจ้ากรุงจีน
เพื่อสร้างความปลอดภัยให้กับอาณาจักรใหม่แห่งนี้
เมื่อพระองค์ประกาศให้เมืองเป็นอาณาจักรอิสระ เมื่อ พงศ.1892 แล้ว
พระองค์จึงได้ทำการสร้างเมือง สร้างพระราชวังหลวงขึ้นที่ริมหนองโสน คือ บึงพระราม)
เมื่อสร้างพระนครเสร็จแล้ว พระเจ้าอู่ทองได้สถาปนาราชวงศ์ขึ้นครองราชย์
เป็นพระเจ้าเหนือหัว พระนามว่า สมเด็จพระรามาธิบดี
(ที่ 1)
และตั้งนามพระนครแห่งนี้ว่า กรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา โดยเปลี่ยนนามเมือง อโยธยา
เป็น ศรีอยุธยา
เรียกกันทั่วไปว่า กรุงศรีอยุธยา
กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรสยาม
ตั้งอยู่บนเกาะตรงข้ามกับบริเวณใกล้เมืองอโยธยาเดิมบรรดาเมืองที่เคยเป็นเมืองสำคัญ
ในระบบรัฐอิสระนั้น ต่อมาได้ถูกลดฐานะลมาเป็นหัวเมืองขึ้นของอาณาจักรแห่งใหม่
จึงทำให้กรุงศรีอยุธยากลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของอาณาจักร
ที่เป็นเมืองท่าสำคัญของภูมิภาค และมีการติดต่อค้าชายกับชาวต่างประเทศ
พ่อค้าต่างประเทศ
นั้นต่างนำเรือสินค้าของตนเดินทางเข้ามาตามเส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำท่าจีน
ติดต่อค้าขายกับอาณาจักรสยาม ที่รู้จักกันในนาม อยุธยา หรือ อโยธยา
ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) นั้น
ครั้งเมื่อแรกสร้างพระนครขึ้นนั้น
ได้มีการจัดสร้างค่ายคูประตูรบตามลักษณะอันเป็นมงคงลที่ได้จากสังขทักษิณาวรรตแล้ว
พระองค์ทรงจัดการปกครองบ้านเมือง โดยให้พระโอรสมีตำแหน่ง พระราเมศวร
เป็นพระมหาอุปราชไปครองเมืองลพบุรี (เมืองละโว้เดิม)ซึ่งเป็นเมืองลูกหลวง
เพื่อให้เป็นหน้าด่านเนื่องจากนั้น อยู่ต่อแดนของแคว้นสุโขทัย และตั้งขุนหลวงพะงั่ว
พระเชษฐาของพระมเหสี เป็นพระบรมราชา ได้ครองแคว้นสุพรรณภูมิ (เมืองอู่ทอง)
ซึ่งมีการย้ายตัวเมืองไปตั้งริมแม่น้ำท่าจีน ตั้งชื่อว่า เมืองสุพรรณบุรี (คือ
เมืองสุพรรณบุรี ในปัจจุบัน)
อาณาเขตของกรุงศรีอยุธยานั้น มีอาณาเขตกว้างขวางไปถึง
เมืองนครศิริธรรมราช (เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองมะละกา จนถึงเมืองยะโฮร์
การที่กรุงศรีอยุธยาเป็นอาณาจักรอิสระได้เช่นนี้ พญาเลอไทย
กษัตริย์ครองแคว้นสุโขทัยขณะนั้น
คงเห็นว่าอำนาจตนนั้นไม่สามารถทำให้อาณาจักรนั้นอยู่ในอำนาจต่อไปได้
แล้วจึงได้เฉยอยู่ แต่พญาเลอไทย นั้นได้ใช้วิธีเข้าเกลี้ยกล่อมกษัตริย์ขอมเป็นพวก
เพื่อจะได้ร่วมกันตีเอากรุงศรีอยุธยาไว้ในอำนาจตามที่ขอมเคยมีอำนาจมาก่อน
พอดีขอมนั้นเปลี่ยนรัชกาล และกษัตริย์ขอมองค์ใหม่ได้เห็นว่า
หากกรุงศรีอยุธยามีอำนาจขึ้นเช่นนี้ก็จะหาเหตุมารุกรานขอม
จึงหันไปเป็นไมตรีกับพญาเลอไทย แคว้นสุโขทัย
ดังนั้น สมเด็จพระรามาธิบดี (พระเจ้าอู่ทอง) เห็นว่า
กษัตริย์ขอมนั้นไม่เป็นไมตรีกันอีกแล้ว จึงให้พระเมศวร พระโอรส
ซึ่งครองเมืองลพบุรีนั้น ยกทัพไปตีอาณาจักรขอม (ใน พ.ศ.1895) สมเด็จพระลำพงศ์ราชา
กษัตริย์ครองเมืองศรียโสธรปุระ (คือ เมืองพระนคร หรือนครธมของกัมพูชา
ได้ป้องกันพระนครเป็นสามารถ จนพระราเมศวรไม่สามารถสู้รบชิงเอาเมืองได้
จึงยกกองทัพกลับคืนกรุศรีอยุธยา
|