ราชวงศ์สุพรรภูมิ
ราชวงศ์สุพรรภูมิ
พระเจ้าทองลัน
ครองราชย์ 7 วัน
พ.ศ.1931
เจ้าทองลัน (บางแห่งว่า ทองจันทร์)
เป็นพระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ซึ่งยังเป็นพระราชกุมารมีพระชนมายุ 17 พรรษา
ครั้นเมื่อสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ที่ 1) สวรรคต ในพ.ศ.1931 นั้น เจ้าทองลัน
ได้ขึ้นครองราชย์ เป็นพระเจ้าอยู่หัว พระนามว่า พระเจ้าทองลัน แต่ครองอยู่ได้ 7
วันสมเด็จพระราเมศวร พระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)
ซึ่งเป็นพระมหาอุปราช ครองอยู่ที่เมืองลพบุรีนั้น ได้ยกทัพมาจากเมืองลพบุรี
เข้าทำการยึดอำนาจจากพระเจ้าลันทอง
ตามสิทธิเดิมที่พระองค์นั้นได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์อยู่ก่อนแล้ว
แต่เนื่องจากพระองค์เกรงพระราชอำนาจของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
ซึ่งมีความสามารถเป็นนักรบและมีชัยชนะเขมรได้
ทำให้พระองค์จำยอมยกราชบัลลังก์ให้ครองกรุงศรีอยุธยาแทน
เมื่อ สมเด็จพระราเมศวรทำการประหารชีวิต
พระเจ้าทองลันที่วัดโคกพระยา แล้วพระองค์ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
(ครั้งที่สอง) สืบราชสมบัติกรุงศรีอยุธยาต่อมา
พระเจ้าทองลันหรือพระเจ้าทองจันท์
เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 1 (ขุนหลวงพระงั่ว)
ครองราชย์เป็นกษัตริย์ได้ 7 วัน
ถูกสมเด็จพระราเมศวรยึดอำนาจและสำเร็จโทษที่วัดโลกพระยาใน พ.ศ.1931 บางแห่งว่า
ครองราชย์ 7 วัน ใน พ.ศ.1925 ไม่ตรงกัน
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระราเมศวร
(ครั้งที่ 2)
ครองราชย์ พ.ศ.1931
1938
สมเด็จพระราเมศวร พระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(พระเจ้าอู่ทอง) เดิมดำรงตำแหน่ง พระมหาอุปราช ครองเมืองลพบุรี
ได้ยกทัพมาจากเมืองลพบุรี มายึดอำนาจจากพระเจ้าทองลัน และขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์
ครั้งที่ 2 ใน พงศ.1931 (บางแห่งว่า พ.ศ.1925
·
พระองค์ทรงโปรดให้สถาปนาวัดมหาธาตุ วัดภูเขาทอง
·
พระองค์โปรดให้มีพระราชพิธีประเวศพระนครครั้งแรก
สมเด็จพระราเมศวร
ได้เสด็จยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ (อาณาจักรล้านนา)
และให้กวาดต้อนครอบครัวชาวเชียงใหม่ มาเป็นอันมาก
โดยให้ครอบครัวจากเชียงใหม่ไปอยู่ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมืองพัทลุง เมืองสงขลา
เมืองละคร (เมืองนครศรีธรรมราช) เมืองจันทบูร
ครั้นเมื่อพระองค์เสด็จกลับนั้นได้แวะเมืองพิษณุโลก เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธชินราช
และพระชินสีห์ด้วย
ในรัชกาลนี้พระยาละแวก อาณาจักรขอม (กัมพูชา)
ได้ยกทัพเข้ามากวาดต้อนผู้คนแถวบางปลาสร้อย (เมืองชลบุรี) เมืองกลับไป
ทำให้สมเด็จพระราเมศวรนั้นต้องเสด็จยกทัพไปตีเมืองกัมพูชา อีกครั้งหนึ่ง เมื่อ
พ.ศ.1936 ครั้งนั้นสามารถตีเมืองพระนครหลวง (นครธม) ได้สำเร็จ
แต่ไม่สามารถรักษาไว้เป็นเมืองขึ้นของไทย
จึงให้กวาดต้อนครอบครัวเข้ามากรุงศรีอยุธยา
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ได้ 7 ปี เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.1938
พระรามราชาพระโอรส ได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ พระนามว่า สมเด็จพระรามราชาธิราช
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 พ.ศ.1931 1938 (7 ปี )
ทรงสร้างวัดมหาธาตุ วัดภูเขาทอง และตีได้เมืองเชียงใหม่ เมืองพระนคร (นครธม)
บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ. 1925 1930 ( 6 ปี) ระยะเวลาไม่ตรงกัน
ราชวงศ์อู่ทอง
สมเด็จพระรามราชาธิราช
(สมเด็จพระยารามเจ้า)
ครองราชย์ พ.ศ.1938
1952
สมเด็จพระรามราชาธิราช พระนามเดิมคือ พระรามราชา
เป็นพระโอรสของสมเด็จพระราเมศวร เมื่อสมเด็จพระราเมศวร สวรรคต ใน พงศ.1938 นั้น
ได้ครองราชย์สืบต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระรามราชาธิราช(สมเด็จพระยารามเจ้า)
รัชกาลนี้ ไม่มีเหตุการณ์สำคัญใด แม้จะมีการขยายอำนาจไปทางล้านนา
ก็ไม่สามารถเอาชนะได้ จนทำให้สุโขทัยนั้นประกาศอิสรภาพจนเกิดเหตุปลายรัชกาลว่า
พ.ศ.1952 ปีฉลู สมเด็จพระยารามราชาธิราช ได้เกิดเป็นอริกับเจ้ามหาเสนาบดี
ทำให้มีเหตุจับกุมกันขึ้น เจ้ามหาเสนาบดี
นั้นสามารถหนีรอดและข้าไปอยู่ที่เมืองปะทาคูจาม(ปท่าคูจาม)
ครั้งนั้น เจ้ามหาเสนาบดี ได้มีหนังสือไปเชิญ เจ้านครอินทร์
(พระอินทราชา) พระนัดดา สมของเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว)
มาจากแคว้นสุพรรณภูมิ (เมืองสุพรรณบุรี) โดยแจ้งว่า เจ้ามหาเสนาบดี
และพวกนั้นจะยกพลเข้าพระนครยึดอำนาจถวายให้เจ้านครอินทร์
ครองราชย์เป็นกษัตริย์ครองกรุงศรีอยุธยาต่อไป
เจ้านครอินทร์ ได้ยกทัพมาถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว เจ้ามหาเสนาบดี
และพวกจึงพากันยกพลจากเมืองปท่าคูจาม เข้าปล้นชิงเอาพระนครได้
แล้วเชิญให้เจ้านครอินทรขึ้นครองราชย์ แทน ใน พงศ.1952 ทรงกระนามว่า
สมเด็จพระครินทราธิราช หรือ พระอินทราชาธิราช ที่ 1
ส่วนสมเด็จพระราชาธิราช พระโอรสของสมเด็จพระราเมศวร กษัตริย์
ราชวงศ์อู่ทอง ครองราชย์ พ.ศ.1938 1952 ( 15 ปี)
มีเหตุการร์เป็นศัตรูกันกับเจ้ามหาเสนาบดี ต่อมาได้เชิญเจ้านครอินทร์ (พระอินทราชา)
จากเมืองสุพรรณบุรี ขึ้นครองราชย์แทน พระองค์จึงถูกให้ไปครองเมืองปะทาคูจามแทน
บางแห่งว่าครองรายชย์
พ.ศ.1930
1944 ( 14 ปี) ศักราช ไม่ตรงกัน
|