ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
ราชวงศ์สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระแก้วฟ้า
(สมเด็จพระยอดฟ้า)
ครองราชย์ พ.ศ. 2089
2091
สมเด็จพระแก้วฟ้า พระโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราช
พระองค์มีอีกพระนามว่า พระยอดฟ้า
นางจิตราวดี พระชนนี้นั้นสิ้นพระชนม์แต่ยังเล็ก
จึงอยู่ในความดูแลเลี้ยงดูของท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอก เมื่อมีพระชนมายุได้ 1
พรรษา ได้ขึ้นครองราชย์เป็นยุวกษัตริย์
สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์ผู้เยาว์นั้น
เนื่องจากยังออกว่าราชการไม่ได้ แม้ว่าเหล่าเสนาอำมาตย์มนตรีได้แต่งตั้งให้
พระเฑียรราชา พระอนุชาต่างพระมารดาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช
พระเจ้าเหนือหัวองค์ก่อน
และเป็นพระบรมวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแล้วก็ตาม
แต่ด้วยเหตุที่สมเด็จพระไชยราชาธิราช ทรงมอบให้
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ พระสนมเอกของพระองค์
เป็นผู้คอยอภิบาลกษัตริย์พระองค์น้อยอยู่ก่อนแล้ว จึงทำให้นางพระยาฯ
ไม่พอใจที่พระราชอำนาจนั้น จะต้องถูกแบ่งออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายราชการแผ่นดิน
(พระเฑียรราชา) และฝ่ายในราชสำนัก (ฝ่ายท้าวศรีสุดาจันทร์)
พระเฑียรราชานั้น แม้จะมีฐานะเป็นพระอนุชา ต่างพระมารดา
ของสมเด็จพระไชยราชาธิราช และเป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดก็จริง
อันสมควรได้ครองราชย์สืบแผ่นดิน ตามกฎมณเฑียรบาลเช่นเดียวกัน
แต่เมื่อมีการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเช่นนี้
พระเฑียรราชาก็รู้ในกุศโลบายที่
ท้าวศรีสุดาจันท์นั้นไม่ต้องการให้เกิดความแตกแยกในราชอาณาจักรและหาโอกาสใช้อำนาจในราชสำนักเข้าครองอำนาจทั้งหมด
โดยป้องกันความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้นด้วย
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ในฐานะพระสนมเอกและพระมารดา
ผู้อภิบาลกษัตริย์องค์น้อย ในฐานะที่เคยเป็นผู้สำเร็จราชการแทนกษัตริย์มาก่อน
เมื่อครั้งสมเด็จพระไชยราชา ธิราชไปราชการศึกสงคราม นาง
พระยาฯมีอำนาจในพระราชสำนักมาก่อนจึงทำให้สามารถเรียกเอาอำนาจที่เคยมีอยู่กลับคืนมาได้ง่าย
เนื่องจากมีข้าราชการที่เคยรับใช้ใกล้ชิดมาแต่ครั้งนั้น มาเป็นพวก
ผู้ที่หวังในอำนาจต่างก็เข้าฝักใฝ่ช่วยเหลือนางพระยาฯ
จนทำให้พวกของนางนั้นมีมากขึ้น
ในไม่ช้าฝ่ายราชสำนักที่มีกษัตริย์องค์น้อยอยู่กับนางพระยาฯ เช่นนี้
จึงทให้กลุ่มของนางพระยามีอำนาจมากขึ้นอย่างง่ายดาย
พระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินนั้น
เมื่อไม่มีอำนาจที่เหนือกว่าพระสนมเอก
ที่เคยรักษาการงานเมืองแทนพระเจ้าเหนือหัวมาก่อนแล้ว
ในการออกว่าราชการงานเมืองของพระเฑียรราชา จึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้สะดวก
เนื่องจากเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ นั้นมีพระยศในฐานันดรศักดิ์
เป็นพระสนมเอก ของพระเจ้าเหนือหัวและพระมารดา ผู้อภิบาลยุวกษัตริย์
เมื่อนางพระยาฯ ผู้นี้ได้รับการยกย่องเป็น
นางพระยาเจ้าแม่อยู่หัว (เจ้าแม่ยัวเมือง)
อันเป็นตำแหน่งสูงสุดของพระมเหสีของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
ด้วยเหตุที่พระเจ้าเหนือหัวทรง
มีพระทัยเสน่หามากจนถึงกับเคยให้พระสนมเอกผู้นี้เป็นผู้สำเร็จราชการในยามที่พระองค์ไปราชการทัพเช่นนี้
อีกทั้งนางพระยาฯ
ผู้นี้ก็มีกลุ่มขุนนางคอยสนับสนุนอยู่และไม่ปฏิบัติงานราชการของผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ดังนั้น เมื่อมีการสถาปนาพระยอดฟ้า พระโอรสผู้มีพระชันษาเพียง 11
พรรษาขึ้นครองราชย์ เป็นสมเด็จพระแก้วฟ้า
จึงต้องในอำนาจที่ทำให้เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
สามารถยึดอำนาจในราชบัลลังก์นั้นกลับคืนมาทั้งหมด โดยนางพระยาฯ นั้นได้ออกว่า
ราชการภายในพระราชวังต่างสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) กษัตริย์องค์น้อย
ทำให้งานบ้านเมืองมีเหตุให้มีข้อขัดแย้งกันอยู่เสมอ
ระหว่างเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ผู้สำเร็จราชการในราชสำนักกับพระเฑียรราชา
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
ที่มีแต่ข้าราชการที่เป็นเชื้อพระวงศ์ฝ่ายสมเด็จพระไชยราชาธิราชด้วยกัน
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
นั้นประสงค์ที่จะขึ้นมีอำนาจในราชการแผ่นดิน โดยมีสิทธิขาดอยู่แก่นางผู้เดียว
จึงพาลหาเหตุใส่ร้ายพระเฑียรราชาต่างนานา จนพระเฑียรราชาได้รับความเดือดร้อน
แม้จะคิดกำจัดนางเสีย ก็ติดที่นางนั้นเป็นพระมารดา ผู้คอยอภิบาลกษัตริย์
พระองค์น้อย ที่เป็นหน่อเนื้อของราชวงศ์เดียวกัน
ครั้นพระเฑียรราชาจะสู้ทนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอยู่ต่อไป
ก็เกรงว่าในวันข้างหน้าเจ้าแม่อยู่หัวท้าวสุดาจันทร์จะใช้ให้คนมาลอบทำร้ายตนได้
อีกประการหนึ่ง เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
นั้นเมื่อเป็นม่ายพระสาวมีลงเช่นนี้
ความต้องการที่มีอำนาจในราชบัลลังก็ที่มีสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า)
เป็นยุกษัตริย์ที่อยู่ใกล้ตัวนั้น ไม่ได้ทำให้นางเป็นฝ่ายราชวงศ์ได้ นางพระยาฯ
จึงคิดที่จะมีเสน่หาชอบพอในตัวของพระเฑียรราชา ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
เพื่อรักษาอำนาจและยกฐานะของพระสนมเอกให้เป็นพระวงศ์สูงขึ้นตามกฎมณเฑียรบาล
แม้ว่าในขณะนั้นพระเฑียรราชา จะมีพระสุริโยทัย เป็นพระชายาอยู่ก่อนแล้วก็ตาม
ด้วยเหตุแห่งภัยที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้าพระเฑียรราชา จึงตัดสินใจออกผนวช
พระเฑียรราชาได้มีหนังสือทูลลาออกผนวชถึงสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า)
กษัตริย์องค์น้อยเหมือนเป็นนัยที่จะบอกให้เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
ได้เลิกราต่อกัน
เมื่อพระเฑียรราชา
ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินได้ออกผนวชหนีภัยการเมืองไปจำพรรษาอยู่ที่วัดราประดิษฐ์เสียเช่นนี้แล้ว
บรรดาข้าราชการบริพารที่ภักดีต่างพากันออกบวชติดตามเจ้านายพระองค์นี้ในเวลาต่อมาเช่นเดียวกัน
ดังนั้น เมื่อแผ่นดินขาดผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไปเสียดังนี้แล้ว
จึงทำให้เจ้าแม่อยู่หัว ท้าวศรีสุดาจันทร์ มีอำนาจเบ็ดเสร็จในกรุงศรีอยุธยา
โดยนางพระยาฯ ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแต่ผู้เดียว
นางพระยาฯ คิดการเป็นใหญ่อยู่เช่นนี้
จึงคิดที่จะครองอำนาจในราชบัลลังก์ทุกวิถีทาง
เมื่อพระเฑียรราชาหลีกหนีจากนางไปเช่นนี้ นางก็รู้สึกอยู่ว่าเหตุการณ์เช่นนี้
นางจะต้องหาชายหนุ่มรูปงามที่พึงพอใจมาไว้เป็นกำลังในฝ่ายนาง
และคบหาเป็นเพื่อนสนิทเสน่หาด้วย
(ในพุทธศักราช 2071) สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า)
กษัตริย์องค์น้อย เสด็จออกท้องสนามหลวง
พร้อมด้วยเหล่าเสนามาตย์มนตรีที่คอยเฝ้าเบื้องพระยุคลบาท ครั้งนั้นสมเด็จพระยอดฟ้า
ได้สั่งให้เอาช้างต้นพระยาฉัททันต์ออกมาบำรูงากัน
(ซ้อมการชนช้างซ้อมเอางาแหงหุ่นเป็นการฝึกการสู้รบด้วยช้าง)
ในขณะช้างต้นฝึกซ้อมการสู้รบบำรุงงาอยู่นั้น
ได้บังเกิดทุจริตนิมิตทำให้งาช้างพระยาไฟนั้นหักเป็นสามท่อน
ครั้นถึงเวลาค่ำวันนั้น ช้างต้นพระยา
ฉัททันต์ในโรงช้างหลวงก็ร้องส่งเสียงดังลั่นราวกับเสียงร้องไห้ของคนที่ได้รับความเจ็บปวด
แล้วก็วิ่งไล่แทงช้างต้นด้วยกันจนเกิดโกลาหลไปทั้งกรมช้าง
ในขณะเดียวกันประตูไพชยนต์ที่เข้าไปสู่พระที่นั่งไพชยนต์มหาปราสาทอันเป็นสถานที่สำคัญสำหรับพระเจ้าเหนือหัวออกขุนนางว่าราชการนั้น
ได้เกิดมีเสียงร้องเป็นอุบาทว์ให้ได้ยินเป็นทุจริตนิมิตของแผ่นดิน
เสียงโจษจันอันถึงเหตุทุจริตนิมิตของช้างต้น และประตูไพชรยนต์
ได้ร่ำลือแพร่สะพัดออกไปทั่วพระนครศรีอยุธยา จนเจ้าแม่อยู่หัวฯ
ผู้ต้องการมีอำนาจในราชบัลลังก์หวั่นวิตกเมื่อเกิดเหตุเช่นนี้ขึ้น
แต่ด้วยเหตุที่ราชสำนักในขณะนั้นตกอยู่ในอำนาจของท้าวศรีสุดาจันทร์ จนหมดสิ้น
ซึ่งไม่มีพระเฑียรราชา หรือเชื้อพระองค์ใดที่จะกล้ายื้อแย่งอำนาจได้แล้ว
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
นั้นแม้ภายในใจจะมีแต่ความรู้สึกหวั่นวิตกต่อเหตุร้าย ที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า
นางนั้นก็รู้อยู่แก่ใจว่า การที่นางคิดมักใหญ่ใฝ่สูงจนได้อำนาจในราชบัลลังก์นั้น
เป็นเหตุที่ทำให้เกิดทุจริตนิมิตร้ายนั่นเอง
แม้แต่พระเฑียรราชาก็ยังหนีออกผนวชให้พ้นจากราชสำนัก
แต่บรรดาขุนนางใหญ่น้อยและเชื้อพระวงศ์ที่จะพากันยอมรับให้นางพระยาฯ
ได้มีฐานะเป็นคนในราชวงศ์ของกษัตริย์นั้น ก็ล้วนแต่มีความหวาดกลัว
มองไปทางใดนางพระยาฯ ก็มีแต่ศัตรูอยู่โดยรอบ
จนยากที่จะมีผู้คอยปกป้องคุ้มภัยให้นางได้
คิดแล้วนางจึงรู้สึกโดดเดี่ยวและยังปรารถนาที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีอำนาจและมั่นคง
ดังนั้น ความต้องการที่จะหาผู้ปกป้องที่เข้มแข็ง
เพื่อคอยคุ้มครองช่วยเหลือนางให้มีอำนาจในราชบัลลังก์นั้น จึงทวีความต้องการมากขึ้น
จนเช้าวันหนึ่ง เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
ได้เดินเที่ยวชมสวนเพื่อผ่อนความความกังวลใจ และถือโอกาสนั้นเข้ากราบไหว้พระพุทธรูป
พระศรีสรรเพชญ์ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง
และพระพุทธรูปประจำหอพระในราชวังหลวงทุกแห่งไปพร้อมกัน
สุดท้ายนั้น นางพระยาฯ ได้เข้าไปยังพระที่นั่งพิมานรัตยา
ซึ่งเป็นหอพระด้านนอก ขณะที่เจ้าแม่อยู่หัวทำการสักการะพระพุทธรูปในหอนั้น
นางพระยาฯ ได้เห็น พันบุตรศรีเทพ ผู้เฝ้าหอ พระนั่งสงบอยู่ข้างฐานชุกชี
นางพระยาก็บังเกิดจิตเสน่หารักใคร่ในทันที
เจ้าแม่อยู่หัวจึงให้นางกำนัลเอาเมี่ยงหมากห่อผ้าไปให้พันบุตรศรีเทพผู้นั้น
ชายหนุ่มพันบุตรศรีเทพ รับห่อนั้น มาจากสาวกำนัล ก็รู้ด้วยอัธยาศัยว่า
นางผู้เป็นเจ้าแม่อยู่หัวนั้นมีจิตเสน่หารักใคร่ในตน
ชายหนุ่มคิดแล้วก็มีความยินดี
จึงได้หยิบเอาดอกจำปาที่วางอยู่ในพานส่งให้นางกำนัลนั้น นางพระยาฯ หญิงหม้าย
รับดอกจำปาและรู้ความนัยแล้ว ก็ยิ่งมีจิตปรารถนาในตัวพันบุตรศรีเทพ
ชายหนุ่มผู้นั้นเป็นอันมาก
ต่อจากนั้น นางพระยาฯ จึงได้สั่งให้พระยาราชภักดี
เร่งทำการย้ายเปลี่ยนหน้าที่และแต่งตั้งให้พันบุตรศรีเทพ เข้ามาเป็นข้าหลวงเดิม
โดยเปลี่ยนเอาขุนชินราช
ตำแหน่งผู้รักษาหอพระในเขนพระราชฐานชั้นในออกไปทำหน้าที่หอพระด้านนอกแทน
การที่นางพระยาฯ ให้พันบุตรศรีเทพ ชายหนุ่มจากบ้านมหาโลกนั้นเป็นที่ขุนชินราช
ทำหน้าที่ข้าหลวงเดิมรักษาหอพระในพระราชฐาน
ก็เพื่อที่นางจึงได้หาโอกาสใกล้ชิดกับชายหนุ่มผู้นี้ได้สะดวกขึ้น
หลังจากวันนั้นความสัมพันธ์ของคนทั้งสองก็มีความสนิทเสน่หามากขึ้น
จนถึงกับลักลอบผูกสมัครรักใคร่ร่วมสังวาลอยู่นานนับปี
พระยามหาเสนา อำมาตย์ผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์นั้น
ได้รู้ข่าวที่เกิดขึ้นภายในพระราชวังหลวงแล้ว
ก็รู้สึกผิดหวังในความจงรักภักดีที่นางพระยาฯ คิดการใหญ่ลักลอบรักใคร่คนนอกราชวงศ์
จึงมีใจคิดจะกำจัดการกระทำของเจ้าแม่อยู่หัวศรีสุดาจันทร์นั้นเสีย
ครั้นเมื่อได้พบกับพระยาราชภักดี ก็ได้แต่ปรารภความในโดยหารู้ไม่ว่า
ตนกำลังบอกความให้กับฝ่ายตรงข้ามได้ล่วงรู้ ด้วยพระยาราชภักดีผู้นี้เป็นผู้ย้าย
พันบุตรศรีเทพ ตามบัญชาของนางพระยาฯ ให้มาอยู่ในเขตพระราชฐาน เพื่อให้นางพระยาฯ
มีโอกาสที่จะใกล้ชิดชายหนุ่มโดยไม่มีใครสงสัย พระยาราชภักดี
นั้นได้นำความนั้นไปแจ้งต่อเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ ด้วยความหวาดระแวง
ที่เหล่ามุขอำมาตย์ราชบัณฑิตจะมีทุจริตคิดร้ายต่อนาง เมื่อมีเหตุสงสัยขึ้นเช่นนี้
นางพระยาฯ จึงวางอุบายหาเหตุสั่งให้
พระยามหาเสนาได้เข้าเฝ้านางพระยาฯที่ประตูหินในเขตพระราชฐานชั้นใน
ครั้นเวลาค่ำลง พระยามหาเสนากลับออกมาหลังจากเข้าเฝ้านางพระยาฯ
แล้ว จึงมีผู้ร้ายเข้าฟันแทง พระยามหาเสนาจนล้มลง ขณะที่อำมาตย์ผู้จงรักภักดี
นั้นกำลังจะสิ้นใจนั้น ได้ร้องขึ้นว่า เมื่อเราถูกฆ่าเป็นดั่งนี้เสียแล้ว
ผู้ที่อยู่ภายหลังจะได้รับกรรมอย่างไรเล่า
หลังจากที่มีเหตุการณ์ฆ่าพระยามหาเสนาแล้ว
ทำให้หมู่อำมาตย์ราชมนตรีทั้งปวงได้แต่พากันรักษาตัวให้พ้นจากอำนาจภัย
ไม่มีผู้ใดคิดเอาใจเป็นศัตรูต่อนางต่อไป เมื่อนางพระยาฯ
สามารถปรามศัตรูให้หวาดกลัวได้เช่นนี้แล้ว
การที่นางลักลอบสมัครรักใคร่กันกับขุนชินราชนั้นจึงเป็นไปโดยไม่มีผู้ใดกล้าขัดขวาง
แม้แต่เสียงที่จะพูดโจษจันกัน
คนทั้งสองลักลอบร่วมรักใคร่กันอยู่นาน
ในไม่ช้าเจ้าแม่อยู่ท้าวศรีสุดาจันทร์ก็เกิดตั้งครรภ์ขึ้น
นางปิดความไม่ให้แพร่พรายอย่างไรก็ไม่ได้
ด้วยความหวาดระแวงเกรงภัยอันตรายจากเหล่าขุนนางผู้จงรักภักดีต่อราชวงศ์
จึงทำให้นางพระยาฯ ออกอุบายที่จะแก้ไขความผิดนั้น นางพระยาจึงสั่งให้พระยาราชภักดี
เร่งทำการแต่งตั้งให้ขุนชินราชขึ้นเป็นที่ขุนวรวงศาธิราช
ซึ่งเป็นตำแหน่งฝ่ายราชนิกูล ให้มีหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาการทหารรักษาวัง
และมีหน้าที่ว่าราชการใกล้ชิดต่างพระเนตรพระกรรณ กษัตริย์องค์น้อย
โดยนางวางอุบายที่จะให้ชายหนุ่มนอกราชวงศ์ชู้รักผู้นี้เป็นผู้มีอำนาจโดยรับคำสั่งจากนางไปสนั่งราชการงานเมืองแทน
เนื่องจากนางมีครรภ์และประสงค์จะปิดความไม่ให้ใครรู้
ซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้นางพระยาฯ ไม่สามารถออกว่าราชการอย่างแต่ก่อนได้
แต่แล้วครรภ์ของนางนั้นก็โตขึ้นจนเป็นที่สงสัยแก่ข้าราชบริพารในราชสำนัก
ในไม่ช้าเสียงโจษจันก็รู้กันทั่วในราชสำนัก
โดยที่นางนั้นยังมัวเมาในเสน่หาอยู่กับขุนวรวงศาธิราชแต่ภายในพระราชวังหลวง
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดจันทร์นั้นหาได้รู้ตัวไม่ว่า
ภายในเขตพระราชฐานบรรดาอำมาตย์ราชบัณฑิต และข้าผู้จงรักภักดีในเชื้อพระวงศ์
ที่ทำตัวพากันนิ่งเฉยรักษาชีวิตให้รอดจากภัยของนางนั้น
ต่างรู้ถึงความลับของนางจนหมดสิ้นแล้ว
ในที่สุดข่าวโจษจันกันในราชสำนักก็แน่ชัดว่า
คนทั้งสองนั้นได้ลักลอบเป็นชู้กันและนางก็กำลังจะเกิดบุตรขึ้นในครรภ์
ในภายหน้านั้นบุตรของนางจะเป็นอันตรายแก่ราชบัลลังก์
ของราชวงศ์กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
แต่เนื่องจากขณะนั้นเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ได้คุมอำนาจเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน
และให้ขุนวรวงศาธิราชมีหน้าที่ว่าราชการแผ่นดินมากขึ้น จึงได้พากันนิ่งเฉยอยู่
สำหรับขุนวรวงศาธิราชนั้น เป็นชายที่นางเสน่หารักใครอยู่มาก
นางจึงปรารถนาที่จะให้ปรากฏว่าขุนวรวงศษธิราชผู้นี้เป็นบุคคลที่มีความสำคัญของแผ่นดิน
ดังนั้น ถ้าเสนาบดีหรือข้าราชการคนใดไม่ยอมอ่อนน้อมต่อขุนวรวงศาธิราชแล้ว
นางก็จะให้คนออกไปลอบฆ่าเสีย หรือกำจัดออกไป
จนบรรดาเหล่ามุขอำนาตย์ราชมนตรีในราชการงานเมืองพากันหวั่นเกรงภัยกันถ้วนหน้า
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ เร่งสั่งให้ทำการปลูกจวนพักขึ้นที่ริมศาลาสารบัญชี
เพื่อให้ขุนวรวงศาธิราช
ได้ใช้เป็นที่ว่าราชการพิจารณาเลกสมสังกัดกองกำลังสำหรับรวบรวมกำลังให้มากขึ้น
โดยให้จัดราชอาสน์ตั้งไว้ด้านหน้าบนจวนนั้น
สำหรับใช้ขุนวรวงศาธิราชนั่งประทับว่าราชการ
และทำให้บรรดาขุนนางใหญ่น้อยทั้งปวงอ่อนน้อมยำเกรง
นอกจากนี้ นางพระยาฯ
ยังให้สร้างจวนศาลาว่าราชการเมือง ขึ้น ณ ประตูริมต้นหมัน เพื่อให้ขุนวรวงศาธิราช
ใช้เป็นที่ออกนั่งว่าราชการแทนนางที่นั่นด้วย
เมื่อผู้คนทั่วพระนครรู้ว่าเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์นั้นมีครรภ์กับขุนวรวงศาธิราช
เช่นนี้แล้ว นางจึงคิดหาทางที่จะยกเอาขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน
(ในพุทธศักราช 2072)
สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) แม้จะมีพรรษาได้ 13 ปี ก็ทรงตระหนักดีว่า พระมารดา
(เป็นพระมารดาเลี้ยง) นั้นผูกสมัครักใคร่กับขุนวรวงศาธิราช
จนมีครรภ์ก็เกิดละอายพระทัย จึงคบคิดกับขุนนางผู้จงรักภักดี
โดยคิดที่จะหาหนทางกำจัด ขุนวรวงศาธิราชเสีย เพื่อรักษาเกียรติยศของราชวงศ์
แต่ขุนวรวงศาธิราชได้รู้ความนี้เสียก่อน
จึงลอบเข้าไปวางยาพิษปลงพระชนม์สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) เสีย
บางแห่งว่า ขุนวรวงศาธิราชวางแผนจับเอาตัวสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า)
ปลงพระชนม์ที่วัดโคกพระยาสรุปแล้ว
สมเด็จพระแก้ว
(พระยอดฟ้า) ครองราชย์ได้ 2 ปี 6 เดือน)สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) พระชนมายุ 11
พรรษา เป็นพระโอรสของสมเด็จพระไชยราชา ขึ้นครองราชย์ พ.ศ. 2089
โดยมีท้าวศรีสุดาจันทร์ เป็นพระชนนีเลี้ยง ช่วยดูแลราชการแผ่นดิน
และเกิดแผ่นดินไหวปีนั้น สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) ถูกขุนวรวงศาธิราช
ยึดอำนาจแล้วเอาตัวไปประหารชีวิตที่วัดโคกพระยาเมื่อ
พ.ศ.
2091 รวมอยู่ในราชสมบัติได้ 1 ปี 2 เดือน (บางแห่งว่าครองราชย์ พง.2070 2072 (2
ปี) ศักราชไม่ตรงกัน
|