ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เหตุการณ์คณะราชทูตไทยในสมัยสมเด็

 

เหตุการณ์คณะราชทูตไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

 

คณะราชทูตไทยเรือแตกที่แอฟริกา

 

                เดือนมีนาคม  พ.ศ. 2227  สมเด็จพระนารายณ์ฯ  กษัตริย์กรุงศรีอยุธยา  แห่งอาณาจักรสยาม  ได้ส่ง  ออกขุนชำนาญ  (Occun  Chaman)  กับคนสยามรวมสิบคนไปเมืองลิสบอน  ประเทศโปรตุเกส  ผ่านเมืองกัว  โดยเรือรบของโปรตุเกสซึ่งมีลูกเรือ  ร้อยห้าสิบคน  และบาทหลวงโปรตุเกสนิกาย  แซงต์  โอกึสแตง

 

                วันที่  27  เมษายน  พ.ศ. 2229  เรือโปรตุเกสที่ทูตไทยโดยสารไปอับผางที่แหลม  แดส์  เอกีส์  (des  Aiguilles)  ซึ่งเป็นสันทรายทางขวางกับแผ่นดินที่ตรงปลายแหลม  (จงอย)  ทางตอนใต้ของทวีปแอฟริกา  ห่างจากแหลมเดอ  บอนน์  แอ๊สเปรัวซ์  (แหลมกู้ดโฮป)  เป็นระยะทางประมาณ  20  ลิเออ  คนจมน้ำตายไปแปดคน  ขุนชำนาญและคณะว่ายน้ำขึ้นฝั่งได้ต้องกินใบไม้  งูย่างหมวกและรองเท้า  เป็นอาหาร  แล้วเดินด้วยเท้าในแอฟริกาอยู่สามสิบเอ็ดวันจึง  พบคนป่าโอตังโดผิวดำ  จึงได้นำพาไปหาชาวฮอลันดาที่แหลมกู้ดโฮป  แล้วอาศัยเรือฮอลันดากลับมาปัตตาเวีย  ลงเรือใบกลับมาประเทศสยามเมื่อเดือนกันยายน  จึงได้พบบาทหลวงตาชาร์ดและออกญาวิชาเยนทร์

 

คณะราชทูตสยามไปอังกฤษและฝรั่งเศส

 

                วันที่  25  มกราคม  พ.ศ. 2227  สมเด็จพระนารายณ์ฯ  กษัตริย์กรุงศรีอยุธยาแห่งอาณาจักรสยามได้ส่งออกขุนพิไชยวาทิตและออกขุนพิชิตไมตรีโดยสารเรือของอังกฤษ  เดินทางไปเป็นคณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าชาลส์ที่  2  แห่งอังกฤษและพระเจ้าหลุยส์ที่  14  แห่งฝรั่งเศสที่กรุงปารีส  โดยมีบาทหลวงวาเซต์  (Monsieur  Vachet)  อดีตศาสนทูตแห่งประเทศญวนใต้เป็นล่าม  เพื่อสืบหาคณะทูตชุดแรก  ที่นำโดย  ออกญาพิทักษ์ราชไมตรี  ซึ่งสูญหายไปเมื่อ  พ.ศ. 2223

 

                คณะราชทูตไทยชุดนี้ได้เดินทางกลับมาประเทศสยามพร้อมกับราชทูตฝรั่งเศสชื่อ  เชอร์วาเลียร์  เดอ  โชมองต์  (Chevalier  de  Chaumont)  นายทหาร  ชื่อ  เชอวาลิเยอร์  ฟอร์แบง  นายทหารชื่อ  เดอ  โบเรอการ์ด  และ  บาทหลวงคณะเยซูอิตชื่อ  อับเบ  เดอ  ชัวซีย์  (เดอชัวสี)  บาทหลวงตาชาร์ด  บาทหลวง  ฟอนเต  อเนย์  บาทหลวง  เลอคองต์  บาทหลวง  เกอบิยองต์  บาทหลวงวิสเดอลู  และนายนิโคลัส  แซร์แวส   โดยทั้งหมดออกเดินทางจากท่าเรือเมืองเบรสต์ของฝรั่งเศส  เมื่อวันที่  3  มีนาคม  พ.ศ. 2228  ถึงปากอ่าวสยามเมื่อวันที่  22  กันยายน  พ.ศ. 2228  ด้วยเรือรบหลวงชื่อ  ลัวโซ  (L’Oyseau)  ซึ่งเป็นเรือใบขนาดเล็ก  ต่อด้วยไม้บุทองแดง  มีลูกเรือ  132  คน  และเรือฟรีเกตชื่อ  ลา  มาลีญ

 

                สิ่งของที่คณะทูตของฝรั่งเศสนำมาถวายพระเจ้ากรุงสยาม  คือ  กระจกเงาหนึ่งพันบาน  อำพันเม็ดสิบสองปอนด์  กระจกแก้วสีสามร้อยแผ่น  ปืนคาบศิลาหนึ่งร้อยกระบอก  นาฬิกาแขวนสองเรือน  อานม้าหนังตะทองคำสิบอาน  ในครั้งนี้มีช่างทำแผนที่ชื่อ  เดอ  ลามาร์  ร่วมคระมาด้วยเพื่อทำแผนผังตัวเมืองชายฝั่งที่ผ่านไปและแผนที่ประเทศสยาม  เพื่อส่งกลับไปถวายพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส

                สำหรับบาทหลวง  เดอชัวสี  ที่ร่วมคณะมาครั้งนี้  ต่อมาภายหลังนั้นได้เดินทางกลับมายังอาณาจักรสยามอีกหลายครั้ง  บาทหลวง  เดอชัวสี  ผู้นี้เป็นคนครึ่งหญิงครึ่งชาย  กระตุ้งกระติ้ง  ได้เขียนบันทึกไว้ในหนังสือ  “การเดินทางเป็นสยาม”  มีความว่า  “ข้าราชการสยามหลายคนพูดภาษาโปรตุเกสได้  เพราะเป็นภาษากลางที่ใช้กันทั่วไปในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถึงอินเดีย”

 

                นายนิโคลาส  แซร์แวส  ได้เขียนบันทึกไว้เช่นกัน  ว่า  “อาชีพอัตคัดที่สุดในสยามคือ  ช่างตัดเสื้อ  เพราะพลเมืองสามัญนั้นเขาไม่ใส่เสื้อกัน”

 

                เชอรวาเลียร์  เดอ  โชมองต์  ราชทูตฝรั่งเศสได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์น  ของพระเจ้าหลุยส์  ที่ 14  โดยมีเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  ร่วมเฝ้าด้วย  ซึ่งมีภาพเขียนขณะราชทูตฝรั่งเศสเข้าถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์  ปรากฏอยู่  เชอร์วาเลียร์  เดอ  โชมองต์  ได้ออกเดินทางกลับฝรั่งเศส  ในเดือน  ธันวาคม  พ.ศ. 2228ส่วนฟอร์แบงนั้นได้อยู่รับราชการในอาณาจักรสยาม  ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองบางกอก  (เมืองธนบุรีศรีสมุทร)  และได้ลาออกกลับไปฝรั่งเศส  ปลายปี  พ.ศ. 2229

 

                พ.ศ. 2227  เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (เหล็ก)  ซึ่งพี่ชายโกษาปาน  พระสหายสนิทของสมเด็จพระนารายณ์  ผู้ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการชิงบัลลังก์จากเจ้าฟ้าชัยและพระศรีสุธรรมราชานั้น  ถูกพระราชอาชญาเฆี่ยนจนตาย  เพราะขัดขวางการสร้างป้อมปราการแบบยุโรปของฟอลคอนที่บางกอก  และเมืองต่างๆ  ทั้งนี้เนื่องเจ้าพระยาโกษาธิบดีเหล็ก  (ออกญาโกษาเหล็ก)  เห็นว่าคนไทยไม่ชำนาญการรบแบบยุโรป  ไม่รู้วิธีป้องกันตนเองบนป้อม  ถ้าข้าศึกยึดป้อมได้ก็เท่ากับมีข้าศึกในพระราชอาณาจักร  และไม่เชื่อในความสามารถของฟอลคอน  ซึ่งไม่มีความชำนาญในการสร้างป้อม  นอกจากนั้นเจ้าพระยาโกษาธิบดี  (เหล็ก)  ยังได้ลอบทำคำสั่งลับถึงขุนนางข้าราชการสยามห้ามนับถือศาสนาคริสต์ด้วย

 

                นอกจากนี้ยังมีขุนหลวงสรศักดิ์  (ต่อมาได้ครองราชย์เป็นสมเด็จพระเจ้าเสือ)  ผู้ขัดเคืองในเรื่องศาสนาและเคยชกปากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  แต่รอดการถูกลงโทษ  เพราะเจ้าแม่วัดดุสิต  (ผู้เป็นมารดาเจ้าพระยาโกษาเหล็กและเจ้าพระยาโกษาปาน)  ไปช่วยขอพระราชทานอภัยโทษให้

 

                วันที่  29  กรกฎาคม  พ.ศ. 2228  มีบันทึกที่ป้อมเซนต์ยอรช์ของอังกฤษในอินเดียว่าเรือเบ็งกอลเมอรชั่น  ของเปอร์เซีย  (อิหร่าน)  ได้เดินทางผ่านมา  ในเรือนั้นมีทูตเปอร์เซียไปเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม  และทูตสยามที่ไปเฝ้าพระเจ้ากรุงเปอร์เซียได้เดินทางกลับมาพร้อมกับม้า  33  ตัว

 

                ในบันทึกการเดินทางของราชทูตเปอร์เซีย  ที่เรียกว่า  สำเภาสุไลมานนั้น  ระบุว่าได้เดินทางออกจากท่าเรือ  บันดารแอบบาส  ในวันที่  27  มิถุนายน  พ.ศ. 2228  ผ่านเมือง  มะริด  เมืองตะนาวศรี  เมืองญะลัง  เมืองเพชรบุรี  เมืองสุพรรณบุรี  (มาชูฮอน)  อยุธยา  เมืองลพบุรี  เอกสารดังกล่าวเรียกอยุธยาว่า  “ชะห์รินาว  แปลว่า  เมืองเรือ  หรือ  นาวานคร”  เพราะประชาชนนิยมการเดินทาง  ค้าขาย  และพักอาศัยอยู่ในเรือกันมาก  คณะราชทูตของเปอร์เซียได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ด้วย

 

                วันที่  12  ธันวาคม  พ.ศ. 2228  คณะราชทูตสยาม  (ชุดที่  3)  จำนวน  40  คนได้  ออกเดินทางไปฝรั่งเศส  กับคณะราชทูตของเชอร์วาเลียร์  เดอ  โชมองต์  ครั้งนี้ได้ส่งนักเรียนไทย  12  คน  (แต่หาชื่อได้เพียง  10  คนเท่านั้น)  เพื่อเตรียมเข้าเรียนในโรงเรียนหลุยส์เลอกรังที่มีชื่อเสียงแล้วเตรียมให้เรียนวิชาทำน้ำพุวิชาก่อสร้าง  และวิชาช่างเงินช่างทอง  คือ  พี  PierreEmmanuel, เพ็ชร  Jean  Baptiste  Olite,  อ่วม  Paul  Artus,  ชื่น  Louis,  ไก่  ช่างทอง  Francois  Xavier,  มี  Henri  Oliver,  ด่วน  ช่างก่อสร้าง  Philippe,  สัก  Francosis,  เทียน  Thomas  และวุ้ม  Nicolas(จากจดหมายเหตุของคณะบาทหลวงฝรั่งเศส  ,  ประชุมพงศาวดารเล่ม  20,)เรือลัวโซ  กับเรือลา  มาลีญของคณะราชทูต  เดินทางถึงท่าเมืองเบรสต์ในฝรั่งเศสเมื่อ  18  มิถุนายน  

 

พ.ศ. 2229  ที่เมืองเบรสต์นี้ภายหลังได้มีการตั้งชื่อถนนสยาม  Rue  de  Siam  เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่เจ้าพระยาโกษาธิบดี  (ปานหรือโกษาปาน)  ได้เป็นราชทูตของประเทศสยามไปเยือนฝรั่งเศส  และคณะราชทูตได้ถึงกรุงปารีสเมื่อ  12  สิงหาคม  พ.ศ. 2229

 

                คณะราชทูตชุดนี้มีออกพระวิสูตรสุนทร  (โกษาปาน)  เป็นราชทูต  หลวงกัลป์ยาณราชไมตรี  และขุนศรีวิศาลวาจา  เป็นทูต  มีเจ้าอาวาสวัดเดอลีอองเป็นล่าม

 

                คณะราชทูตเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่  14  ที่พระราชวังแวร์ชายเมื่อวันที่  1  กันยายน  พ.ศ. 2229  แล้วเดินทางกลับถึงกรุงศรีอยุธยาเมื่อวันที่  8  ตุลาคม  พ.ศ.  2230  พร้อมกับลาลูแบร์  ราชทูตของฝรั่งเศส

 

                ต่อมาวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ. 2230  พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้ส่งราชทูตชิมอง  ลาลูแบร์  (Simon  de  la  lovbere)  เจ้าหน้าที่กระทรวงทหารเรือ  บาทหลวงตาชาร์ด  (Pere  Tachard)  บาทหลวง  เดอ  เบส  (de  Betz)  และบาทหลวงเยซูอิตรวม  12  รูป  และพร้อมด้วยทหารฝรั่งเศส  636  คนภายใต้การนำของ  นายพลเดส์ฟาร์ช  (Desfarges)   ออกจากท่าเรือเมืองเบรสต์  เพื่อมายึดบางกอก  และป้อมมะริด  โดยอ้างว่าจะมาอารักขาพระเจ้าแผ่นดินสยามจากการรุกรานของอังกฤษและฮอลันดา  โดยมีการปิดความลับอย่างสุดยอด

 

                กองเรือ  6  ลำ  ของฝรั่งเศส  ซึ่งมีเรือรบ  เลอ  กัยยารต์  (le  Gaillard)  ติดปืนใหญ่  54  กระบอก  ลูกเรือ  150  คน  เรือรบ  ลัวโซ  (l’Oyseau)   ติดปืนใหญ่  46  กระบอก  (เรือลำนี้เคยเดินทางมาสยามก่อนแล้ว)  เรือลา  นอร์มังด์  (la  Normande)  เรือ  เลอ  โดรมาแดร์  (le  Dromandaire)  และเรือลำเลียงยุทโธปกรณ์  ลาลัวร์  (la  Loire)  ส่งนเรืออีกลำชื่อ  ลา  มาลีญนั้นขนเสบียงมาส่งแค่แหลมกู้ดโฮปแล้วก็กลับฝรั่งเศส

 

                กองเรือฝรั่งเศสได้พากันออกจากท่าเมืองเบรสต์  เมื่อวันที่  1  มีนาคม  พ.ศ. 2230  ผ่านแหลมกู้ดโฮป  ช่องแคบชุนดา  เมืองบันตัม  ปัตตาเวีย  ช่องแคบบังกา  ถึงอ่าวสยามสันดอน  แม่น้ำเจ้าพระยาเมื่อวันที่  27  กันยายน  พ.ศ. 2230  และถึงกรุงศรีอยุธยา  เมื่อวันที่  8  ตุลาคม  พ.ศ. 2230

 

                ในการเดินทางครั้งนี้ปรากฏว่าอาหารในเรือนั้นมีคุณภาพไม่ดี  จึงทำให้เกิดการเจ็บป่วยในเรือมาก  ทหารฝรั่งเศสบางคนมาตายในเมืองสยาม  เพราะกินน้ำตาลเมาที่ทำจากน้ำตาลมะพร้าวมากเกินไป  รวมทหารฝรั่งเศสมาสยามครั้งนี้มีจำนวน  636  คน  ระหว่างเดินทางนั้นได้ตายไป  143  คน  ขณะที่พำนักอยู่เมืองสยามนั้นปรากฏว่าตายไปอีกราวร้อยคน  จึงอยู่รักษาเมืองมะริด  150  คน  ลงเรือตระเวนตามชายทะเล  50  คน  และเหลือรักษาป้อมบางกอกราว  200 – 250  คน  ราชทูต  ลาลูแบร์อยู่ในสยาม  เป็นเวลา  3  เดือน  6  วัน  จึงเดินทางกลับออกจากสยามในวันที่  3  มกราคม  พ.ศ. 2230  กลับถึงท่าเมืองเบรสต์  ในวันที่  25  พฤษภาคม  พ.ศ. 2231  การเดินทางของลาลูแบร์นั้นไม่ได้รับการต้อนรับจากประเทศสยามดีนัก  เพราะขุนนางสยามยังสงสัยในพฤติกรรมของฝรั่งเศสที่นำทหารมาด้วยถึง  5  ลำเรือรบ  โดยเฉพาะเพทราชานั้นได้พอใจและคัดค้านอย่างเปิดเผย  จนลาลูแบร์และทหารถูกฟอลคอนสั่งห้ามลงจากเรือ  จนกว่าจะได้สาบานว่าจะจงรักภักดีต่อองค์สมเด็จพระนารายณ์และฟอลคอนเสียก่อน  ทหารฝรั่งเศสได้ขึ้นพักที่ป้อมวิชาเยนทร์  (ป้อมวิชัยสิทธิ์)  ด้านตะวันตกของบางกอกเมื่อวันที่  2  พฤศจิกายน  พ.ศ. 2230

 

                ลาลูแบร์  ได้เขียนหนังสือเกี่ยวกับอาณาจักรสยามไว้ในหนังสือ  Le  royaume  de  Siam  เรื่องนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมพระนราธิปประพันธ์พงษ์  ทรงแปลเป็นภาษาไทย  มีความเล่าว่า  ในสยามมีคนต่างชาติกว่า  16,000  คน  คนไทยจำนวนหนึ่งนับถือศาสนามะหะหมัดตามพวกมัวร์  ผู้ชายชอบสักขาเหมือนรอยแผลเป็นที่ถูกดินปืน  หญิงชาวสยามไม่ยอมทอดเนื้อตัวให้คนต่างประเทศโดยง่าย  แต่หญิงชาวพะโค  (มอญ)  ในสยาม  มีความภูมิใจที่ได้สามีเป็นคนผิวขาว

 

                บาทหลวงตาชาร์ดบันทึกว่า  พระเจ้าแผ่นดินสยามทรงมีช้าง  สองหมื่นเชือก  สินค้าไทยที่ส่งออก  สมัยสมเด็จพระนารายณ์คือ  ดีบุก  ตะกั่ว  ข้าว  พริกไทย  ดินประสิว  งาช้าง  หนังกวาง  หนังโค  ไม้ฝาง  น้ำตาลดิบ  น้ำผึ้ง  รังนก  รง  หมาก  น้ำมันมะพร้าว  ฝ้าย  ไม้หอม  กำยาน  ชะมดเชียงทองแดง  (จากญี่ปุ่น)  เครื่องทองเหลือง  ช้างจากมะริด  (ส่งไปอินเดีย)  ลูกจันทน์  เมล็ดจันทน์เปลือกจันทน์  (จากเกาะแบนดาตอนใต้)  ไม้จันทน์  (จากติมอร์)  กานพลู  (จากอัมบอน)  พริกไทย  (จากแบนทัม)คณะราชทูตไทยที่เดินทางไปฝรั่งเศสกับลาลูแบร์นั้นได้เดินทางกลับมาถึงสยามใน  พ.ศ. 2233

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เหตุการณ์คณะราชทูตไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์