อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
อาณาจักรกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
ราชวงศ์ปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ครองราชย์ พ.ศ.2172 2199
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น คือ สมเด็จพระยากลาโหมสุริยวงศ์
ขณะนั้นมีอายุ 30 พรรษา ได้ทำการยึดอำนาจจากพระอาทิตย์วงศ์สำเร็จแล้ว ใน พ.ศ.
2173 ได้รับเชิญขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์และสถาปนาราชวงศ์ปราสาททองขึ้น
ทรงพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนี้เดิมมีพระนามว่าพระองค์ไล
เกิดในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรเมื่อราวปี พ.ศ. 2143 ปีชวด
เป็นบุตรของพระยาศรีธรรมาธิราช ผู้เป็นพี่ชายของพระชนนีของสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
มีเรื่องเล่ากันว่า ในวันหนึ่งพระเอกาทศรถ
ซึ่งมีพระอิสริยยศเป็นพระมหาอุปราชนั้นได้เสด็จประพาสทางน้ำมาถึงที่เกาะบางปะอินครั้งแรกให้พระเชษฐาธิราชขึ้นเป็นกษัตริย์
ต่อมาได้ยึดให้พระอาทิตย์วงศ์ขึ้นครองราชย์
แต่สุดท้ายต้องยึดอำนาจกลับมาสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นครองราชย์ด้วยพระองค์เอง
ดังนั้น ผู้ที่จงรักภักดีต่อราชวงศ์เดิม คือ
สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม และสมเด็จพระเชษฐาธิราช
นั้นต่างถูกถอดออกจากตำแหน่งและถูกเนรเทศ หรือประหารชีวิตจำนวนมาก
เรื่องนี้ทำให้พระยาเสนาภิมุข (ออกญาเสนาภิมุข หรือยามาดะ)
เจ้ากรมทหารอาสาญี่ปุ่น ไม่พอใจในสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
ที่ทำการยึดอำนาจแล้วขึ้นครองราชย์เสียเอง
ด้วยธรรมเนียมญี่ปุ่นนั้นถือว่าไม่ถูกต้องที่สามัญชนจะขึ้นเป็นกษัตริย์
เหตุการณ์เช่นนี้
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นทรงรู้พระองค์อยู่เสมอ
แต่ยังเกรงกำลังทหารอาสาญี่ปุ่นในพระนครและสัมพันธไมตรีต่อกันกับพวกญี่ปุ่น
จึงทำให้พระองค์คิดแก้ปัญหาโดยส่งให้พระยาเสนาภิมุข
นั้นลงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พร้อมกับทหารญี่ปุ่นทั้งหมดที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยา ต่อมาพระยาเสนาภิมุข(ยามาดะ)
ได้เกิดเป็นแผลที่ขา แล้วถูกวางยาพิษในผ้าปิดแผล
จนถึงแก่อนิจกรรมที่เมืองนครศรีธรรมราช
ทำให้พวกญี่ปุ่นไม่พอใจจะจับคนวางยาพิษมาลงโทษให้ได้
จึงเกิดการสู้รบกันระหว่างชาวเมืองนครศรีธรรมราชกับชาวญี่ปุ่น
ทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก พวกญี่ปุ่นสู้ไม่ได้จึงพากันทิ้งเมือง
หนีลงเรือเดินทางไปทางกัมพูชา
ในปีที่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองครองราชย์นั้น
พระเจ้าสุทโธธรรมราชาของพม่าได้ขึ้นครองราชย์
และทำการปราบปรามหัวเมืองไทยใหญ่และตีได้บ้านเมืองลงมาตามลำดับจนถึงเมืองเชียงใหม่
ซึ่งตั้งเมืองเป็นอิสระไม่ขึ้นกับอาณาจักรสยาม ดังนั้น
เมื่อพม่าเห็นว่ากรุงศรีอยุธยานั้นไม่ได้คอยป้องกันดูแลเมืองเชียงใหม่อย่างแต่ก่อนแล้ว
เห็นได้โอกาสดีจึงยกกองทัพเข้าตีเมืองเชียงใหม่ พระยาเมืองเชียงใหม่สู้รบไม่ได้
ทำให้เมืองเชียงใหม่ตกเป็นของพม่า เมื่อ พ.ศ. 2173
ทำให้หัวเมืองทั่วทั้งเขตลานนานั้นได้กลับไปขึ้นกับพม่าตามเดิม
ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนี้
ได้โปรดให้สร้างพระราชวังขึ้นที่บางปะอิน พระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์
ในพระบรมมหาราชวัง และโปรดให้มีการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยาที่บริเวณปากเกร็ด
วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2175
ภายในกรุงศรีอยุธยาได้เกิดกรณีพิพาทระหว่างอาณาจักรสยามกับชาวญี่ปุ่นที่อยู่ในพระนคร
ทำให้หมู่บ้านญี่ปุ่นในกรุงศรีอยุธยาไฟเผา
และถูกยิงด้วยปืนใหญ่ทำลายจนหมดสิ้นพวกญี่ปุ่นถูกฆ่าหรือถูกขับออกไปจากอาณาจักรสยามโดยลงเรือสำเภาหนีไปทางกัมพูชา
ทำให้บทบาทของญี่ปุ่นในราชสำนักสยามถูกกำจัดลงจนเกือบหมดสิ้น
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้ทำให้โชกุน โตกูกาวะแห่งญี่ปุ่นไม่พอใจมาก
สั่งให้ตัดสัมพันธ์ไมตรีกับอาณาจักรสยามทำให้มีผลกระทบกระเทือนทางการค้าต่างประเทศของกรุงศรีอยุธยามาก
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นได้พยายามที่จะส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับญี่ปุ่นใน
พ.ศ. 2178 และ พ.ศ. 2183 แล้วก็ตาม
ญี่ปุ่นไม่ยอมเจริญพระราชไมตรีกับอาณาจักรสบามด้วย
พ.ศ. 2175 สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้นทรงไว้พระทัยพวกฮอลันดามาก
ในสมัยนั้นพระเจ้าออเรนจ์ กษัตริย์ฮอลันดา
ได้ส่งทูตมาเฝ้าสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง
พระองค์ทรงโปรดให้จัดการต้อนรับอย่างใหญ่ยิ่งพระราชสาส์นเจริญสัมพันธไมตรีนั้นถูกแห่แหนด้วยกระบวนเรือพระราชพิธี
12 ลำ สมเด็จพระเจ้าปราสาททองได้มีพระราชสาส์นตอบและส่งมงกุฎทองคำ 3 ชั้น
ประดับพลอยแดงน้ำเงินและเพชรตาแมว เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแด่กษัตริย์ออกเรนจ์
กษัตริย์ของชาวฮอลันดาด้วย
พ.ศ. 2178 ได้เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่
และไหม้ลุกลามไปทั่วกรุงศรีอยุธยา กล่าวคือได้เกิดอสุนีบาตต้องเหมมหาปราสาท
เพลิงไหม้จนดีบุกหลังคาไหลลงห้องคลัง เรือนหน้า เรือนหลังไหม้จำนวน 100
หลังคาจึงดับลง ครั้งนั้นพระอง์ได้โปรดให้สร้างคลังเรือน (เรือนท้องพระคลัง)
เสด็จภายใน 3 เดือนและให้สถาปนาพระมหาปราสาทสำเร็จภายใน 1 ปี
เมื่อเสด็จแล้วทรงพระราชทางพระนามว่า พระวิหารสมเด็จ
สมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น
ทรงใช้ชาวต่างชาติเข้ามาเป็นทหารอาสาหลายชาติ เช่น อิหร่าน โปรตุเกส ญี่ปุ่น
มลายู และฮอลันดา ในสมัยพระองค์ได้ส่งกองทัพออกไปโจมตี เมืองปัตตานี
เมืองลำปาง และพระองค์ยังได้ผูกสัมพันธไมตรีกับราชวงศ์อินเดีย จามปา จีน อังวะ
มอญ และล้านช้างด้วย
เหตุที่กรุงศรีอยุธยาต้องส่งกองทัพไปตีเมืองปัตตานีนั้น
เนื่องจากเมืองปัตตานีเป็นกบฏคบคิดกับแขกที่ปลายแหลมมลายู
ยกกำลังมาตีเมืองสงขลาและเมืองพัทลุง ทำให้ต้องส่งกองทัพออกไปสู้รบกันอยู่หลายปี
จนสามารถตีเอาเมืองปัตตานีคืนมาได้
เหตุที่กรุงศรีอยุธยาสู้รบตีเมืองปัตตานีได้ใน พ.ศ. 2178 นั้น
เนื่องด้วยบริษัทการค้าฮอลันดาได้ส่งเรือรบ 6
ลำมาช่วยอาณาจักรสยามทำการโจมตีเมืองปัตตานี โดยมีข้อแลกเปลี่ยนกันว่า
กรุงศรีอยุธยาต้องยอมให้ฮอลันดานั้นทำการผูกขาดการซื้อหนังกวางและไม้ฝางเพื่อส่งไปขายต่างประเทศแต่ผู้เดียว
ในครั้งแรกกรุงศรีอยุธยาไม่ยินยอม
จึงทำให้ฮอลันดานำเรือรบสองลำเข้ามาปิดปากอ่าวเมืองตะนาวศรี
เพื่อมิให้เรือสินค้าของชาติอื่นเข้ามาทำการค้าขายได้
เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าปราสาททองทรงกริ้วมาก
จึงโปรดให้ประกาศห้ามคนไทยและมอญนั้นทำงานให้กับฮอลันดา
ครั้นเมื่อฮอลันดาขู่ว่าจะย้ายสถานีทำการค้าขายนั้นไปอยู่ที่กัมพูชา
จึงทำให้กรุงศรีอยุธยาจำต้องยอมโอนอ่อนตามที่ฮอลันดาเรียกร้องโดยยอมให้ฮอลันดาทำการผูกขาดการค้าหนังสัตว์และไม้ฝางแต่ผู้เดียว
ต่อมาสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ได้ยกกองทัพออกไปปราบปรามเมืองเขมร
ตีได้กัมพูชามากลับมาเป็นของอาณาจักรสยามตามเดิม
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ครองราชย์อยู่ 25 ปี ทรงประชวรหนัก
จึงได้มอบราชสมบัติประทานให้ เจ้าฟ้าไชย
พระโอรสองค์ใหญ่พร้อมกับให้พระแสงขรรค์ชัยศรี ต่อมา 3 วันพระองค์จึงเสด็จสวรรคต
พ.ศ. 2198 เจ้าฟ้าไชยนั้นต่อมาได้ครองราชย์เป็นกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา
เนื่องจากกรุงศรีอยุธยานั้นมีชาวต่างประเทศเดินทางมาติดต่อค้าขายอยู่
จึงมีบันทึกเป็นจดหมายเหตุถึงอาณาจักรสยาม
ซึ่งเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้สามารถศึกษาถึงเหตุการณ์ในสมัยนี้ได้
จากเอกสารเหล่านี้ เช่น
|