ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
ครองราชย์ พ.ศ. 2077
2089
สมเด็จพระไชยราชาธิราช นัยว่าเป็นพระโอรสของสมเด็จพระราเมธิบดีที่
2 ต่างพระมารดาของ สมเด็จพระบรมหน่อพุทธางกูร
ซึ่งพระมารดานั้นเป็นเชื้อสายราชวงศ์เชียงราย ได้รับแต่งตั้งเป็น พระชัยราชา
ตำแหน่ง
พระมหาอุปราชา ครองเมืองพิษณุโลก ต่อมาเมื่อ พ.ศ.2077 พระชนมายุ 19 พรรษา
ได้ยกทัพจากเมืองพิษณุโลกเข้ายึดอำนาจจาก สมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมาร พระนัดดา
ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ทรงพระนามว่า
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
สมเด็จพระไชยราชาธิราชนั้น มีพระนางจิตราวดี เป็นพระมเหสี
โดยมีพระสุริโยทัยเป็นพระญาติใกล้ชิด
ต่อมาพระสุริโยทัยได้อภิเษกเป็นพระมเหสีของเฑียรราชา ซึ่งเป็นพระอนุชาต่างพระมารดา
ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช จึงเป็นพระญาติที่สนิทสนมใกล้ชิดราชวงศ์ยิ่งขึ้น
พระเฑียรราชา นั้นมีพระมารดาเป็นพระญาติกับพระมารดาของขุนพิเรนทรเทพ
ซึ่งเป็นเชื้อสายราชวงศ์กษัตริย์ทางเหนือด้วยกัน ดังนั้น พระเฑียรราชา
กับขุนพิเรนทรเทพ ทั้งสองคนนี้จึงได้ตาม สมเด็จพระไชยราชาธิราช
เข้ามาชิงอำนาจและเข้ารับราชการอยู่ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยาด้วย
ต่อมา พระนางจิตราวดี พระมเหสีของสมเด็จพระไชยราชาธิราช
ได้สิ้นพระชนม์ลงจึงทำให้ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอก
ได้รับมอบให้ดูแลพระโอรสทั้งสองของพระนาง คือ พระแก้วฟ้าหรือ พระยอดฟ้า (11 พรรษา)
และพระสรีศิลป์ (5 พรรษา) ซึ่งเป็นรัชทายาทของราชวงศ์กษัตริย์
เนื่องจากพระโอรสทั้งสององค์นั้นยังเยาววัย ท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอก
จึงดำรงฐานะเป็นพระมารดาเลี้ยง
ได้ดูแลเลียงดูพระโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชสืบต่อมา
สมเด็จพระไชยราชาธิราช นั้น
เมื่อครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแล้ว พระองค์ทรงมีศรัทธาในพระศาสนา
จึงโปรดให้ทำการพูนดินขึ้นอุทิศถวายวัดชีเชียง (เมื่อพุทธศักราช 2061)
ในสมัยนั้น เส้นทางคมนาคมทางน้ำโดยเฉพาะแม่น้ำเจ้าพระยานั้น
ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาไปจนถึงปากแม่น้ำ ติดกับพื้นที่ทะเลนั้น
มีเส้นทางคมเคี้ยวในลักษณะคอดกิ่วเหมือนกระเพาะหมูอยู่หลายแห่ง
จนเป็นเหตุให้เส้นทางเดินเรือนั้นใช้เวลาเดินทางมาก ต้องพักค้างกลางทางถึง 3 4
คืน จึงจะสามารถเดินทางไปถึงพระนครของอาณาจักรสยามได้
แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงบางกอกนั้นเป็นเส้นทางน้ำที่มีโค้งขนาดใหญ่อ้อมไปตามแนวบางกอกใหญ่ถึงบางหลวง
แล้วอ้อมขึ้นไปทางเหนือผ่านบางขุนศรี ตลิ่งชัน และบางระมาดแล้ววกกลับมาบางกอกน้อย
เลี้ยวขึ้นเหนือไปทางสามเสน ทำให้แผ่นดินระหว่างบางกอกน้อยและบางกอกใหญ่
คอดกิ่วจนสามารถเดินถึงกันได้ระหว่างแม่น้ำตรงส่วนนั้น สมเด็จพระไชยราชาธิราช
จึงมีพระราชดำริ ให้ขุดคลองลัดตรงส่วนที่คอดกิ่ว
เดิมเป็นคลองลัดทำให้เส้นทางน้ำเดินตรง แต่อยู่มาไม่นาน
แม่น้ำไหลพุ่งตรงจนเซาะแนวตลิ่งจนกลายเป็นแม่น้ำใหญ่เชื่อมต่อกัน
ส่วนเส้นทางน้ำเดิมกลับตื้นเขิน และแคบกลายเป็นคลองบางกอกน้อย คลองบางหลวง
คลองบางกอกใหญ่ และ
เกิดมีปากน้ำขึ้นหลายแห่ง
การที่สมเด็จพระไชยราชาธิราชเข้ายึดอำนาจขึ้นครองราชย์นั้น
เป็นเหตุให้หัวเมืองบางเมืองที่ขึ้นอยู่กับกรุงศรีอยุธยาได้ดอกาสตั้งตัวเป็นอิสระ
ขณะนั้น พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์ของพม่า
มีความเข้มแข็งในการสงครามมากได้ขยายอาณาเขตเข้ามามีอำนาจในดินแดนของมอญ
จนสามารถเข้าครองและมีอำนาจในหัวเมืองของมอญจนมาถึงแดนของอาณาจักรสยาม
พวกมอญที่ไม่ยอมตกอยู่ในอำนาจของพม่า ได้พากันหนีเข้ามาอยู่ที่เมืองเชียงตราน
(เมืองอัตรัน บางแห่งเขียน เชียงกราน) ซึ่งเป็นเมืองที่อยู่ปลายแดนของอาณาจักรสยาม
เหตุการณ์นั้นทำให้พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ยกกองทัพมาตีเมืองเชียงตรานไป
สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้เสด็จยกทัพไปสู้รบกับพระเจ้าตะเบงชะเวตี้
และมีชัยชนะสามารถตีเอาเมืองเชียงตรานกลับคืนมาได้
การสงครามครั้งนี้เป็นสาเหตุที่ทำให้ไทยกับพม่า นั้นเป็นศัตรูกันต่อมา
พระองค์ยกกองทัพไปตีเอาเมืองเชียงไตร เมืองเชียงตรานครั้งนั้น
(บางแห่งเขียน เชียงไกร เชียงกราน)เมื่อพระองค์สามารถตีเอาเมืองได้แล้ว
พระองค์ทรงประทับอยู่ที่เมืองนั้น จนถึงเดือนสี่ ขึ้นเก้าค่ำ ก็เกิดเหตุการณ์
ลมพายุพัดหนักตอนยามหนึ่ง
วาตภัยในคราวนั้นได้พัดแรงจัดจนทำให้เรือไกรแก้วแตกเสียหาย
และพัดต้องโชนเรืออ้อมแก้วแสนเมืองม้า หักลง
สมเด็๗พระไชยราชาธิราช ได้ยกกองทัพมาถึงเมืองกำแพงเพชร
มีความแจ้งเหตุเข้ามาว่า พระนารายณ์ที่เมืองกำแพงเพชรทำการก่อการกบฏขึ้น
พระองค์จึงได้นำกองทัพเข้าปราบปรามและจับกุมตัวเอาไปประหารเสียในเมืองกำแพงเพชร
การสงครามนั้น ชาวโปรตุเกส ที่เข้ามาติดต่อค้าขาย
อยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้น ได้ (จ้างและตั้ง) เป็นทหารอาสาเข้ากับกองทัพกรุงศรีอยุธยา
กว่า 120 คน เป็นองค์รักษ์ และสอนวิชายิงปืนไฟครั้นเมื่อสู้รบมีชัยชนะกลับมา
สมเด็จพระไชยราชาธิราชได้พระราชทานที่ดินบริเวณริมแม่น้ำเหนือ
คลองเคียนให้ชาวโปรตุเกสตั้งบ้านเรือนอยู่
และได้อนุญาตให้สร้างวัดในศาสนาคริสตังขึ้นตามประสงค์
ภายหลังชาวโปรตุเกสกลุ่มนี้ได้สืบเชื้อสายและพากันมาตั้งบ้านเรือน
อยู่ทางตอนใต้บริเวณบางกอกใกล้เมืองธนบุรีศรีสมุทร
ซึ่งเป็นด่านขนอนเก็บภาษาเรือสินค้าเข้าออกของกรุงศรีอยุธยา
ต่อมา (ในปีพุทธศักราช 2068) สมเด็จพระไชยราชาธิราช
ได้ให้ยกกองทัพขึ้นไปตีเมืองเชียงใหม่ โดยให้พระยาพิษณุโลก
เป็นแม่ทัพยกพลออกไปตั้งทัพชัย (ตั้งทัพทำพิธีชัยชนะ) อยู่ที่ตำบลบางบาล พอวันเสาร์
เดือนเจ็ด ขึ้นสิบสี่ค่ำ พระองค์จึงยกทัพหลวงจากทัพชัยขึ้นไปยังเมืองกำแพงเพชร
เมืองเชียงของ แล้วเดินทัพขึ้นไปถึงเมืองเชียงใหม่
ครั้งนั้นพระองค์ทางนำกองทัพเข้าทำการสู้รบตีเมืองเชียงใหม่
ปรากฏว่าไม่สามารถตีเอาเมืองได้ พระองค์จึงให้ยกกองทัพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา
ครั้นถึงวันพุธ เดือนสาม ขึ้นสี่ค่ำ ภายในกรุงศรีอยุธยา
ได้เกิดไฟไหม้ขนาดใหญ่อย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน
ไฟได้ไหม้ตั้งแต่ท่ากลาโหมไปจนถึงท้ายพระราชวังหลวง แล้วไหม้ต่อไปถึงตลาดยอด
แล้วลมได้พัดเอาเปลวไฟเข้าไปตกในตะแลงแกง (ตาราง)
แล้วไหม้ลามลงไปยังป่าแล้วไฟนั้นได้ไหม้เลยไปถึงโรงคามที่ฉะไกร
ไฟไหม้ในกรุงศรีอยุธยาอยู่ 3 วัน ไฟจึงดับลง ปรากฏว่าไฟไหม้ในครั้งนี้ มีบ้านเรือน
สาลา กุฎิ วิหารเสียหาย นับเป็นจำนวนมากถึงแสนห้าสิบหลัง
ต่อมา พ.ศ.2081
เมืองเชียงใหม่ได้เกิดความวุ่นวายเรื่องเจ้าผู้ครองเมือง
สมเด็จพระไชยราชาได้เสด็จยกทัพขึ้นไปปราบปราม แต่ก่อนที่จะขึ้นไปถึงนั้น
ชาวเมืองเชียงใหม่ได้ยกพระนางจิรประภา มหาเทวีขึ้นครองเมือง เชียงใหม่แล้ว
ครั้นกองทัพกรุงศรีอยุธยาไปถึงพระนางจิรประภาได้ต้อนรับและแสดงไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
เหตุการณ์จึงสงบลงตลอด 7 ปี
ช่วงเวลา 7 ปี พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ กษัตริย์พม่า
ได้ทำสงครามปราบปรามหัวเมือง ใกล้เคียง ได้ดินแดนมอญ พม่า และไทยใหญ่
ไว้ในอำนาจมากมาย และทำการตั้งเมืองหงสาวดีเป็นราชธานี แต่ในพงศาวดารเรียก
พระเจ้าตะเบงชะเวตี้ ด้วยเหตุที่พม่ามีอำนาจเข้ามายังดินแดนไทยใหญ่ทางตอนเหนือ
จึงทำให้เมืองเชียงใหม่หันไปอ่อนน้อมกับพม่า
สมเด็จพระไชยราชาธิราช
เห็นว่าหากปล่อยให้เมืองเชียงใหม่นั้นไปอยู่กับพม่าเช่นนี้แล้ว
ต่อไปจะเป็นช่องทางให้พม่าลงมารุกราน อาณาจักรได้
จึงมุ่งที่จะทำการปราบหัวเมืองทางเหนือให้ได้ ดังนั้น
พระองค์จึงยกทัพตีเอาเมืองเชียงใหม่เสียให้ได้
การที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช
เสด็จออกไปราชการศึกสงครามนอกพระนครนั้น พระองค์ได้มอบอำนาจให้ท้าวศรีสุดาจันทร์
พระสนมเอก เป็นผู้สำเร็จราชการกรุงศรีอยุธยาแทน
จึงเป็นเหตุที่ทำให้ฐานะพระสนมเอกนั้นได้รับการยกย่องให้เป็น
นางพระยาเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ จึงมีพระราชอำนาจเท่ากษัตริย์
พ.ศ. 2088 (บางแห่งว่า พ.ศ. 2069) สมเด็จพระไชยราชาธิราช
ได้เสด็จยกกองทัพขึ้นไปทางเหนือ โดยมุ่งตีเอาเมืองเชียงใหม่ให้ได้
การยกทัพครั้งนี้พระองค์ได้ให้พระยาพิษณุโลก คุมพลสองหมื่นเป็นทัพหน้าเดินทัพ 1 วัน
ถึงเมืองกำแพงเพชร สมเด็จพระชัยราชาธิราช ประทับแรมอยู่ที่เมืองกำแพงเพชรนานถึง 15
วัน เพื่อเตรียมพร้อมที่จะยกกำลังขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงใหม่
ครั้นถึงวันพฤหัสบดี เดือนสาม ขึ้นหกค่ำ
พระองค์จึงได้โปรดให้ตั้งทัพชัย (เป็นทัพที่ตั้งขึ้นเพื่อเอาฤกษ์เอาชัย
เหมือนการทำพิธีตัดไม้ข่มนาง) แล้วให้จัดกองทัพรออยู่จนถึงวันเสาร์ ขึ้นแปดค่ำ
เมื่อได้ฤกษ์การยกทัพหลวงแล้ว พระองค์จึงให้ยกกองทัพเข้าตีเมืองลำพูนไชย
(เมืองนครลำปางด้วย) แล้วเข้าตีเมืองได้ในวันอังคาร เดือนสี่ ขึ้นสามค่ำ
จากนั้นจึงยกทัพเข้าล้อมเมืองเชียงใหม่ ได้ในวันจันทร์ เดือนสี่ ขึ้นเก้าค่ำ
พระนางจิระประภามหาเทวี ผู้ครองเมืองเชียงใหม่
นั้นเห็นว่าสู้รบไม่ได้จึงยอมออกมาอ่อมน้อมต่อกรุงศรีอยุธยา
ตั้งแต่นั้นมาเมืองเชียงใหม่ จึงตกเป็นประเทศราชของกรุงศรีอยุธยา
วันศุกร์ เดือนสี ขึ้นสิบสามค่ำ นั้น
เกิดเหตุอุบาทว์นิมิตทำให้เห็นเป็นโลหิตตกอยู่ตามประตูบ้านและตามบ้านเรือนของชาวบ้านทั้งนอกเมืองและทั่วทุกแห่งหนถือเป็นลางอัปมงคล
สมเด็จพระชัยราชาธิราช เห็นเหตุนิมิตนั้นจะเป็นลางร้าแก่บ้านเมืองเช่นนั้น
จึงเสด็จยกกองทัพหลวงออกจากเมืองเชียงใหม่ เพื่อเดินทัพกลับคืนกรุงศรีอยุธยา
ในระหว่างทางที่พระองค์เสด็จนำกองทัพกลับกรุงศรีอยุธยานั้น
พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน พ.ศ. 2089 (บ้างว่าปีมะเมีย พ.ศ. 2070 )
บรรดาแม่ทัพนายกองจึงอัญเชิญพระบรมศพเข้ากรุงศรีอยุธยา
ครั้นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระเจ้าเหนือหัวเสร็จสิ้นแล้ว
ฝ่ายสมณพราหมณาจารย์มุขมนตรีกวีราชนักปราชญ์ราชบัณฑิต พร้อมด้วยโหราจารย์ราชครู
ได้ประชุมเห็นพ้อมกันอัญเชิญ พระยอดฟ้า
พระราชโอรสผู้เสด็จผ่านพิภพถวัลยราชสมบัติตามราชประเพณีสืบหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาสืบไป
โดยมีเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นพระชนนี้ช่วยทำนุบำรุงประคองกษัตริย์
และเป็นผู้สำเร็จราชการในรราชสำนัก
สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระไชยราชา) เชื้อสายของราชวงศ์เชียงราย
ได้เข้ายึดอำนาจจับสมเด็จพระรัษฎาธิราชกุมารสำเร็จโทษ แล้วขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2077
ทรงให้ทำการพูนดินที่วัดชีเชียงเป็นครั้งแรก เสด็จไปตีเอาเชียงไตร เชียงตราน
(บ้างว่าเชียงไกร เชียงกราน) สมัยนี้
พระรายณ์ได้ทำการก่อกบฏที่เมืองกำแพงเพชรและเมื่อพ.ศ. 2067
เกิดไฟไหม้พระนครครั้งใหญ่ ตั้งแต่ท่ากลาโหมไปจนถึงท้ายพระราชวัง)
ท้ายตลาดยอด เพลิงลุกไหม้ตกลงตะแลงแกง แล้วลามไปป่าตองโรงคราม
ฉะไกร 3 วัน จึงดับ บ้านเรือนศาลากุฏิวิหารไหม้ 100,050 แห่ง
พระองค์ทรงทำสงครามกับพม่าและยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่ 2 ครั้ง ครั้งหลัง
ตีได้เมืองเชียงใหม่ และเกิดอุบาทว์นิมิต พระองค์ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี และว่า
สวรรคต พงศ. 2089 (12 ปี)
บางแห่งว่าครองราชย์ พ.ศ. 2052 2070 ศักราชไม่ตรงกัน
|