ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเ
ความสัมพันธ์ทางการทูตกับนานาประเทศ
ด้วยเหตุที่สมเด็จพระนารายณ์
กษัตริย์อยุธยามีความสัมพันธไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ของฝรั่งเศสและนานาประเทศ
พระองค์จึงได้ส่งคณะราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศหลายครั้ง กล่าวคือ
อาณาจักรสยามนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองจีนมาช้านาน
ตั้งแต่แคว้นสุโขทัย ต่อมาเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี
การมีสัมพันธไมตรีจึงถือปฏิบัติที่สืบต่อกันมา ดังจะเห็นว่าใน พ.ศ. 2207 , พ.ศ.
2208 , พ.ศ. 2211 , พ.ศ. 2215 , พ.ศ. 2216 , พ.ศ. 2221
กรุงศรีอยุธยาได้ส่งคณะทูตของอาณาจักรสยามไปจีน
พ.ศ. 2211 อาณาจักรสยามได้ส่งคณะทูตเดินทางไปอิหร่าน
พ.ศ. 2223 ฝรั่งเศส
ได้เดินทางเข้ามาตั้งสถานีการค้าอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา โดยมีนายเดสลังส์บูโร
เป็นผู้จัดการ ต่อมาใน พ.ศ. 2224 สมเด็จพระนารายณ์
กษัตริย์อยุธยาได้ส่งออกญาพิทักษ์ราชไมตรี (Pra
Pitatraatchmaitri)
เป็นราชทูต หลวงศรีวิศาลสุนทร เป็นอุปทูตเดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ณ
กรุงฝรั่งเศส และพระสันตะปาปา ที่กรุงโรม โดยมีบาทหลวงเกมส์ (Gayme)
เป็นล่าม
เครื่องราชบรรณาการที่กรุงศรีอยุธยานำไปถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
นั้นมี ดังนี้ ลูกช้าง 2 ตัว ลูกระมาด (แรด) 2 ตัว น้ำมันชะมด และไม้สัก
แต่ด้วยเหตุที่เรือของฝรั่งเศสชื่อดอเรียง
Le soleil
DOrient
ซึ่งนำคณะทูตจากกรุงศรีอยุธยาโดยสารไปนั้น
ได้เกิดอับปางลงใกล้เกาะมาดากัสการ์ทวีปอาวริกา (แอฟริกา)
ไม่เห็นซากอับปางของเรือลำนี้ จึงทำเชื่อกันว่าคณะทูตหลวงนี้ได้เสียชีวิตหมด
ต่อมากุมภาพันธ์ พ.ศ. 2225
นั้นได้มีรายงานจากเมืองมะสุลีปะตัมของอินเดียว่าเรือของพระเจ้ากรุงสยามลำหนึ่งเดินทางมาถึงพร้อมกับช้าง
22 เชือก
พ.ศ. 2226 สมเด็จพระนารายณ์ได้ส่งคณะราชทูตไปที่กรุงมนิลา
ขณะนั้น คอนแสตนตินฟอลคอน (Constance
Falcon)
ได้ทำหน้าที่เป็น สมุหานายกของกรุงศรีอยุธยา
คอนสแตนติน ฟอลคอน ผู้นี้เป็นชาวกรีกชื่อ คอนสแตนติน เยรากี
แปลว่า นกเหยี่ยว) นับถือคาทอลิก เกิดเมื่อ พ.ศ. 2193
เดิมนั้นเป็นลูกเรือรับจ้างของอังกฤษที่เดินทางมาทำการค้าขายทางด้านทิศตะวันออก
ขณะนั้นอายุได้ 16 ปี ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น คอนสแตนตินฟอลคอน
ได้เดินทางเข้ามาถึงเมืองสยามเมื่อ พ.ศ. 2218 ตรงกับแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์
(ปีที่ 19) โดยเป็นลูกเรืออังกฤษเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา
ต่อมาได้ลาออกจากบริษัทการค้าของอังกฤษสมัครเข้ารับราชการเป็นสมุห์บัญชี
กรมพระคลังสินค้า อยู่กับเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
ด้วยเหตุที่คอนสแตนตินนั้นรู้วิธีการค้าขายและเข้าใจเล่ห์กลของพ่อค้าชาวตะวันตกจึงทำความชอบให้ปรากฏอยู่บ่อยครั้ง
จนเป็นที่ไว้วางใจของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
ครั้นเมื่อความชอบนั้นทราบถึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ
จากการกราบทูลของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) แล้ว พระองค์จึงได้แต่งตั้งให้
คอนสแตนติน ฟอลคอน นั้นเป็น หลวงวิชเยนทร์ และต่อมาได้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระ
พระยาพระคลังและเจ้าพระยาวิชเยนทร์
พระยาวิชาเยทร์นั้นมีภรรยาเป็นชาวญี่ปุ่นลูกครึ่ง แขกเบงกอลชื่อ มาร์ กีมาร์
Marie Gimard
คนไทยเรียก ท้าวทองกีบม้า ครั้งนั้น
ฟอลคอนนั้นได้สร้างสัมพันธมิตรกับฝรั่งเศสให้ช่างฝรั่งเศสสร้างป้อมปราการขึ้นที่เมืองธนบุรีในพื้นที่ของบางกอก
(มีป้อมฝั่งตะวันออกและป้อมฝั่งตะวันตกคือ ป้อมวิชาเยนทร์
หรือป้อมวิชัยประสิทธิ์เดี๋ยวนี้) ดังนั้นพวกฮอลันดาและอังกฤษจึงไม่ชอบคอนสแตนติน
ฟอลคอนหรือพระยาวิชาเยนทร์ผู้นี้
พ.ศ. 2223 นั้นบริษัทของฝรั่งเศส
ได้เข้ามาตั้งค้าขายในกรุงศรีอยุธยาในครั้งแรกสมเด็จพระนารายณ์ทรงให้ความอุปการะเป็นอย่างดี
เพราะได้มีพระราชไมตรีกับพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อยู่แล้ว
จึงโปรดให้แต่งทูตไปเมืองฝรั่งเศสกับบริษัทฝรั่งเศสเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2224
แต่ทูตที่ไปคราวนี้ ได้เกิดเรือแตกเสียกลางทางจึงสูยหายไปหมด
ทำให้เดินทางไปไม่ถึงฝรั่งเศส
ครั้นเมื่อเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ
พ.ศ. 1116 นั้น สมเด็จพระนารายณ์ฯ
จึงไว้วางพระทัยพระเพทราชาข้าหลาวงเดิมมากขึ้น พระเพทราชานั้นถนัดแต่การทหาร
ไม่สันทัดและไม่ชอบในเรื่องการมีสัมพันธไมตรีกับชาวต่างประเทศ
ขณะนั้นข้าราชการที่มีปัญญาสันทัดในการต่างประเทศจึงมีแต่
พระยาวิชาเยนทร์แต่ผู้เดียวภายหลังได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาฯ
ในครั้งแรกนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ
จะทรงแต่งตั้งเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ให้เป็นพระยาโกษาธิบดี
แต่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้นขอตัวก่อน
ด้วยเกรงว่าข้าราชการจะพากันเป็นปฏิปักษ์และอิจฉาริษยาจน
พระองค์จึงแต่งตั้งขุนนางแขกผู้หนึ่งขึ้นเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี
แต่ไม่สามารถทำงานได้อย่างเจ้าพระยาโกษาธิบดี (เหล็ก)
จึงเป็นเหตุให้งานราชการต่างประเทศนั้นกลับมาตกอยู่ความรับผิดชอบของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ในที่สุด
ในเวลานั้นข้าราชการส่วนใหญ่ต่างพากันรังเกียจเจ้าพระยาวิชาเยนทร์
ด้วยเหตุที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์นั้น เดิมนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนส์
แล้วกลับมาเข้ารีตนับถือนิกายโรมันคาธอลิคตามฝรั่งเศสมาก่อนประมาณ 1 ปี
จึงเป็นเหตุให้ข้าราชการนั้นแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ
ฝ่ายของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์ซึ่งเป็นพวกที่ชอบฝรั่งเศส
กับฝ่ายของพระเพทราชาที่เกลียดชังฝรั่งเศส
แต่ทั้งสองฝ่ายนั้นยังมีความเกรงใจสมเด็จพระนารายณ์อยู่
จึงไม่แสดงความไม่พอใจต่อกันให้ปรากฏ
ใน พ.ศ. 2224 สมเด็จพระนารายณ์ฯ
ได้โปรดให้แต่งคณะราชทูตเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง
แต่ไม่แน่ใจว่าคณะราชทูตนั้นจะปลอดภัยในการเดินทางหรือไม่ จึงให้จัดข้าราชการ 2
คนเดินทางไปสืบข่าวคณะราชทูตที่เดินทางไปครั้งก่อน
โดยให้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ดำเนินการประสานงาน
เจ้าพระยาวิชาเยนทร์ได้ขอให้สังฆราชคริสตังที่อยู่ในอาณาจักรสยามนั้น
ได้มีหนังสือกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ให้แต่งคณะราชทูตต่างพระองค์เดินทางมาเจริญไมตรีต่อกันตามอย่างประเทศที่มีเกียรติยศ
และให้ทำการยกย่องพระเกียรติยศของสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ด้วยเพื่อจะได้มีหนทางสะดวกในการที่จะเผยแพร่ศาสนาคริสตังในอาณาจักรสยามต่อไปได้
คณะราชทูตของอาณาจักรสยามนั้นได้ออกเดินทางไปเมื่อ พ.ศ. 2226
และเดินทางถึงฝรั่งเศส ปรากฏว่าทางฝรั่งเศสได้ให้การต้อนรับเป็นอย่างดี
สังฆราชฝรั่งเศสที่อยู่ในกรุงศรีอยุธยานั้น ได้มีหนังสือทูล
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 อย่างไรไม่ทราบ จึงเป็นเหตุให้พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
เข้าพระทัยว่า สมเด็จพระนารายณ์นั้นมีความเลื่อมในศรัทธาจะเข้ารีตเป็นคริสตัง
ดังนั้นเมื่อคณะทูตจากฝรั่งเศสได้เดินทางมาถึงเมืองสยาม พ.ศ.
2228
พร้อมกับคณะทูตของกรุงศรีอยุธยาที่เดินทางไปครั้งที่สองนั้นกลับมาพร้อมกันด้วย
ครั้งนั้นสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ทรงรับรองคณะราชทูตฝรั่งเศสอย่างสมเกียรติและเป็นเกียรติยศ
และเมื่อพระองค์ทรงแจ้งว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ให้ราชทูตมาชักชวนพระองค์เข้ารีตเป็นคริสตัง พระองค์ก็ทรงผ่อนผันด้วยพระปรีชาญาณ
โดยให้ประกาศพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอนุญาต
ว่าแล้วแต่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินคนใดจะมีใจศรัทธานับถือศาสนาคริสตังก็ไม่ห้ามปราม
ส่วนพระองค์นั้นได้มีรับสั่งให้ราชทูตฝรั่งเศสนำความไปกราบทูลพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
ว่า การนับถือศาสนานั้นไม่ได้อยู่ในอำนาจมนุษย์ที่เลือกเอาเองได้
ต้องแล้งแต่ศรัทธาจะเกิดขึ้นในใจเป็นใหญ่
การที่พระเจ้าหลุยส์ทรงชักชวนมานั้นพระองค์ไม่ขัดขวาง จะตั้งพระทัยไว้เป็นกลาง
หากทรงศรัทธาในพระทัยขึ้นเมื่อใด ก็จะยอมเข้ารีตแต่นั้นไป
เมื่อคณะราชทูตฝรั่งเศสเดินทางกลับไปนั้น
สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงฝากคณะราชทูตไทยไปพร้อมกันด้วย โดยให้ พระวิสูตรสุนทร
(ปาน) น้องชายของ เจ้าพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก) นำคณะราชทูตเดินทางไปพร้อมกัน
คณะราชทูตได้เดินทางถึงฝรั่งเศสเมื่อปลายปี พ.ศ. 2228
การเจริญสัมพันธไมตรีของพระวิสูตรสุนทร (ปาน)
และคณะราชทูตในครั้งนั้น ได้สร้างชื่อเสียงเป็นที่เลื่องลือในทวีปยุโรป
เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่พระเจ้าแผ่นดินทางด้านตะวันออกแต่งคณะราชทูตไปยังสำนักฝรั่งเศสพระเจ้าหลุยส์ทรงจัดการรับรองคณะราชทูตจากกรุงศรีอยุธยาอย่างสมเกียรติยศ
และโปรดให้จัดทำเหรียญที่ระลึก และมีการเขียนรูปราชทูตไทยเข้าเฝ้า
พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ของฝรั่งเศสเป็นที่ระลึกด้วย
ออกพระวิสูตรสุนทร (ปาน) ผู้นี้เป็นบุตรของเจ้าแม่วัดดุสิต
ซึ่งเป็นพระนมของสมเด็จพระยาโกษาธิบดี (ขุนเหล็ก)
ผู้เป็นพี่ชายเป็นออกพระวิสูตรสุนทร ต่อมา พ.ศ. 2228 สมเด็จพระนารายณ์ฯ
ได้แต่งตั้งให้เป็นราชทูตออกไปเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศส
โดยเดินทางไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 และเดินทางกลับมายังกรุงศรีอยุธยาเมื่อ
พ.ศ. 2230 กลับมาแล้วประมาณ 3 เดือนได้รับแต่งตั้งเป็นพระยาโกษาธิบดี ต่อมา 5
เดือนสมเด็จพระนารายณ์ก็สวรรคต
พระยาโกษาธิบดี (ปาน) เป็นชายหนุ่มที่มีรูปงาม
กิริยามารยาทเรียบบร้อย มีไหวพริบดีรู้จักโต้ตอบได้ถูกเรื่องราวและกาลเทศะ
ไม่มีอาการประหม่าสะทกสะเทิ้นเขินอาย
เป็นคนช่างสังเกตจดจำสิ่งที่พบเห็นได้ทุกอย่างเมื่อเปลี่ยนแผ่นดินเป็นสมเด็จพระเพทราชานั้น
พระยาโกษาธิบดี (ปาน ) นั้นได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาโกษาธิบดี
แต่ด้วยเหตุที่เป็นคนซื่อสัตย์ต่อสมเด็จพระนารายณ์ฯ
ดังนั้นเมื่อเห็นว่าสมเด็จพระเพทราชากระทำการไม่สมควรกรณี
แต่ตั้งทั้งพระมเหสีและพระขนิษฐาของสมเด็จพระนารายณ์เป็นพระมเหสี
จึงทำให้สมเด็จพระเพทราชานั้นทรงกริ้วเป็นอันมาก จึงหาเหตุให้ต้องพระราชทานอาญา
และมีโทษโบยด้วยเชือกจนสลบ เล่ากันว่าหลังนั้นไม่มีเนื้อดีจนมีการกล่าวกันว่า
เข้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน) นั้น
มีความเกรงกลัวพระราชอาญาเสียจนไม่กล้าที่จะกราบทูลเรื่องสำคัญๆ
จนในที่สุดถึงแก่สัญกรรม ด้วยความดันโทมนัสที่ถูกพระราชอาณาและต้องโทษโบยอยู่เสมอ
|