สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็
สำหรับเหตุการณ์ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ นั้น มีดังนี้(2)
พระเจ้าอังวะ ได้สั่งให้มังจาเล ราชบุตร
คุมกำลังลงมาตั้งทัพคอยต่อสู้กับกองทัพไทยที่เมืองพุกาม
เมื่อกองทัพไทยไปถึงจึงเกิดสู้รบกันกลางแปลงหลายครั้ง
พระยาสีหราชเดโชชัยแม่ทัพหน้าได้ทำการสู้รบอย่างเข้มแข็งสามารถตีกองทัพของ
มังจาเล ราชบุตร ถอยหนีเข้าไปตั้งค่ายรับมือไม่ออกมารบกลางแปลงอีก
พระยาสีหราชเดโชได้นำกำลังเข้าบุกตีปล้นเอาค่ายพม่าหลายครั้ง
จนถูกอุบายพม่าซุ่มจับเอาตัวไปได้แต่ก็สามารถหนีออกมาได้
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ได้ให้กองทัพเข้าล้อมเมืองพุกามอยู่จนเข้าปี พ.ศ.
2208 ก็ยังไม่สามารถตีเอาเมืองพุกามได้ ประกอบกับเสบียงอาหารนั้นขัดสนลง
จึงทำอุบายเป็นถอยทัพออกจากค่าย
พม่าหลงกลอุบายจึงยกทัพออกมาติดตามหมายตีให้แตกพ่าย
แต่ถูกกองทัพไทยวางแผนตีกระหนาบจนแตกพ่ายยับเยินกลับไป
ส่วนกองทัพไทยนั้นยกกลับคืนพระนคร โดยที่พม่าไม่กล้ายกทัพติดตามอีก
หลังจากเหตุการณ์สู้รบครั้งนี้แล้ว
ไม่มีเหตุการณ์สงครามระหว่างไทยกับพม่าอีกตลอดรัชกาล
และรัชกาลต่อมาเป็นเวลานานถึง 95 ปี
แม้ว่ากรุงศรีอยุธยาจะว่างศึกสงคราม ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ก็มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศจนนับว่าทำให้อาณาจักรแห่งนี้มีความเจริญที่สุด
ชาวต่างประเทศหลายชาติได้พากันเข้ามาเป็นมิตรไมตรีและค้าขายกับกรุงศรีอยุธยา มี
จีน จาม แขก ฝรั่งชาติตะวันตกโดยเฉพาะชาวโปรตุเกส
ซึ่งเป็นชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายในดินแดนแถบตะวันออกก่อนชาติอื่น
สำหรับกรุงศรีอยุธยานั้นโปรตุเกสได้เข้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2161
เมื่อครั้งแผ่นดินของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พวกฮอลันดานั้น เข้ามาเมื่อ พ.ศ.
2141 ในแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรฯ อังกฤษเข้ามา เมื่อ พ.ศ. 2155
ในแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ และฝรั่งเศส เข้ามาเมื่อ พ.ศ. 2205
ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นต้น
การที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ เป็นไมตรีกับฝรั่งเศส เนื่องจากโป๊บ
ที่กรุงโรมต้องการที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสดังนิกายโรมันคาธอลิคมาทางตะวันออก
จึงทูลขอความช่วยเหลือพระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 พระเจ้าแผ่นดินฝรั่งเศส สนับสนุน
ครั้งนั้นพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ได้ทรงรับเป็นธุระแล้วคัดเลือกบาทหลวงฝรั่งเศส 3
รูป แต่งตั้งเป็นบิชอบ คือ บิชอบเบรีธ บิชอบเดลิโอโปลิส บิชอบเมเตโปลิส
(คือบาทหลวงลาม็อตสังแบรต์ (De
La Motte Lambert)
เป็น สังฆราช แห่ง เบริธ (Eveque de Beryte)
เป็นหัวหน้าคณะ ร่วมกับ บาทหลวง เดดิเอร์ (Didier)
และบาทหลวงเดอบูร์ช (De Brourges)
พร้อมด้วยบาทหลวงและคฤหัสถ์
อีกหลายคนเป็นคณะ
ออกเดินทางสำรวจดูหนทางที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังทางดินแดนทางตะวันออก
คณะบาทหลวงฝรั่งเศสออกเดินทางมาทางทะเลอยู่หลายปีจนบาทหลวงรูปหนึ่งมรณภาพไปแล้ว
จึงเหลือบาทหลวง สองรูปและคณะเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2205
แล้วเห็นว่าอาณาจักรสยามแห่งนี้เหมาะสำหรับที่จะทำการเผยแพร่ศาสนากว่าประเทศอื่นๆ
ด้วยเหตุที่ราชสำนักและราชการนั้นไม่รังเกียจกีดกันการนับถือศาสนาอื่นๆ
จึงพากันกันอาศัยอยู่กับพวกคริสตังคือชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาอยู่ก่อนแล้ว
โดยคณะบาทหลวงนั้นก็ทำการเรียนภาษาไทยและทำตัวเข้าช่วยเหลือผู้คนทั้งหลายเพื่อที่จะสร้างความนิยมชมชอบโดยทั่วไป
ในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ฯ
นั้นได้ให้กรมพระคลังสินค้าทำการต่อเรือกำปั่นหลวงขึ้นหลายลำเพื่อที่จะใช้บรรทุกสินค้าของหลวงไปขายยังเมืองจีนและญี่ปุ่นโดยตรงเนื่องจากก่อนนั้นมีเหตุการณ์ที่เรือสินค้าของฝรั่งชาติตะวันตกจะเดินทางไปค้าขายถึงญี่ปุ่นไม่ได้
ด้วยเหตุที่ญี่ปุ่นนั้นพากันรังเกียจว่าพวกฝรั่ง
ซึ่งไปแล้วเที่ยวชักชวนให้ชาวญี่ปุ่นเข้ารีตนับถือศาสนาคริสตัง
ต่อมาตอนปลายแผ่นดินของสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น
พวกฮอลันดาซึ่งนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนส์อยู่นั้น
ได้พยายามแสดงตนให้ญี่ปุ่นได้รู้ว่า พวกฮอลันดาไม่ได้นับถือศาสนาโรมันคาธิลิค
หรือศาสนาคริสตัง ญี่ปุ่นจึงอนุญาตให้พวกฮอลันดาเข้าไปค้าขายถึงเมืองญี่ปุ่นได้
ครั้นเมื่อฮอลันดาคู้ว่ากรุงศรีอยุธยาได้ต่อเรือกำปั่นหลวงขึ้นเพื่อทำการค้าขายและนำสินค้าไปขายแข่งกันที่ญี่ปุ่นเช่นนั้นก็เกิดไม่พอใจ
ด้วยถือว่าพวกฮอลันดานั้นได้เปิดตลาดค้าขายที่ญี่ปุ่นมาก่อนและมีกำลังเรือรบมากกว่า
ดังนั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยามีเหตุการณ์สู้รบกับพม่า เมื่อ พ.ศ. 2207
ฮอลันดาจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะหาเหตุวิวาท
จึงให้เรือรบของฮอลันดาเที่ยวทำลายเรือกำปั่นหลวงของกรมพระคลังสินค้าที่บรรทุกสินค้าไปเสียระหว่าง
บ้างครั้งก็จับยึดสินค้าไป
แล้วฮอลันดาก็ส่งเรือรบเข้ามาทำการปิดปากแม่น้ำเจ้าพระยาเสียโดยที่กรุงศรีอยุธยายังไม่ทันได้ป้องกันตัว
และเห็นว่าหากสู้รบกันก็จะเสียทีได้
กรุงศรีอยุธยาจึงรีบทำสัญญาปรองดองกันกับฮอลันดาว่าจะไม่ไปทำการค้าขายแข่งขันกับพวกฮอลันดาทางด้านตะวันออกเหตุการณ์จึงสงบลงได้
ด้วยเหตุที่พวกฮอลันดาปิดตลาดค้าขายทางด้านตะวันออกดังกล่าวนั้น
ทำให้สมเด็จพระนารายณ์ฯ ไม่ไว้วางใจพวกฝรั่งชาติตะวันตก จึงมีพระราชดำริว่า
กรุงศรีอยุธยานั้นอยู่ใกล้กับทะเล
ข้าศึกสามารถที่จะเอาเรือรบเดินทางขึ้นมาถึงพระนครได้โดยง่าย
พระองค์จึงให้ทำการสร้างเมืองลพบุรีขึ้นเป็นราชธานีสำรองอีกแห่งหนึ่ง
สำหรับใช้เป็นพระนครสำหรับต่อสู้กับข้าศึกต่างชาติที่เดินทางเข้ามาจากทะเล
และให้ทำการสร้างป้อมปราการป้องกันไว้ที่เมืองธนบุรี เมืองนนทบุรี
สำหรับเป็นเมืองด่านคอยป้องกันข้าศึกที่จะเดินทางตามแม่น้ำเจ้าพระยาขึ้นมาถึงกรุงศรีอยุธยา
ขณะนั้นบาทหลวงฝรั่งเศสได้เดินทางเข้ามาอยู่ในกรุงศรีอยุธยาได้ประมาณ 3 ปีเศษ
เป็นชาติที่ไม่เข้ากับพวกฮอลันดาด้วยเหตุที่นับถือศาสนาคริสต์ต่างนิกายกัน
จึงเห็นเป็นโอกาสที่จะเข้าช่วยเหลือทางกรุงศรีอยุธยาเพื่อหาหนทางสนิทสนมเพื่อเผยแพร่ศาสนาของตน
จึงให้บาทหลวง โทมัส ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ในการสร้างป้อมปราการเข้าไปหา
เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ทำการรับอาสาสร้างป้อมปราการที่เมืองลพบุรี
ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ทรงโปรดรูปแบบป้อมปราการที่สร้างขึ้นตามแบบอย่างตะวันตกมาก
จึงได้พระราชทานบ้านเรือนให้คณะบาทหลวงฝรั่งเศสอยู่ในพระนคร
และโปรดให้ทำการสร้างโรงสวด (โบสถ์) ขึ้นภายในบริเวณนั้นด้วย
บิชอบเบริธ หัวหน้าคณะบาทหลวงนั้น เมื่อเห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ทรงโปรดปรานบาทหลวงโทมัสเช่นนั้น และไม่รังเกียจศาสนาคริสตัง
จึงส่งคนกลับไปทูลขอพระราชสาสน์จากพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ให้มีมายังกษัตริย์กรุงศรีอยุธยาเพื่อฝากชาวฝรั่งเศสที่อาศัยอยู่ในอาณาจักรสยาม
ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ฯ นั้นเมื่อได้รับพระราชสาส์นแล้วทรงเห็นว่า
ถ้ากรุงศรีอยุธยาได้เป็นไมตรีกับฝรั่งเศสแล้วก็จะเป็นการป้องกันไม่ให้พวกฮอลันดากล้ามาเบียดเบียนอีก
จึงยอมรับเป็นไมตรีต่อกัน
ขณะนั้นทางด้านตะวันตกของอาณาจักรสยามนั้นอังกฤษได้เดินทางมาทำการค้าขายอยู่ตามเมืองท่าด้านทะเลตะวันตกของกรุงศรีอยุธยาคือ
เมืองตะนาวศรี เมืองมะริด
เมื่อเห็นฮอลันดาทำการแข็งข้อผูกขาดการค้าขายด้านตะวันออกได้
ก็คิดจะเอาเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดตามอย่างเพื่อผูกขาดการค้าขายทางด้านนี้
แต่พอกรุงศรีอยุธยาเป็นไมตรีกับฝรั่งเศสเช่นนี้
ก็ไม่คิดจะรุกรานเอาเมืองท่าสำคัญทางด้านตะวันตกของอาณาจักรสยาม
ครั้งนั้น สมเด็จพระนารายณ์ ไม่โปรดที่จะประทับที่กรุงศรีอยุธยา
พระองค์นิยมแต่เสด็จไปประทับที่เมืองลพบุรี
ด้วยเหตุที่อาจเป็นเพราะในกรุงศรีอยุธยามีฝ่ายราชวงศ์และขุนนางของกษัตริย์องค์เก่าอยู่มาก
จึงทำให้พระองค์โปรดที่จะประทับอยู่เมืองลพบุรี
ดังนั้นพระราชวังแห่งนี้จึงสร้างเหมือนพระราชวังหลวง
และใช้เป็นราชธานีสำรองอีกแห่งหนึ่ง
คณะบาทหลวงฝรั่งเศสนั้นอาศัยอยู่ในกรุงศรีอยุธยามาได้ 13 ปี
โดยมีคอนสแตนตินฟอนคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการจนมีอำนาจในราชสำนัก
นั้นได้ประสานสัมพันธ์ไมตรีระหว่างฝรั่งเศสกับอาณาจักรสยามจนแน่นแฟ้นขึ้น
ในจดหมายเหตุชาวต่างประเทศนั้นได้กล่าวว่า
สมเด็จพระนารายณ์มหาราชนั้นทรงสนพระทัยในวิทยาการของชาวตะวันตกอย่างมาก
สมัยนั้นได้มีการสั่งกล้องดูดาวเข้ามาใช้ในสมัยพระองค์ ดังเห็นได้จากภาพเขียน
สมเด็จพระนารายณ์ ทรงส่องกล้องดูจันทรคราส ณ พระที่นั่งไกรสรสีหราช
(พระที่นั่งเย็นริมทะเลขุบศรที่เมืองลพบุรี) กับบาทหลวงตาชาร์ด เมื่อวันที่
11 ธันวาคม พ.ศ. 2228 และได้พบว่ามีภาพสีน้ำขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ
ส่องกล้องดูสุริยคราส เมื่อ 30 เดือนเมษายน พ.ศ. 2231 อยู่ที่หอสมุดแห่งชาติ
กรุงปารีสด้วย
|