ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ครองราชย์ พ.ศ.1991
2031
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช
(เจ้าสามพระยา) มีตำแหน่งพระมหาอุปราชคือ พระราเมศวร ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
พร้อมกับสถาปนาให้เมืองพิษณุโลก เป็นเมืองลูกหลวงดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งหมด
ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคต ใน พ.ศ.1991 (บางแห่งว่า พ.ศ.1977)
พระองค์จึงเสด็จลงมาจากเมืองพิษณุโลก ขึ้นครองราชย์เป็นพระเจ้าเหนือหัว
ครองกรุงศรีอยุธยา พระนามว่า สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ในรัชกาบของพระองค์นั้น ได้พระราชทานบริเวณพระราชวัง เพื่อทำการสถาปนาเป็นวัด
ประจำพระราชวังหลวง คือ วัดพุทธาวาส (ต่อมาเปลี่ยนนามเป็นวัดพระศรีสรรเพชญ์)
อย่างวดมหาธาตุเป็นวัดประจำพระราชวังของแคว้นสุโขทัย
ครั้งนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า ได้เสด็จมาประทับอยู่บริเวณริมน้ำ
และโปรดให้สร้างพระที่นั่งเบญจรัตนมหาปราสาทและพระที่นั่งสรรเพชญ์ปราสาทขึ้นด้วย
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ทรงทำการปฏิรูปการปกครองบ้านเมืองโดยจัดระบบให้รวมศูนย์อำนาจมาอยู่ที่พระเจ้าเหนือหัว
(กษัตริย์) โดยทรงศึกษาอักษรศาสตร์
ราชนิติและขนบธรรมเนียมราชประเพณีจากแคว้นสุโขทัย เมื่อครั้งที่พระองค์เป็น
พระราเมศวรขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ครั้นเมื่อพระองค์ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
จึงได้นำรูปแบบที่ดีนั้นมาปรับแก้ไข โดยนำระบบศักดินามาใช้ในการปกครองอาณาจักร
และจัดการบริหารราชแบบจตุสดมภ์ คือ เวียง วัง คลัง นา ขึ้นใหม่โดยให้กษัตริย์
ทรงมีพระราชอำนาจตราพระราชบัญญัติและกฎหมายต่าง ๆ เพื่อใช้ปกครองและควบคุมกำลังคน
กล่าวคือได้มีการจัดแก้ไขวิธีการปกครอง โดยตั้งสมุหกลาโหม
เป็นหัวหน้าฝ่ายการทหารทั้งปวง และสมุหนายก เป็นหัวหน้าฝ่ายการพลเรือน
ที่กำหนดให้เป็นจตุสดมภ์ คือ เป็น ขุนเมือง ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา
ซึ่งเป็นเจ้ากรที่มีกคมคลังเรียก โกษาธิบดี และกรมนาเรียก เกษตราธิการ
ส่วนการปกครองหัวเมืองชั้นนอก ชั้นในนั้น พระองค์ทรงใช้วิธีปกครองเช่นเดียวกัน
โดยให้เมืองชั้นนอกที่เป็นเมืองพระยามหานคร มาก่อนนั้น กำหนดเป็นเมืองขึ้นในชั้น
ชั้นเอก เมืองโท เมืองตรี มีเจ้าเมืองปกครองได้ทั้งฝ่ายพลเรือน และฝ่ายทหาร
และให้มีกรมการตำแหน่ง เมือง วัง คลัง นา เช่นเดียวกับพระนคร
ส่วนหัวเมืองชั้นในที่อยู่ใกล้พระนครนั้น
ให้แต่งตั้งเจ้าพนักงานในกรุงบังคับบัญชาออกไปถึงเมืองนั้น ต่างพระเนตรพระกรรณ
(ขุนในจตุสดมภ์ หรือยกกระบัตร) หัวเมืองนั้นจึงมีแต่กรรมการชั้นผู้น้อย ในตำแหน่ง
จ่าเมือง แพ่ง และศุภมาตรา คอยติดต่อประสานงาน
บุคคลในราชการนั้น พระองค์ได้ทรงจัดให้มีตำแหน่งชั้นยศศักดิ์
สำหรับบังคับบัญชาตามลำดับ เป็นพระยา พระ หลวง ขุน หมื่น พัน ทนาย และวางตำแหน่งตาม
ศักดิ์นา คือการกำหนดให้ผู้มียศ ในแต่ละชั้นยศนั้นมีที่นาตามจำนวนไร่ เช่น
พลเรือนมีที่นาเพียงคนละ 25 ไร่ ขุนนางมีศักดินา ตั้งแต่ 50 ไร่ 100 ไร่ ถึง
10,000 ไร่ เป็นที่สุด ส่วนเจ้านายชั้นสูง (เชื้อพระวงศ์) มีมากกว่าจาก 10,500-
20,000 ไร่
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ได้ตั้งกฎมณเฑียรบาลขึ้นเป็นตำราราชประเพณีของราชสำนักขึ้น โดยแบ่งได้
เป็นพระตำราว่าด้วยแบบแผนในการปกครองบ้านเมืองและพิธีการต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีต่าง
ๆ พระธรรมนูญ ว่าด้วยตำแหน่ง หน้าที่ในการทำราชการต่าง ๆ และพระราชกำหนด
ที่เป็นข้อบังคับสำหรับราชสำนัก ส่วนการพิจารณ์ความตามพระราชอำนาจนั้น
ได้จัดให้มีการบังคับบัญชาเบื้องต้น คือ
รับฟ้องแล้วพิจารณาตลอดจนปรับไหมลงโทษผู้ทำผิดนั้นเป็นหน้าที่ของข้าราชการ
ส่วนการตรวจสำนวน และตัดสินว่าผิดและชอบตามกฎหมายนั้น เป็นหน้าที่ของพราหมณ์
ที่เป็นผู้รอบรู้ในพระธรรมศาสตร์ แต่ไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชา
เพื่อให้พระราชอำนาจนั้นอยู่พระเจ้าเหนือหัวแต่องค์เดียว
พ.ศ.1994 ปีมะแม มหาราช เจ้าครองเมืองเชียงใหม่
ได้ยกทัพเข้ามาตีเอาเมืองซากังราว แล้วยังตีเมืองสุโขทัย
ด้วยแต่ไม่สามารถเข้าปล้นเมืองได้ จึงเลิกทัพกลับคืน
พ.ศ. 1997 ปีจอ
กรุงศรีอยุธยาเกิดไข้ทรพิษระบาด ผู้คนพากันล้มตายเป็นจำนวนมาก
พ.ศ. 1998 ปีกุน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ได้แต่งกองทัพยกไปตีเอาเมืองมะละกาที่อยู่ทางตอนใต้ของแหลมมลายู เมืองมะละกา
ตั้งอยู่ปลายแหลมมลายู นั้นเป็นเมืองที่ขึ้นต่ออาณาจักรสยาม ตั้งแต่แคว้นสุโขทัย
ในรัชกาลพ่อขุนรามคำแหง เป็นเมืองที่ เคยนับถือ พุทธศาสนา
ภายหลังเมื่อพวกมลายูนับถืออิสลาม จึงพากันนิยมลัทธิธรรมเนียมตามอย่างแขก
จึงได้แข็งเมืองไม่ยอมขึ้นกับอาณาจักรสยาม สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
จึงต้องยกกองทัพลงไปปราบปรามเมืองมะละกา (เมื่อ พ.ศ.1998)
แต่ไม่สามารถตีเมืองคืนได้
ต่อมา ในปีรุ่งขึ้น พ.ศ.1999 ปีชวด
หัวเมืองที่อยู่ทางตอนเหนือนั้นเกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างเมืองต่าง ๆ
ครั้งนั้นพระยายุธิษฐิระ เจ้าเมืองสวรรคโลก ได้ลอบเป็นไมตรีกับพระเจ้าติโลกราช
กษัตริย์เมืองเชียงใหม่ รอเวลาพอได้โอกาสจึงทำการยกทัพลงมาตีได้เมืองกำแพงเพชร
แล้วยกกองทัพหน้าลงมาก วาดผู้คนถึงเมืองชัยนาท สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ได้ยกกองทัพขึ้นไปปราบปราม พระเจ้าติโลกราชต้องถอนทัพกลับถอยไป กองทัพกรุงศรีอยุธยา
ได้ติดตามไปจนถึงเมืองเถิน จึงเกิดการสู้รบกัน ทัพกรุงศรีอยุธยาตีทัพเมืองเชียงใหม่
พ่ายแตกไป เมื่อสงครามยุติลงแล้ว สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ได้ให้ติดตามเอาตัวพระยายุธิษฐิระมาลงอาญา
แต่พระยายุธิษฐิระนั้นกลับอพยพครอบครัวหนีไปสวามิภักดิ์ต่อเมืองเชียงใหม่ แล้วรับ
อาสานำกองทัพเมืองเชียงใหม่มาตีเมืองสุโขทัย ใน พ.ศ.2004
แล้วเลยลงมาตีเมืองกำแพงเพชร แต่ยังไม่ทันสำเร็จ
ก็มีเหตุพวกฮ่อยกทัพเข้ามาตีเอาเขตแดนของเมืองเชียงใหม่
ทำให้พระเจ้าติโลกราชต้องรีบยกทัพกลับไป ดังนั้น
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้นำกองทัพยึดได้แคว้นสุโขทัยกลับคืนมาตามเดิม
|