ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
ครองราชย์ พ.ศ.2031
2034
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
พระโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ต่อมา พ.ศ.2006 ทรงได้ตำแหน่งเป็น
พระบรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยาแทน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ
ที่ทรงประทับอยู่เมืองพิษณุโลก โดยตั้งเมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี
คอยดูแลหัวเมืองฝ่ายเหนือ และกรุงศรีอยุธยา (การที่พระบรมราชา
ครองกรุงศรีอยุธยาแทนนั้น ใน พ.ศ.2006 สอบศักราชแล้ว น่าจะเป็นพระบรมราชา
อีกองค์หนึ่ง ด้วยเหตุที่เวลานั้นน่าจะมีอายุยังน้อยอยู่)
ครั้นเมื่อ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถสวรรคตลง พ.ศ.2031 นั้น
พระองค์ได้ครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3
โดยมีพระเชษฐาธิราช พระอนุชา เป็นพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก
เป็นการให้ราชธานีนั้นย้ายกลับมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ตามเดิม
ต่อมาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 นั้น
ได้ยกทัพไปตีเอาเมืองทะวายที่เสียไปครั้งก่อนกลับคืนได้
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ครองราชย์ได้เพียง 3 ปี สวรรคต พ.ศ.
2034 พระเชษฐาธิราช พระอนุชาธิราช ได้ครองราชย์ต่อมา
สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระโอรสองค์ใหญ่
ของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้าครองราชย์ พ.ศ.2031 2034 ( 3 ปี) ใน พ.ศ. 2006
พระองค์ตีเมืองทวายกลับคืนได้ บางแห่งไม่มีรัชกาลนี้
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระรามาธิบดีที่
2
ครองราชย์ พ.ศ.2034
2072
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 มีพระนามเดิมว่า พระเชษฐาธิราชเจ้า
(บ้างว่า พระอินทราชา) เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
ได้รับแต่งตั้งเป็น พระเชษฐาธิราช ตำแหน่งพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลก โดยมี
พระบรมราชา ครองกรุงศรีอยุธยาแทน พระราชบิดา ที่ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก
ต่อมาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์ กรุงศรีอยุธยา เมื่อ พ.ศ. 2035 พระนามว่า
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ (2 )
พระองค์ ทางบำเพ็ญพระราชกรณียกิจตามรอยพระยุคลบาทอย่างพระบรมราชชนก
ที่พระองค์ทางทำนุบำรุง พระพุทธศาสนาสร้างวัดมหาธาตุ วัดพระราม
และจัดการปกครองอาณาประชาราษฎร์ให้ร่มเย็นเป็นสุขมาตลอดรัชกาล
พ.ศ.2039 ปีมะโรง สมเด็จพระรามาธิบดี
ทรงมีพระทัยสำราญด้วยประพฤติการสู่วัยเลญจเพส (ประพฤการเบญจพิธ)
พระองค์ก็มีพระราชหฤทัยสนใจในเรื่องราวดึกดำบรรพ์
จึงทำให้พระองค์เปี่ยมล้นด้วยพระราชศรัทธาทีจะทำนุบำรุงพระศาสนาและใฝ่ในขนบประเพณี
พิธีกรรมต่าง ๆ เช่นเดียวกับพระบรมราชชนก
พ.ศ. 2040 ปีสะเส็ง พระองค์ทรงโปรดให้มีการจัดการเรื่องไพร่พล
โดยจัดให้มีพระราชพิธีปฐมกรรมขึ้นตามราชประเพณีและทรงโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิตเร่งทำตำราพิชัยสงคราม
และทำสารบัญชีพระราชพิธีทุกเมือง
การจัดการระเบียบไพร่พล (ทหาร) นั้น ได้มีการทำสารบาญชี คือ
วิธีการเกณฑ์คนรับราชการทั้งฝ่ายทหารและพลเรือน โดยตั้งพระสุรัสวดี (สัสดี)
เป็นเจ้าพนักงานทำทะเบียนฝ่ายพลเมืองกำหนดให้ชายฉกรรจ์ ตั้งแต่อายุ 18 ปี
ไปจนถึงอายุ 60 ปี นั้นมีหน้าที่รับราชการ หรือ ให้มีบุตรมารับราชแทนตัว 3 คน
จึงจะพ้นหน้าที่ ชายฉกรรจ์ที่ขึ้นทะเบียนอายุ 18 ปีนั้น กำหนดเป็น ไพร่สม
ที่ต้องอยู่ฝึกหัดไปจนครบ 20 ปี แล้วจึงให้ย้ายไปเป็นไพร่หลวง คือ
กำลังฝ่ายกองพลใหญ่ ที่รับราชการจนถึงเวลาการปลดจากราชการ
ไพร่หลวง นั้นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
พวกหนึ่งใช้แรงรับราชการผลัดเปลี่ยนกันเข้าเวร
อีกพวกหนึ่งเป็นกำลังที่ตั้งภูมิลำเนาอยู่ไกล จัดเป็น ไพร่ส่วย
มีหน้าที่หาสิ่งของที่ต้องใช้ ในราชการแทนการรับราชการ แต่เวลาสงคราม
แล้วถูกเรียกเป็น ไพร่พลเหมือนกัน
การเรียกระดมพลเข้ามาซ้อมหรือฝึกการสู้รบหรือกระบวนยุทธนั้น (เรียก
พระราชพิธีปฐมกรรม) ก่อนเข้าเป็นไพร่พล ได้ให้มีพิธีขึ้นทุกหัวเมือง
และยังให้มีการแต่งตำราการสู้รบหรือพิชัยสงครามขึ้นด้วย
พ.ศ. 2035 ปีชวด สมเด็จพระรามาธิบดี
ทรงโปรดให้สร้างพระมหาสถูปเจดีย์ใหญ่
สำหรับพระบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระชนกนาถ) และพระบรมราชาธิราช
(พระมหาอุปราช ซึ่งเป็นพระเชษฐา บ้างว่า พระอินทราชา) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลขึ้น
ที่วัดพุทธาวาส (วัดพระศรีสรรเพชญ์)
แล้วพระองค์ทรงโปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้นในวัดพุทธาวาส พระราชวังหลวงด้วย
ครั้งนั้น
พระองค์ได้มีหมายเกณฑ์ระดมช่างฝีมือเร่งสร้างพระวิหารหลวง ประจำ
พระราชวังให้แล้วเสร็จเพื่ออัญเชิญพระพุทธรูปจำพระราชวังขึ้นประดิษฐาน
เป็นการบำเพ็ญพระราชกุศลถวายเป็นพุทธบูชา และอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก
พระพุทธรูปนั้นเป็นพระพุทธปฏิมากรยืนองค์ใหญ่ โดยจะสร้างด้วยทองสัมฤทธิ์
หุ้มทองคำองค์หนึ่ง (สร้าง พ.ศ. 2043) ถวายพระนามว่า พระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์
ต่อมาวัดพุทธาวาสประจำพระราชวังหลวงจึงเรียกเป็น วัดพระศรีสรรเพชญ์
พระพุทธปฏิมากร พระพุทธเจ้าพระศรีสรรเพชญ์
องค์นี้ช่างหลวงได้สร้างเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ วัดจากพระบาทถึงยอดพระรัศมีสูง 8
วา พระพักตร์กว้าง 3 ศอก ยาว 4 ศอก พระอุระกว้าง 11 ศอก
ใช้ทองหล่อหน้าห้าหมื่นสามพันชั่ง
ทำการหล่อเป็นองค์พระแล้วหุ้มด้วยทองคำหนักสองร้อยแปดสิบชั่ง
โดยใช้ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขาหุ้ม ด้านหน้าและใช้ทองเนื้อหกน้ำสองขาหุ้มด้านหลัง
พระพุทธรูปองค์ใหญ่ใช้เวลาสร้างตั้งแต่ ปีกุน เมื่อพุทธศักราช 2022 (สร้าง พ.ศ.
2043) รวมเป็นเวลาถึง 4 ปี
พระพุทธรูปนี้จึงสำเร็จและทรงจัดให้มีการฉลองพระพุทธรูปและวัดพระสรีสรรเพชญ์ขึ้นในปีเถาะ
พุทธศักราช 2026 (ศักราชน่าจะคลาดเคลื่อน กล่าวคือ สร้างพระวิหารหลวง พ.ศ. 2035
และพระพุทธรูป เมื่อ พงศ.2043 หากใช้เวลาหล่อ 4 ปี ก็สำเร็จใน พ.ศ. 2047
และคงไม่สร้างพระพุทธรูปก่อนสร้างพระวิหาร
(ตอนกรุงศรีอยุธยาแตก เมื่อ พงศ.2310 พระพุทธรูปศรีสรรเพชญ์
องค์นี้ ถูกโจรก่อนพม่าเข้ากรุง โดยเอาไฟเผาเอาทองคำจนเหลือแต่ซากอิฐ
ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 1 ได้นำซากนั้นมาบรรจุไว้ในเจดีย์ของวัดพระเชตุพน ที่กรุงเทพ)
นอกจากพระพุทธรูปที่สร้างอุทิศเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำพระราชวังแล้ว
พระองค์ยังได้เสด็จไปกระทำพิธีสักการะบูชา พระพุทธรูปองค์ประธาน
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไปทั่วพระนครอีกด้วย
แม้แต่เส้นทางคมนาคมที่ใช้ติดต่อทางน้ำ ระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา
กับแม่น้ำบางปะกง โดยใช้คลองสำโรงเชื่อมออกไปต่อกับครองหัวจระเข้และครองทับนาง
ให้เรือสินค้าสามารถนำเรือผ่านเข้าออกนั้น ต่อมาเมื่อปากแม่น้ำเจ้าพระยา
เกิดตื้นเขินลง จนเรือขนาดใหญ่เดินทางเข้าออกไม่สะดวก
พระองค์ก็โปรดให้ระดมคนงานทำการขุดลอกคลองนี้ ในปี พงศ. 2041
ขณะที่พระองค์ทรงโปรดให้ทำการขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองสำโรงกับคลองทับนางนั้น
คนงานได้ขุดพบรูปเทพารักษ์หล่อด้วยทองสำริดสององค์ มีชื่อจารึกไว้ว่า
พระยาแสนตาและบาทสังคังกร
พระองค์ได้โปรดให้จัดพิธีกรรมบวงสรวงรูปเทพารักษ์ทั้งสอนั้น
แล้วอัญเชิญมาประดิษฐานในศาลที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นที่เมืองพระประแดง
เรือสินค้าที่เดินทางเข้าออกต่างพากันสักการบูชานับถือเป็นเทพารักษ์ คุ้มครอง
ป้องกันภัยในการเดินทางเรือ ต่อมา พ.ศ. 2102
เจ้าเมืองละแวกได้เข้ามาตีหัวเมืองชายทะเลถึงพระประแดง
ได้นำเทวรูปทั้งสองนี้ไปที่เมืองละแวกด้วย
พ.ศ. 2047 กรุงศรีอยุธยานั้นเกิดเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ
พบกับภาวะน้ำน้อยทำให้มีน้ำไม่พอเลี้ยงข้าวในท้องทุ่ง จนข้าวในนาพากันแห้งตาย
บ้านเมืองเกิดภาวะข้าวยากหมากแพง แล้วยังเกิดเหตุแผ่นดินไหว
ถือเป็นนิมิตอุบาทว์ขึ้น จนราษฎรพากันหวาดวิตกกันไปทั่วพระนคร
แม้ในปีต่อมาสภาพบ้านเมืองก็ยังประสบข้าวยากหมากแพงอยู่
มีการซื้อขายข้าวกันถึงสามทะนานต่อเฟื้อง เบี้ยร้อยต่อเฟื้อง
ข้าวเกวียนหนึ่งขายได้เงินชั่งหนึ่งกับเก้าบาทสลึง
ทำให้อาณาประชาราษฎร์พากันเดือดร้อนไปทั่วแผ่นดิน
พ.ศ. 2050 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์กรุงศรีอยุธยามาได้ 16
ปี นั้น พระเมืองแก้ว กษัตริย์ครองเมืองเชียงใหม่ ได้ยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัย
ชาวเมืองได้ร่วมกันป้องกันเมืองไว้ได้ทำให้กองทัพเมืองเชียงใหม่ต้องยกกลับไป
จากเหตุการณ์นี้สมเด็จพระรามาธิบดี จึงให้พระยากลาโหมคุมกองทัพขึ้นไปตีเมืองแพร่
ใน พ.ศ. 2052 นั้นกรุงศรีอยุธยาได้เกิด
ราษตรีภาคเห็นอากาศนิมิตเป็นอินทธนู แต่ทิศหรดีผ่านมาทิษพายัพ มีพรรณสีขาว
ถือเป็นทุจริตนิมิตที่บอกเหตุร้ายในพระนคร
สืบเนื่องจากเหตุการณ์เมืองเชียงใหม่ รุกรานเมืองสุโขทัยนั้น ต่อมา
หนึ่งพิงยี่ แม่ทัพ คนสำคัญของเมืองเชียงใหม่ ที่รักษาชายแดนอยู่ที่เมืองนครลำปาง
ได้แต่งกองโจรลงมาจับเอาผู้คนเป็นเชลยตามหัวเมืองเหนืออยู่เสมอนั้น
ได้ยกกองทัพมาตีเมืองสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 2056 พร้อมกันได้ให้ หมื่นมลา
ยกทัพลงมาตีเมืองกำแพงเพชรด้วย ชาวเมืองต่างช่วยกันป้องกันเมืองไว้ได้อีก
เป็นเหตุให้พระองค์ทรงขัดเคืองพระทัย พงศ. 2058 จึงยกทัพหลวงขึ้นไปตีเมืองนครลำปาง
และทำลายกองทัพข้าศึก (ของหมื่นพิงยี่) ในที่สุด
สมเด็จพระรามาธิบดี
หวั่นเกรงว่าเหตุการณ์บ้านเมืองนั้นนับวันจะทำให้เป็นภัยต่อราชบัลลังก์
เนื่องเกิดเหตุการณ์ทอดบัตรสนเท่ห์ ทำให้มีการฆ่าขุนนางเป็นจำนวนมาก
พระองค์จึงโปรดให้แต่งตั้ง พระอาทิตย์วงศ์
พระโอรสขึ้นเป็น พระบรมราชาหรือ สมเด็จหน่อพุทธางกูร ตำแหน่งพระมหาอุปราช
โดยให้ขึ้นไปครองเมืองพิษณุโลก เสียก่อน และเป็นการดูแลหัวเมือง
ฝ่ายเหนือไม่ให้เข้ามารุกรานด้วย ภายหลังนั้น พ.ศ. 2065
ได้มีการทำไมตรีกับอาณาล้านนา ทำให้การสงครามสิ้นสุดลง
เนื่องจากโคลัมบัสได้นำเรือออกเดินทางจากประเทศสเปนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
สำรวจดินแดนไปถึงเกาะบาฮาม่าใกล้ทวีปอเมริกา เมื่อ พงศ. 2035
ต่อมาทำให้ประเทศที่มีเรือเดินทางได้นำนักสำรวจหลายประเทศพากันออกเดินทางไปค้นหาแผ่นดินใหม่
และสร้างอาณาเขตนิคมของชาติไปตามดินแดนต่าง ๆ ใน พงศ. 2053 นั้น
โปรตุเกสได้นำเรือเดินทางและเข้าทำการยึดครองเมืองกัวในอินเดียวได้
จากนั้นโปรตุเกสได้ใช้เมืองกัวนั้นเป็นฐานที่มั่น ทางภาคตะวันออกของอินเดีย
ต่อมาในปี พงศ. 2054 นั้น โปรตุเกสได้นำเรือเข้ายึดครองเมืองมะละกา
บริเวณปลายแหลมมลายู จึงเป็นเหตุให้โปรตุเกสเดินทางเข้ามาดินแดนสุวรรณภูมิ
เป็นครั้งแรกในเวลาต่อมา กล่าวคือ
ในรัชกาลของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 นั้น ชาวโปรตุเกส
ซึ่งตั้งมั่นอยู่ที่เมืองกัวในอินเดียใต้นั้น ได้นำทัพเรือมายึดครองเมืองมะละกาใต้
แต่เมื่อรู้ว่าเมืองมะละกานั้น เคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามมาก่อน
จึงเกรงว่ากองทัพสยามจะยกทัพลงไปตีเอาเมืองมะละกากลับคืนไป
กษัตริย์ของโปรตุเกสจึงแต่งทูตนำเรือเดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา เมื่อ พงศ. 2061
ขอเป็นไมตรีกับอาณาจักรสยามและทำการติดต่อค้าขายกัน
ตั้งแต่นั้นมาโปรตุเกสกับกรุงศรีอยุธยา
จึงติดต่อค้าขายและมีบทบาทสำคัญทางการค้าในเวลาต่อมา
ทำให้ไทยได้เรียนรู้วิทยาการสู้รบจนแต่งตำราพิชัยสงครามและเริ่มสำรวจทำบัญชีผู้คนและสัตว์เลี้ยง
ครั้นถึงวันอาทิตย์ เดือนสิบสอง ขึ้นแปดค่ำ พ.ศ. 2073
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ครองราชย์มาได้ 38 ปี ได้เสด็จสวรรคต
ขณะที่พระองค์มีพระชันษา 57 ปี
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 คือ พระเชษฐาธิราช พระราชโอรสของ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (บางแห่งว่าพระองค์เป็นพระโอรสของสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่
2 บางแห่งไม่มีรัชกาลสมเด็จพระอินทราชาธิราชที่ 2 องค์นี้)ครองราชย์ พ.ศ. 2034
บางว่า พระองค์ครองราชย์แต่ครั้งยังไม่ราชาภิเษก 3 ปี
(น่าจะหมายถึงเป็นพระมหาอุปราช)และครองราชย์เมื่อราชาภิเษกแล้ว 38 ปี คือ สวรรคต
พงศ.2072 บางแห่งว่า ครองราชย์ พงศ.2035 2052 (18 ปี) ศักราชไม่ตรงกันถึง 20 ปี
|