ท่องเที่ยว || เพิ่มข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว|| ดูดวงตำราไทย|| อ่านบทละคร|| เกมส์คลายเครียด|| วิทยุออนไลน์ || ดูทีวี|| ท็อปเชียงใหม่ || รถตู้เชียงใหม่
  dooasia : ดูเอเซีย   รวมเว็บ   บอร์ด     เรื่องน่ารู้ของสยาม   สิ่งน่าสนใจ  
 
สำหรับนักท่องเที่ยว
ตรวจสอบระยะทาง
แผนที่ 77 จังหวัด
คู่มือ 77 จังหวัด(PDF)
จองโรงแรม
ข้อมูลโรงแรม
เส้นทางท่องเที่ยว(PDF)
ข้อมูลวีซ่า
จองตั๋วเครื่องบิน
จองตั๋วรถทัวร์
ทัวร์ต่างประเทศ
รถเช่า
197 ประเทศทั่วโลก
แลกเปลี่ยนเงินสากล
ซื้อหนังสือท่องเทียว
dooasia.com แนะนำ
  เที่ยวหลากสไตล์
  มหัศจรรย์ไทยเแลนด์
  เส้นทางความสุข
  ขับรถเที่ยวตลอน
  เที่ยวทั่วไทย 77 จังหวัด
  อุทยานแห่งชาติในไทย
  วันหยุดวันสำคัญไทย-เทศ
  ศิลปะแม่ไม้มวยไทย
  ไก่ชนไทย
  พระเครื่องเมืองไทย
 
 
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเกาหลี
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศลาว
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศเวียดนาม
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศพม่า
ข้อมูลท่องเที่ยวประเทศจีน
 
เที่ยวภาคเหนือ กำแพงเพชร : เชียงราย : เชียงใหม่ : ตาก : นครสวรรค์ : น่าน : พะเยา : พิจิตร : พิษณุโลก : เพชรบูรณ์ : แพร่ : แม่ฮ่องสอน : ลำปาง : ลำพูน : สุโขทัย : อุตรดิตถ์ : อุทัยธานี
  เที่ยวภาคอีสาน กาฬสินธุ์ : ขอนแก่น : ชัยภูมิ : นครพนม : นครราชสีมา(โคราช): บุรีรัมย์ : มหาสารคาม : มุกดาหาร : ยโสธร : ร้อยเอ็ด : เลย : ศรีสะเกษ : สกลนคร : สุรินทร์ : หนองคาย : หนองบัวลำภู : อำนาจเจริญ : อุดรธานี : อุบลราชธานี : บึงกาฬ(จังหวัดที่ 77)
  เที่ยวภาคกลาง กรุงเทพฯ : กาญจนบุรี : ฉะเชิงเทรา : ชัยนาท : นครนายก : นครปฐม : นนทบุรี : ปทุมธานี : ประจวบคีรีขันธ์ : ปราจีนบุรี : พระนครศรีอยุธยา : เพชรบุรี : ราชบุรี : ลพบุรี : สมุทรปราการ : สมุทรสาคร : สมุทรสงคราม : สระแก้ว : สระบุรี : สิงห์บุรี : สุพรรณบุรี : อ่างทอง
  เที่ยวภาคตะวันออก จันทบุรี : ชลบุรี : ตราด : ระยอง

  เที่ยวภาคใต้ กระบี่ : ชุมพร : ตรัง : นครศรีธรรมราช : นราธิวาส : ปัตตานี : พัทลุง : พังงา : ภูเก็ต : ยะลา : ระนอง : สงขลา : สตูล : สุราษฎร์ธานี




  เบื้องหลังการจลาจล

 

เบื้องหลังการจลาจล

 

ปลายรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์นั้นได้เกิดการจลาจลยึดอำนาจขึ้นซึ่งมีบันทึกเบื้องหลังเหตุการณ์จลาจลนั้นว่า

 

เมื่อวันที่  5  มิถุนายน  พ.ศ. 2231  สมเด็จพระนารายณ์ทรงประชวรมีพระอาการหนักอยู่ที่พระราชวังในลพบุรี  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (คอนสแตนติน  ฟอลคอน)  อัครมหาเสนาบดี  และหม่อมปีย์  เตรียมการที่จะเข้ากุมอำนาจและคิดกำจัด  พระเพทราชา  เจ้ากรมช้าง  เพราะไม่ถูกกัน  เนื่องจากหลวงสรศักดิ์  บุตรของพระเพทราชาเคยต่อยปากเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  เรื่องนี้เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  ได้เรียกกำลังทหารฝรั่งเศสขึ้นมาช่วยที่เมืองลพบุรี  แต่ข่าวนี้รั่วไปถึงพระเพทราชาเสียก่อน  พระเพทราชาจึงวางอุบายปลอมหมายรับสั่งของพระเจ้าอยู่หัว  ประทับตราพระราชสัญจกร  เรียกเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  มาเฝ้าในพระราชวังที่เมืองลพบุรี

 

ในเดือนมิถุนายน  พ.ศ. 2231  เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  และกำลังทหารคุ้มกันหลงกลได้พากันเข้าไปในพระราชวังโดยไม่มีอาวุธ  จึงถูกทหารของพระเพทราชาดักจับตัวเมื่อย่างเข้าไปในพระราชวังที่ลพบุรี  แล้วถูกนำไปประหารนอกประตูเมืองที่ลพบุรี  ทรัพย์สมบัติของเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  จึงถูกริบเป็นของหลวงทั้งหมด

 

บันทึคกบางฉบับของชาวโปรตุเกสได้เล่าไว้ว่า  ในการทำการนั้นได้มีการวางสายชนวนระเบิดเข้าไปในวัง  และมีการค้นพบอาวุธที่บ้านฟอลคอนจำนวนมาก  ขณะที่ฟอลคอนถูกประหารมีอายุได้  40  ปี  (จากบันทึกเรื่องสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศในศตวรรษที่  17  เล่ม  5  กรมศิลปากร)

ก่อนที่เจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  จะถูกประหารไม่นานนั้น  ได้แต่งเรือสำเภอสินค้าไปมาเก๊า  โดยส่งหนังสือแจ้งความต้องการซื้อปืนคาบศิลาฝีมือช่างตีเหล็กชาวจีนวุฒิสภาของมาเก๋าได้นำเรื่องนี้กลับมาหารือเมื่อวันที่  28  สิงหาคม  พ.ศ. 2231  โดยไม่รู้ว่าเวลานั้นเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  ได้ถูกประหารชีวิตไปแล้ว          

 

หลังจากได้จับกุมและสังหารเจ้าพระยาวิชาเยนทร์  (ฟอลคอน)  แล้ว  ในวันที่  6  มิถุนายน  พ.ศ. 2231  กองทัพทหารและชาวมาเลย์  ด้วยกรสนับสนุนของพวกฮอลันดาได้ร่วมกันจัดการกำจัดพวกฝรั่งเศส  กำลังทหารภายใต้การควบคุมของเจ้าพระยาโกษาธิบดี (ปาน)  ได้ยกทัพลงมาล้อมตัดเสบียงอาหารที่ป้อมของทหารฝรั่งเศสที่บางกอก  ขณะนั้นมีทหารฝรั่งเศสราว  250  คนภายใต้การควบคุมของนายพลเดส์ฟาร์ช  ซึ่งต้องทิ้งป้อมบางกอกฝั่งตะวันตกมารวมกำลังอยู่ที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก  โดยระเบิดทิ้งน้ำหรือเจาะรูปืนใหญ่ที่ป้อมบางกอกฝั่งตะวันตกทิ้งเสียให้สิ้น  ทั้งทหารของฝ่ายสยามกับฝ่ายฝรั่งเศสนั้นรบกันอยู่  2 – 3  อาทิตย์  ฝ่ายสยามนั้นตั้งเชิงเทินสูง  18  ฟุต  แล้วเอาปืนใหญ่ยิงเข้าไปในป้อม  จัดกำลังเข้าโอบทางแม่น้ำเจ้าพระยา  ตั้งปืนใหญ่เรียงรายไว้ตามลำน้ำด้านที่จะไปปากแม่น้ำโดยจัดเรือจมขวางไว้  เรื่องนี้มีหลักฐานภาพเขียนของชาวฝรั่งเศส  บันทึกแผนผังการรบครั้งนี้อย่างละเอียดไว้ด้วย  (บริเวณสู้รบและสถานที่ตั้งของป้อมบางกอกฝั่งตะวันออก  นั้นอยู่ตรงบริเวณตลาดท่าเตียน  โรงเรียนราชินี  บ้านจักรพงษ์  และบ้านปราณีของกระทรวงยุติธรรม)

 

ในครั้งนั้นพระเพทราชาจับลูกชายสองคนของ   นายนพลเดส์ฟาร์ช  ไว้เป็นตัวประกันที่เมืองลพบุรีและขู่ว่าจะประหารตัวประกันถ้าทหารฝรั่งเศสไม่ยอมแพ้

 

เมื่อวันที่  22  มิถุนายน  พ.ศ. 2231  นายพลเดส์  ฟาร์ช  ส่งร้อยโท  แซนต์คริก  นำเรือชื่อ  เลอโซแลร์พร้อมกับทหาร  17  คน  ไปขอกำลังทหารฝรั่งเศสจากเมืองมะริดมาช่วย  แต่ถูกขัดขวางโดยเรือยาวของทหารฝ่ายสยามเป็นจำนวนมาก  ทำให้ฝรั่งเศสสู้ไม่ได้จึงระเบิดเรือทิ้งที่จุด  2  ไมล์  ทางใต้ของบางกอก  (จากประชุมพงศาวดารเล่มที่  16  กรมศิลปากร)

 

วันที่  26  มิถุนายน  พ.ศ. 2231  เมื่อพวกฝรั่งเศสซึ่งอยู่ที่เมืองตะนาวศรีได้ทราบข่าวความวุ่นวายในแผ่นดินสยาม  ก็ทำการจัดการรักษาป้อมอย่างเข้มแข็ง  แต่ขณะที่กำลังเสริมกำลังก็ถูกกำลังของสยามเข้าโจมตีแตกเสียก่อน  กำลังฝ่ายสยามใช้ปืนใหญ่โจมตีป้อมทหารฝรั่งเศสที่เมืองมะริด  หลังจากใช้กำลัง  12,000  คน  เข้าล้อมป้อมปืนไว้ให้อดน้ำและอาหารอยู่ในป้อมปืนถึงสองเดือน  นายทหารฝรั่งเศสตายไป  10  คน เจ้าเมืองมะริดชาวฝรั่งเศส  ชื่อ  โบเรอการ์ด  หนีจากป้อมไปเมืองมะริดกับเรืออังกฤษ  มร.เดอบริวอังและเรือเอกโซจอง  สั่งทหารถอยลงเรือ  หนีไปเมืองทวาย  และเบงกอล

 

ต่อมาเรือเอกโชจองได้พบกับนายพลเดส์ฟาร์ช  และ  มร.เดอ  ลามาร์  ซึ่งเดินทางมากับเรือลอรีฟลามม์  เรือ  ลา  นอรมังต์  เรือแซงต์นิโคลาส  เรือเลอสยาม  และเรือ  เลอ  ละโว้ที่เมืองปอนดิเชอรี่ในอินเดีย  เรือเลอสยามน้ำรั่วและใบเรือชำรุด  เรือลา  นอร์มังต์  และ  เลอ  กอช  เดินทางต่อไปฝรั่งเศส

 

ส่วนนายพลเดส์ฟาร์ช  มร.เดอ  บริวอัง  มร.  เดอ  โลส์เนย์  มร.โซจองและคณะลงเรือลามีราล  เรือแซงต์นิโคลาส  เรือเลอสยามและเรือละโว้  ราวเรือใหญ่  4  ลำ  เรือเล็ก  7  ลำ  กลับไปเมืองมะริด

 

รัชกาลสมเด็จพระนารายณ์  นั้น  ปรากฏว่ามีนักปราชญ์สำคัญหลายคน  จึงมีวรรณคดีสำคัญเกิดขึ้นเช่น  สมุทรโฆษคิฉันท์  เสือโคคำฉันท์  อนิรุทธคำฉันท์  โคลงทวาทสมาส  โคลงราชสวัสดิ์  โคลงทศรถสอนพระราม  โคลงพาลีสองน้อง  และโคลงอักษรสามหมู่  กวีเอกที่มีชื่อเสียงในสมัยสมเด็จพระนารายณ์นั้น  คือ  ศรีปราชญ์  และมีตำราจินดามณี  ของพระโหราธิบดี  เป็นแบบเรียนภาษาไทยเล่มแรกสมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระชันษา  59  ปี  และ  ครองราชย์สมบัติอยู่  32  ปี

 

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช  หรือ  สมเด็จพระรามาธิบดีที่  3  เป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระเจาปราสาททอง  ครองราชย์  2199)  ขณะนั้นมีพระชนมายุได้  25  พรรษา  เกิดเหตุต้องกำจัดพระไตรภูวนาทิตย์และพระองค์ทอง  มีพระราชพิธีเบญจาพิธ  พระราชพิธีบัญชีพรหม  ได้ช้างพังเผือกจากเมืองศรีสวัสดิ์  ส่งราชทูตไทยเจริญไมตรีกับฝรั่งเศสยกทัพไปตีเมืองเชียงใหม่  สร้างพระราชวังที่เมืองลพบุรี  สร้างพระที่นั่งสุธาสวรรย์  พระที่นั่งหิรัญมหาปราสาท  ให้พระยาวิชาเยนทร์สร้างป้อมเมืองพิษณุโลก  และเมืองธนบุรี  เสด็จประพาสพระพุทธบาท  เมื่อ  จ.ศ. 1044  (พ.ศ. 2225)  พระเพทราชา  เป็นผู้สำเร็จราชการและขุนหลวงสรศักดิ์ทำการกบฏและประหารพระปีย์  ทำให้สมเด็จพระนารายณ์  พระชนมมายุ  51  พรรษา  ซึ่งกำลังประชวรอยู่  ณ  พระที่นั่งสุทธาสวรรย์มหาปราสาทนั้นสวรรคต  รวมอยู่ในราชสมบัติ  26  ปี  (บางแห่งว่า  29  ปี)  ส่วนเจ้าฟ้าอภัยทศพระราชโอรสอีกองค์ซึ่งถูกแจ้งให้ขึ้นไปเมืองลพบุรีก็ถูกจับสำเร็จโทษที่ตำบลวัดทราก  พระองค์ครองราชย์  พ.ศ. 2199 – 2231  ครองราชย์รวม  32  ปี  บางแห่งว่าครองราชย์  พ.ศ. 2187  ศักราชไม่ตรงกัน

 

แนะนำข้อมลเพิ่มเติม เบื้องหลังการจลาจล

เชิญแนะนำข้อมูลเพิ่มเติม

ชื่อ / Email
ข้อความ
  

 


 
 
dooasia.com
สงวนลิขสิทธิ์ © 2550 ดูเอเซีย    www.dooasia.com

เว็บท่องเที่ยว จองที่พัก จองตั๋วเครื่องบินออนไลน์ ข้อมูลท่องเที่ยว ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม แผนที่ การเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร จองที่พักและโรงแรมออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตทั่วโลก คลิปวีดีโอ ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทย ลาว เวียดนาม ขอขอบคุณข้อมูลจาก การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวลาว การท่องเที่ยวกัมพูชา การท่องเที่ยวเวียดนาม มรดกไทย กรมป่าไม้
dooasia(at)gmail.com ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 3.0 ประเทศไทย. สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์