ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

 

 

ราชวงศ์สุพรรณภูมิ

สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

ครองราชย์ พ.ศ.1967 – 1991

 

                สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 คือ เจ้าสามพระยา พระโอรสคนที่สาม ของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช แห่งราชวงศ์สุพรรณภูมิ เมื่อ พ.ศ.1967 ปีมะโรง สมเด็จพระนครินทราชาธิราช พระราชบิดาทรงประชวร และสิ้นพระชนม์ ได้เกิดเหตุการณ์ชิงราชบัลลังก์ที่ทำให้พระเชษฐาธิราชของพระองค์ กล่าวคือ เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ากรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงอำนาจ ทั้งสองพี่น้อง ใช้ชนช้างสู้รบกันที่สะพานป่าถ่าน จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์ จึงทำให้เจ้าสามพระยาได้ครองราชย์สมบัติเป็นพระเจ้าเหนือหัว พระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2

 

                เมื่อครองราชย์แล้ว สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงโปรดให้สถาปนาเจดีย์ใหญ่ สองพระองค์ ไว้ตรงบริเวณที่ เจ้าอ้ายพระยาและเจ้ายี่พระยา พระเชษฐาชนช้างสู้รบกันถึงสิ้นพระชนม์ทั้งคู่ ณ ตำบลป่าถ่าน พร้อมกับได้โปรดให้สถาปนาวัดราชบูรณะ และสร้างพระปรางค์ใหญ่ขึ้นเพื่อบำเพ็ญพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนครินทราชาธิราช พระราชบิดาในวาระนั้นด้วย

 

                พ.ศ.1974 ปีกุน พระเจ้าธรรมาโศก กษัตริย์อาณาจักรขอม ได้ยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้ตามหัวเมืองชายแดนของอาณาจักรสยามไป ทำให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ได้เสด็จยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวง เมื่อ พงศ.1975 พระองค์ตั้งทัพล้อมเมืองพระนครหลวง (นครธม) อยู่ 7 เดือน ก็สามารถตีเอาเมืองพระนครหลวงได้ ครั้งนั้นพระองค์ทรงให้พระนครอินทร์ (พระอินทรราชา) พระโอรส ครองราชย์เมืองนครหลวง เป็นประเทศราชขึ้นกับกรุงศรีอยุธยา แล้วให้นำ พระยาแก้ว พระยาไทย และรูปภาพ (เทวรูป สมบัติศิลปะของขอม) ทั้ปวงพร้อม พร้อมทั้งกวาดต้อนผู้คนและสิ่งของสำคัญ ๆ มายังกรุงศรีอยุธยา

 

                พระนครอินทร์ นั้นครองราชย์เมืองพระนครไม่นานก็สิ้นพระชนม์ เนื่องจากทนภาวะอากาศไม่ได้ และกรุงศรีอยุธยา ก็ไม่ได้แต่งตั้งผู้ใดขึ้นไปดูแลแทน จึงทำให้พวกขอมนั้นไม่อาจกลับมายังที่เมืองพระนครได้ ปล่อยให้เมืองร้างลง ภายหลังเมื่อขอมมีอำนาจคืนได้จึงมีการย้ายราชธานีไปตั้งที่เมืองพนมเปญ ทำให้เมืองพระนคร (นครธมและนครวัด) ร้างผู้คน ตั้งแต่นั้นมา

 

                ขณะนั้น พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ เป็นผู้นำที่เข้มแข็งในการสงคราม ได้พยายามที่จะขยายอาณาเขตของเมืองเชียงใหม่ลงมาทางใต้ สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ทรงเห็นว่าหากปล่อยให้เชื้อสายราชวงศ์พระร่วง ปกครองเป็นประเทศราชอยู่เช่นนั้นแล้ว จะทำให้ผู้คนในหัวเมืองพากันไปเข้ากับเมืองเชียงใหม่ หรือไม่ก็ถูกเมืองเชียงใหม่ลงมารุกราน ด้วยหัวเมืองทางเหนือนั้นอ่อนแอลงไม่เข้มแข็งพอ ที่จะดูแลหัวเมืองต่าง ๆ นั้นได้

 

                ดังนั้น ใน พ.ศ.1981 เมื่อพระมหาธรรมราชา (ที่ 4) กษัตริย์ครองเมืองพิษณุโลก สวรรคตลง สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) จึงให้รวบรวมหัวเมืองเหนือที่เคยแยกการปกครองเป็น 2 เขตนั้น รวมเป็นเขตเดียวกัน แล้วแต่งตั้งให้พระโอรส เป็นพระราเมศวร ตำแหน่งรัชทายาทและพระมหาอุปราช ขึ้นไปกำกับดูแลหัวเมืองเหนือทั้ง 7 เมือง โดยให้เมืองพิษณุโลกเป็นเมืองมหาอุปราช (เดิมนั้น ตำแหน่ง พระราเมศวร ครองเมืองลพบุรี)

 

                ต่อมา พงศ.1985 สมเด็จพระบรมราชาธิราช (เจ้าสามพระยา) ได้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สามารถตีเอาเมืองได้ และในปี พงศ.1987 พระองค์ได้เสด็จยกกองทัพหมายจะตีเอาเมืองเชียงใหม่ แต่เกิดเหตุพระองค์ประชวรและสวรรคตเสียกลางทาง จึงทำให้ตีเมืองเชียงใหม่ไม่สำเร็จ (ซึ่งมีความขัดแย้งกับบางแห่งว่า พระองค์สวรรคตใน พ.ศ.1919)

 

                เหตุที่พระองค์มีความพยายามจะตีเอาเมืองเชียงใหม่ ไว้ให้ได้นั้น เพื่อให้หัวเมืองทั้ง 7 ในการดูแลของเมืองพิษณุโลก ปลอดภัยไม่หวาดระแวง และหากปล่อยไว้ให้เมืองเชียงใหม่มีอำนาจมากขึ้นก็จะเป็นภัยในวันข้างหน้า

 

                ดังนั้น กรณีที่พระองค์สวรรคตระหว่างทางขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ ใน พ.ศ.1987 นั้น ไม่น่าจะเกิดขึ้นตามนี้ด้วยมีความบางแห่ง ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ต่อมาไว้ว่า

 

                พ.ศ. 1967 (บางแห่งว่า พ.ศ.1981 ปีมะเมีย) สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 ทรงดปรดให้สถาปนาวัดมเหยงค์ ไว้ในพระศาสนา

 

                พ.ศ.1973 สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ได้เสด็จยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ กวาดต้อนได้เชลยแสนสองหมื่นคน

 

                ต่อมา สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า ทรงโปรดให้ พระราเมศวร พระโอรสเป็นพระมหาอุปราชขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก เพื่อดูแลหัวเมืองทางเหนือ เมื่อพระโอรสเสด็จไปเมืองพิษณุโลก ครั้งนั้นได้ทรงเห็นน้ำพระเนตรของพระพุทธชินราชที่ประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ์วัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น ตกออกมาเป็นสีโลหิต

 

                พ.ศ. 1983 ปีวอก (บางแห่งว่า พงศ.2467) ในพระราชวังหลวงได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นที่พระที่นั่งราชมนเฑียรสถาน

 

                พ.ศ.1984 ปีระกา ในพระราชวังหลวง ได้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นอีกที่พระที่นั่งตรีมุข

 

                พ.ศ.1985 ปีจอ สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ แต่ไม่สามารถเอาชัยชนะได้ ประจวบกับพระองค์ทรงมีพระประชวร จึงยกทัพหลวงกลับคืนพระนคร

 

                พ.ศ. 1987 ปีชวด สมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบพรรคและตั้งทัพหลวง ณ ตำบลปะทายเขษม ครั้งนั้นกวาดต้อนได้เชลย 120,00 แล้วยกทัพหลวงเสด็จกลับคืนพระนคร

 

                พ.ศ.1919 ปีมะโรง สมเด็จพระบรมราชาธิราชเจ้า เสด็จสวรรคต (ตำแหน่ง) พระราเมศวร พระโอรส ได้เสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลก ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ

จากข้อความนี้ พบว่า ศักราชที่ระบุไว้ นั้นคลาดเคลื่อนเป็นอันมาก

               

                สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) พระโอรสของสมเด็จพระนครินทราชาธิราช ครองราชย์พ.ศ.1967 พระองค์ได้สถาปนาวัด ราชบูรณะ วัดมเหยงค์ ขึ้นรัชกาลนี้ได้ยกทัพไปตีเมืองพระนครหลวง

(นครธรมของขอม) แล้วให้พระนครอินทร์ พระราชโอรสครองราชย์ ต่อมาในพระราชวังหลวงเกิดไฟไหม้ พระที่นั่งราชมนเฑียรและพระที่นั่งตรีมุข มีการยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้ง อยู่ในราชสมบัติ 17 ปี สวรรคต พ.ศ.1991 (24 ปี) (บางแห่งว่า พงศ.1977) ศักราชไม่ตรงกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม สมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 2 (เจ้าสามพระยา)

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์