พิษณุโลก ราชธานีแห่งใหม่ของกรุงศ
พิษณุโลก
ราชธานีแห่งใหม่ของกรุงศรีอยุธยา
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
เสด็จขึ้นไปครองราชย์ที่เมืองพิษณุโลกแทนกรุงศรีอยุธยานั้น
ได้ทำให้กรุงศรีอยุธยาราชธานี กลับแปรเปลี่ยนสถานะจากศูนย์กลางการปกครอง
มีกษัตริย์ครองราชย์อยู่เช่นเหมือนเมื่อก่อนนั้น
เหลือเพียงราชสำนักที่มีอำนาจรองคอยดูแลแทนพระองค์เท่านั้น
เมืองพิษณุโลกนั้นเดิมเป็นเมืองที่พระมหาธรรมราชา
แห่งแคว้นสุโขทัยปกครองดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือมาแต่ครั้งราชวงศ์สุโขทัยมีอำนาจและย้ายลงมาใช้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานีนั้น
ต่อมาสมัยอยุธยา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ใช้เป็นเมืองราชย์สำรองแทนกรุงศรีอยุธยา
ตลอดรัชกาลนั้นสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงประทับอยู่เมืองพิษณุโลก
จนเสด็จสวรรคตที่นั่น จึงทำให้เมืองพิษณุโลกมีความสำคัญมากขึ้น
ในฐานะราชธานีที่มีกษัตริย์ประทับเป็นศูนย์อำนาจการปกครองอาณาจักรอยู่ที่นั้น
เป็นการลดบทบาทของเมืองพิษณุโลก
ที่มีอำนาจปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือลงแต่เป็นราชธานีปกครองอาณาจักร
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น
ไม่ปรารถนาที่จะให้เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางอำนาจอย่างถาวร ดังนั้น
พระองค์จึงได้สถาปนา พระเชษฐา พระราชโอรส ผู้ประสูติที่เมืองพิษณุโลก
กับพระชายาเมืองเหนือ ขึ้นเป็นพระมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก คือ พระเอกสัตรามหาอุปราช
ที่มีฐานะเป็นพระมหาอุปราชผู้เป็นเอก สามารถปกครองทั้งเมืองพิษณุโลก
และกรุงศรีอยุธยา (ส่วนพระบรมราชาธิราช พระราชโอรสองค์ใหญ่นั้น
เป็นรัชทายาทครองกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พงศ.2006 กล่าวคือ
เป็นพระมหาอุปราชฝ่ายกรุงศรีอยุธยา)
ในขณะเดียวกัน พระองค์ยังได้นำ พระอาทิตย์
พระโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราช ที่ 3 ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์มีฐานะเป็น
พระอนุชาธิราช และพระอาทิตย์ พระองค์นี้ที่มีอายุคราวเดียวกับพระเชษฐา
พระมหาอุปราชผู้เป็นพระนัดดานั้น มาเลี้ยงดูอยู่เสียที่ราชสำนักเมืองพิษณุโลกด้วย
ดังนั้น สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2031
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 จึงขึ้นครองราชย์อยู่ที่กรุงศรีอยุธยาต่อมา 3 ปี
โดยพระเชษฐา นั้นยังคงเป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกตามเดิม
ต่อมา พงศ. 2034 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 เสด็จสวรรคต พระเชษฐา
พระมหาอุปราชเมืองพิษณุโลก จึงได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่ครองราชย์สมบัติยาวนาน คือ
ตั้งแต่ พ.ศ.2034 2072 ถึง 38 ปี
ตั้งแต่นั้นมาเมืองพิษณุโลก
จึงเปลี่ยนบทบาทจากเดิมที่เคยเป็นศูนย์อำนาจปกครอง
อาณาจักรโดยมีกษัตริย์ประทับในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถนั้น
เมื่อฐานะของเมืองพิษณุโลกนั้นไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งให้เป็นเมืองพระมหาอุปราช
ดังนั้น เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์มาช้านานแล้ว
ไม่มีการแต่งตั้งตำแหน่งพระมหาอุปราชอย่างเป็นทางการ
จึงทำให้มีการทอดบัตรสนเท่ห์กันมากขึ้น จนต้องมีการประหารชีวิตขุนนางไปหลายคน
จนเมื่อ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 จำต้องแต่งตั้งให้ พระอาทิตย์ เป็นพระมหาอุปราช
ตามราชประเพณี จึงทำให้เหตุการณ์นั้นสงบลงได้
เมืองพิษณุโลก
มีพระอาทิตย์เป็นพระมหาอุปราชขึ้นไปครองเมืองเหนือนั้น
น่าจะยังมีราชสำนักเดิมอยู่ประกอบด้วยขุนนาง ข้าราชบริพารทั้งฝ่ายนอกและฝ่ายใน
ส่วนมากน่าจะเป็นคนในเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยที่พำนักอยู่ที่เมืองพิษณุโลกมาแต่เดิมและมีความสัมพันธ์กับกษัตริย์อยุธยา
คือ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงมีพระราชมารดา
และพระชายาเป็นเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์เมืองเหนือ
ดังนั้น บุคคลจากราชวงศ์สุโขทัย
จึงได้เดินทางเข้ารับราชการในราชสำนักของกรุงศรีอยุธยาตามพระมหาอุปราชที่ลงมาจากเมืองพิษณุโลก
และครองราชย์เป็นกษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา เช่น พระเชษฐา คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2
ครองราชย์ 38 ปี พระอาทิตย์วงศ์ คือ พระบรมราชาหน่อพุทธางกูร ครองราชย์ 4 ปี
และสมเด็จพระไชยราชาธิราช ตามลำดับ
|