นอกราชวงศ์
นอกราชวงศ์
ขุนวรวงศาธิราช
(พันบุตรศรีเทพ)
คนนอกบัลลังก์นั่งชัง
42 วัน พ.ศ. 2091(1)
ขุนวรวงศาธิราช ผู้นี้เกิดวันจันทร์ ในตระกูลอำมาตย์
อยู่บ้านมหาโลก เดิมนั้นรับราชการเป็น พันบุตรศรีเทพ ทำหน้าที่เฝ้าหอพระด้านนอก
ต่อมาหลังจากที่สมเด็จพระไชยราชา สวรรคตแล้ว ท้าวศรีสุดจันทร์
พระสนมเอกได้พบและมีจิตเสน่หาต่อ พันบุตรศรีเทพ จึงถูกนำพาเข้ามาเป็น ขุนชินราช
เพื่อเฝ้าหอพระในราชสำนัก เมื่อ อายุ 20 ปี
แล้วทั้งสองได้ผูกสมัครรักใคร่ลักลอบสังวาสกัน นางมีครรภ์ขึ้น
ดังนั้น เมื่อฐานะของนางพระยา เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดจันทร์
ได้ประจัก์ชัดว่า นางพระยานั้นได้ส่งเสริมให้คนนอกบัลลังก์เข้ามามีอำนาจในแผ่นดิน
และกำลังจะมีบุตรด้วย กันเช่นนี้ ทำให้นางยกขุนชินราช เป็นขุนวรวงศาธิราช
โดยให้นายจัน บ้านมหาโลก
น้องชายของขุนวรวงศาธิราชเข้ามาเป็นกำลังควบคุมอำนาจในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา
ราชสำนักจึงต่างมีความหวาดระแวงต่อกัน
ด้วยเหตุนี้จึงมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มของพวกขุนวรวงศาธิราบกับฝ่ายเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าเหนือหัวองค์เก่าอยู่เนือง
ๆ ในไม่ช้า ผู้จงรักภักดีหลายคนต่างกันออกบวชตามพระเฑียรราชา
เพื่อหลบซ่อนตัวให้รอดพ้นจากอำนาจที่เป็นภัยจากผู้ปล้นราชบัลลังก์
ที่มุ่งทำร้ายได้ทุกเมื่อหากเกิดความระแวงสงสัย
เจ้าแม่อยู่หัวทาวศรีสุดาจันทร์นั้น
ถึงมีความโศกเศร้าที่สมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) สิ้นพระชนม์โดยไม่รู้สาเหตุ
นางพระยาฯ ก็รู้ตัวว่าตลอดเวลาว่านางนั้นได้ประพฤติล่วงเลยไปในทางผิดมากมาย
ซึ่งถือเป็นความผิดมหันต์จึงยากที่นางจะคิดคำนึงถึงคุณธรรม ด้วยเหตุนี้ นางพระยาฯ
ผู้นี้จึงไม่ได้คิดเอาใจใส่ทีจะล่วงรู้ความจริงถึงการสิ้นพระชนม์ของกษัตริย์องค์น้อยนัก
นางพระยาได้แต่เฝ้าคิดที่แต่จะรักษาอำนาจของนางให้รอดปลอดภัยจากผู้ไม่หวังดีแต่อย่างเดียว
ดังนั้น เมื่อสิ้นสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า) เสียแล้ว
นางคิดที่จะยกเอาพระศรีศิลป์ พระอนุชา ขึ้นเป็นรัชทายาทของแผ่นดินตามราชประเพณี
เพื่อให้ฝ่ายราชวงศ์เป็นไมตรีด้วย แต่ครั้งนี้นางพระยาฯ
ได้กลับยกเอาเหตุที่พระศรีศิลป์ รัชทายาทยังทรงพระเยาว์นัก ออกว่า
ราชการแผ่นดินไม่ได จำเป็นต้องมีผู้ว่าราชการแผ่นดินแทน
จึงได้โอกาสสถาปนาขุนวรวงศาธิราช
ขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดินครองกรุงศรีอยุธยาเสียในคราวนี้
พระวงศานุวงศ์และข้าราชบริพารทั้งปวงต่างเกรงอาญาของเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
จึงพากันนิ่งอยู่ มิรู้จะคัดค้านประการใดให้เป็นภัยแก่ตัว
เจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์ จึงให้ปลัดกรมวัง ฝ่ายใน
ทำพิธีรอัญเชิญพระราชยานและเครื่องสูง แตรสังข์ กับขัตติวงศ์
ออกไปรับขุนวรวงศาธิราช เข้ามาในพระราชนิเวศมณเฑียรสถาน
ภายในนั้นได้จัดพระราชพิธีราชาภิเษก ทำพิธียกขุนวรวงศิราชขึ้นเป็น
เจ้าพิภพกรุงเทพทวาราวดีศรีอยุธยา และสถาปนานายจันทร์ บ้านมหาโลก
ผู้เป็นน้องของขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นพระจันทร์ มหาอุปราช
ในไม่ช้ากำลังของชาวบ้านมหาโลกได้เข้าไปมีอำนาจอยู่ในพระนครศรีอยุธยาทั้งหมด
แล้วนางพระยาฯ
ได้จัดพิธีให้พระวงศานุวงศ์และข้าราชบริพานทั่งปวงถือน้ำพระพิพัฒสัจจากระทำสัตย์สาบานต่อขุนวรวงศาธิราช
แล้วร่วมกันทำพิธีสถาปนาขุนวรวงศาธิราชขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน
ส่วนนางนั้นก็จะดำรงอยู่ในตำแหน่งอัครมเหสี เพื่อรักษาอำนาจและราชบัลลังก์นั้นต่อไป
ส่วนพระวงศานุวงศ์และข้าราชบริพานทั้งปวงนั้น
แม้ขุนวรวงศาธิราชจะยังให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งเดิมเหมือนเมื่อครั้งพระเจ้าเหนือหัวยังมีพระชนม์อยู่ก็ตาม
แต่เมื่อพระราชโอรสทั้งสองของสมเด็จพระไชยราชาธิราช
ขุนวรวงศาธิราชมิได้แต่งตั้งยกย่องพระศรีศิลป์ รัชทายาทแต่ประการใด
ขุนนางใหญ่น้อยก็หมายรู้ว่าในไม่ช้าวันภัยอันตรายนั้นจะมีขึ้นกับเจ้านายองค์น้อยนั้น
ในขณะนั้นได้มีข่าวว่าหัวเมืองฝ่ายเหนือได้พากันชักชวนที่จะยกทัพลงมาเพื่อทำการปราบปรามขุนวรวงศาธิราช
ส่วนขุนวรวงศาธิราชนั้นแม้ได้ราชาภิเษกขึ้นเป็นเจ้าแผ่นดิน โดยเปิดเผยแล้ว
ก็ยังคาดหวังไว้ว่า พวกที่ยงตั้งตัวเป็นกลางนั้น
ก็อาจจะสมัครเข้ามาเป็นพวกของเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
โดยหวังที่จะหาผลประโยชน์จากราชการให้ได้ถึงมือโดยเร็ว เมื่อกำลังของตนมากขึ้น
ก็อาจจะป้องกันได้บ้าง
ขุนวรวงศาธิราช ผู้นั่งราชบัลลังก์เป็นเจ้าแผ่นดิน
โดยอำนาจของเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์นั้น
เมื่อรู้ข่าวทัพเช่นนั้นจึงได้ให้สมุหนายก
มีตราขึ้นไปยังหัวเมืองฝ่ายเหนือทั้งเจ็ดหัวเมืองลงมากรุงศรีอยุธยา
ตั้งแต่นั้นมาขุนวรวงศาธิราชก็บังคับบัญชาการมีสิทธิ์ขาดตามอำเภอใจ
ผู้ใดกระด้างกระเดื่องก็ให้ลอบฆ่าฟันและกำจัดเสีย
จนบรรดาเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารทั้งปวงพากันได้รับความเดือดร้อน
จึงต่างคิดหาหนทางกำจัดผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์อยู่เป็นนิตย์
แต่ยังไม่มีใครเป็นผู้นำในการกำจัดศัตรูของราชบัลลังก์ ด้วยเหตุนี้
ภายในพระนครศรีอยุธยานั้น
ทุกคนจึงได้แต่กันสงบรักษาตัวให้รอดปลอดภัยโดยเก็บความรู้สึกชิงชังอยู่ภายในตลอดมา
ในที่สุด ขุนวรวงศาธิราช
ก็ได้นั่งบัลลังก์และสถาปนาตนเป็นเจ้าแผ่นดิน ตามความต้องการของท้าวศรีสุดาจันทร์
โดยนางพระยาฯ นั้นเป็นผู้กุมอำนาจในราชสำนักไว้ทั้งหมด
เมื่อเจ้าแม่อยู่หัวท้าวศรีสุดาจันทร์
ได้วางแผนจัดการให้มีอำนาจในแผ่นดิน โดยไม่คำนึงถึงกฎมณเฑียรบาลเช่นนี้
เหล่าอำมาตย์ราชมนตรีที่มีความซื่อสัตย์ต่อรวงศ์กษัตริย์และอาณาจักรจึงพากันรู้สึกโกรธเคือง
พระยากลาโหม ผู้เคยเป็นพระอภิบาลของสมเด็จพระแก้วฟ้า (พระยอดฟ้า)
พระราชโอรสของสมเด็จพระไชยราชาธิราชนั้น เมื่อสิ้นพระยอดฟ้าลง
ขุนนางผู้จงรักภักดีผู้นี้ได้ลอบนำความในใจไปปรึกษาหารือกับขุนพิเรนทรเทพ
เจ้ากรมตำรวจ
ซึ่งเวลานั้นบรรดาข้าราชการที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์กษัตริย์ต่างก็ถูกปลด
และถูกประหารชีวิตจนเป็นเดือดร้อนทั่วไป
จนไม่มีใครกล้าขัดขวางอำนาจของขุนวรวงศาธิราชได้
ในที่สุด ข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่งที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์
เมื่อสุดทนเห็นความอัปยศในราชบัลลังก์เช่นนี้
ได้จึงพากันลักลอบร่วมกันคิดกำจัดอำนาจของคนอกราชบัลลังก์นี้เสีย
โดยมีขุนพิเรนทรเทพ เจ้ากรมตำรวจ พระญาติของพระเฑียรราชา
เป็นหัวหน้าสำคัญและพรรคพวก ประกอบด้วย ขุนอินทรเทพ ผู้เป็นมิตรสหาย หมื่นราชเสน่หา
หลวงศรียศ แห่งบ้านลานตากฟ้า คนทั้งสี่ได้วางใจกันและหารือในที่ลับว่า
แผ่นดินเป็นทุรยศเช่นนี้แล้ว จำจะหาหนทางจับกุมเอาตัวขุนวรวงศษธิราชประหารชีวิตเสีย
แล้วจะเชิญพระเฑียรราชา ผู้ครองเพศสมณะอยู่นั้น เป็นพระเจ้าแผ่นดิน แล้วคนทั้งหมด
ขุนพิเรนทรเทพ ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา และหลวงศรียศ
ทั้งสี่คนต่างพากันไปยังวัดราชประดิษฐาน
แล้วคนทั้งหมดก็เข้าไปเฝ้าและนมันการพระภิกษุผู้เป็นพระบรมวงศ์ผู้ใหญ่ของกรุงศรีอยุธยา
ค่ำวันนั้น ขุนอินทรเทพ หมื่นราชเสน่หา หลวงศรียศ
และพระภิกษุพระเฑียรราชา
ต่างก็ชวนกันมานั่งฟั่นเทียนขี้ผึ้งขึ้นสองเล่มให้มีน้ำหนักเท่ากัน
ไส้เทียนทั้งสองเล่มใช้เส้นด้ายนับเส้นเท่ากัน โดยต่างฟั่นให้เทียนสั้นยาวเสมอกัน
แล้วคนทั้งหมดก็พากันเดินทางมายังวัดป่าแก้ว
แล้วพากันเข้าไปยังอุโบสถที่มีพระประธานองค์ใหญ่พระภิกษุพระเฑียรราชาได้เข้าไปกราบนมัสการพระพุทธรูปในอุโบสถแล้ว
นำคณะทำการกล่าวคำสัตย์อธิษฐานว่า
ปางเมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถเจ้า
เสด็จจาริกโปรดเวไนยสัตว์อยู่ย่อมทำให้โลกอันมีความวิมุตติในสันดานให้บริสุทธิ์สิ้นสงสัยด้วยพระญาณสัพพัญญูนั้น
เมื่อพระพุทธองค์ได้เสด็จเข้าสู่พระมหาปรินิพพานแล้วก็ยังทรงพระมหากรุณาประดิษฐานพระเจดีย์ทั้งห้าองค์ขึ้นในโลกคือ
พระพุทธปฏิมากร พระมหาโพธิ์ พระสถูป พระชินธาตุ
พระไตรปิฏกไว้เป็นหลักธรรมต่างพระพุทธองค์
ซึ่งล้วนเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกที่เกิดขึ้นในภายหลังพระสถูป พระชินธาตุ พระไตรปิฎก
ไว้เป็นหลักธรรมต่างพระพุทธองค์
ซึ่งล้วนเป็นที่พึ่งแก่สัตว์โลกที่เกิดขึ้นในภายหลัง
ด้วยความสัตย์ ของข้าพระพุทฌเจ้านี้
ข้าพระพุทธเจ้าคิดจะใคร่ได้ราชสมบัติครั้งนี้ด้วยโลกียจิตจะใคร่เป็นใหญ่
เพื่อที่จะได้จัดแจงราชกิจจานุกิจ
ให้สถิตอยู่ในยุติธรรมจะได้เป็นที่พึ่งพำนักแก่นิกรราชและสรรพสัตว์
ให้มีความสุขสมบูรณ์ตามโบราณประเพณี ด้วยความสัตย์ของข้าพระพุทธเจ้าดั่งนี้
ด้วยความที่ยังมีความสงสัยอยู่ว่า
การนั้นจะสำเร็จสมตามนโนรถแล้วหรือไม่ สมลุประการใดมิได้แจ้งนั้น
ข้าพุทธเจ้าขอพระบวรคุณานุภาพมหาเจดีย์ฐานเจ้าทั้งห้าองค์ มีพระพุทธปฏิมากร
เป็นต้นนั้น ด้วยพระพุทธองค์ทรงประดิษฐานไว้ต่างพระองค์และคำอธิษฐาน
แห่งความสัตย์ทั้งสองของข้าพระพุทธเจ้า
จงเป็นที่พำนักตัดความสงสัยด้วยข้าพุทธเจ้าจะกระทำสัตยาธิฐานเสี่ยงเทียนของข้าพระองค์เล่มหนึ่ง
และเทียนของ ขุนวรวงศษธิราชเล่มหนึ่ง
ถ้าข้าพระองค์ (พระเฑียรราชา)
จะสมลุดั่งมโนรถความปรานาถด้วยบุญญาธิการโบราณ
และปัจจุบันกรรมควรจะได้มหาเศวตฉัตรสกลรัฏฐาธิปไตยเพื่อจะได้ระงับทุรยศยุคเข็ญที่ก่อเป็นจลาจลแก่สมณพราหมณ์เสนาบดีไพร่ฟ้า
ประชาราษฎร์ให้ได้ความเดือดร้อน และได้เป็นมหาอัครฐานทายก อุปถัมภกบวรพระพุทธศาสนา
ไอศวรรย์สืบไปขอให้เทียนขุนวรวงศษธิราชดับก่อนถ้าไม่สมลุดั่งมโนรถความปรารถนาแล้ว
ก็ขอให้เทียนข้าพระองค์ดับก่อน
ขอพระบวรคุณานุภาพ และความสัตว์ทั้งสองของข้าพุทธเจ้าจงมาตัดความสงสัยให้ปรากฏ
ตามการเสี่ยงคำสัตยาธิฐาน
อันข้าพระพุทธเจ้านั้นได้ขออุทิศเทียนสองเล่มนี้เป็นพุทธสักการบูชาและเสี่ยงกระทำด้วยสัจจะคารพนี้เถิด
|