สมบัติศิลปะจากกรุพระปรางค์วัดราช
สมบัติศิลปะจากกรุพระปรางค์วัดราชบูรณะ
พระปรางค์วัดราชบูรณะนั้น เป็นพระปรางค์ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราช
(เจ้าสามพระยา) ทรงสร้างขึ้นถวายเป็นพระราชกุสลแด่พระราชบิดา คือ
สมเด็จพระนครินทราธิราช ซึ่งมีพระโอรส 3 พระองค์
และได้ส่งให้ไปครองเมืองสำคัญของอาณาจักร กล่าวคือ เจ้าอ้ายพระยา พระโอรสองค์ใหญ่
ครองเมืองสุพรรณบุรี เจ้ายี่พระยา พระโอรสองค์กลางครองเมืองแพรกศรีราชา (สรรค์บุรี)
และเจ้าสามพระยา พระโอรสองค์เล็กครองเมืองชัยนาท
ครั้นเมื่อสมเด็จพระนครินทราธิราช เสด็จสวรรคตใน พ.ศ.1961 นั้น
เจ้าอ้ายพระยากับเจ้ายี่พระยา ต่างยกทัพเข้ามาแย่งชิงราชสมบัติกันเอง
และทรงชนช้างต่อสู้กันจนสิ้นพระชนม์ ทั้งสองพระองค์ ที่เชิงสะพานป่าถ่าน
ในกรุงศรีอยุธยา ทำให้เจ้าสามพระยาผู้น้อง
ซึ่งเดินทางมาภายหลังได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่
2 ขณะนั้นพระองค์มีพระชนมายุ 35 พรรษา
ต่อมา ใน พงศ.1975 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
ได้ส่งกองทัพใหญ่ไปตีเมืองพระนคร(นครธม) ซึ่งเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรขอม (กัมพูชา)
ล้อมเมืองอยู่ 7 เดือน จึงได้สำเร็จอีกครั้ง
ทำให้อาณาจักรสยามมีชัยชนะเหนืออาณาจักรขอมอย่างเด็ดขาด
การศึกษา สงครามครั้งนี้ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้
เมืองหลวงของอาณาจักรขอมโบราณ ย้ายจากเมืองหลวงไปตั้งที่เมืองละแวก
และสุดท้ายย้ายไปเมืองพนมเปญ
เพื่อให้ไกลจากการเป็นจุดโจมตีของกองทัพจากอาณาจักรสยาม ทำให้เมืองพระนครหลวง
(แองกอธมหรือนครธม) ถูกทิ้งร้างลง
ในการที่อาณาจักรสยาม
ชนะสงครามจากการยกทัพเข้าตีเมืองพระนครในครั้งนั้น ได้มีการขนเทวรูปรูปพระโค
รูปสิงสัตว์ เครื่องเงินทองและเพชรนิลจินดาของอาณาจักรขอม มาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา
เป็นจำนวนมาก (ภายหลังพม่าชนะสงครามได้ขนสิ่งสำคัญบางชิ้นไปเมืองหงสาวดี)
สมบัติศิลปะที่ขนมานั้น
ส่วนหนึ่งได้นำบรรจุไว้ในกรุใต้พระปรางค์ของวัดราชบูรณะ
ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา)
โปรดให้สร้างเป็นอนุสรณ์ถวายกุศลแด่สมเด็จพระนครินทราชาธิราช พระราชบิดา
การสำรวจทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีได้ค้นพบว่า
พระปรางค์วัดราชบูรณะแห่งนี้ มีกรุอยู่ใต้พระปรางค์ พบเครื่องราชกกุฎภัณฑ์ทองคำ
และพระพิมพ์ทำด้วยซิน จำนวนมาก รวมทั้งเครื่องสักการะที่มีอักษรจีน
อยู่ในบรรดาสิ่งของทีขุดพบ และมีภาพเขียนสีที่ผนังของกรุนั้น
(สมบัติศิลป์ดังกล่าวนี้ จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
วัดโบราณที่สร้างขึ้น ในสมัยอยุธยาหลายแห่งนั้นปรากฏว่า
มีการสร้างในลักษณะเป็นกรุพระเครื่องหลายแห่ง
โดยใช้วิธีนำพระเครื่องนั้นใส่ในไหเคลือบ (ไหกระเทียม) นำไปฝังไว้ตามเจดีย์ต่าง ๆ
ดังนั้นเมื่อมีการขุดพบหลังจากฝังอยู่ใต้ดินมาเป็นเวลากว่าหลายร้อยปี
หากผู้ขุดพบเปิดไหด้วยจะมีวิธีการทุบให้แตก
อันเป็นเหตุให้พระเครื่องที่บรรจุไว้ในไหนั้นถูกอากาศสลายตัวเปื่อยยุ่ยไปทันที
ดังนั้น การเปิดกรุจึงมีใช้เหล็กแหลมเจาะให้อากาศค่อย ๆ
ซึมเข้าไปในไหหรือกรุในเจดีย์ทีละน้อย
เหตุที่ภายในไหมีลักษณะเป็นสุญญากาศได้นั้น
สืบเนื่องมาจากคนโบราณนั้นใช้วิธีเผาไหไล่ความชื้นก่อนทำการปิดฝา
ด้วยสังเกตพบว่ามีคราบการเผาไหม้อยู่ใต้ไหบรรจุนั้น
สมบัติศิลปะที่สำรวจพบในพระปรางค์วัดราชบูรณะนั้น มีเครื่องทอง
พระพุทธรูปพระเครื่องและสิ่งมีค่าต่าง ๆ มากมาย เป็นศิลปกรรมอยุธยาที่สวยงามมาก
|