สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็
สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ นั้น มีดังนี้(1)
พ.ศ. 2203
คณะทูตเมืองลังกาได้ขอพระสงฆ์จากอาณาจักรสยามไปทำการจัดตั้งพุทธศาสนาและบวชพระภิกษุเพื่อสืบพุทธศาสนา
ที่ลังกา เนื่องจากพุทธศาสนาในลังกาเกิดเสื่อมลงใน พ.ศ. 2203 นั้น
พวกฮ่อได้ยกทัพเข้ามาตีเมืองพม่าและมีข่าวว่าจะยกทัพเข้ามาตีเอาเมืองเชียงใหม่อีกทางหนึ่งด้วยพระยาเมืองเชียงใหม่จึงขอให้พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา
เมืองอังวะได้ส่งกองทัพมาช่วย แต่พอกองทัพฮ่อยกทัพไปถึงเมืองอังวะแล้ว
พระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชาเห็นว่าพวกฮ่อยกกองทัพมามากมายเช่นนี้จึงให้เรียกกองทัพที่ส่งขึ้นมาช่วยป้องกันเมืองเชียงใหม่กลับไปรักษาพระนครเสีย
ดังนั้นพระยาเชียงใหม่เห็นว่าเมื่อกองทัพจากเมืองอังวะนั้นยกกลับเช่นนี้แล้วก็หวั่นว่าเมืองอังวะจะเสียเมืองแก่ฮ่อจะหมายพึ่งพาต่อไปไม่ได้แล้ว
จึงแต่งให้ แสนสุรินทร์ไมตรี
เป็นทูตลงมาขออ่อนน้อมยอมเป็นเมืองขึ้นกับกรุงศรีอยุธยาและขอให้ส่งกองทัพไปช่วยสู้รบกับพวกฮ่อเพื่อป้องกันรักษาเมืองเชียงใหม่ด้วย
สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงครองราชย์มาได้ 4
ปีทรงเห็นว่าเป็นโอกาสที่กรุงศรีอยุธยาจะได้เมืองเชียงใหม่กลับคืนมาดังเดิม
พระองค์จึงให้จัดทัพหลวงแล้วพระองค์ได้เสด็จยกทัพขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่โดยให้
แสนสุรินทร์ไมตรี เป็นผู้นำทัพเข้าป้องกันเมืองเชียงใหม่
ต่อมาพวกฮ่อที่ตั้งทัพหลวงเมืองอังวะอยู่
แม้จะพยายามเข้าตีเมืองอังวะหลายครั้งก็ไม่สามารถเอาชัยชนะได้
ในที่สุดก็ขาดเสบียงอาหารจึงเลิกทัพกลับไป
ข่าวนี้ทำให้พระยาเชียงใหม่เห็นว่าพม่าป้องกันเมืองได้และมีชัยชนะพวกฮ่อเช่นนั้น
ก็ตกใจกลัวจึงแต่งม้าเร็วลงไปแจ้งให้ แสนสุรินทร์ไมตรี
ที่กำลังเดินทางนำทัพกรุงศรีอยุธยาขึ้นมายังเมืองเชียงใหม่นั้นหลบหนีเสีย
สมเด็จพระนารายณ์ฯ นั้นมายกทัพมาถึงเมืองพิษณุโลกก็ทราบว่า
เมืองเชียงใหม่นั้นกลับใจไม่ยอมสวามิภักดิ์เสียแล้วก็ขัดเคืองพระทัยพระองค์จึงให้
พระยาสีหราชเดโชชัย และเจ้าพระยากลาโหม ยกกองทัพขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงใหม่
แต่ทัพที่นั้นมีกำลังน้อย จึงไม่สามารถตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้
สมเด็จพระนารายณ์จึงให้เรียกทัพกลับพระนครใน พ.ศ. 2204
ในปีนั้นเมืองอังวะได้เกิดเหตุการณ์จลาจล
พระเจ้าแปรซึ่งเป็นพระอนุชาของ พระเจ้าอังวะ
ได้เข้าปล้นพระราชวังชิงอำนาจและจับพระเจ้าสิรินันทสุธรรมราชา
พระเจ้าอังวะปลงพระชนม์เสีย
แล้วขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ทรงพระนามว่าพระเจ้ามหาสีหสุรสุธรรมราชา
เมื่อข่าวการเปลี่ยนแผ่นดินในเมืองอังวะนั้นล่วงรู้ถึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ เมื่อ
พ.ศ. 2205 พระองค์ จึงเห็นโอกาสที่จะตีเอาเมืองเชียงใหม่ได้
จึงแต่งตั้งให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) เป็นแม่ทัพคุมพล 40,000 คน
ขึ้นไปตีเอาเมืองเชียงใหม่ และสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้ยกทัพหลวงคุมพล 60,000 คน
ติดตามขึ้นไปอีก 1 กองทัพเพื่อที่จะตีเอาเมืองเชียงใหม่ให้ได้
กองทัพของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก) ได้ตีได้เมืองลำปาง
เมืองลำพูน และยกขึ้นไปตั้งทัพล้อมเมืองเชียงใหม่ไว้
เนื่องจากชาวเมืองเชียงใหม่นั้นได้ป้องกันเมืองไว้เป็นสามารถทำให้ยังตีเอาเมืองไม่ได้
ครั้นเมื่อกองทัพของสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ขึ้นไปถึงจึงให้ทำการล้อมเมืองทุกด้านแล้วเข้าปล้นเมืองพร้อมกัน
ทำให้กองทัพนั้นสามารถเข้าเมืองจับเอาตัวพระยาเชียงใหม่และท้าวพระยาอื่นๆ ไว้ได้
ขณะนั้นกองทัพเมืองอังวะได้ยกมาช่วยเมืองเชียงใหม่ตีเอาเมืองคืน
แต่ถูกกองทัพไทยที่ยกออกไปซุ่มอยู่นอกเมืองและในเมืองเข้าตีกระหนาบจนแตกพ่ายหนีกลับไป
เมื่อยกทัพกลับจากเมืองเชียงใหม่นั้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อัญเชิญ
พระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป็นสมบัติของราชวงศ์พระร่วง กษัตริย์เมืองสุโขทัย
กลับคืนมายังกรุงศรีอยุธยาด้วย
พ.ศ. 2204 ปีฉลู อังกฤษได้กลับมาเจริญสัมพันธไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา
จึงทำให้มีพ่อค้าชาวอังกฤษเข้ามาทำการค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาอีกหลังจากได้หยุดการติดต่อค้าขายไปตั้งแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
พ.ศ. 2167
เมื่อครั้งอาณาจักรสยามนั้นเกิดเรื่องบาดหมางจากเหตุการณ์สู้รบกับสเปนและโปรตุเกส
พ.ศ. 2205 ปีขาล สมเด็จพระนารายณ์
โปรดให้ส่งกองทัพไปตีเอาเมืองอังวะเพื่อแก้แค้นที่กองทัพพม่ายกทัพเข้ามาติดตามครอบครัวชาวรามัญที่หนีเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารครั้งนั้นพระองค์โปรดให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี
(เหล็ก) เป็นแม่ทัพ ยกกองทัพไปตีเมืองทวาย เมืองเมาะตะมะ
โดยเข้าทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ด่านเขาปูน ด่านสลักพระ
แล้วยกกองทัพผ่านเมืองจิตตะกองทางลำแม่น้ำสะโตง ไปตีเมืองหงสาวดี เมืองเสรียง
เมืองย่างกุ้ง และตั้งค่ายล้อมเมืองหลวงอังวะไว้
แต่เนื่องจากกองทัพสยามขัดสนเสบียงอาหาร ประกอบกับทหารเจ็บป่วยเป็นไข้มาก
จึงเลิกทัพกลับมาทางเมืองเชียงใหม่ เถิน กำแพงเพชร ถึงกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. 2206 พวกมอญเมืองเมาะตะมะได้เป็นกบฏต่อพม่า
ได้พร้อมใจกันปล้นเมืองและจับเจ้าเมืองเมาะตะมะไว้
พม่าจึงให้ยกกองทัพเมืองหงสาวดีลงมาปราบปรามพวกมอญ
พวกมอญเมาะตะมะเห็นว่าสู้พม่าไม่ได้จึงพากันทิ้งเมืองเมาะตะมะ อพยพครอบครัวกว่า
10,000 คน เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่กับกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์ฯ
ทรงรับไว้และให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านสามโคก ปลายแดนของกรุงศรีอยุธยา
เหตุกาณณ์นี้บางแห่งว่า พ.ศ. 2203 ปีชวดนั้น สมิงเปอแจ้ง ชาวมอญ
พาครอบครัวและพวกหนีจากเมืองเมาะตะมะของอาณาจักรพม่าเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์
พระองค์ทรงโปรดให้ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในตำบลสามโคก คลองคูจาม และวัดตองปุ
พร้อมกันเมื่อพระเจ้ากรุงอังวะยกกองทัพติดตามพวกมอญเข้ามาทางเมืองสมิ
กองทัพกรุงศรีอยุธยาได้ออกไปตั้งรับที่ท่ากระดาน ด่านกรามช้าง
และปากน้ำลำกระเพิน จังหวัดกาญจนบุรี และส่งกองโจรออกไปตีตัดกำลังที่ช่องแคบ
ทำให้กองทัพพม่าแตกหนีกลับไปเมืองสมิ น่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดในคราวเดียวกัน
กล่าวคือ พระเจ้าอังวะนั้นเข้าใจว่ากรุงศรีอยุธยานั้นให้การสนับสนุนพวกมอญเป็นกบฏ
จึงจัดกองทัพเข้ามาแย่งเอาพวกมอญนั้นคืน สมเด็จพระนารายณ์ฯ
ได้ให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
ยกกองทัพไปตั้งรับสู้กับพม่าที่เมืองไทรโยคและให้
พระยาสีหราชเดโชชัยขณะนั้นยังจัดแจงบ้านเมืองอยู่ที่เมืองเชียงใหม่
ยกกองทัพลงมาช่วยอีกทัพหนึ่ง เมื่อกองทัพพม่ายกลงมาถึงเมืองไทรโยค
จึงถูกกองทัพของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
กับพระยาสีหราชเดโชโอบตีกระหนาบจนแตกพ่ายยับเยินกลับไป
ทำให้ต้องทิ้งช้างม้าศาสตราวุธและเสบียงอาหารไว้เป็นอันมาก
กองทัพไทยจึงกวาดต้อนได้เชลยและสิ่งของต่างๆ กลับคืนพระนคร
จากเหตุการณ์ที่พม่าต้องยกทัพเข้าชิงพวกมอญในครั้งนี้ ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ
คิดจะตีพม่าเป็นการตอบแทน จึงใก้เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
เป็นแม่ทัพใหญ่คุมพล 60,000 คนโดยยกทัพออกเป็น 3 ทางโดยให้ พระยารามเดโช
คุมทัพเมืองเชียงใหม่ไปทางเมืองผาปูนทางหนึ่ง ให้พระยากำแพงเพชร
คุมกำลังหัวเมืองทางเหนือยกไปทางด่านแม่ละเมาทางหนึ่ง และให้เจ้าพระยาโกษาธิบดี
(เหล็ก ) เป็นแม่ทัพใหญ่ พระยาสีหราชเดโชชัย เป็นแม่ทัพหน้า
ยกทัพไปทางด่านเจดีย์สามองค์ทางหนึ่ง
แล้วกองทัพไทยได้ยกทัพไปประชุมรวมกันที่เมืองเมาะตะมะ เมื่อ พ.ศ. 2207
ขณะนั้นพวกมอญส่วนใหญ่ได้พากันมาเข้ากับกองทัพไทยเป็นอันมาก
ทำให้ตีเอาหัวเมืองรายทางได้โดยง่าย ได้เมืองจิตตอง เมืองสิเรียม เมืองร่างกุ้ง
แล้ว จึงจัดกองทัพเรือขึ้นไปตีได้เมืองหงสาวดี เมืองแปร ตามลำดับ
|