ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (พระอินทราชาธิราชที่ 1)
ครองราชย์ พ.ศ.1952
1967
สมเด็จพระนครินทราชาธิราช เดิมนั้นเป็น เจ้านครอินทร์
(พระอินทราชา) มีฐานะเป็นพระนัดดาของสมเด็จพระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) คือ
เป็นพระโอรสของพระอนุชา ของสมเด็จพระบรมราชาธิราช
(ขุนหลวงพะงั่ว) ซึ่งครองเมืองสุพรรณภูมิ ได้ถูกเชิญเข้ากรุงศรีอยุธยา
โดยการเชิญจากเจ้ามหาเสนาบดี ที่มีหนังสือบอกเชิญให้เข้ามาครองราชย์ เป็นกษัตริย์
กรุงศรีอยุธยา พระนามว่า สมเด็จพระนครินทราชาธิราช เป็นกษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
องค์ที่ 2
เหตุการณ์เปลี่ยนราชวงศ์จากราชวงศ์อู่ทองจาก สมเด็จพระรามราชาธิราช
พระโอรส ของสมเด็จพระราเมศวร มาเป็น สมเด็จพระนครินทราชาธิราชนั้น สืบเนื่องจาก
เจ้ามหาเสนาบดี ซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ ที่รับใช้มาแต่สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า
(ขุนหลวงพะงั่ว) นั้น มีความจงรักภักดีต่อราชวงศ์สุพรรณภูมิ
หรืออาจจะเป็นคนที่มาจากแคว้นสุพรรณภูมิเสีย ครั้งนั้น ดังนั้น
การที่สมเด็จพระรามราชาธิราช ครองราชย์เป็นกษัตริย์
เจ้าหมาเสนาบดีจึงเป็นอริในความจงรักภักดีประการหนึ่ง
และมีเหตุขัดแย้งจนมีการกวาดล้างจับกุมขุนนางกัน ประการหนึ่ง เจ้ามหาเสนาบดี
และพวกนั้น สามารถหลบหนีออกไปตั้งหลักอยู่ที่เมืองปะทาคูจาม
และเชิญเจ้านครอินทร์มาจากแคว้นสุพรรณภูมิดังกล่าว
ขณะนั้นแคว้นสุพรรณภูมิมีอำนาจมากจนกรุงศรีอยุธยาต้องยอม
กล่าวคือ แคว้นสุพรรณภูมินั้น เมื่อ พ.ศ.1920 นั้นเจ้านครอินทร์
ได้เคยเสด็จไปเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีนในราชวงศ์ไต้เหม็ง
ที่เมืองนานกิง และมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันมา
ดังนั้น
พระองค์จึงเปิดสัมพันธไมตรีต่อมาจนมีพวกจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐาน
ทำมาหากินและค้าขายในกรุงศรีอยุธยามากขึ้น โดยเฉพาะชาวจีน
กลุ่มหนึ่งได้มาตั้งเตาเครื่องปั้นดินเผาขึ้นที ตำบลบ้านเตาหม้อ ริมแม่น้ำน้อย
(ในเมืองสิงห์บุรี) เป็นเตาแบบเดียวกับเตาเมืองสวรรคโลก และเมืองสุโขทัย
ทำให้มีการค้าขายกับจีนเจริญรุ่งเรืองมาก
แคว้นสุโขทัย นั้น ได้มีการย้ายราชธานีมาตั้งที่เมืองพิษณุโลก
เพื่อดูแลหัวเมืองทางด้านใต้ จนพระมหาธรรมราชา (ที่ 2 ) สวรรคตลง
พระมหาธรรมราชาที่ 3 ได้ครองราชย์ต่อมาจนถึง พ.ศ.1962 ปีกนุ พระมหาธรรมราชาที่ 3
สวรรคตลง พญาบาลเมือง กับพญาราม (คำแหง) พระโอรสเกิดแย่งชิงอำนาจกัน
และทำให้หัวเมืองเหนือทั้งปวงนั้นเกิดจลาจล แม้กรุงศรีอยุธยาจะมีใบบอกห้ามปรามไป
แล้วก็ไม่ยุติลงได้ สมเด็จพระนครินทราชาธิราช จึงเสด็จยกทัพขึ้นไปถึงเมืองพระบาง
(เมืองนครสวรรค์) ครั้งนั้นพระยาบาลเมืองและพระยาราม (คำแหง)
เกรงอำนาจจึงออกมาถวายบังคมเข้าเฝ้าแต่โดยดี
พระองค์จึงทรงไกล่เกลี่ยให้พระโอรสองค์หนึ่ง (พระยาบาลเมือง) เป็นพระมหาธรรมราชา
(ที่ 4) ครองเมืองพิษณุโลก และให้อีกองค์หนึ่ง (พระยารามคำแหง)
ไปครองเมืองกำแพงเพชร (เมืองชากังราว)
เช่นเดียวกันด้วยเหตุที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์
ราชวงศ์สุพรรณภูมิและครองกรุงศรีอยุธยานั้น พระองค์จึงได้โปรดให้พระโอรส 3 องค์
ของพระองค์ไปครองเมืองสำคัญต่าง ๆ คือ เจ้าอ้ายพระยาไปครองเมืองสุพรรณบุรี
เจ้ายี่พระยาไปครองเมืองแพรกศรีราชา (เมืองสรรค์บุรี)
และเจ้าสามพระยาไปครองเมืองชัยนาท
พระองค์นั้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา อยู่ 18 ปี
มีพระชันษา 50 ปี จึงสวรรคต ใน พ.ศ.1967 (บางแห่งว่า พ.ศ.1961)
เนื่องจากเจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา ไม่ยอมถวายราชสมบัติให้แก่กัน
จึงเกิดเหตุการณ์ชิงอำนาจทำให้เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยาสองพี่น้องต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยา
เพื่อแย่งชิงราชสมบัติ ทั้งสององค์มาพบกันที่ตำบลป่าถ่าน
จึงเกิดสู้รบกันขึ้นและต่างชนช้างทำการยุทธหัตถีกันจนสิ้นพระชนม์ทั้งคู่
เหล่ามนตรีเสนา อำมาตย์จึงได้เชิญเจ้าสามพระยา
จากเมืองชัยนาทขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ สืบต่อมา
สมเด็จพระนครินทราชาธิราช (สมเด็จพระอินทราชาที่ 1)
กษัตริย์ราชวงศ์สุพรรณภูมิ ครองราชย์ พ.ศ. 1952 1967 (16 ปี) บางแห่งว่า
ครองราชย์ พงศ.1952 1961 (10 ปี) ศักราชไม่ตรงกัน พระองค์ทรงทำให้
กรุงศรีอยุธยามีอำนาจเหนือแคว้นสุโขทัยอีกครั้งและทรงเสด็จไปเมืองสุโขทัยด้วย
|