การเดินทางของบาทหลวงฝรั่งเศส
การเดินทางของบาทหลวงฝรั่งเศส
การเดินทางของคณะบาทหลวงฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังกรุงศรีอยุธยานั้น
ในบันทึกของบาทหลวงฝรั่งเศสหลายฉบับล้วนมีเหตุการณ์น่าสนใจ ดังนี้
วันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2205
คณะทูตศาสนาของฝรั่งเศสที่พระสันตปาปาแห่งกรุงโรมให้เดินทางเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา คณะบาทหลวงชุดนี้มีบาทกลวงลาม็อต ลังแบรต์ (De
La Motte Lambert) ซึ่งเป็น
สังฆราช แห่งเบริธ (Eveque de Beryte)
เป็นหัวหน้าคณะร่วมกับ บาทหลวง เดดิเอร์ (Didier)
และบาทหลวงเดอบูร์ช (De
Brourges)
นับเป็นบาทหลวงฝรั่งเศสคณะแรกที่เข้ามากรุงศรีอยุธยา
โดยเดินทางเข้ามาทางเมืองมะริด เพื่อเตรียมการไปเผยแผ่ศาสนาในประเทศจีนอันนัม
และตังเกี๋ย ในเวียดนาม ต่อไป
การเดินทางของคณะบาทหลวงชุดนี้ บันทึกการเดินทางว่า
ได้เดินทางจากฝรั่งเศสผ่านทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ประเทศตุรกี ประเทศเปอร์เซีย
และโมกุล มาถึงกรุงศรีอยุธยา
(การเดินทางของคณะบาทหลวงนี้ได้ถูกขัดขวางโดยเรือของโปรตุเกสและฮอลันดา
ไม่ยอมรับชาวฝรั่งเศสโดยสารเรือมาด้วย เนื่องจากมีข้อพิพาททำสงครามกับยุโรป)
จึงทำให้คณะบาทหลวงฝรั่งเศสต้องลงเรือใบขนาดเล็กสองพันตัน มีสามเสา
ออกจากฝรั่งเศสที่ เมืองมาร์เซย์ริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อวันที่ 27
พฤศจิกายน พ.ศ. 2203 เดินทางไปยังเกาะมอลตา (Malthe)
แล้วขึ้นบกที่เมืองอาเล็ปโป (Alep)
ของตุรกี และขี่อูฐข้ามทะเลทรายไปเมืองแบกแดด (บาบิโลน)
เดินทางต่อไปยังเมืองบาสโซร่าประเทศอารเบีย (Basra
ปัจจุบันอยู่ในอิรัค) พบกองเรือค้าขายของฮอลันดา
จากนั้นเดินทางบกต่อไปถึงเมืองซีรัส (Schiras)
ประเทศเปอร์เซียไปเมืองฮิสปาฮัน เมืองหลวงของเปอร์เซีย
แล้วเดินทางต่อไปจนถึงเมืองโคโมรอน (Gomoron)
ซึ่งคณะบาทหลวงได้พบคนอังกฤษและฮอลันดาอยู่กันอย่างหรูหรา
คณะบาทหลวงได้เดินทางต่อไปถึงเมืองสุรัต (Suratte)
ท่าเรือของอินเดีย แล้วเดินทางบกต่อไปถึงเมืองมาสุลีปาตัน (Masulipatan)
ของมหาอาณาจักรโมกุล ราชอาณาจักรกอลกอนดา (Golconde)
ซึ่งอยู่ในประเทศอินเดียปัจจุบันใกล้เมืองมัทราส
คณะบาทหลวงผู้เผยแผ่ศาสนาลงเรือใบข้ามทะเลอันดามัน มายังเมืองตะนาวศรี
แล้วลงจากเรือใหญ่ ที่เมืองมะริดของอาณาจักรสยาม
ต่อจากนั้นนั่งเรือเล็กต่อไปในแม่น้ำ จนถึงหมู่บ้านริมแม่น้ำ
แล้วจึงขึ้นเกวียนเทียมวัว ใช้เวลาหลายวันหลายคืนจนเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา
เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2205
ระยะเวลาเดินทางนั้นเดินย้อนเวลามาทางทิศตะวันออก จึงเร็วกว่าปกติ
น่าจะใช้เวลาเดินทางจริงประมาณ 4 5 ปี
ต่อมาในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2209
คณะบาทหลวงได้พยายามลงเรือเดินทางไปเขมรแต่เรือไปล่มลงใกล้จันทบุรี
จึงเดินทางกลับอยุธยาทางบก
มาอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านชาวญวนซึ่งอยู่ห่างจากอยุธยาหนึ่งร้อยเส้น
คณะทูตทางศาสนาอีกคณะหนึ่งที่ได้เดินทางมาอาณาจักรสยาม ในเวลาใกล้เคียงกัน
คือคณะของสังฆราชปัลลือ พร้อมกับบาทหลวงอีก 4 รูป
เดินทางออกจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2205
โดยเรือจากฝรั่งเศสที่ท่าเมืองมาร์เซย์ ผ่านเมืองอาเล็ปโป ตุรกี
เมืองแอร์เซอร์รอน เมืองอิสปาฮัน
ลงเรือจากเมืองคาเมอรอนในอ่าวเปอร์เซียแล่นใบไปเมืองสุรัตในอินเดีย
เดินทางบกผ่านอาณาจักรโมกุล อาณาจักรกอลกอนดาถึงเมืองมาสุลีปาตัน
ลงเรือในอ่าวเบงกอล แล้วเดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยาเมืองหลวงของอาณาจักรสยามใน
พ.ศ. 2207 (เดินทางเรือใช้เวลาประมาณ 1 2 ปี)
สังฆราชปัลลือได้พบกับสังฆราช เดอ ลาม็อต ลังเบรต์
ในอาณาจักรสยามแล้ว จึงพากันตกลงที่จะใช้อาณาจักรสยาม
เป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ของคริสต์ศาสนจักรในภูมิภาคตะวันออกของเอเชียแทนเวียดนามที่เคยตั้งใจไว้แต่เดิม
สังฆราชทั้งสองได้ส่งสาส์นไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
รายงานถึงความสำเร็จในการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในอาณาจักรสยามให้ทราบ
สังฆราชปัลลือนั้นพูดภาษาฝรั่งเศส สเปน โปรตุเกส และอันนัมได้
ทั้งยังเชี่ยวชาญทางภาษาและศาสนาของสยามอย่างลึกซึ้ง
โดยศึกษาจากพระสงฆ์ที่เชี่ยวชาญที่สุดของอยุธยา
สังฆราชปัลลือได้แต่งตำราไวยากรณ์และพจนานุกรมสยามละตินขึ้น
มีการสร้างวัดนักบุญยอแซฟ นิกายโรมันคาทอลิก ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์
พระองค์ทรงเอาใจพวกฝรั่งเศสโดยทรงหวังจะให้เป็นกำลังด้านพวกฮอลันดาขณะนั้นฮอลันดากับฝรั่งเศสทำสงครามกันอยู่ในทวีปยุโรป
ต่อมาใน พ.ศ. 2212 พระสังฆราชลังแบร์ต
จึงได้รับพระราชานุญาตจากสมเด็จพระนารายณ์ให้สร้างวัดคริสต์และค่ายนักบุญเซนต์โยเซฟขึ้นในกรุงศรีอยุธยา
สังฆราชลังแบร์ตได้พำนักและมรณภาพที่อยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2222
|