กรณีพิพาทระหว่างอาณาจักรสยามกับอ
กรณีพิพาทระหว่างอาณาจักรสยามกับอังกฤษ
วันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2230 เกิดกรณีพิพาทระหว่างอาณาจักรสยามกับอังกฤษ
เพราะอังกฤษไม่พอใจที่ไทยสนับสนุนฝรั่งเศสมากกว่าอังกฤษ
มีรายงานในบันทึกของกองบัญชาการอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์จ
ว่ามีกองเรือฝรั่งเศสออกจากท่าเมืองเบรสต์เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ค.ศ. 1687
พร้อมด้วยทหาร 1200 1600 นาย รอนแรมมาในทะเล 12 เดือน
เพื่อมาช่วยพระเจ้าแผ่นดินของสยาม (รายงานของฝรั่งเศสว่ามีทหารเพียง 636 คน)
วันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2230 ได้เกิดการรพุ่งระหว่างอาณาจักรสยามกับอังกฤษ
ที่เมืองมะริด สภาที่ปรึกษาอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์จ
ได้ส่งสาส์นถึงพระเจ้าแผ่นดินของสยามว่าได้ส่งเรือรบ 2 ลำชื่อกูรตานาหรือ
เคอรตานาและ เรือกำปั่นเจมส์ กำลังทหาร 40 คน
มาปิดล้อมเมืองท่ามะริดของสยามในเดือนมิถุนายน
และคุมเรือในเมืองท่าทุกลำจนกว่าจะได้ชดใช้ค่าเสียหาย 65,000 ปอนด์สเตอลิง
เนื่องจากอ้างว่าบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษถูกปล้นและคดโรง
เรืออังกฤษยิงปืนใหญ่เข้าเมืองมะริด ขณะนั้น สยามตั้งชาวอังกฤษชื่อริชาร์ด
เบอรนาบี เป็นเจ้าเมืองมะริด มีนายซามูเอล ไวท์เป็นเจ้าท่าเมืองมะริด
ทั้งสองคนเป็นเพื่อนกับฟอลคอน
พ.ศ. 2230 อังกฤษส่งกัปตันเวลท์เดนคุมเรือรบชื่อเพิร์ลเดินทางไปเมืองมะริด
เตรียมยึดป้อมต่างๆ
ในเมืองตะนาวศรีและเมืองมะริดก่อนที่ฝรั่งเศสและฮอลันดาจะเข้ายึดครองเวลท์เดนยิงปืนใหญ่โจมตีพังกำแพงทลายป้อม
เข้ายึดเมืองมะริดได้แล้วปักป้ายอังกฤษไว้รอบเมือง แต่พระยาตะนาวศรีไม่ยอมแพ้
เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2230 มีพายุหนัก
คนมอญพื้นเมืองของพระยาตะนาวศรีบุกเข้าโจมตีอังกฤษอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัว
ฆ่าคนอังกฤษ ที่ขึ้นฝั่งเกือบทั้งหมด ปล่อยแพไม้ไผ่ติดไฟไปเผาเรืออังกฤษ
พวกมอญยึดเรือรบอังกฤษชื่อเรือเจมส์ได้ จับศัลยแพทย์ ชื่อ เฮนรี่ วัทสัน
ไปขังไว้ และฆ่าคนอังกฤษไป 80 คน นายริชาร์ด เบอร์นาบี เจ้าเมืองมะริด
ชาวอังกฤษถูกฆ่าตายในการรบ
ผู้บังคับการเรือชื่อเวลท์เดนกับนายไวท์หนีจากตะนาวศรีไปกับเรือกูรตานา
และเรือเรสโซลูชั่น ที่ติดโซ่สมดเรือหนีออกมาไปที่ปอลลิกัท
และบอมเบย์ในอินเดียมีข่าวว่า มร.ฮอดเจส ชาวอังกฤษและคนอังกฤษที่กรุงสยาม
ถูกจับกุมเกือบร้อยคนและบางคนก็ถูกฆ่าฟันด้วย
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2230 สมเด็จพระนารายณ์
พระเจ้าแผ่นดินสยามที่กรุงละโว้
ออกหนังสือประกาศสงครามกับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ
ดังนั้นอังกฤษกับอาณาจักรสยามจึงเป็นข้าศึกกันตลอดรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์
ต่อมาฟอลคอนจับพระยาตะนาวศรีไปสอบสวนแล้วประหารในข้อหาที่ก่อสงคราม
สมเด็จพระนารายณ์ทรงแต่งตั้งเจ้าเมืองมะริดคนใหม่เป็นชาวฝรั่งเศสชื่อ เดอ
โบเรอการ์ด ซึ่งเป็นทหารติดตามเชอร์วาเลีย เดอ โชมองต์เข้ามา ในปลายปี พ.ศ.
2230 นั้นฮอลันดากับฝรั่งเศส ได้ประกาศสงครามกัน
พ.ศ. 2231 บาทหลวง เดอ เบส ซึ่งเข้ามาพร้อมกับคณะลาลูแบร์และอยู่ในเมืองไทย
14 เดือน ได้เขียนบันทึกไว้ว่า
สมเด็จพระนารายณ์ทรงพำนักอยู่ที่ลพบุรี
มีพระราชธิดาองค์เดียวทรงพระนามว่าเจ้าหญิงสุดาวดี หรือกรมหลวงโยธาเทพ
สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงมีสนมเอกชื่อท้าวศรีจุฬาลักษณ์
น้องสาวแท้ของพระเพทราชาซึ่งต่อมามีชู้ถูกพิพากษาให้เอาไปให้เสือกิน
วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2231
รายงานของกองบัญชาการอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์จในอินเดีย
แจ้งว่าได้พบกับทหารฝรั่งเศสชื่อ เชอวาลิเยอร์ โฟแบง
ทราบว่าพระเจ้าแผ่นดินสยามได้ส่งกำลังรุกล้ำเข้าไปในป้อมบางกอกสองฝั่งแม่น้ำ
ที่ฝรั่งเศสยึดครองอยู่ และได้ส่งกำลังไปยังเมาะตะมะ เพื่อสร้างคลังแสงที่มะริด
โดยมีช่างและผู้กำกับงานชาวฝรั่งเศสไปดำเนินการ มร.ฮอดเจส และ มร.ฮิลล์
จากป้อมเซนต์ยอร์จได้เดินทางไปรับตำแหน่งเจ้าหน้าที่การทูตอังกฤษประจำกรุงสยาม
เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ที่ละโว้เมื่อ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2230 นอกจากนี้
พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสยังได้แต่งตั้งให้ฟอลคอนเป็นขุนนางแห่งฝรั่งเศสและมอบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ให้ผอลคอนด้วย
(มร.ฮดดเจส ถูกจับคุมขังระหว่างเกิดความไม่สงบเมื่อตอนสมเด็จพระนารายณ์สวรรคต
แต่ต่อมาได้รับการปลดปล่อย และถึงแก่กรรมบนเรือขณะเดินทางใกล้บัลลาซอร์ ส่วน
มร.ฮิลล์ได้รับอนุญาตให้เดินทางผ่านตะนาวศรีกลับไปโคโรมานเดลได้)
วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2231
กองบัญชาการป้อมเซนต์ยอร์จของอังกฤษสั่งให้เรือรบโรเซสเตอร์
ดักไล่จับยึดเรือบรรทุกสินค้าของพระเจ้าแผ่นดินสยาม
ที่ชักธงฝรั่งเศสแถบอาจีนถึงปอนดิเชอรี่
วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2231 รายงานอังกฤษที่ป้อมเซนต์ยอร์จ
บันทึกไว้ว่าคณะราชทูตฝรั่งเศสชื่อ ลาลูแบร์ และเซเบเร่ต์ เดินทางผ่านมาเมื่อ
30 กันยายน พ.ศ. 2230 ด้วยเรือ 4 ลำ
คณะทูตได้เข้าเฝ้าพระเจ้าแผ่นดินสยามเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2230
แล้วลาลูแบร์ก็เดินทางกลับฝรั่งเศสด้วยเรือสามลำเมื่อเดือน มีนาคม พ.ศ. 2231
มีข่าวว่านายพลเดส์ฟาร์ช และลูกชายสองคนอยู่ต่อที่เมืองละโว้
วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2231
อังกฤษประกาศสงครามเป็นศัตรูต่อพระเจ้าแผ่นดินสยามให้เรือเปอร์เซีย เมอร์แชนท์
ใช้กำบังยึดเรือและผู้คนที่มากับเรือสยามทุกลำที่พบ
แล้วส่งไปผู้ว่าราชการแห่งอินเดียที่บอมเบย์
วันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2231
รายงานของอังกฤษจากกองบัญชาการป้อมเซนต์ยอร์จว่ามีเรือของพระเจ้าแผ่นดินสยามชักธงฝรั่งเศส
ออกจากตะนาวศรีผ่านมาเตรียมไปเปอร์เซียพวกอังกฤษตามจับแต่ไม่สำเร็จ
แต่กลับถูกยึดเรืออังกฤษลำหนึ่งชื่อ พรอสเพคท์ ไปปอนดิเชอรี่ด้วย
|